หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความหวังอยู่ที่ไหน?

โพสท์โดย greenpeaceth

Blogpost โดย Rex Weyler 

ผมไม่มั่นใจว่าเราจะชนะด้วยการใช้ตรรกะ

หลากหลายสายพันธุ์ที่สูญสิ้นไป การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษต่างๆ การเถลิดล้ำเข้าไปอย่างง่ายๆในถิ่นที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์บนโลก เราจะย้อนคืนสิ่งเหล่านี้กลับไปได้อย่างไร? เรามีวิทยาการทางวิทยาศาตร์ แต่มนุษยชาติส่วนใหญ่ไม่มีปณิธานทางการเมืองในเรื่องนี้ เราอยู่ในโลกทางการเมืองที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และวาทกรรมทั่วไปก็ดูจะถูกครอบงำโดยการยึดติดกับต้นแบบการพัฒนาและเศรษฐกิจอย่างนั้น 

ในปีที่ผ่านมา หัวข้อข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนิเวศวิทยาฟังดูน่ากังวล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ 2 ใน 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอยู่ในภาวะวิกฤต ภัยแล้งในประเทศเคนยา โมซัมบิก สหรัฐอเมริกา และศรีลังกา แม่น้ำที่แห้งเหือดและสงครามแย่งชิงน้ำ มวลผึ้งถูกฆ่าโดยไวรัสซิกา การปล่อยมีเทนเกินคาด นักอุตุนิยมวิทยาถูกบังคับให้เขียนรายงานการพยากรณ์ใหม่ และที่แย่ที่สุดคือ วิกฤตแนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟกำลังเสื่อมโทรม เหล่าทหารอเมริกันทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาการณ์ให้กับโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันที่เจาะลอดใต้เขตสงวนอเมริกันอินเดียนที่ Standing Rock และจับตัวผู้อาวุโสในชุมชนและนักข่าวไป

กว่าสิบปีที่ผ่านมา เราสามารถรายงานข่าวดีได้บ้าง แม่น้ำสะอาดขึ้น (บางส่วน) การฟื้นตัวของโอโซน (อย่างช้าๆ พร้อมกับผลกระทบข้างเคียง) เขตสงวนพันธ์ุวาฬ (หรืออะไรทำนองนั้น) การสั่งห้ามทิ้งขยะ (ที่โดนมองข้าม) และในวันนี้ การเพิ่มขึ้นของประชากรเสือในทวีปเอเชีย ป่าชายเลนที่ได้รับการปกป้องที่มาดากัสการ์ เหล่าปลาแซลมอนกลับคืนสู่แม่น้ำ Elwha ในสหรัฐอเมริกาหลังการรื้อถอนเขื่อน และกฎข้อบังคับใหม่ของประเทศบราซิลที่จะช่วยรักษาส่วนต่างๆของผืนป่า Mato Grosser ได้

ในเวลาเดียวกัน เราสูญเสียป่าเป็นล้านๆเฮกตาร์ทุกปี สูญเสียสายพันธ์ุของสิ่งมีชีวิตต่างๆไปอย่างรวดเร็ว และมีสารพิษสะสมเพิ่มเรื่อยๆ

ผมเป็นคนกระตือรือร้นครับ ผมพร้อมที่จะพยายามไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่มีหวังก็ตาม และจะยังคงอารมณ์ขันไว้ ส่วนมากนะ ถึงอย่างไรก็ตาม บางครั้งผมก็ยังคงวิตกอยู่ว่า ความหวังอยู่ที่ไหน?

สำหรับภูมิรัฐศาสตร์หรอ? เรื่องนี้ผมไม่มั่นใจ กระบวนการทางการเมืองโลกดูจะมีความทุจริตมากเกินไป ถูกเบี่ยงเบนออกจากความจริงเกินไป ละเลยมิติทางนิเวศวิทยา ดูปรุงแต่งจนเกินไป และช้าเกินกว่าที่จะสามารถระบุและแก้สภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของวิกฤตสิ่งแวดล้อมได้จริงๆ

ในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน่ะหรอ? หลังจากที่ประชุมมา 30 ปี เราก็ได้ข้อตกลงปารีสมา ที่ไม่ได้กล่าวถึงเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือความจำเป็นที่จะต้องปล่อยให้พลังงานฟอสซิลอยู่ใต้ดินต่อไป ข้อตกลงนี้ไม่ได้สร้างข้อผูกมัดเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศใดๆทั้งสิ้น และไม่ว่าจะในกรณีใดๆก็ตาม ข้อผูกมัดเหล่านั้นไม่เพียงพออีกต่อไปที่จะคงระดับอุณภูมิเฉลี่ยผิวโลกให้เพิ่มน้อยกว่า 3 องศาเซลเซียสได้ เมื่อบวกกับการปล่อยก๊าซมีเทนที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็...จะว่าสิ้นหวังก็ไม่แปลก นี่คือจุดเริ่มความไม่แน่ใจของผมว่าเราจะสามารถชนะด้วยการใช้ตรรกะจริงๆ แล้วความหวังอยู่ที่ไหนกัน?

