หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย!!!?

โพสท์โดย น้ำตาลเผ็ด

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)


bipolar

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ Bipolar Disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอารมณ์สุดขั้วคือตั้งแต่ซึมเศร้าไปถึงคลุ้มคลั่งสุดๆ จึงเรียกโรคนี้ว่าโรคจิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (manic depressive disorder) โรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคที่อันตรายมากและมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้โดยการบำบัดและทานยา

โรคอารมณ์สองขั้วรู้จักกันในชื่อโรคจิตอารมณ์คลุ้มคลั่งและซึมเศร้า (manic depressive disorder หรือ manic depression) เป็นอาการป่วยทางด้านจิตใจ มีความเสี่ยงต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และหน้าที่การงานที่ทำ และมีแนวโน้มทำให้เกิดการฆ่าตัวตายถ้าไม่ได้รับการรักษา

โรคอารมณ์สองขั้ว โรคที่ผู้ป่วยจะมีภาวะการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรุนแรง จากคลุ้มคลั่งมากถึงซึมเศร้าสุดๆ ซึ่งในช่วงที่ไม่มีอาการเหล่านี้ก็จะมีอารมณ์ปกติแบบคนทั่วไป

bpad

อารมณ์คลุ้มคลั่ง คือมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย กระฉับกระเฉง ช่างพูดมาก บุ่มบาก ใช้จ่ายสุหรุ่ยสุหร่าย ชอบแสดงอำนาจ มีอารมณ์เคลิ้มสุข

อารมณ์ซึมเศร้า จะมีอาการตรงข้ามทั้งหมด คือเสียใจมาก ร้องไห้ รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีพลังงาน ไม่มีความความภาคภูมิใจ พอใจ มีปัญหาในการนอนหลับ

แต่อาการเหล่านี้ในผู้ป่วยแต่ละรายมักจะแตกต่างกันไป เพราะโรคอารมณ์สองขั้วมีอาการแสดงค่อนข้างซับซ้อน อย่างเช่นบางคนมีอารมณ์คลุ้มคลั่ง ซึมเศร้าเป็นอาทิตย์ หรือเป็นเดือน (ซึ่งบางคนอาจเป็นปี) ในแต่ละคนก็จะมีความถี่ของอาการ หรืออารมณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งคราว

bipolar-disorder-297x300

แนวคิดของการเกิดอาการโรคอารมณ์สองขั้วที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอารมณ์นั้นค่อนข้างมีหลากหลาย เพราะผู้ป่วยมักไม่ได้มีอาการนั้นตลอดเวลา บางคนดูปกติตลอดเวลาก็มี แต่ช่วงที่คุ้มคลั่งก็แสดงชัดเจน การเปลี่ยนอารมณ์รวดเร็วที่อาจให้ผลหายนะอย่างมาก เช่นสะเพร่าประมาท ชอบใช้จ่ายเงินไม่คิด เกิดความเสี่ยงต่อการสำส่อนทางเพศ อารมณ์ที่สิ้นหวังทันทีก็อันตรายต่อการฆ่าตัวตายไม่แพ้กัน

โรคอารมณ์สองขั้วมักมีผลต่อคนในครอบครัว ซึ่งด้วยอาการป่วยทางจิตลักษณะนี้ทำให้คนในครอบครัวอาจรับไม่ได้เพราะมันอาจจะดูไม่เหมือนการป่วย เพราะลักษณะอาการดูเป็นคนไม่มีเหตุผล ทำเกินกว่าเหตุมากกว่า ซึ่งถ้ามีคนในครอบครัวมีอาการเช่นนี้ควรพามาพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา

bipolar-blog

การบำบัดผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว

ในช่วงที่บำบัดโดยการให้ยาก็จะต้องมีการบำบัดด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการรักษาโรคนี้ ในการบำบัดก็จะมีการพูดถึงความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคนี้ เพื่อหาสาเหตุและให้ผู้ป่วยได้เข้าใจปัญหาที่ส่งผลต่อจิตใจจนมีปัญหาในการใช้ชีวิต ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยอยากที่จะรักษาตัว และสามารถจัดการกับผลของโรคนี้ได้เมื่อไปอยู่ในสังคมและชีวิตการทำงาน ทำให้ผู้ป่วยยังคงด้านบวกของตัวเองไว้

ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว มีดังนี้

1. บำบัดพฤติกรรม ความประพฤติ เป็นการลดความเครียดลง

2. บำบัดกระบวนการคิด เพื่อให้แยกแยะและปรับปรุงลักษณะการคิดซึ่งมีผลต่ออารมณ์

3. บำบัดความสัมพันธ์ที่เกิดระหว่างบุคคล ร่วมถึงญาติและคนในครอบครัวด้วย และช่วยลดความเครียดจากอาการของผู้ป่วยที่มีผลต่อคนในครอบครัว

4. บำบัดให้ปรับตัวเข้ากับสังคม ซึ่งจะช่วยให้มีการปรับปรุงและรักษาการดำเนินกิจวัตรในชีวิตประจำวัน

bipolar-basics

อาการและชนิดของโรค

โรคอารมณ์สองขั้วเป็นอาการป่วยที่มีความซับซ้อน มีชนิดอาการหลากหลายและแตกต่าง อาการเบื้องต้นคือมีอารมณ์สุดขั้ว และคาดเดาไม่ได้ ชนิดของโรคมีตั้งแต่เบาที่สุดไปจนหนักที่สุด

อาการของโรคอารมณ์สองขั้ว

1. อาการไบโพล่าร์ อาการเบื้องต้นคือมีอารมณ์สุดขั้ว และคาดเดาไม่ได้

2. อาการคลุ้มคลั่งสุดๆ เช่น มีความสุขมาก ตื่นเต้นมาก หงุดหงิดโมโหรุนแรง กระสับกระส่าย กระฉับกระเฉงมาก ต้องการนอนน้อย อยากแข่งขัน แรงขับเคลื่อนทางเพศสูง มีความแนวโน้มที่จะแสดงอำนาจและทำในสิ่งที่ไม่คาดคิด

3. อาการซึมเศร้าสุดๆ เช่น โศกเศร้า วิตกกังวล ไม่มีชีวิตชีวา ร้องไห้แบบควบคุมไม่ได้ เปลี่ยนการกินจนมีผลต่อการเพิ่มลดของน้ำหนัก อยากนอนมากขึ้น ไม่กล้าตัดสินใจ และคิดถึงความตายและการฆ่าตัวตาย

iStock_4725460-teen-left-ou

ชนิดของโรคอารมณ์สองขั้ว

อาการของโรคอารมณ์สองขั้วมีหลายชนิด ซึ่งโดยรวมแล้วคือจะมีอาการซึมเศร้าและคลุ้มคลั่งต่างระดับกันไป ประกอบด้วย ไบโพล่าร์ I, ไบโพล่าร์ II, cyclothymic, ไบโพล่าร์แบบผสม และไบโพล่าร์แบบ rapid-cycling

ไบโพล่าร์ I อาการของผู้ป่วยประเภทนี้สาเหตุจาก มีอาการคลุ้มคลั่งอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีอารมณ์ร่วมกับพฤติกรรมที่ไม่ปกติซึ่งไปมีผลต่อการดำเนินชีวิต

ไบโพล่าร์ II ลักษณะอาการคล้ายไบโพล่าร์ I แต่ช่วงอารมณ์ระหว่างสองขั้วจะมีมากกว่า แต่ก็ยังไม่แสดงอาการคลุ้มคลั่งมาก

ไบโพล่าร์แบบ Rapid Cycling ผู้ป่วยประเภทนี้เคยมีอาการคลุ้มคลั่งหรือซึมเศร้ามากกว่า 4 ครั้งขึ้นไปในรอบปี ซึ่งไบโพล่าร์ชนิดนี้พบประมาณ 10-20% ของผู้ป่วย

ไบโพล่าร์แบบผสม ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยไบโพล่าร์จะมีอารมณ์สลับกันไประหว่างสองขั้วในเวลาที่ไม่ปกติ แต่ไบโพล่าร์ชนิดนี้ผู้ป่วยจะเคยมีอาการทั้งคลุ้มคลั่งและซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง หรือติดต่อกันอย่างมาก

Cyclothymia (โรค Cyclothymic) ผู้ป่วยจะแสดงอาการทางอารมณ์แบบไบโพล่าร์แต่ไม่มากบางทีจึงเรียกว่าโรค cyclothermic เพราะอาการน้อยกว่าโรคอารมณ์สองขั้วที่สุดขั้วกว่า

bipolar-disorder-fig5_large

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอารมณ์สองขั้ว คือการทำร้ายตัวเองเช่นทำให้มีบาดแผล ทำให้พิการ ทำร้ายร่างกายต่างๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้ตนเองบาดเจ็บเพราะขาดสติให้อารมณ์ด้านลบมามีอำนาจ เช่นโมโหสุดๆ กระวนกระวาย คับข้องใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ

