กฎหมู่อย่าหือ เจ้าพ่อเขาตกยังถูกเวนคืน!
ศาลเจ้าพ่อเขาตกแห่งอำเภอพระพุทธบาท สระบุรี ยังต้องถูกย้ายไปอยู่ข้างๆ ที่เดิม ข้างถนนเส้นใหม่ที่ตัดผ่าศาลเจ้ามาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบัน พวก NGOs กลับพยายามทำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่ม "กฎหมู่" กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามย้าย ห้ามแตะต้องในการเวนคืนทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมส่วนรวม
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอยกตัวอย่างศาลเจ้าพ่อเขาตก ซึ่งเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอพระพุทธบาทมาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าโบราณสถานต่างๆ หากมีความจำเป็นต้องย้ายเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ ก็สามารถย้ายได้ ไม่ใช่ต้องติดตรึงอยู่เช่นนั้น ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาหรือริมภูเขาตก ริมถนนฝรั่งส่องกล้อง (ทล.3022) ในท้องที่ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ห่างจากโบราณสถานพระพุทธบาท 3
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม (http://bit.ly/2jtrcVy) ที่ครองราชย์อยู่ในช่วงปี 2154 - 2171 หรือราว 400 ปีก่อน พระองค์ทรงรับสั่งให้ชาวฝรั่งสัญชาติฮอลันดาส่งกล้องตัดป่าเป็นถนน (พ.ศ.2176เริ่มจากอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยามายังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อครั้งพบรอยพระพุทธบาท ได้ใช้เป็นถนนพระราชดำเนินเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท ระยะทางของถนนประมาณ 20 กิโลเมตร ถนนได้ตัดผ่านทางศาลเจ้าพ่อเขาตกอันเป็นสถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเขาตกหลังเก่า และศาลได้ย้ายมาอยู่ข้างถนนจนถึงปัจจุบัน (http://bit.ly/2jM4jxK)
การไม่ย้ายต่างหากจะเป็นอันตราย ตัวอย่างเช่นมีภาพหนึ่งที่น่าสนใจมากภาพหนึ่งแต่เป็นภาพจินตนาการที่ดูน่าทึ่ง คล้ายกับการเคารพธรรมชาติแทบล้มประดาตาย แต่ภาพดรามานี้แสดงให้เห็นถึงความเขลาที่ไม่เข้าใจการออกแบบถนนที่มีความปลอดภัย การหักโค้งแบบนี้ จะทำให้ประชาชนผู้สัญจรไปมาเสียชีวิตทุกปีเดือนเป็นแน่นอน หรือคนจิตนาการภาพนี้คงเห็นชีวิตของคนน้อยกว่าชีวิตของต้นไม้ และมีการเผยแพร่ภาพนี้ประหนึ่งเป็นเรื่องจริงก็ไม่ปาน
การอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นสิ่งพึงทำ แต่ต้องชั่งน้ำหนักให้สมเหตุสมผล ไม่ใช่ค้านการพัฒนาแบบตะพึดตะพือ เพราะเป็นการทำลายผลประโยชน์ของประชาชน การย้ายสิ่งที่เป็นโบราณสถานหรือศาสนสถานสามารถทำได้หากเป็นความจำเป็น เพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ที่ผ่านมา การเวนคืนต่าง ๆ มักถูกต่อต้านเพราะเป็นการกระทำที่ "ต่ำช้า" ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง เพราะในการเวนคืน มักจ่ายค่าทดแทนต่ำ ๆ และจ่ายช้า ๆ มากจนชาวบ้านเดือดร้อนไปทั่ว หากมีการเวนคืนที่เป็นธรรม ย่อมได้รับการต่อต้านน้อยลง และทำให้กิจกรรมเพื่อสาธารณะต่าง ๆ ดำเนินการไปได้โดยไม่ติดขัด
อย่างไรก็ตามอาจมีบางคนวิตกว่าการโยกย้ายเหล่านี้จะทำให้วัฒนธรรมสูญสลายไปหรือไม่ ซึ่งก็คงไม่เป็นเช่นนั้น ดูอย่างวัฒนธรรมจีน อินเดีย ก็กระจายไปทั่วโลก ตามการอพยพของประชาชน ไม่ได้สาบสูญไปไหน แม้แต่คนไทยในต่างแดน ก็ยังมี "Thai Town" หรือย่านคนไทย (เช่น ที่นครลอสแองเจลิส http://bit.ly/2jHVLKM เป็นต้น)ที่สืบต่อวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศเช่นกัน ข้ออ้างที่พวก NGOs หรือคน "ดื้อแพ่ง" ไม่ยอมโยกย้ายจากการเวนคืนจึงเป็นเท็จ
อย่าให้พวก NGOs อ้างกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายกีดขวางความเจริญของชาติ ทำลายประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่อย่างเด็ดขาด
ที่มา: http://area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1795.htm