Time’s First Breath © Lisa Gibbons

สภาวะฉุกเฉินระยะยาว

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมจะเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนฝึกความอดทน อาจจะเป็นจุดที่ดีที่จะเริ่มค้นหาความหวัง ในความอดทน ในความสงบ ในการสัมผัสโลกนี้อย่างช้า ๆ และระมัดระวัง

เราอาจจะสบายใจได้มากขึ้น เพราะประวัติศาสตร์เองก็เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่ามันเป็นไปได้ที่สังคมจะเปลี่ยน เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อธรรมเนียมต่างๆเปลี่ยน มันอาจจะรู้สึกว่ากะทันหัน แต่การรณรงค์ใหญ่ๆที่ว่าด้วยเรื่องชนชาติ ศาสนา หรือความเท่าเทียมทางเพศ ต่างใช้เวลาหลายช่วงอายุคน และยังคงแก้ไม่หายขาดอยู่ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เรารู้ว่า สังคมเปลี่ยนได้

เรารู้สึกถึงนาฬิกาที่กำลังเดิน ในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ และนี่สามารถทำให้เรายิ่งสิ้นหวังขึ้นไปอีก เราได้ยินว่าเรามีเวลาเพียง 5 ปี หรือเพียงทศวรรษหนึ่ง หรือเราจะต้องเปลี่ยนให้ได้ก่อนปี 2593 หรือแม้กระทั่งภายในวันพรุ่งนี้ แต่ธรรมชาตินั้นใช้เวลาดำเนินการเป็นล้านๆปี ล้านๆช่วงอายุ กว่าจะขจัดความวิบัติและหาสมดุลใหม่ได้อีกครั้ง

ผมไม่ได้มองหาความหวังในความเชื่อที่ว่ามนุษยชาติจะสามารถแก้ไขวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมต่างๆในช่วงชีวิตของผม หรือแม้กระทั่งในรุ่นลูกๆหลานๆของผม ธรรมชาติใช้เวลา แต่หุ้นและท่อส่งน้ำมันคือสิ่งตรงกันข้าม เพราะมันสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

โลกอันร่ำรวยมีวิถีชีวิตแบบนั้นได้เพราะการไหลเวียนของพลังงานทรัพยากรอันมหาศาลไปยังกลุ่มคนเหล่านั้น ชีวิตที่ขึ้นอยู่กับการยึดครองอาณานิคม การขูดรีด การสกัดทรัพยากร ร่องรอยสารพิษ และภูมิทัศน์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยผู้นำ และนักเผด็จการ ซึ่งถูกควบคุมโดยมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ โลกาภิวัตน์ทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่กำลังหมดอายุขัย เราไม่อาจเติบโตด้วยตนเองจากพลังทางการตลาด มือที่มองไม่เห็นและกลจักรแห่งความหลอกลวงนี้ เราใช้ธรรมชาติมากเกินไปแล้ว เฉกเช่นฝูงหมาป่าที่ล่าเหยื่อจนแหล่งอาหารของตนร่อยหรอ ความยิ่งใหญ่ไม่ได้ช่วยอะไรเรา

ทั้งตรรกะ ทั้งวิทยาศาสตร์และข้อมูล นักวิจัยที่ขึงขังต่างก็บอกเราถึงสิ่งนี้ และถึงแม้บางสถาบันเริ่มที่จะตระหนักถึงหลักฐานทางสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่วาทกรรมหลักกลับกลืนกินวิทยาศาตร์และตรรกะให้หายไปด้วยกระแสเล็กน้อยในสังคม และการโปรโมทตัวเอง

ด้วยวิธีใดสักวิธี เหล่าคนที่อยู่กับความจริงจะต้องจัดการปัญหาหนักๆนี้ด้วยตนเองอีกครั้ง ด้วยความสามารถที่พวกเขามี และด้วยทรัพยากรอะไรก็ตามที่พวกเขาต้องการจะปกป้อง ผมเจอความหวังในผู้คนที่เรียบง่ายกลุ่มนี้ อยู่อย่างเรียบง่าย ทำงานร่วมกัน และฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกเขา

