หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อ notebook
1 งบประมาณ ลักษณะการใช้งาน
2 ขนาดหน้าจอ + น้ำหนัก
3 CPU
4 GPU
Netbook = เครื่องเล็กๆ พกพาสะดวก ราคาถูกสุดด้วย
Ultrabook = แพงกว่าปกติ เพราะเครื่องบาง เบา แบตอยู่ได้นานพอควร ไม่มี DVD นะ
Notebook = ครบครัน อเนกประสงค์สุดๆ
ขนาดหน้าจอ และน้ำหนัก
เลือกตามความเหมาะสม และลักษณะการใช้งาน ไม่ใช่ว่าหน้าจอใหญ่ๆจะดีเสมอไป เพราะยิ่งหน้าจอใหญ่เท่าไหร่ น้ำหนักจะยิ่งมากนะครับ หน้าจอที่นิยม ก็คือ 14 นิ้ว ...... เล็กลงมาหน่อย 13.3 ถ้าใครชอบหน้าจอใหญ่ๆ ก็ 15.6 นิ้ว น้ำหนักโดยเฉลี่ยของแต่ละรุ่น
ขนาดหน้าจอ 10-13 น้ำหนักประมาณ 1.1-1.4 กิโลกรัม ( netbook)
ขนาดหน้าจอ 13.3 น้ำหนักประมาณ 1.3 -2.0 กิโลกรัม
ขนาดหน้าจอ 14 น้ำหนักประมาณ 1.8-2.4 กิโลกรัม
ขนาดหน้าจอ 15.6 น้ำหนักประมาณ 2.1-2.8 กิโลกรัม
คำแนะนำ เน้นหน้าจอ 13.3-14 เป็นหลักนะครับเพราะหน้าจอจะกำลังดีไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป
ความละเอียดหน้าจอ
ปัจจุบันนี้ notebook ของทั้งตลาดส่วนใหญ่ คือ 1366x768 นะครับ อีกรุ่นนิยมจะเป็น 1920x1080
โดยถ้ายิ่งความละเอียดสูง ภาพก็จะยิ่งชัดขึ้นสำหรับ ( ความละเอียดต่อตารางนิ้วมากขึ้นครับ)
และที่สำคัญจะเห็นภาพได้กว้างขึ้นนะครับ
การดูสเปค เช่น
14 inch (1366x768) HD
CPU โดยขอพูดถึงรุ่นนิยมของ Intel
Core-i3 เหมาะสำหรับคนทำงานเอกสารทั่วไป ดูหนังฟังเพลง เล่นเนทได้ชิวๆ ……. ( เล่นเกม พอได้ เช่น พวก Dota )
Core-i5 เหมาะสำหรับคนเล่นเกมส์ ทำงานทั่วไป
Core-i7 คอ....เกมตัวยง นักวิศวะกรรม ออกแบบทำงานสามมิติ ตกแต่งรูป
Atom จะเป็น cpu สำหรับ netbook นะครับ กินไฟฟ้าน้อย ประหยัดพลังงาน เหมาะกับงานออฟฟิตทั่วไป
โดย ตระกูล Core-i จะแบ่งย่อยอีกเป็น 2 พวก คือ พวกประหยัดพลังงาน และ ปกติ
รุ่นประหยัดพลังงาน เช่น Intel Core i5-3317U ( จะลงท้ายด้วย U )
รุ่นปกติ เช่น Intel Core i5-3210M
HQ คือ CPU กับ MAINBOARD จะรวมกัน
MQ คือ CPU กับ MAINBOARD จะแยกกัน ถ้า CPU เสียก็หา CPU เปลี่ยนครับ
ปัจจุบัน นี้หลายคนคงได้ยินว่า มือถือ รุ่นใหม่ๆ นั้น มี CPU ประเมิณผล 4 หัว หรือ 4 core นั่น เองรุ่นไหนไม่แรงอาจจะเป็น dual core หรือ 2 หัวแต่สำหรับ CPU notebook จะแบ่งเป็น
Core-i3 = 2 core / 4 Threads ex. Clock speed 2.1
Core-i5 M,H = 2 core / 4 Threads ex Clock speed 2.7- 3.1
Core-i7 U = 2 core / 4 Threads ex Clock speed 2.8- 3.5
Core-i7 HQ = 4 core / 8 Threads ex Clock speed 2.6- 3.4
Core คือ CPU แท้ที่ใช้ประเมินผลนะครับคือ อย่าง Core-i3 จะมี แกนประเมินผลแท้ อยู่ 2 แกน แต่ได้จำลองแกนประเมินเป็น 4 แกน หรือ 2/4 นั่นเอง แต่ Core i7 นั่นจะมี แกนแท้ 4 แกน และสร้างแกนประเมินผลออกมา ถึง 8 แกน หรือ 4/8
โดย Clock speed นั่นคือความเร็วในการประเมิณผล จะเห็นว่า i5 กับ i3 นั่นมี แกนประเมินผลเท่ากัน แต่จะต่างกันที่ความเร็วครับ
+ นักเรียนนักศึกษาทั่วไป ท่องเนท ทำรายงาน ดูหนังฟังเพลง งบจำกัด ใช้ Corei3 ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
