ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊
ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊เหลินสามมนต์ (ทำบุญข้าวเหนียวแดง)ในเดือนสาม “ข้าวมธุปายาส”
ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊ในเดือน 3 หรือเดือนกุมภาพันธ์พันธุ์
ประวัติความเป็นมาของปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊ เหลิน สาม มนต์
ประเพณีการหลู่ข้าวหย่ากู๊เป็นประเพณีหนึ่งที่จัดขึ้นทุกปี และเป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวบ้านผู้ทำการเกษตรมาช้านาน ถือว่าเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่จัดขึ้นและสืบทอดแก่ลูกหลานสืบมา โดยมีความเชื่อว่าหลังจากทำนาหรือหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าว(พระแม่โพสพ) ที่ได้คุ้มครองไร่นาหรือให้ชาวนามีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิต และเมื่อได้ข้าวมาก็จะนำไปถวายวัดเพื่อเป็นศิริมงคล และข้าวนั้นต้องเป็นข้าวใหม่ ในวัน “เหลินสาม” หรือเดือนสามซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีชาวไทใหญ่จึงประเพณีถวายข้าวหย่ากู้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีการทำข้าวหย่ากู๊
เมื่อ ถึงเดือน 3 หรือ เดือนกุมภาพันธ์ (เหลิน สาม มนต์) บรรดาพุทธบริษัทชาวไทใหญ่ทั้งหลายจะนิยมทำบุญหลู่ข้าวหย่ากู๊ หรือถวายข้าวเหนียวแดง เพราะเชื่อกันว่าการหลู่ข้าวหย่ากู๊นี้จะได้บุญกุศลทำให้ได้ไปจุติบนสวรรค์ เสวยผลบุญอย่างเป็นสุข เช่นเดียวกับนางสุชาดา ซึ่งนิยมทำติดต่อกัน 3 ปี เป็นประเพณีที่ทำกันสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการจัดงานประเพณี “ปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊”(หลู่ หมายถึง ถวายหรือให้ทาน)หรือการถวาย ข้าวเหนียวแดง คือ กิจกรรมประเพณีที่เกิดขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจาก การทำไร่ทำนา และได้ผลผลิต หรือเรียกว่า ได้ข้าวใหม่ ก็จะเอาข้าวใหม่นี้ไปทำบุญในรูปข้าวหย่ากุ๊ ในการหลู่ข้าวหย่ากู๊นั้นชาวบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งไปถวายพระภิกษุ สามเณร และส่วนที่เหลือทั้งหมดจะนำไปตาน (ให้ทาน ) คนเฒ่าคนแก่ที่บุคคลนั้นๆ ให้ความเคารพนับถือหรือ แจกเป็นทานในหมู่บ้านหรือตามบ้านญาติสนิทมิตรสหาย เพราะเชื่อกันว่าการหลู่ข้าวหย่ากู๊มีนี้จะได้บุญกุศล ซึ่งนิยมทำติดต่อกัน 3 ปี บางแห่งจะรวมตัวกันจัดงาน ในสมัยก่อนมีการแห่ขบวนข้าวหย่ากู๊ โดยใช้เกวียนบรรทุกข้าวหย่ากู๊แห่ไปทั่วหมู่บ้าน ซึ่งเกวียนจะประดับตกแต่งขบวนอย่างสวยงาม มีการละเล่นดนตรีพื้นบ้านและการฟ้อนรำเพื่อเพิ่มความสนุกสนานแต่ปัจจุบันนิยมใช้รถยนต์บรรทุก 4 ล้อแทนเกวียนในการให้ทานข้าวหย่ากู๊แทน( สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
วัตถุประสงค์ในการตานข้าวหย่ากู๊
- เพื่อเป็นการขอบคุณพระแม่โพสพที่ช่วยปกปักดูแลรักษาข้าวของชาวนา
- เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน
- เพื่อนำไปบูชาพระพุทธเจ้า
ขอบคุณข้อมูลจาก ศศิธร ทองสีขาว , Tai Story Online