ผ้าห่อคัมภีร์โบราณ
(For English, please scroll down.)
ผ้าห่อคัมภีร์โบราณพบที่รัฐฉาน ในประเทศพม่า จากลักษณะงานทอบนผ้าสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นของกลุ่มไทเขินหรือไทลื้อที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐฉาน
วัสดุที่ใช้คือฝ้าย ทอลวดลายด้วยวิธีการขิดเป็นรูปม้าเรียงกันเป็นแถว นอกจากนั้นยังมีการใช้แกนไม้ไผ่ทอสอดเข้าไปในผืนผ้าเป็นช่วงๆสลับกับลวดลายขิด แกนไม้ไผ่เหล่านี้ช่วยให้ผ้าห่อคัมภีร์มีความแข็งแรงและอยู่ทรงมากขึ้นเมื่อนำไปใช้ห่อคัมภีร์ ขอบผ้าทั้งสี่ข้างเย็บกุ๊นด้วยผ้าฝ้ายสีน้ำตาล มุมผ้าข้างหนึ่งมีเชือกเส้นยาวเย็บต่อเอาไว้เพื่อสำหรับมัดม้วนคัมภีร์อีกครั้งหลังจากห่อด้วยผ้าผืนนี้
อายุราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
Antique Buddhist manuscript wrapper found in Shan States, Burma, possibly belonged to Tai Lue or Tai Khoen group in southeastern part of Shan state.
Cotton with supplementary weft work in repeating horses design, plus bamboo rods woven into it in interval, interspaced with sections of supplementary weft work. The rods, serving as a skeleton of the wrap, provides more durability to the wrapper. 4 sides of the rim are trimmed with brown cotton. A long string is attaced at one corner serving as a binder with the manuscript is wrapped into this wrapper.
Circa early 20th century