+ ถ้ากะว่าเล่นเกมส์หนักๆ เช่น GTA แบบนี้ก็ใช้ Core i5M หรือ Corei7U ก็ได้ครับ แล้วไปดูที่ การ์จอรุ่นสูงๆ
+ ยิ่ง CPU แรง ยิ่งกินไฟนะครับ
+ Core- i3 จะเป็นความเร็วคงที่ 2.2 แต่ Core i5 และ i7 จะมีระบบ Turbo boot เช่นจาก 2.1 เพิ่มได้สูงสุด ถึง 2.7 เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องใช้ความเร็วในการประเมินผลเพิ่มขึ้น เครื่องจะปรับ Clock speed ขึ้นมาเอง ครับ
+ ดังนั้นถ้าใช้อยากแรง ใช้งานตัดต่อ เล่นเกมส์ที่ใช้ CPU เยอะๆ ต้องใช้ รหัส Core i7 HQ,MQ จะได้ 4 core / 8 Threads
VGA การ์ดจอ การ์ดแสดงผล
เป็นการ์ดแสดงผล Cpu สมัยนี้จะมีการ์ดจอจะฝังอยู่ใน CPU เลย เช่น Intel HD CPU Intel® Iris™ Pro Graphics 6200 Intel® HD Graphics 5600 ( โดยจะเรียกว่า การ์ดจอ On board ) แค่นี้ก็พอกับการเล่นเกมส์ Facebook เกมส์บนเว็บไซต์ ดูหนังได้ชิวๆ
สำหรับ VGA การ์ดในตลาด จะมี 2 ค่ายใหญ่ คือ AMD กับ NVidia
AMD series ปัจจุบันจะเป็น AMD Radeon HD AMD Radeon R5 M2x0 เช่น M240 ยิ่งเลขมากก็จะยิ่งแรง
nVidia series ปัจุุบันจะเป็น nvidia GeForce GT 9xxM เช่น 940M , ยิ่งเลขมากก็จะยิ่งแรง
เน้นเล่นเกมส์ ควรใช้ GT 940M ขึ้นไป หรือ R9 M370 ขึ้นไป
แรม การ์ดจอ NVIDIA GeForce 920M (2GB GDDR3)
ตัวการ์จอเองก็มีแรม ส่วนตัว.....คิดว่า แรมการ์จอ 2GB กับ 4 GB ถ้าไม่ใช่คนเล่นเกมส์จริงจัง บอกได้เลยว่าแรม 2GB กับ 4 GB ไม่ได้ต่างกันนะครับ บางครั้งจะเจอคนขายชอบพูด แรมการ์จอ 4 GB เลยนะน้อง
Ram แรม
RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ
เป็นหน่วยความจำ ถ้า window 7 ขึ้นไป ควรใช้ 4 GB นะครับ ถ้าใครเล่นเกมส์หนักๆ ทำงานออกแบบ ตัดต่อ อาจจะซื้อไส่เพิ่มเป็น 8 +ก็ได้ ถ้าเกิดหน่วยความจำไม่พอเครื่องจะค้างและช้า notebook สมัยนี้ส่วนใหญ่จะให้มา 4 GB อยู่แล้วก็เพียงพอกับกาใช้งานทั่วไป
Harddisk
ถ้าคนปกติจริงๆนะครับ 500 GB ก็เหลือแล้ว ยกเว้นบางพวกโหลดหนังมาดูเก็บเพลงเยอะๆ อันนี้เป็น 1000 GB ก็ยังไม่พอ สำหรับความเร็วในการอ่าน จะเห็นตัวเลข 5400 rpm กับ 7200 rpm 7200 rpm จะอ่านได้เร็วกว่านิดนึงครับ แต่ข้อเสียของมันก็มีอยู่บ้างคือ คือความร้อนสูง ตามเว็บไซต์เมืองนอกเขาว่ากันว่าทางทฤษฎีเร็วกว่ากัน 8 %
Hardisk อีกประเภทคือ SSD = Solid State Drive จะอ่านได้เร็วกว่า เสียงเบากว่า กินฟ้าน้อยกว่า ไวต่อการบูตเครื่อง ทนต่อแรงกระแทก และสุดท้าย แพงกว่าเยอะ 555+ นิยมใช้ใน Ultrabook และข้อเสียอีกข้อ ยังเก็บข้อมูลได้น้อย
+ โดยผมเองก็ใช้อยู่ครับ เปิดเครื่องไวมากครับ 5 วิเข้าหน้า windows รู้สึกถึงขั้นโหลดเว็บไซต์ในแต่ละหน้าไวขึ้นครับ
+ ถ้าจะซื้อ SSD มาติดใน notebook ส่วนใหญ่เค้าจะถอด DVD ออกครับ โดยอาจจะใช้ SSD แค่ 128 GB ก็เพียงพอ โดยราคาประมาน 3000 บาท
การเลือกซื้อ notebook มีสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ส่วนประกอบภายนอก ส่วนประกอบภายใน และส่วนเสริมอื่นๆ รวมไปจนถึงงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ดังต่อไปนี้
วิธีเลือก notebook ต้องมองปุ๊ป สะดุดตาปั๊ป เสพย์ความหรูหราไปในตัว ในด้านส่วนประกอบภายนอกเป็นความชื่นชอบส่วนบุคคล และถือว่าเป็นเรื่องแรกที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ดีไซน์ น้ำหนัก วัสดุที่ผลิตหรือประกอบเครื่อง รวมไปจนถึงพอร์ทต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้งาน เพราะรูปลักษณ์ภายนอกนอกจากจะเอื้ออำนวยต่อการใช้งานให้สะดวกแล้ว ยังถือเป็นหน้าเป็นตาเช่นเดียวกับการแต่งตัวออกไปเดินข้างนอกที่ต้องดูดีมีสไตล์ตามแต่ละบุคคล
ตัวอย่างการพิจารณาส่วนประกอบภายนอก ดังนี้
ขนาดหน้าจอ เช่น 13.3 นิ้ว, 14.1 นิ้ว ,15.6 นิ้ว เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความคล่องตัวก็อาจเลือกจอที่มีขนาดเล็ก หรือนักตัดต่อภาพ มีเดียต่างๆก็อาจเลือกหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมากกว่า 15 นิ้วก็เป็นได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน
น้ำหนัก เช่น 1.13 กิโลกรัม, 1.8 กิโลกรัม, 2 กิโลกรัม เป็นต้น เรื่องของน้ำหนักสำหรับบางท่านที่ซื้อมาใช้งานแทนเครื่อง PC (Personal Computer) อาจไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก เพราะไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหนมาก แต่สำหรับนักธุรกิจหรือนักเดินทางอาจจะเป็นเหตุผลต้นๆในการเลือกซื้อเลยก็ได้
พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก เช่น USB 2.0 USB 3.0,พอร์ท Memory , พอร์ท HDMI , Display, DVD , LAN เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการใช้งาน เพราะในสถานการณ์จริงเราอาจต้องใช้ Notebook ในการนำเสนอผลงาน อาจเปิดไฟล์จาก USB หรือ CD/DVD หรืออาจต้องใช้ Display port ก็จะทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น แต่สำหรับบางท่านพอร์ทเหล่านี้อาจไม่จำเป็นมากนัก แค่มี USB สัก 2 - 3 พอร์ทก็สะดวกที่สุดแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงมี Notebook อย่าง Ultrabook ส่วนใหญ่มักไม่มีช่องอ่านเขียน DVD หรือแม้แต่ช่องเสียบสาย LAN เพื่อประหยัดพื้นที่ให้กระชับ และลดน้ำหนักให้ Ultrabook ตัวนั้นๆ
คีบอร์ด และทัชเพด ต้องเหมาะกับตัวเรามากที่สุด หากคีบอร์ดและทัชเพดกว้าง พิมพ์ง่ายใช้งานง่าย เหมาะมือ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ยังมี backlight keyboard ที่สามารถมองเห็นคีบอร์ดได้อย่างถนัดแม้อยู่ในที่มืด, ทัชกรีนมอนิเตอร์ที่อาจทำให้ลืมทัชเพดไปเลยก็ได้ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกทีใช้ในการตัดสินใจ
วัสดุประกอบเครื่อง เช่น พลาสติก , อะลูมิเนียม , แมกนีเซียมอัลลอย เป็นต้น วัสดุอย่าง แมกนีเซียมอลูมิเนียมอัลลอย หรือพวกโลหะผสม(Alloy) เหล่านี้จะดีที่สุดเพราะทั้งเบาและทนทาน แต่ราคาก็สูงขึ้นมาด้วยเช่นกัน
ส่วนประกอบภายใน
วิธีเลือกซื้อ notebook สิ่งสำคัญคือประสิทธิภาพในการใช้งานสำหรับเรา จำเป็นต้องมีระบบประมวลผล(CPU) หน่วยความจำหลัก(RAM) และหน่วยความจำสำรอง(ROM ,HDD)มากน้อยเพียงใด ส่วนประกอบภายในจึงจำเป็นต้องมีความรู้อยู่บ้างพอสมควร
ตัวอย่างการพิจารณาส่วนประกอบภายใน ดังนี้
