พาไปดูฟาร์มหอยแมงภู่ คลองบางสน ถิ่นประตูสู่ภาคใต้
A : "เฮ้ยแก ไปชุมพรเป็นเพื่อนหน่อย"
B : "เมื่อไหร่อ่ะ ไปทำไรวะ"
A : มีโปรเจคงานนิดหน่อยอ่ะ ช่วงนี้แกหยุดยาวไม่ใช่หรอ ถือว่าไปเที่ยวแล้วกัน พักฟรี กินฟรีนะเว้ยย
เอาแต่ตัวกับหัวใจไปก็พอ นะ นะ นะ ไปเป็นเพื่อนฉันหน่อย
B : เออๆ ก็ได้ มารับกี่โมง #$#%$#@#@$%#%$%
......................................
จบบทสนทนา
รู้ตัวอีกทีก็ตบปาก รับคำเพื่อนสาวไปแบบงงๆ ว่าจะไปชุมพรเป็นเพื่อนนาง 2 วัน 1 คืนแล้ว
.
.
.
.
เช้าวันถัดมา นางมารับที่คอนโดตามนัดหมาย....
ระหว่างทางนางก็เล่าให้ฟังถึงจุดประสงค์ทริปปุ๊บปั๊บครั้งนี้ว่า นางต้องไปติดตามความคืบหน้าโปรเจคเลี้ยงหอยแมงภู่ที่นางศึกษาวิจัยและดูแลร่วมกับชาวบ้านคลองบางสน จังหวัดชุมพร แต่เพราะวันนี้พี่คนที่เคยไปด้วย ดันลาป่วยกะทันหัน นางเลยมองไม่เห็นใครที่จะพึ่งพาได้แล้วนอกจากเรา
ถ้าพูดถึงตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร อาจเป็นพื้นทีๆไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าไหร่ เพราะไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น เลยไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวแวะผ่านเข้ามาท่องเที่ยวมากเท่าไหร่ ที่นี่จึงเป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีความสงบ และยังคงความเป็นธรรมชาติสูง ชาวบ้านยึดอาชีพการทำการประมง โดยเป็นลักษณะการรวมกลุ่มกัน เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตพื้นบ้าน เช่น เลี้ยงหอยแมงภู่ เลี้ยงปลา บางส่วนก็เปิดเป็นโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
ขับรถจากกรุงเทพประมาณ 5-6 ชม. เราก็มาถึงจุดหมายปลายทางอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพรค่ะ เรารีบไปเก็บของเข้าที่พัก จากนั้นต้องรีบออกมาลงพื้นที่ทำงานแล้วค่ะ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า โปรเจคที่เพื่อนเราทำคือ การทำงานร่วมกับชุมชนชาวประมงในพื้นที่ เพื่อไปช่วยสร้างบ้านปลา บ้านหอยแมลงภู่ ที่เพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อหารายได้ให้ชุมชน พร้อมกับอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลไปพร้อมๆกันค่ะ
ซึ่งพื้นที่อ่าวบางสน ตามธรรมชาติแล้วจะมีเชื้อลูกหอยแมลงภู่อยู่แล้ว ประกอบกับพื้นที่จะมีลักษณะเป็นอ่าวที่สามารถกำบังคลื่นลมเหมาะกับการเติบโตของหอยที่อยู่ในช่วงอนุบาล วันที่เราไปลงพื้นที่ โชคดีที่เจอชาวบ้านกำลังเก็บหอยอยู่พอดี
ซึ่งก่อนหน้านี้ที่เพื่อนเราจะเข้ามาทำโครงการร่วมกับชาวบ้าน ที่นี่พบปัญหาสัตว์น้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้นทุนการทำประมงที่สูงขึ้น จึงได้เกิดโครงการศึกษาวิจัย ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้ง 3 ฝ่าย จากรัฐ เอกชน และชาวบ้านในพื้นที่ ทำเป็นโครงการสร้างบ้านปลาบ้านหอย สู่ชุมชนยั่งยืน ขึ้นมา โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง เอกชนคือ ซีพีเอฟ ในโครงการ ซีพี เพื่อความยั่งยืน เข้ามาทำงานร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวบางสน
ซึ่งมีการประยุกต์นำไส้กรองซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากโรงเพาะฟักลูกกุ้งของ ซีพี นำมาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ล่อลูกหอยแมงภู่ โดยนำเอาไส้กรองไปแขวนไว้ในทะเล โดยจะเป็นการแขวน แนวเชือกไว้เป็นแนวดิ่ง มีทุ่นผูกเป็นระยะ เพื่อพยุงไม่ให้จม และเพิ่มพื้นที่การติดของลูกหอย จากนั้นเอาไปวางในน้ำลึก ถ่วงด้วยปูนให้วัสดุล่อลูกหอยจม หลังจากนั้น ประมาณ 6-7 เดือน ชาวบ้านก็จะเริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว
ซึ่งในวันที่เราไปนั้น ได้ครบกำหนดการเก็บผลผลิตพอดี ไม่เคยเห็นหอยเป็นพวงแน่นขนัดขนาดนี้เลย ประหลาดใจ
ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า แต่เดิมก่อนที่จะมีโครงการนี้ ชาวบ้านที่นี่เลี้ยงหอยกันแบบทั่วไปคือ มักใช้วิธีการปักหลักไม้ เพื่อล่อให้ลูกหอยมาเกาะ โดยใช้ไม้ไผ่พอลูกหอยโตได้ขนาดแล้ว หากไม่เก็บเกี่ยวตามกำหนด ก็จะพบปัญหาหอยที่เกาะกันเป็นพวงหลุดล่วงลงสู่พื้นดิน หรือโดนกระแสคลื่นลมพัดพาเสียหาย แต่การเปลี่ยนมาใช้ไส้กรอง ทำให้หอยยึดหลักได้ดีขึ้น ลดความเสียหายและเก็บผลผลิตได้มากกว่าเดิม
เราพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อเก็บข้อมูลของโครงการได้ไม่นาน ก็ถึงเวลาเย็นที่ต้องเดินทางกลับ เพื่อไปพักผ่อนแล้ว ขานั่งเรือกลับสังเกตว่าน้ำลงกว่าตอนขามา เจอฝูงนกกา และฝูงลิงแสมโผล่มาทักทายเป็นระยะ ลมเย็นๆ ปะทะหน้าโชยมาริมคลองให้ความรู้สึกชิลเหลือเกิน
เสร็จสิ้นภารกิจเรียบร้อยแล้ว พรุ่งนี้ได้เวลาเดินทางกลับแล้ว ช่างเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรวดเร็วแบบไม่ทันตั้งตัว ที่คลองบางสนแห่งนี้ ไว้มีโอกาสคราวหน้า ที่อยากหนีความวุ่นวายในเมืองกรุง เราจะกลับมาใหม่นะ คลองบางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร