‘ไม้ขีดไฟ’ ผลงานชิ้นเล็กๆ ของนางกำนัลชาวจีน
รู้หรือไม่ว่า ทุกครั้งที่เราจุดไม้ขีดไฟ นั่นคือเรากำลังใช้สิ่งประดิษฐ์จากจีนอยู่ ซึ่งไม้ขีดไฟรุ่นแรกถูกคิดค้นขึ้นในปี 577 โดยเหล่านางกำนัลตกยากช่วงที่ถูกทหารเข้ายึดครอง โดยจากความลำบากยากแค้นในช่วงนั้น นางกำนัลคงจะประสบกับความคลาดแคลนเชื้อไฟที่จำเป็นในการก่อไฟหุงหาอาหาร ทำความร้อน หรืออื่นๆ
ไม้ขีดไฟในยุคแรกทำจากกำมะถัน โดยพบคำบรรยายในหนังสือชื่อ Records of Unworldly and the Strange โดยมีใจความว่า ‘หาก เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในยามค่ำคืน อาจต้องใช้เวลาพอสมควรในการให้ความสว่างด้วยการจุดตะเกียง แต่ชายผู้ชาญฉลาดผู้หนึ่งคิดค้นการชุบก้านไม้สนเล็กๆ ด้วยกำมะถันและเก็บมันไว้ให้พร้อมใช้เสมอ เมื่อสัมผัสกับไฟเพียงเล็กน้อยก็จะติดลุกเป็นเปลว ได้เปลวไฟขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวโพด สิ่งน่าพิศวงนี้แต่ก่อนเรียกว่า “ทาสนำไฟ” แต่ภายหลังเมื่อสิ่งนี้กลายเป็นสินค้า ชื่อจึงเปลี่ยนเป็นก้านไฟหนึ่งนิ้ว’
ก่อนหน้าปี 1530 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับไม้ขีดไฟในยุโรป ดังนั้น ชาวจีนจึงใช้สิ่งนีเป็นเวลาเกือบหนึ่งพันปีก่อนจะเข้ายุโรป ไม้ขีดไฟสามารถพกเข้าสู่ยุโรปได้อย่างง่ายดายโดยนักเดินทางชาวยุโรปที่เดิน ทางไปประเทศจีน ช่วงเดียวกับ มาร์โค โปโล เนื่องจากเราทราบแน่นอนว่า ไม้ขีดไฟมีขายตามตลาดริมถนนในหังโจวราวปี 1270 ซึ่งมีบันทึกอยู่ในหนังสือเล่นหนึ่งที่บอกเล่าถึงภูมิประเทศ เมืองต่างๆ ของจีน
เนื่องจากไม้ขีดไฟรุ่นแรกสุดของชาวยุโรปใช้กำมะถัน สิ่งประดิษฐ์จึงดูเหมือนจะเป็นการนำเข้าโดยตรงโดยนักเดินทางชาวยุโรป ไม้ขีดไฟทุกวันนี้ยังคงใช้กำมะถัน แต่ในปี 1830 ซูเรีย ในฝรั่งเศส และคามเมอเรอในเยอรมนีได้สร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ทำให้เรามีไม้ขีดไฟ สมัยใหม่ ด้วยการใช้ส่วนผสมที่ทำจากฟอสฟอรัสเหลือง กำมะถัน และโพแทสเซียมคลอเรต
เป็นเรื่องปกติที่เรามักจะไม่สนใจที่มาของไม้ขีดไฟ เนื่องจากมันเป็นของที่มีราคาถูก ใช้แค่ครั้งเดียวก็โยนทิ้งไป หารู้ไม่ว่าสิ่งนั้นคือความช่างคิดของกลุ่มสตรีที่ต้องเพชิญกับความลำบากใน ช่วงศตวรรษที่ 6