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นสิ่งแรกและเป็นสิ่งหลักๆในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์หรือ Notebook ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด CPU เป็นสิ่งที่จะบอกว่า Notebook ของเราเร็วแค่ไหน แต่ก็ต้องบอกว่ายิ่งเร็วมากก็ยิ่งราคาสูงขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วมากๆในการประมวลผล CPU จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง
ปัจจุบันผู้นำในด้านหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ยังคงเป็นค่าย Intel และยังครองตลาดได้สูงสูดเนื่องจากการพัฒนาให้ซีพียูแต่ละรุ่นมีความเร็วที่มากๆขึ้นๆ ตั้งแต่ตระกูล Pentium ,Core ,จนมาถึงตระกูล i แต่ก็มีคู่แข่งหลักอย่าง AMD ที่มีการพัฒนาที่แตกต่างในด้านการประยุกต์ใช้ CPU ให้มีผลต่อการแสดงผลในระดับ HD ซึ่งในบางครั้งหากเลือก AMD ก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชิบกราฟฟิกเลยด้วยซ้ำเพราะคุณสมบัติของ AMD CPU นี้เอง
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น CPU ของค่ายใด สำคัญที่สุดคือด้านความเร็ว เช่น 2.2 GHz ,2.4 GHz , 2.8 GHz เป็นต้น หลายท่านอาจต้องการความเร็วมากที่สุด ในขณะที่อีกท่านอาจต้องคำนึงถึงความประหยัดพลังงาน ก็จำเป็นต้องมีความเร็วไม่มากนัก นอกจากนี้มีเทคโนโลยี Turbo bust ที่สามารถเร่งการทำงานของซีพียูอัตโนมัติ รวมถึงซีพียูที่เน้นในด้านของการประหยัดพลังงาน นี่ก็ถือเป็นข้อพิจารณาด้วยเช่นกัน
ชิปกราฟฟิก จะได้ยินอยู่ 2 คำ คือ การ์ดจอแยก หรือ การ์ดจอออนบอร์ด โดยแบบแยกจะสามารถแบ่งการทำงานของ CPU กับกราฟฟิกได้ เช่น NVIDIA ,ATI เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องกินไฟมากกว่าและราคาก็สูงกว่าด้วย ในขณะที่ออนบอร์ดก็จะไม่เน้นการแสดงผลมากนัก เพียงแต่ให้เล่นเกม ดูหนัง HD ได้ก็เพียงพอ ไม่เน้นกราฟฟิกอลังการแต่เน้นที่ความสเถียร และภาพไม่กระตุก คุณสมบัติของออนบอร์ดอีกอย่างก็คือการประหยัดพลังงาน อย่างเช่น Ultrabook หลายๆยี่ห้อในตลาดทุกวันนี้
หน่วยความจำหลัก (Random Access Memory : RAM) แรมยิ่งมากยิ่งดี เพราะยิ่งหน่วยความจำหลักมากก็ยิ่งทำงานได้มากขึ้นและเร็วขึ้น แต่ในบางครั้งเราไม่ได้ใช้งานอะไรมากมาย จึงไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก อาจเลือกเพียง 2 - 4 GB ก็เพียงพอแล้วในการใช้งานในปัจจุบัน
ช่วงที่สอง : ใช่เล่ยยยยยย
แนวทางและคุณสมบัติในการเลือกซื้อ 1. ใช้งานพวก office ทั่วไป ตั้งแต่ word excel PowerPoint access ฯลฯ 2. พวกใช้งานพวกกราฟฟิคบ้าง เน้นความเร็ว ทันสมัยพอสมควร เช่น พวกออกแบบ หรือ เล่นเกมส์ปานกลาง 3. พวกใช้งานพวกกราฟฟิคหนักๆ ตัดต่อหนังอะไร เล่นเกมส์หนักๆ ประมาณนั่น CPU : Core Duo, Core2Duo ราคาชุดนี้จะอยู่ที่ประมาณ 30,000 ปลายๆ ไปจนถึง 100,000 ก็มี แล้วจะเลือกยี่ห้อไหนดี Inter Brand ได้แก่ ราคาพวก Inter Brand ย่อมแพงกว่า Local อยู่แล้ว การรับประกัน ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ (Windows, Application อื่นๆ) เขาให้เราฟรีหรือเปล่า
อะไรคือสิ่งที่ต้องพิจารณาในการดูฮาร์ดแวร์โน็ตบุ๊ค CPU ดังๆ ที่นิยมใช้ AMD :
จอ (Monitor)
เว็บแคม (Webcam)
|