โรงไฟฟ้าถ่านหินปลอดภัยแน่ ดูมาเลย์เป็นตัวอย่าง
บางคนห่วงว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม พวกเอ็นจีโอโวยวายกันใหญ่ ดร.โสภณเลยขอพาทุกท่านไปชมโรงไฟฟ้าถ่านหิน Kapar ที่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์เพียง 56 กิโลเมตร มาดูกันว่าปลอดภัยไร้กังวลอย่างไรบ้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินก็เป็นอสังหาริมทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่พึงจับตามอง
เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2560 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้รับเชิญไปประชุมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดร.โสภณจำได้ว่าใกล้นั้น มีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่โรงหนึ่ง ดังนั้นในวันสุดท้ายของการประชุม ดร.โสภณเลยเหมาแท็กซี่จากโรงแรมใจกลางกรุงไปที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไป 56 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก แล้วตรงไปส่งสนามบินซึ่งอยู่ทางใต้ห่างออกไปอีก 60 กิโลเมตรเลย งานนี้ใช้เงินไปประมาณ 2,000 บาท เพื่อไปค้นหาความจริงกันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ ปลอดภัยจริงหรือไม่ เผื่อจะทำให้คนไทยคลายกังวลลงได้บ้าง
โรงงานไฟฟ้าถ่านหินนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Sultan Salahuddin Abdul Aziz Power Station เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกของมาเลเซีย ตั้งขึ้นเมื่อปี 2528 ตั้งอยู่ในเขตเมือง Kapar ในรัฐ Selangor การปรากฏขึ้นของโรงไฟฟ้าแห่งนี้แสดงว่าไทยเรายังนำหน้ามาเลเซียในการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งที่แม่เมาะและกระบี่มานานแล้ว เอาแค่ที่กระบี่ก็เดินเครื่องตั้งแต่ปี 2509 แล้ว ยิ่งกว่านั้นยังเป็นประจักษ์หลักฐานชี้ให้เห็นว่าขนาดมาเลเซียที่มีแก๊สและน้ำมันเหลือเฟือในราคาถูก ยังหันมาใช้ถ่านหินซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่า และหลังจากการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้สำเร็จ ก็ยังได้ตั้งใหม่อีกหลายแห่ง
จะสังเกตได้ว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้ และแห่งอื่น ๆ ในมาเลเซีย ล้วนตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเลย แตกต่างจากโรงไฟฟ้ากระบี่ที่ตั้งอยู่ห่างจากฝั่งนับสิบกิโลเมตร นี่แสดงว่าเขามั่นใจในความปลอดภัย ไร้กังวล การมีโรงไฟฟ้าห่างฝั่งมากไป อาจส่งผลเสียต่อต้นทุนการขนส่งถ่านหินซึ่งมาทางทะเลด้วยซ้ำไป แหล่งถ่านหินใหญ่ของโรงไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ ขนส่งทางเรือมาจากประเทศอินโดนีเซีย ถ่านหินเหล่านี้คือ 'บิทูมินัส' ซึ่งเป็นถ่านหินที่ดีกว่าลิกไนต์ ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำกว่า ดร.โสภณเองก็เกือบได้ไปประเมินเหมืองถ่านหินที่เกาะบอร์เนียว (เสียดายต้องรอไปก่อน) แต่เท่าที่ศึกษาเหมืองแต่ละแห่งดำเนินการบนพื้นฐานความปลอดภัยสูงมาก (ต่างจากที่เอ็นจีโอเที่ยวโพนทะนา
การมีโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นมากขึ้น รวมทั้งการจ้างงานทางอ้อม เช่น การค้าขายต่างๆ ถ้าปิดไป เช่นการปิดเหมืองทองคำพิจิตรในไทย ก็ทำให้คนงานตกงานนับพันๆ คน การค้าขายในพื้นที่ก็คงมลายไปด้วย คนคงต้องเข้าเมืองหางานในกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน ยิ่งในแง่ของอสังหาริมทรัพย์ การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้านี้ย่อมส่งผลดีในแง่ที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น เพราะมีคนมาทำงานกันมาก ก็ต้องการที่พักอาศัย หรือแหล่งการค้าเพื่อการจับจ่ายใช้สอยของพนักงานในพื้นที่ ก็ย่อมทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นผิดครับความวิตกในตอนแรกๆ ว่าจะเกิดมลพิษต่างๆ นานา
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ด้านการเกษตร ก็ไม่มีปัญหาผลกระทบใดในด้านสิ่งแวดล้อม ยังปรากฏมีสวนยาง สวนปาล์มทั้งเก่าและใหม่อยู่โดยรอบอย่างหนาแน่น การนี้แสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรมแต่อย่างใด ยิ่งในแง่ของที่อยู่อาศัยของชาวบ้านทั่วไป ก็พบว่ามีที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบมีทั้งชุมชนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ นี่ถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินมีมลพิษจริงเค้าคงไม่ให้ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับกรุงกัวลาลัมเปอร์อย่างแน่นอน
ตอนแรกตั้งโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ก็มีเสียงคัดค้านว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพื้นที่อพยพของนกจากทางไกลและเป็นแหล่งนกในท้องถิ่นอีกด้วย แต่การที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ดำรงอยู่ได้มาระยะหนึ่ง เสียงคัดค้านก็หายไปเพราะพิสูจน์ได้ว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม แต่นี้ในกรณีประเทศไทย พวกเอ็นจีโอกลับอาศัยความกลัวมาข่มขู่ไม่ให้สร้างโดยไม่ยอมให้โรงไฟฟ้าได้พิสูจน์ให้เห็นเลย ทางที่โรงไฟฟ้าใหม่ที่กระบี่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยกว่าในมาเลเซียเสียอีก
ตอนนี้มีการกระพือข่าวโดยพวกเอ็นจีโอว่ามีการปิดโรงไฟฟ้ามากมายหลายแห่งโดยเฉพาะในจีน ข่าวนี้เป็นการบิดเบือนเพราะการปิดโรงงานที่ก่อมลพิษ จีนก็ดำเนินการปิดอยู่ตามปกติอยู่แล้ว แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆยังอยู่และยังจะสร้างต่อไปอีกมาก จากรายงานผลการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าอนาคตของถ่านหินสดใสมากเนื่องจากเทคโนโลยีในแต่ละประเทศสามารถควบคุมมลพิษได้แล้วและที่สำคัญราคาถูกที่สุด
แบบอย่างมาเลเซียจึงชี้ชัดว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินปลอดภัย อย่าให้พวกเอ็นจีโออาศัยความกลัวมาทำลายผลประโยชน์ของประชาชนจากการได้พลังงานราคาถูกและปลอดภัยเลยนะครับ พวกเอ็นจีโอมักมีข้ออ้างอยู่ร่ำไป เช่น แม้ว่าความปลอดภัยจะดี แต่คนไทยคุณภาพไม่ดี จึงควบคุมโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ดี อาจเกิดอุบัติเหตุได้ นี่คงเป็นการดูถูกและตบหน้าคนไทยชัดๆ ถ้ากลัวมากทำเอ็นจีโออ้างก็คงต้องจ้างวิศวกรมาเลย์ ญี่ปุ่น หรือเยอรมนีมาควบคุมแล้วหรอครับ
มาร่วมกันทำความจริงให้ปรากฏอย่าให้พวกเอ็นจีโอหลอกลวงเราได้นะครับ