โรคอารมณ์สองขั้วในหญิงตั้งครรภ์ อาจเป็นมาก่อนตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์แล้วมีอาการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ในการบำบัดและให้ยา

woman with a strong toxicosis

สัญญาณเตือนของโรคอารมณ์สองขั้ว

เมื่อเรามีอาการป่วยตามดังที่ได้กล่าวมา สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วได้ค่อนข้างง่าย แต่โรคนี้สามารถซ่อนอาการได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามอาการจิตอารมณ์คลุ้มคลั่งดังที่กล่าวมา

การป้องกันภาวะฉุกเฉินและการฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตายนั้นเป็นภาวะเสี่ยงอย่างมากของผู้ป่วยโรคนี้ จึงพบผู้ป่วยที่อยู่ในอาการคลุ้มคลั่งหรือซึมเศร้า 10-15% ฆ่าตัวตาย ฉะนั้นการดูแลอย่างดีจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้

Suicide-Resources-Page-1

โรคอารมณ์สองขั้วในเด็กเล็กและวัยรุ่น

โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัว เนื่องจากเด็กมีความเสี่ยงมากที่จะเป็นหากคนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ พี่น้องหรือญาติเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งพ่อแม่อาจจะไม่เข้าใจว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกมีอาการเช่นนี้

ในเด็กเล็กและวัยรุ่นนั้นอารมณ์มักแปรปรวนแบบไม่มีเหตุผลได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ในเด็กป่วยแบบไบโพล่าร์อารมณ์ที่เปลี่ยนนี้มักมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยเช่นการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเวลาที่เกิดจะเห็นได้ชัดเจน เรียกว่าเป็นตอนอารมณ์เลยทีเดียว (mood episode)

การเกิดอารมณ์คลุ้มคลั่ง (mania) ในเด็กมีจำนวนครั้งที่เกิดน้อยกว่าในผู้ใหญ่ อย่างน้อยก็ก็สัปดาห์ละครั้ง จะเป็นช่วงที่มีความสุขมากๆ ก้าวร้าว หรือมีอารมณ์โกรธ ซึ่งจะมีอาการอื่นๆตามมา เช่น ต้องการเวลานอนน้อย กระปรี้กระเปร่า มีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก พูดเร็ว คิดหลายๆเรื่องในขณะเดียว ไม่มีสมาธิหาจุดสนใจไม่ได้ ชอบจับอวัยวะเพศตัวเอง ใช้ภาษาที่หมกมุ่นเรื่องเพศ และชอบที่จะเข้าใกล้คนอื่นในลักษณะไปทางเรื่องเพศ มีการกระทำที่ไม่เหมาะสม หรือก้าวก่ายต่อสังคม

6921362

การเกิดอารมณ์ซึมเศร้า จะมีอาการเศร้าสร้อย ทุกข์ อารมณ์ไม่มั่นคง โดยมีอาการต่างๆเหล่านี้ตามมา เช่น รู้ไม่พอใจในสิ่งที่เคยพอใจ รู้สึกไม่มีพลังที่จะทำอะไร รู้สึกเชื่องช้า การกินการนอนเปลี่ยนไป ไม่มีความมั่นใจในตัวเองอย่างมาก รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไม่มีค่า แยกตัวออกจากเพื่อนและครอบครัว ไม่ให้ความสนใจกับสิ่งใด ชอบคิดแต่การตาย การฆ่าตัวตาย โรคนี้ในเด็กจะวินิจฉัยค่อนข้างยาก เพราะคล้ายๆกับอาการอื่นๆเช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) มีปัญหาติดแอลกอฮอล์ และยาเสพติด มีความประพฤติที่ผิดระเบียบแบบแผน

หากแพทย์ตรวจพบว่าเด็กเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ก็จะต้องสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับอารมณ์และพฤติกรรมของลูก อาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ หรืออาจมีการทดสอบทั้งเด็กและผู้ปกครองเพื่อดูว่าอาการรุนแรงแค่ไหน มีการสอบถามเกี่ยวกับประวัติในครอบครัวในเรื่องการป่วยทางจิต หรือการใช้ยาเสพติด เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถเกี่ยวข้องกับโรคอารมณ์สองขั้วได้ทั้งหมด

