หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย อังกฤษและอเมริกา

โพสท์โดย Dante Inferno

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนสังคมไทยจะมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อระบบการศึกษาในประเทศ ตั้งแต่เรื่องเนื้อหาแบบเรียน ไปจนถึงเรื่องกฎระเบียบ สังคมไทยเองก็มีการรับรู้และกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก อาจเพราะด้วยยุคข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทำให้ประเด็นเล็กๆสามารถถูกจุดให้ติดได้และลุกลามดังไฟทุ่ง

ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษา ที่มีการถกเถียงกันมากมายระหว่างฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทความนี้แปลและเรียบเรียงขึ้นจากส่วนหนึ่งในเปเปอร์ของผู้เขียนเรื่อง School Uniform in Thailand; comparing to British and American เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มาของชุดนักเรียนในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่หลายคนมักอ้างถึงเป็นประจำเพื่อเปรียบเทียบและเพื่อให้เห็นการพัฒนาการ ของสังคม ที่อำนาจผ่านกฎระเบียบพยายามเข้าแทรกซึมผ่านเครื่องแบบในระบบการศึกษา

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย

ชุดนักเรียนของไทยเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยการวางรากฐานการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2428 โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกประกอบไปไปด้วย

1. หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
2. เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
3. กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน)
4. ถุงเท้าขาว หรือดำ
5. รองเท้าดำ

ทั้งนี้ ถุงเท้า รองเท้า ในขณะนั้นเป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใช้

เอกสารข้อกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 และตามด้วย ระเบียบกระทรวงธรรมการ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดรายละเอียดยิบย่อยมากมายตั้งแต่หัว(หมวก)จรด(รอง)เท้า ทั้งของชายและหญิง แยกประเภทโรงเรียน

ข้อกำหนดเรื่องเครื่องแบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสถานการณ์ เช่นในช่วงสงครามโลก เสื้อผ้าขาดแคลน จึงต้องลดกฎระเบียบลงให้น้อยลง

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้กฎระเบียบการแต่งกาย ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง

ความเป็นมาของชุดเครื่องแบบนักเรียนในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

เครื่องแบบนักเรียนในประเทศอังกฤษเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่8 (พ.ศ.2034-2090)โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกนั้นไม่ได้ถูกใส่โดยนักเรียนชั้นสูง หากแต่เป็นนักเรียนยากจนที่ใส่ เพื่อเป็นการแยกระหว่างนักเรียนจากโรงเรียนยากไร้กับโรงเรียนอื่น อีกกว่า300ปีต่อมา ที่นักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลเริ่มมีการใส่เครื่องแบบ โดยเครื่องแบบในสมัยนั้นถูกเรียกว่า “bluecoat” หรือ “เสื้อคลุมสีน้ำเงิน” เพราะเครื่องแบบหลักนั้นคือเสื้อโค๊ทยาวคล้ายแจ๊กเกตสีน้ำเงิน ซึ่งสีน้ำเงินเป็นสีที่ถูกที่สุดในการย้อมผ้าในขณะนั้นและยังเป็นสีซึ่งสื่อถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนอีกด้วย

ในปี 1870 มีการออกระเบียบการศึกษาชั้นต้น 1870 (Elementary Education Act 1870) ทำให้การศึกษาชั้นต้นมีการแพร่หลายในประเทศอังกฤษและเวลส์ เครื่องแบบนักเรียนได้รับความนิยมและแพร่หลายขึ้นมากขึ้น นักเรียนทุกคนมีเครื่องแบบเป็นของตัวเอง เครื่องแบบนักเรียนในยุค 1920’s ประกอบไปได้เสื้อสูทกั๊ก(blazer) เนคไท และกางเกงขายาวสุภาพ
ในปี 1960 ความนิยมของเครื่องแต่งกายชุดนักเรียนเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการปฎิวัติสังคม (social revolution) หลังสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องแบบยิบย่อยที่มีราคาแพงก็ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป บวกกับการปฎิวัติของหนุ่มสาว ในยุค60 แนวคิดทางชนชั้นและระเบียบที่กักกันเสรีภาพถูกท้าทายโดยคนหนุ่มสาว โรงเรียนหลายแห่งยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนลงในที่สุด

ในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่ไม่มีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน หากจะมีเพียงกฎเล็กๆน้อยๆหรือ dress codes เช่น การกำหนดความยาวของกระโปรงไม่ให้สั้นเกินควร หรือเรื่องรอยสักที่ไม่เหมาะสม (รอยสักรูปโป๊ หรือสัญลักษณ์แก๊ง) อย่างไรก็ดีในช่วงปีที่ผ่านมาอ้างอิงจาก National Association of Elementary School Principals (NAESP) โรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐฯมีการกำหนดเครื่องแบบเพิ่มมากขึ้น จาก3% ในปี 1997 เป็น 21% ในปี 2000 และในปี 2009 มีโรงเรียนถึง 21รัฐ ที่มีการกำหนดให้นักเรียนสวมเครื่องแบบ

อย่างไรก็ดี ทั้งสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฎว่ามีกฎข้อบังคับในการแต่งกายในระดับอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัย) แต่อย่างใด

ข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง

ข้อถกเถียงเรื่องเครื่องแบบนักเรียนในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีขึ้นในราวปี 1980 โดยมีการยกเหตุผลว่าการมีเครื่องแบบนักเรียนนั้นเป็นการลิดรอนกักกันความคิดแบบปัจเจกและเสรีภาพในการแสดงออก ถึงแม้ว่าฝ่ายสนับสนุนจะยกเหตุผลว่าการมีอยู่ของเครื่องแบบนั้นจะทำให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนลดแรงกดดันจากค่านิยมแฟชั่นและเป็นการประหยัดเงินในการหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ

ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้เครื่องแบบนั้นอ้างว่าการใส่เครื่องแบบ จะทำให้ผู้เรียนสนใจกับการเรียนมากกว่ามัวแต่สนใจชุดที่ใส่ และการทำงานเมื่อเรียนจบหลายแห่งก็มีเครื่องแบบของบริษัทที่บังคับ การมีเครื่องแบบก็จะทำให้นักเรียนได้เตรียมตัวไปสู่การทำงานในอนาคต ทั้งนี้ความสำคัญของเครื่องแบบอีกอย่างหนึ่งคือมันจะทำให้ความรุนแรงในสังคมลดลงไปด้วย เช่นกลุ่มอันธพาลก็จะไม่สามารถแยกแยะเด็กออกได้ว่าอยู่กลุ่มที่เป็นอริกันหรือปล่าว (ในอเมริกานั้นกลุ่มแก๊งค์จะมีชุดเสื้อผ้าประจำกลุ่ม)

อย่างไรก็ดี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใส่ชุดนักเรียนนั้นให้เหตุผลว่า มันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเหนือร่างกายของเด็กที่จะเลือกว่าสิ่งไหนเหมาะสมและน่าสนใจต่อเขา ทั้งนี้การต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนหาใช่การประหยัดไม่ หากแต่เป็นการเพิ่มภาระโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีลูกหลายคน การอ้างเรื่องลดความรุนแรงของกลุ่มอันธพาลนั้นก็เหลวไหล เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเครื่องแบบนั้น อันธพาลก็พร้อมที่จะทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงได้ทุกเมื่ออยู่ดี

