หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เปิดบัญชียาต้านแบคทีเรียใช้ไม่ได้ผล มีปัญหาเชื้อดื้อยา ที่ควรถอดออกจากประเทศไทย

โพสท์โดย dominiqa

เปิดบัญชียากว่า 40 สูตรตำรับที่ควรถอดออกจากประเทศไทย ยาต้านแบคทีเรียบางรายใช้ไม่ได้ผล เสี่ยงต่อเชื้อดื้อยา เผย“ยาอม-ยาแก้ท้องเสีย และยาฝาแฝด ทำให้ชาวบ้านสับสน” เผย ผู้ป่วยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาใน รพ. ปีละ 4.5 หมื่นราย ขณะที่เด็กมีความเสี่ยงดื้อยาสูงสุด เหตุผู้ปกครองใช้เพื่อการรักษาผิดประเภท

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 ที่ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงข่าว "เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย"

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พบรายงานการวิจัยระบุว่าในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา อย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 46,000 ล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมหรือเกินความจำเป็น และในปัจจุบันยังมีทะเบียนตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมอย่างแพร่หลาย ตามท้องตลาด และจากการรวบรวมบัญชียายอดแย่ที่มีส่วนผสมของ ยาต้านแบคทีเรียโดยเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล ซึ่งมาจากการรวมตัวของนักวิชาการ แพทย์ เภสัชกร เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเด็ก โดยการสนับสนุนของสสส.เพื่อให้ความรู้แก่สังคมในการป้องกันความเสี่ยงทาง สุขภาพแก่ผู้บริโภค ได้ทบทวนรายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศเพื่อคัดเลือกรายการยาที่ควรถอน ทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยพบว่ามีตั้งแต่ยาอมที่ไม่ควรมีส่วนผสมของยา ต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะ80%ของอาการเจ็บคอไม่ได้เกิดจากเชื้อดังกล่าวและอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อ ยาในลำไส้ เช่นเดียวกับยาแก้ท้องเสียที่80%เกิดจากเชื้อไวรัส รวมถึงอันตรายจากสูตรผสมของยาต้านแบคทีเรียในยาประเภทต่างๆ โดยทางเครือข่ายนักวิชาการจะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ อย. ถอนบัญชียาเหล่านี้ออกจากประเทศ และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียายอดแย่ที่มีส่วนผสมของยาต้านเชื้อแบคเรีย ได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th

ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสม เหตุผล (สยส.) กล่าวว่าตัวอย่างยาที่สมควรดำเนินการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาก่อนเป็นอันดับ แรก คือ ยาอมที่มีส่วนประกอบของยาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) โดยเฉพาะสูตรยาที่มีนีโอมัยซิน (Neomycin) เพราะยา ปฏิชีวนะนีโอมัยซินไม่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเจ็บคอ แต่ออกฤทธิ์ได้ต่อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ เมื่อกลืนยาลงไปจะชักนำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีชื่อว่าอะมิโน กลัยโคไซด์ (Aminoglycoside) ทั้งกลุ่ม ซึ่งยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้เป็นยาที่ใช้ช่วยชีวิตคนที่ติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะทำงานด้านยาปฏิชีวนะ คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาปีละ 45,000 รายและการติดเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลก็มีจำนวนมากขึ้น และมีผลทำให้การรักษายุ่งยากเพราะต้องรักษาด้วยยาที่แพงกว่าปกติหรืออาจต้อง ฉีดยาวันละหลายครั้งซึ่งผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลหรือต้องอยู่ในโรง พยาบาลเพื่อฉีดยาแทนที่จะใช้ยารับประทานอยู่ที่บ้าน ต้นตอของปัญหาคือเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่มากเกินความจำเป็น และใช้อย่างไม่ถูกต้อง เพราะสามารถหาซื้อยาเหล่านี้ได้ทั่วไป

รศ.พญ.ดร.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า เด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุดในการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เพราะเด็กยังมีภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่ได้เต็มที่การเจ็บป่วยส่วนใหญ่ของ เด็กจะเริ่มจากการติดเชื้อไวรัส แต่ผู้ปกครองไม่ทราบวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น จึงมักให้ “ยาแก้อักเสบ” ซึ่ง เป็นความเข้าใจผิด เพราะเป็นยาต้านแบคทีเรียทั้งที่ยากลุ่มนี้ไม่ออกฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยในช่วง 2 – 3 วันแรก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือในเด็กปกติที่มีสุขภาพแข็งแรงดีมาก่อน เมื่อเริ่มมีอาการที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ เช่น มีไข้ และอาการทางระบบทางเดินหายใจ หรือท้องเสีย ถ่ายเหลว ควรให้การรักษาประคับประคองตามอาการอย่างเหมาะสม เช่น ให้ยาแก้ไอ ยาลดอาการคัดจมูก ลดไข้ ในช่วงที่มีอาการเท่านั้น ไม่ควรให้ยาบรรเทาอาการในช่วงที่ไม่มีอาการ หากเด็กยังสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ เช่น กินได้ เล่นได้ นอนหลับพักได้ดี ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านแบคทีเรียมารับประทานเอง เพราะอาจเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยารุนแรงจนรักษาไม่ได้ในอนาคต

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
dominiqa's profile


โพสท์โดย: dominiqa
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: หมีพู สตาร์ทติดง่าย, ginger bread, แมวฮั่ว แมวขี้งอน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สวนสัตว์จีน จับหมามาย้อมสี ก่อนขึ้นป้ายหมาแพนด้ารวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการอาบน้ำ บางอย่างเพื่อนๆอาจจะเข้าใจผิดอยู่ก็ได้นะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เงินดิจิตอล 10,000 บาท ช้อปปิ้งอะไรคุ้ม? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้ฮือฮาทั้งโซเชียล พระเอกเกาหลีพูดชื่อเต็มกรุงเทพฯ ชัดมาก "Frankly Speaking พูดตรงๆ คงต้องรัก""แสวง" เลขาฯ กกต. ไม่ห้ามสื่อเสนอข่าว-จัดเวทีฯ ขู่จับตาดูผู้สมัคร ชี้ "ธนาธร" ทำได้ชวนลง สว."แจ็คแฟนฉัน" แจกพัดลมให้พี่น้องชาวไทย300ตัว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เจ้าจอมคนสุดท้ายรัชกาลที่ 5เงินดิจิตอล 10,000 บาท ช้อปปิ้งอะไรคุ้ม? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้Google rewardsวิธีต้มไข่แบบประหยัดไฟและน้ำ"ฉบับญี่ปุ่น"
ตั้งกระทู้ใหม่