หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การเล่น เครื่องเสียงรถยนต์ โดยใช้ลำโพงรถยนต์ ซับวูฟเฟอร์วอยซ์คู่ มีข้อดีและข้อเสีย อย่างไร

โพสท์โดย นัท

ปกติดอก ลำโพงรถยนต์ ซับวูฟเฟอร์จะมีวอยซ์คอยล์แค่ 1 ชุด (VC ชุดเดียว) วอยซ์คอยล์จะยึดติดกับกรวยลำโพง เราป้อนกระแส สัญญาณเข้าวอยซ์คอยล์จะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กตัดกับสนามแม่เหล็กของลำโพงเกิดการขยับผลักดันอากาศโดยกรวย ลำโพง
   ต่อมามีการคิดเพิ่ม VC อีก 1 ชุด ซ้อนเข้าไปเพื่อให้กรวย 1 เดียวถูกขับด้วย VC 2ชุด (VC 1 และ VC 2) ก็จะได้แรงดันขับกรวยเพิ่มขึ้น ได้เสียง (แรงอัดอากาศ) จากซับดอกนั้นมากขึ้นเรียกว่าขับแบบวอยซ์คู่
   มีข้อดีคือ ใช้ตู้ใบเดียว,ดอกซับดอกเดียวแต่ได้พลังเป็น 2 เท่าได้ ซึ่งน่าจะเหมาะกับการติดตั้งในรถยนต์ที่เนื้อที่จำกัด
   ข้อเสีย เพื่อให้กรวยทนต่อการถูกขับด้วย VC 2ชุด กรวยเองก็น่าจะต้องแข็งแรงบึกบืนขึ้น ชุดแขวนลอย (SPIDER), ขอบกรวยก็ทนทานขึ้น ให้ช่วงชักได้กว้างขึ้น (ลึกขึ้น) ช่องแม่เหล็กที่สอดวอยซ์คอยล์ก็ต้องลึก (กว้าง) ขึ้นเพื่อไม่ให้วอยซ์ คอยล์หลุดพ้นจากช่องแม่เหล็กมากไปจนดึงกลับมาไม่ได้ (วอยซ์เบียด)
   การจะให้ได้สิ่งเหล่านี้หมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นพอสมควรมิเช่นนั้นการมี VC 2ชุด ก็ไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรเพราะอัดดัง ไม่ได้ ต้องระวังด้วยว่าผู้ผลิตอาจใช้วัสดุต่างๆคุณภาพลดลง เพื่อชดเชยกับการต้องทำให้ทนแรงอัดมากขึ้นเพื่อราคาขาย จะได้ไม่สูงขึ้น นั่นก็หมายความว่าเราอาจได้เสียงซับที่ตูมตามขึ้น (จากVC 2ชุด) แต่คุณภาพเสียงกลับลดลง ต้องไม่ลืมว่า ถ้าเสียงซับแย่ลงคุณภาพต่ำ ความเพี้ยนมากขึ้น จะมีผลทำให้เสียงเบสแย่ลง ส่งผลต่อเนื่องให้เสียงกลางเลวลง โยงไปถึงแหลมที่เพี้ยนมากขึ้น มันมีผลต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ (เชื่อมด้วยฮาร์โมนิกของกันและกัน)
   ดังนั้น ความเป็นซับวอยซ์คู่ จะไม่ใช่ตัวรับประกันว่ามันจะมีคุณภาพที่ดีกว่าซับวอยซ์เดี่ยวเสมอไป เข้าใจตามนี้ด้วย