จะเห็นได้ชัดว่าหากมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย ข้อถกเถียงเหล่านี้ ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในหน้าสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน หากแต่จะมีเรื่องเกียรติศักดิ์ศรีพ่วงท้ายเข้ามาด้วย ฝ่ายสนับสนุนมักยกประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษาพระราชทาน หรือความภาคภูมิใจต่อสถาบันการศึกษา โดยที่ไม่สนใจประเด็นสากลอย่างสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย และการแสดงออก ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยฝ่ายสนับสนุนมักจะเป็นบุคคลจำพวกที่ไม่เดือดเนื้อร้อนกระเป๋าต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องแบบอันมีเกียรติ แต่ไม่เคยนึกถึงอีกหลายคนที่เดือดร้อนต่อภาระนี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ผู้ปกครองหลายคนแห่กันเข้าโรงรับจำนำในช่วงก่อนเปิดเทอม เพื่อหาซื้ออุปกรณ์และชุดเครื่องแบบให้ลูกหลาน

การถกเถียงเรื่องการมีอยู่ของเครื่องแบบนักเรียนนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทย มันได้ก้าวล่วงและส่งผลสะเทือนตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัยของเด็กไปจนถึงเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล ประเด็นสิทธิและสาธารณประโยชน์ถูกยกมาถกเถียงกันมากที่สุดในสหรัฐฯ ต่างจากในไทยที่มักยกเรื่องเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจที่ฟังดูเป็นเรื่องที่ตื้นเขินพอสมควรมาเป็นประเด็นหลักของฝ่ายสนับสนุน

ขอบคุณที่มา: http://prachatai.com/journal/2013/09/48726
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Dante Inferno's profile


โพสท์โดย: Dante Inferno
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: iLay, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, Tabebuia, นางเบิร์ด, zerotype, Dante Inferno
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ผักที่มีแคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า! ค้นพบแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ขายดีตามตลาดแต่ยังน้อยคนรู้จักอาบน้ำบ่อยดีหรือไม่??😮 ชวนเข้ามาดูบุคคลที่พบสิ่งน่าทึ่งที่สุดด้วยความบังเอิญ 😃แมคโดนัลด์ออสเตรเลีย ตามกระแส Squid Game ทำเมนู Challenge ผู้ชนะจะได้เงิน 2.1 ล้านบาทเรือนจำที่น่ากลัวที่สุดในโลกเมื่อฉันไปบาหลี EP.6 Tirta Empul Templeกินเลี้ยงสุดพัง! ลูกค้าเจอลูกแม็กซ์ปนในจานผลไม้ที่โรงแรมเตโอตีวากาน (Teotihuacan) กับตำนาน วันสิ้นโลก เมืองโบราณที่ไม่รู้ใครสร้างทรัมป์ขู่ว่าจะยึดครองคลองปานามา คืนหากไม่บรรลุข้อตกลงเพื่อนเจ้าสาวจูบเจ้าบ่าวกลางเวที..งานนี้ช็อกกันทั้งงานทำไมห้ามตัดผมวันพุธ? ความเชื่อและต้นกำเนิดไขปริศนา! ทำไมมหาเศรษฐีตกอับ สั่งเสียลูกหลาน "อย่าเข้าใกล้เสือขาว"? (มีอะไรซ่อนอยู่!)
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เพื่อนเจ้าสาวจูบเจ้าบ่าวกลางเวที..งานนี้ช็อกกันทั้งงานทำไมเราได้ยินเสียงชัดเจนกว่าในตอนกลางคืน? คำตอบที่คุณอาจไม่เคยรู้!แมคโดนัลด์ออสเตรเลีย ตามกระแส Squid Game ทำเมนู Challenge ผู้ชนะจะได้เงิน 2.1 ล้านบาทสาวขึ้นรถไฟฟ้าไม่ทัน ประตูหนีบมือ ก่อนโดนลากไปกับรถ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ทำไมข้าวสวยถึงเรียกข้าวสวย? เปิดความหมายที่คุณอาจไม่เคยรู้!"ทำไมเราได้ยินเสียงชัดเจนกว่าในตอนกลางคืน? คำตอบที่คุณอาจไม่เคยรู้!อาบน้ำบ่อยดีหรือไม่??ทำไมห้ามตัดผมวันพุธ? ความเชื่อและต้นกำเนิด
ตั้งกระทู้ใหม่