ประเพณีแตกบ้าน ประเพณีความเชื่อ ที่สืบทอดกันมายาวนาน
โพสท์โดย กิตตินันท์
(16 มี.ค. 53) ชาวตำบลเทอดไทย ตำบลเหล่า ตำบลทุ่งเขาหลวง ตำบลมะบ้า ตำบลบึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด มีประเพณีแตกบ้าน โดยชาวบ้านจะหอบลูกจูงหลานออกจากบ้าน ไป รับประทานอาหาร ตามทุ่งนานอกหมู่บ้าน ทำพิธี นั่งนอน โดยมี แม่หม้ายเป็นคนไปเรียกให้ออกจากหมู่บ้าน จากนั้นเวลาประมาณ 20.00 น.จึงพากันกลับเข้าหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง เป็นการสร้างกล ให้เภทภัยหายไป โดยวันแตกบ้าน ถือเอา วัน วันที่ถือว่าเป็นวันอุบาทว์ วันจัญไร วันโลกาวินาศ หรือวันโลกแตก คือวันที่เลข 5 มาจบกัน และตรงกับวันอังคาร คำว่าเลข 5 มาจบกันคือวันขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เดือน 5 และตรงกับวันอังคารด้วยถ้าไม่ตรงกับวันอังคารจะไม่เป็นไร ส่วนปีไม่สำคัญจะเป็นปีอะไรก็ได้ หากวัน (ทางจันทรคติ) ดังกล่าวมาเจอกันต้องทำพิธีแตกบ้าน วันที่ 16 มี.ค. 53 ตรงกันพอดี ในปี 2553
ประเพณีแตกบ้านคำว่า “แตกบ้าน” หมายถึงการอพยพเคลื่อนย้ายบ้านไปหาที่อยู่ใหม่ เพราะบ้านเดิมมีเหตุเภทภัยต่าง ๆ นานา อาจเพราะเกิดโรคระบาดรุนแรง มีผีสางนางไม้อาละงาดหมู่บ้าน มีผีห่าลงกินคนและสัตว์หรือเพราะความฝันและทำนายของพ่อกะจ้ำ (ผู้นำทางจิตวิญญาณให้หนีจากที่เดิม) ตลอดจนกลัวสัตว์ร้ายต่าง ๆ จะมาทำอันตราย ฯลฯ นั่นคือความหมายของการแตกบ้านที่เกิดจากสภาพจริง แต่ประเพณีการแตกบ้านในที่นี้คือการทำพิธีแตกบ้านหรืออพยพย้ายบ้านตามประเพณีความเชื่อเท่านั้นซึ่งปัจจุบันยังมีการปฏิบัติอย่างมากมายและค่อนข้างจะเคร่งครัดในบางท้องถิ่น ซึ่งมีความเป็นมาการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ความเป็นมา การแตกบ้านไม่มีใครทำการศึกษาและมีหลักฐานอ้างอิงจึงไม่ทราบความเป็นมาที่ชัดเจน ถามจากคนเฒ่าคนแก่ก็บอกทำตามประเพณีเกี่ยวกับวันอุบาทว์ วันอัปมงคลที่พ่อพราหมณ์กล่าวไว้เท่านั้น เพราะเชื่อกันว่าวันที่จะต้องทำพิธีแตกบ้านนั้น เป็นวันไม่ดี จะมีความเดือนร้อน อันตรายต่าง ๆ จะตามมาหากไม่ทำพิธีแตกบ้านไปอยู่ที่อื่น เมื่อได้ปฏิบัติติดต่อกันมาเรื่อย ๆ จึงกลายเป็นประเพณีไปในที่สุด
2. วันเดือนปีที่ต้องแตกบ้าน พ่อพราหมณ์โบราณอีสานบอกว่าวันและเดือนที่จะต้องทำพิธีแตกบ้านคือวัน และเดือนต่อไปนี้
2.1 วัน วันที่ถือว่าเป็นวันอุบาทว์ วันจัญไร วันโลกาวินาศ หรือวันโลกแตก คือวันที่เลข 5 มาจบกัน และตรงกับวันอังคาร คำว่าเลข 5 มาจบกันคือวันขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เดือน 5 และตรงกับวันอังคารด้วยถ้าไม่ตรงกับวันอังคารจะไม่เป็นไร ส่วนปีไม่สำคัญจะเป็นปีอะไรก็ได้ หากวัน (ทางจันทรคติ) ดังกล่าวมาเจอกันต้องทำพิธีแตกบ้าน
2.2 เดือน สำหรับเดือนที่จะต้องแตกบ้านคือเดือน 5 ดังได้กล่าวแล้วในข้อ 2.1 ส่วน อื่น ๆ แม้วันดังกล่าวจะมาบรรจบกันก็ไม่ถือปฏิบัติ การถือเอาเดือน 5 หรือเดือนเมษายน เป็นเดือน แตกบ้าน อาจเป็นเพราะเดือนนี้เป็นเดือนที่แห้งแล้งอากาศร้อนความทุกข์ยากลำบากเข้าครอบคลุมแผ่นดินอีสาน ปราชญ์อีสานจึงกลัวความสูญเสียตามความเชื่อทางหมอพราหมณ์จึงได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
3. พิธีปฏิบัติกิจกรรม เมื่อรู้ว่าวันดังกล่าวมาบรรจบกันผู้นำทางพิธีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพ่อพราหมณ์ก็จะประกาศให้ลูกบ้านรู้ว่า วันนี้จะต้องมีการแตกบ้านตามประเพณี ลูกบ้านก็จะบอกลูกหลานให้เตรียมตัว ข้าวของอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะเป็นสำหรับการดำรงชีพ มีข้าว น้ำ อาหาร เป็นต้น เมื่อเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้พร้อมแล้ว คนเฒ่าคนแก่ก็จะพาลูกหลานเดินทางออกจากหมู่บ้านตั้งแต่เช้า โดยออกเดินทางไปทางทิศคะวันออก ส่วนใหญ่จะพักอยู่ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ หนองน้ำ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากิน หลังจากได้ที่พัก วางข้าวของเรียบร้อยแล้วพวกผู้ชายก็จะออกไปหาอาหารตามแหล่งน้ำบ้างทุ่งนาบ้าง ส่วนพวกผู้หญิงก็จะพากันพักผ่อนพูดคุ