James Kunstler ได้ให้นิยามคำว่า สภาวะฉุกเฉินระยะยาว (long emergency) เพื่อช่วยให้เราเข้าใจช่วงระยะเวลาที่แท้จริงที่การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้น

The Messenger © Lisa Gibbons

ตื่นขึ้นมาในโลกธรรมชาติดั้งเดิม

ผมพบความหวังในตัวศิลปิน ผู้ที่สามารถทำให้วัฒนธรรมกระแสหลักสั่นสะเทือนได้ ศิลปินมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เปล่งเสียงให้กับความรู้สึกลึกๆของเรา อย่างเช่น ผลงาน La Marseillaise ของ Rouget de Lisle ท่ามกลางนักปฏิวัติชาวฝรั่งเศส Marcus Garvey และการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของพลเมืองผิวดำทั่วโลก Franca Rame ในการเคลื่อนไหวเรื่องการต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ในประเทศอิตาลี ผลงาน O Leader! ของ El General ที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวเพื่อระบบประชาธิปไตยในประเทศตูนิเซีย หรือการแสดงละครเสียดสี Yes Men นักกวีชาวแคนาดาผู้เป็นที่ชื่นชอบอย่าง Leonard Cohen ที่เพิ่งเสียชีวิตไป เพลงของเขาจากเมื่อปี 2531 ชื่อ Everybody Knows ได้เตือนเราว่า

“ทุกคนรู้ว่าเรือรั่ว

ในขณะเดียวกัน เราต่างรู้ว่ากัปตันโกหก”

ศิลปินไม่ต้องมีคำอธิบาย พวกเขาใช้โอกาสนั้นสื่อสารถึงหัวใจของเหตุการณ์

Rachel Carson ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ของขวัญที่เธอให้แก่มนุษยชาติกลับมาจากความสามารถด้านภาษาและการเล่าเรื่องของเธอ ในปี 2508 เธอเขียนในหนังสือ The Sense of Wonder ว่า “โลกของเด็กนั้นสดใหม่และสวยงาม เต็มไปด้วยความอัศจรรย์และความตื่นเต้น มันเป็นโชคไม่ดีของพวกเราส่วนใหญ่ ที่มีสายตามองเห็นความจริง สัญชาตญาณต่อสิ่งที่สวยงามและน่ามหัศจรรย์ ถูกทำให้เลือนลางหรือถูกปิดกั้นไปตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่” แน่นอนว่าเธอพูดถึงโลก และรวมถึงธรรมชาติดั้งเดิมในตัวเราเอง ที่เตือนให้เรารู้ตัวว่า เราก็เป็นสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ กับสัตว์สี่เท้า กับสัตว์ปีก และสัตว์น้ำ อย่างที่เครือญาติในธรรมชาติคอยเฝ้าเตือนเรา

“เป็นสิ่งที่ประโยชน์และจำเป็น สำหรับเราที่จะหันกลับไปมองโลก และในระหว่างการพิจารณาไตร่ตรองความงามนี้ ให้สัมผัสถึงความน่าอัศจรรย์ใจและความนอบน้อมอ่อนไหวของมัน” Carson กล่าว

นี่คือที่ๆผมมองหาความหวังเป็นที่แรกๆ ผมเจอความหวังในธรรมชาติดั้งเดิมที่ยังอยู่ในโลกนี้ และในหัวใจของผู้คน สัญชาตญาณอันบริสุทธิ์ไร้การปรุงแต่งของชีวิตและความรัก ผมเจอความหวังในการเต้นรำอันไม่รู้จบของพันธุ์พืช สัตว์ เห็ดรา และแบคทีเรีย และรวมทั้งในทุกจังหวะก้าวของชีวิต ของพันธะไฮโดรเจน ธาตุอาหาร แร่ธาตุ น้ำตาล และโปรตีนต่างๆ ในแสงอาทิตย์ที่เปลี่ยนผ่านสู่สิ่งมีชีวิต ผมเจอความหวังในเวทมนต์ของสิ่งเหล่านี้ และในความสร้างสรรค์ของวิวัฒนาการธรรมชาติ