การต่อวอยซ์คู่ (VC 1 และ VC 2 สมมุติ VC ละ 4 โอห์ม) แยกแต่ละกรณี

  1. ใช้ เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ โมโนขับ VC 1 โดยเราต่อขนานกับ VC 2 ความต้านทานรวมจะเหลือครึ่งเดียวคือ 2 โอห์ม ถ้าแอมป์ถูกออกแบบให้รับกับความต้านทานต่ำขนาด 2 โอห์มได้และดูจากสเปคแอมป์ที่ระบุว่า กำลังขับ 100 W ที่ 4 โอห์ม,200 W ที่ 2 โอห์ม (อาจได้แค่ 150 W ที่ 2 โอห์มแล้วแต่คุณภาพแอมป์) ก็จะกลายเป็นว่าเรากำลังขับซับ 2 โอห์มด้วยแอมป์ 200 W “แน่นอนว่ามันดังขึ้นพอควร” แต่ข้อเสียคือ 1.1 แอมป์จะร้อนจี๋ (จากที่เดิมก็ร้อนมากอยู่แล้ว) แน่นอนว่าอายุแอมป์สั้นลง 1.2 ความเพี้ยน (THD) ของแอมป์จะพุ่งสูง อาจถึงเท่าตัวได้ 1.3 ความสามารถในการหยุดการสั่นค้างของกรวยลำโพงลดลงเหลือครึ่งเดียว (ค่า DAMPING FACTOR หรือ DF) ปกติแอมป์รถทั่วไปจะมีค่า DF แค่ 80-100 (ซุปเปอร์แอมป์อาจมี 200-300 มีเหมือนกันที่ 1,000 หรือ 2,000 หรือ 3,000 แต่พวกนี้จะมีราคาสูง) แอมป์รถราคาไม่เกิน 2 หมื่นบาทค่า DF อย่างเก่งก็ 100 (ในการใช้งานจริงไม่ควรต่ำกว่า 100 แอมป์ หลอดไม่เกิน 20 ต่ำเกินไป) ผลคือเบสจะยาน,คราง,ไม่กระชับ,เบลอ ถ้าอัดทุ้มหนักๆหรือโหลดรถเตี้ยเบสจะยิ่งพร่าเบลอ และวอยซ์เบียดได้ง่ายๆ (จังหวะรถกระแทก,ตกหลุม) เบสเบลอยาน จะส่งผลให้กลางขุ่นทึบ แหลมขุ่นทึบเช่นกัน
  2. ต่อเนื่องจากข้อ 1 ถ้าแอมป์โมโนนั้นเกิดจากเอาแอมป์สเตอริโอ (2 Ch) มาบริดจ์เป็นโมโนแล้วขับซับวอยซ์คู่โดย VC 1 ขนาน VC 2 (เป็น 2 โอห์ม) จะเท่ากับภาคขยายแต่ละภาคของแอมป์ 2 Ch นั้นพบกับ ความต้านทานแค่ 1 โอห์ม! ผลคือค่า DF ยิ่งลงไปอีกครึ่งจาก 100 ก็เหลือ 50 เหลือ 25 ผลเสียต่างๆตามข้อ 1 ก็จะทวีคูณเป็นเท่าตัว แอมป์จะร้อนแทบลุกเป็นไฟ ความเพี้ยนจะพุ่งเป็น 4 เท่า เบสจะยิ่งขุ่น,ยานคราง,เบลอ,กระพือ พูดง่ายๆ “นรกมีจริง” ต่อให้จูนระดับเทพขั้นไหนเสียง “ทั้งระบบ” ไล่จากทุ้มไปแหลม จะไม่มีวันดีได้เลย นี่จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
  3. เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ขับโมโน ขับ VC 1 อนุกรมกับ VC 2 (รวมเป็น 8 โอห์ม) จะพบว่าต้องเร่งแอมป์มากขึ้นมากถ้า แอมป์กำลังขับมากอยู่แล้วก้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่มากมันอาจต้องทำงานหนักจนความเพี้ยนพุ่งขึ้นค่า DF จะเหมือนดี เพราะได้เป็นเท่าตัวของปกติ (ค่า DF ได้จากเอาความต้านทานรวมของลำโพงหารด้วยความต้านทานขาออกของภาคขยาย) เบสน่าจะคมกระชับ แต่ถ้าซับแข็งอยู่แล้วเสียงโดยรวมจะกระด้างขึ้น (แน่นอนมีผลโยงไปถึงเสียงเบส,เสียงกลาง,เสียงแหลม เช่นกัน
  4. เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ สเตอริโอ (2 Ch) แยกแต่ละ Ch ขับแต่ละ VC ดุจเดียวกับการขับดอกซับ 2 ดอก ( 1 คู่) ตามปกติ ไม่มีข้อเสีย,ข้อดีจาก 3 ข้อที่แล้ว แต่ต้องระวังบางขณะที่เสียงความถี่ต่ำที่เขาบันทึกลงร่องเสียงซ้าย,ขวา บังเอิญกลับเฟสกัน (เสียงมาถึงไมโครโฟนซ้ายกับขวา ช้า-เร็วห่างกัน หน่วงกันมากพอที่การอัดอากาศทิศตรงข้ามกัน ก็กลับเฟสกัน) ก็จะทำให้ช่วงนั้นทุ้มกลับลดวูบลง (ที่จริงปัญหานี้ก็เกิดกับข้อ 1-3 เช่นกันนั่นแหละ)
  5. เพาเวอร์แอมป์รถยนต์สเตอริโอ (2Ch) บริดจ์โมโนขับ VC 1 กับ VC 2 ที่ต่ออนุกรมกันอยู่ (8 โอห์ม) ภาคขยายแต่ละภาคของแอมป์ก็จะเจอกับความต้านทาน 4 โอห์ม ดุจปกติก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แทบไม่ต่างจากกรณีที่ 4 แต่กรณีนี้แทบไม่มีใครทำกันเพราะไม่ได้กำลังขับมากขึ้น จึงมักใช้กรณีที่ 4 มากกว่า
  6. เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ขับซับที่ใช้ภาคขยาย Class D ค่า DF ปกติก็ต่ำอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น
ขอบคุณที่มา: http://www.nutsound.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: นัท
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
พี่เขยหื่นลวงน้องเมียวัยสิบขวบกักขังขืนใจ-อัดคลิปขาย!ลุ้นระทึกเสียวหลัง...นักรีวิวกระหน่ำเชียร์ "วัยหนุ่ม2544" มีดีซ่อนอยู่ไปดูเถอะ !!แจ้งโอนเงิน 10,000 เข้าบัญชี 19 ธ.ค.นี้ เช็คผู้มีสิทธิ์ได้5 เทคนิคประหยัดเงินที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ แต่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันตำรวจจับตำรวจ พบยาบ้ๅ 50 เม็ด ฉี่ม่วงเดือดต่อ! เขมร โผล่เคลม ตำนานเพลงไทย? บนเวที Miss Planet 2024 งานนี้โดนวิจารณ์ยับ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
บุ๋ม ปนัดดา อยากรู้ ทำไมน้ำท่วมภาคใต้ ข่าวเงียบมาก“บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” สุดเศร้า! ลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วมใต้ สร้อยทอง 5 บาทหาย วอนคนเจอส่งคืนแค่พระ
ตั้งกระทู้ใหม่