สารทุกข์สุกดิบกัน เด็ก ๆ ก็จะเล่นไล่กันตามประสา เมื่อบรรดาพ่อบ้าน คนหนุ่มหาอาหาร พวกแม่บ้านก็จะพากันทำอาหาร รวมทั้งอาหารที่เตรียมมาจากบ้านเดิม ทำเสร็จแล้วร่วมกันรับประทานเป็นพาข้าววงใหญ่กลางทุ่งนาเป็นภาพเหตุการณ์ที่ น่าประทับใจยิ่ง บางท้องถิ่นจะมีพระสงฆ์เดินทางมาด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการถวายอาหารเพลด้วย แต่ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะไม่ร่วมในพิธีกรรมนี้ เพราะเป็นพิธีพราหมณ์ที่ชัดเจนมาก พอถึงตอนเย็นก็จะพากันเก็บข้าวของสัมภาระเครื่องใช้กลับบ้าน โดยมีพ่อพราหมณ์แต่งชุดพราหมณ์ (นุ่งขาวห่มขาวสะพายย่ามมือถือดาบ) เต็มยศเดินไปเรียกลูกหลานกบลับบ้าน พ่อพราหมณ์จะทำเป็นบอกว่า “มาเด้อลูกหลานเอ้ย บัดนี้บ้านของเราอยู่เป็นสุขแล้วไม่มีเสนียดจัญไร ไม่มีอะไรน่ากลัวแล้ว จงกลับบ้านพวกเฮาเถอะ” ชาวอีสานเรียกว่า ผู้มีบุญมาเรียกกลับบ้าน แต่ก่อนจะเดินทางกลับมามีการสนทนากันก่อน ซึ่งคำสนทนาจะเป็น ดังนี้
ชาวบ้าน พ่อพราหมณ์มาจากไหน พ่อพราหมณ์ มาจากบ้านเราโน่นแหละลูกหลานเอ้ย ชาวบ้าน หมู่บ้านเราเป็นอย่างไร พ่อพราหมณ์ หมู่บ้านเราอยู่สุขสบาย ชาวบ้าน เหตุร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร พ่อพราหมณ์ เหตุร้ายต่าง ๆ พ่อพราหมณ์ได้ขับไล่ออกไปหมดแล้ว ชาวบ้าน ถ้าอย่านั้นก็กลับบ้านได้ใช่ไหมพ่อพราหมณ์ พ่อพราหมณ์ กลับบ้านได้แล้ว ที่มานี้ก็มาบอกเพื่อให้กลับบ้านนั่นแหละ
ผู้ที่มาเรียกชาวบ้านกลับบ้านนั้นบางท้องถิ่นจะมีพระมาเรียกด้วย เพราะพระคือที่พึ่งคือขวัญและกำลังใจของชาวบ้านและพระจะเป็นผู้ช่วยพูดกับพ่อพราหมณ์แต่บางแห่งก็จะไม่มีพระมาเกี่ยวข้องเพราะพระท่านถือว่าเป็นเรื่องของพราหมณ์พระไม่เกี่ยว เมื่อสนทนากันตามประเพณีความเชื่อเสร็จแล้วพ่อพราหมณ์ก็พาชาวบ้านเดินทางกลับบ้าน ต่อไปโดยต้องเดินทางเข้าไปวัดก่อนจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองจึงแยกย้ายกลับบ้าน แต่ปัจจุบันจะแยกย้ายกลับใครกลับมันเลยเป็นส่วนใหญ่ และช่วงการสนทนากับพ่อพราหมณ์แต่ละแห่งก็แตกต่างกัน บางแห่งอาจดัดแปลงแต่งคำพูดไปต่าง ๆ นานาตามความเหมาะสมและค่านิยมของแต่ละแห่ง เมื่อชาวบ้านกลับบ้านก็เป็นเสร็จพิธี
ขอบคุณที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/344836
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: zerotype, ซาอิ, ท่านแมวฮั่ว
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ10 เทคนิคง่าย ๆ ที่ทำให้บ้านเย็นขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งแอร์10 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ได้คะแนนจากผู้จ้างงานสูง จบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูงเบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้านเปิดโลกหมึกดัมโบ้ เจ้าสัตว์ทะเลสุดน่ารักที่เหมือนหลุดจากการ์ตูนดิสนีย์"ทุ่งบัวตอง" มหัศจรรย์ทางธรรมที่อยากให้ทุกคนได้มาชมวัดป่าภูทับเบิก วัดสวย ในเพชรบูรณ์ชายฉกรรจ์ที่บุกถีบพระปีนเสาหลังจากออกอากาศในรายการดังนั้น เป็นลูกศิษย์ของหลวงพี่น้ำฝน ซึ่งตอนนี้รู้ตัวแล้วเหยื่อปลัดสาวเมาขับ เสียชีวิตเพิ่มHot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้านตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิ"ทุ่งบัวตอง" มหัศจรรย์ทางธรรมที่อยากให้ทุกคนได้มาชม10 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ได้คะแนนจากผู้จ้างงานสูง จบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูงวัดป่าภูทับเบิก วัดสวย ในเพชรบูรณ์