Ebb and Flow © Lisa Gibbons

ความหวังที่ใครสักคนจะพบในโลกธรรมชาติกินเวลายาวนาน ไม่ใช่ความหวังแบบชั่วครู่ตามชีวิตง่ายๆหรือชัยชนะทางการเมือง ความหวังนี้จะเป็นปาฏิหาริย์ที่มีอายุยืนยาวกว่าคนทั่วไป ยาวกว่าสังคมต่างๆ หรือแม้กระทั่งสายพันธุ์ๆหนึ่งและถิ่นที่อยู่อาศัย

ผมเจอความหวังน้อยมากในอาณาจักรของมนุษย์ ที่ซึ่งมีสถาบันใหญ่ๆ รัฐบาล บริษัทต่างๆ เศรษฐกิจโลก หรือที่ประชุม ผมไม่พบความหวังในความคิดที่ว่ามนุษยชาติจะสามารถจัดการกับระบบนิเวศได้มากนัก นั่นให้ความรู้สึกเหมือนความอหังการเล็กๆ “การควบคุมของธรรมชาติ เป็นวลีที่ถูกใช้ด้วยความเย่อหยิ่ง ที่มีมาตั้งแต่ยุคหินแห่งชีววิทยา” Rachel Carson เตือนเราเมื่อ 50 ปีก่อน

ตามที่ผมเชื่อ งานของเราคือการจัดการตัวเราเอง ความต้องการ ความกลัว และความไม่มั่นใจของเรา สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ในระดับโลก มนุษยชาติที่อยู่รอดอดทนจะอยู่ผ่านความอหังการของการจัดการระดับโลก และกลับมาอยู่กับโครงสร้างสังคมที่ก่อตัวขึ้นรอบๆสถานที่หรือสังคมๆหนึ่ง รอบๆความพอประมาณและความเหมาะสม

ผมเชื่อว่าเราจะต้องกลับมาสู่การอยู่แบบชุมชนเล็กๆ ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศที่เราอาศัยอยู่ ผู้คนที่แตกกระสานซ่านเซ็นซึ่งสูญเสียความสัมพันธ์กับโลกจะกลับมาสู่รากเหง้าของตนในที่สุด ผมเจอความหวังในชุมชนที่ทุ่มเทดูแลให้ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ ความหวังในคนนอกสังคมและเรียบง่าย ไม่มีสิทธิพิเศษ แต่กลับยืนหยัดและรักษาพื้นที่ของพวกเขา

“เขามีความสุขกับสิ่งเล็กๆที่เขาเป็น” เขียนโดย Yasunari Kawabata ใน Palm-of-the-Hand Stories “เขายังเห็นด้วยกับความคิดที่ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์นั้น เมื่อรวมกับแร่ธาตุและพืชชนิดต่างๆแล้ว เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆที่คอยช่วยพยุงสิ่งมีชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาล และไม่ใช่อะไรอื่นเลยนอกจากเป็นสิ่งมีค่าพอๆกับพันธุ์สัตว์และพืชชนิดอื่นๆ"

ผมฝากความหวังไว้กับความพอประมาณแบบนี้ ฝากไว้กับคนที่สามารถลงมือทำโดยไม่ต้องการความสนใจจากคนภายนอก หรือทำเพราะประโยชน์ส่วนตน

ผมเห็นคู่รักหนุ่มสาวหลายคู่รอคอยที่จะมีลูก มีลูกน้อยลง หรืออุปการะเด็กกำพร้า นี่ถือเป็นการตอบสนองที่ดีต่อการเพิ่มจำนวนประชากร ผมมีหวังเพราะสิ่งนี้

เกษตรกรผู้เป็นนักเขียน เวนเดล เบอร์รี่ เขียนไว้เมื่อหลายปีมาแล้วใน Leavings ว่า "ความหวังไม่ควรขึ้นอยู่กับความรู้สึกดีๆ" และเขายังเสนอว่าให้เรามองหาความหวัง "บนพื้นดิน ใต้เท้าของเรา" 

เวลาที่ผมรู้สึกสิ้นหวัง ผมกลับไปที่จุดนั้น ผมรู้สึกโชคดีที่ผมอาศัยอยู่ในที่ๆยังคงไว้ซึ่งธรรมชาติดั้งเดิมผมเดินเข้าไปในป่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้วกับเพื่อน และเด็กๆกลุ่มหนึ่งจากแถวบ้าน เราเดินเล่นกันไปอย่างไม่มีจุดหมาย ไปถึงน้ำตกเล็กๆแห่งหนึ่งทึ่ไหลลงทะเลซาลิช แล้วไหลไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ริมชายฝั่ง ปลาแซลมอลนับร้อยนอนเกลื่อนพร้อมที่จะย่อยสลายไป นกอินทรีรวมตัวบนต้นไม้เพื่อกินอาหาร ส่วนปลาแซลมอลที่ยังมีชีวิตอยู่พยายามตะเกียกตะกายด้วยความเหนื่อยล้าทวนกระแสน้ำ ผมมองไปที่ตัวหนึ่ง ตัวที่กำลังหันหน้าเข้าหากระแสน้ำ กระเสือกกระสนไปข้างหน้าด้วยครีบเหนื่อยๆของมัน หลายนาทีผ่านไป เพียงเผื่อจะขยับได้อีกไม่กี่เซ็นติเมตร ภาพนี้เป็นเหมือนตัวอย่างให้ผม ให้ผลักดันต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ

ดังที่นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวโบฮีเมีย เรเนอร์ มาเรีย ริลค์ กล่าวไว้ "ครั้งแล้วครั้งเล่าที่คนบางคนในกลุ่มจะตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าพวกเขาไม่มีที่ยืน ด้วยความที่พวกเขาอยู่กับกฎที่กว้างกว่านั้น พวกเขามีขนบธรรมเนียมที่ต่างออกไป และต้องการพื้นที่ๆจะแสดงตัวตนออกมา อนาคตพูดกับเราผ่านคนเหล่านี้"

โดย Rex Weyler: นักเขียน ผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมก่อตั้งกรีนพีซสากล


 References: 

 Pre-ecological politics: Kurt Cobb, Resilience

 Pace of Ozone recovery: Science Daily

 Methane releases higher than predicted: Nature, and summary in The Guardian  

 Zika virus spray killing bee colonies: The Guardian

 Species decline: WWF and CBC

 Lisa Gibbons art: lisagibbonsart.com 

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/58509


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่

  

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
greenpeaceth's profile


โพสท์โดย: greenpeaceth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: zerotype, ฮั่วชวี่ปิ้ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นาทีตัวเ...้ยยักษ์เขมือบเต่าทั้งเป็น ดิ้นทุรนทุรายในปาก..ผลสุดท้ายอาจไม่คาดคิด?งานเข้า! "เจนี่" โดนทัวร์เขมรลงฉ่ำ..หลังเที่ยวนครวัด แต่ใส่เพลงนี้ในคลิปเด็กสาวสุดธรรมดา พบรักกับเจ้าชาย จากเบลเยียมนักเดินป่าชาวไต้หวันติดอยู่ในหุบเขา 10 วัน รอดมาได้เพราะตัดท่อน้ำ จนชาวบ้านมาเจอเเละช่วยเหลือในที่สุดสาวพนักงานปั๊ม ขับรถไล่ตามลุงเติมน้ำมันเเล้วชิ่ง ไกลถึง 3 จังหวัด สุดท้ายลุงไม่รอด งานนี้ไม่คุ้มค่าน้ำมัน...เเต่สะใจนักร้องดัง "จัสติน บีเบอร์" กำลังจะเป็นพ่อคนแล้วปิดฉากรัก 18 ปี "แม่สิตางศุ์" ร่ำไห้เลิกผัว ลั่นแช่งทุกวันขอให้ตๅยเร็วๆคุณรู้จักLGBTแค่ไหน"พีเค" ลุ้น! รีเทิร์น "โยเกิร์ต"..หลังมีดราม่ากับนางแบบสาวเวียดนาม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ตำแหน่งงานในประเทศไทย ที่มีอัตราฐานเงินเดือนเฉลี่ยสูงมากที่สุดรีวิว ซีรีส์เกาหลี "Parasyte : The Grey (2024)" โดยนักแสดงนำ "จอนโซนี และ คูคโยฮวาน"สรุปดราม่า "พีเค" หลังถอยกรูดสัมพันธ์นางแบบเหงียนสาวพนักงานปั๊ม ขับรถไล่ตามลุงเติมน้ำมันเเล้วชิ่ง ไกลถึง 3 จังหวัด สุดท้ายลุงไม่รอด งานนี้ไม่คุ้มค่าน้ำมัน...เเต่สะใจงานเข้า! "เจนี่" โดนทัวร์เขมรลงฉ่ำ..หลังเที่ยวนครวัด แต่ใส่เพลงนี้ในคลิป
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เด็กหลอดแก้ว เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เพื่อครอบครัวที่มีบุตรยากคุณรู้จักLGBTแค่ไหน"จังหวัดที่มีป่าไม้"มากที่สุดในประเทศไทยnonsense:
ตั้งกระทู้ใหม่