candela_draft3

พันธุกรรม

มีแนวโน้มว่าโรคนี้เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งมีบางงานวิจัยที่พบว่าน่ามียีนที่สามารถก่อให้เกิดโรคอารมณ์สองขั้วได้ ซึ่งทำให้เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติเกิดโรค แต่จากสถิติเด็กที่ไม่เกิดก็มีมากกว่าเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยแสดงด้วยว่าแฝดของเด็กที่เป็นไบโพล่าร์จะไม่มีอาการของโรค อาจเป็นเพราะตัวแวดล้อมอื่นๆมีผลต่อการแสดงออกของยีนด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด การศึกษาระดับพันธุกรรมจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจในโรคนี้มากขึ้นซึ่งอาจจะใช้คาดการณ์แนวทางการรักษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

bigstock_Cartoon_Family_Tree_7532794

โครงสร้างและการทำงานของสมอง

โรคอารมณ์สองขั้วไม่ได้เป็นจากเขามีจิตใจอ่อนแอหรือคิดมากอย่างที่คนอื่นมักมองกัน แต่เป็นจากความผิดปกติทางสมอง พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มีการทำงานของสมองและสารเคมีในสมองซึ่งทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทแปรปรวนไป โดยมีรายงานพบว่า cortex ของสมองส่วนหน้าของผู้ป่วยมีขนาดเล็ก และทำงานน้อยกว่าสมองคนปกติ ซึ่งสมองส่วนนี้จะทำงานเกี่ยวกับการแก้ปัญหา การตัดสินใจ สมองส่วนนี้จะพัฒนาเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดการผิดปกติของการพัฒนา อาการของโรคจึงพบได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่ก็ทำให้แพทย์สามารถพบอาการและรักษาได้เร็วขึ้น

การเชื่อมต่อของส่วนต่างๆของสมองสำคัญต่อการเกิดรูปร่าง และการทำงานที่สัมพันธ์กัน เช่น การสร้างความทรงจำ การเรียนรู้ และการพัฒนาทางอารมณ์

Depression11

ยาที่ใช้ในการรักษาโรค

ชนิดยาที่ใช้รักษาโรคอารมณ์สองขั้วส่วนมากจะช่วยควบคุมอารมณ์ (mood stabilizer) ยาที่ใช้ในการรักษาโรคจิต (atypical antipsychotics) และยารักษาโรคซึมเศร้า (antidepressant) ซึ่งยาบำบัดเหล่านี้มักจะมีผลข้างเคียงต่างๆตามมา

1. ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizer) นั้นจะเป็นตัวแรกที่แพทย์เลือกมาใช้ในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว ส่วนใหญ่จะทานเป็นระยะเวลาต่อเนื่องประมาณ 1 ปี ตัวอย่างยาเช่น

1. lithium (เรียกกันว่า Eskalith หรือ Lithobid) ซึ่ง FDA ได้ประกาศว่าสามารถรักษาได้ทั้งอาการซึมเศร้า และคลุ้มคลั่ง

2. ยากันชัก (Anticonvulsants) ซึ่งใช้รักษาโรคลมชักหรือล้มบ้าหมู สามารถนำมาใช้ในการควบคุมอารมณ์ได้เช่นกัน เช่น

2.1 Valproic acid หรือ divalproex sodium (Depakote) ใน FDA กล่าวว่าใช้รักษาอาการคลุ้มคลั่งและเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งแทน lithium แต่ก็มีข้อควรระวังพิเศษในการใช้สำหรับเพศหญิง โดยเฉพาะที่อายุไม่เกิน 20 ปี เช่นกัน เพราะ valproic acid นั้นไปเพิ่ม ฮอร์โมนเพศชาย testosterone ชักนำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง และมีลักษณะของฮอร์โมนเพศชายสูง ทำให้มีสิว หรือขนดกกว่าผู้หญิงทั่วไป มีภาวะอ้วน แต่อาการส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้นหากหยุดยา ฉะนั้นการทานยาชนิดนี้ควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์

พีซีโอเอส-01

2.2 Lamotrigine (Lamictal) ใน FDA กล่าวว่าให้ใช้รักษาอาการซึมเศร้า

นอกจากนี้ยังมีตัวยาอื่นๆเช่น gabapentin (Neurontin), topiramate (Topamax), และ oxcarbazepine (Trileptal) เป็นต้น

ยา Valproic acid lamotrigine และตัวยาชนิดอื่นๆในกลุ่มนี้ที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นยาที่ FDA ได้มีคำเตือนเกกกี่ยวกับการบริโภคไว้ว่าอาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อความคิดและพฤติกรรมในการฆ่าตัวตายได้ ฉะนั้นในการทานยากลุ่มนี้ต้องให้คนใกล้ชิดดูแลอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือต้องทานยาในปริมาณที่แพทย์กำหนดเท่านั้น

ผลข้างเคียงของยาควบคุมอารมณ์

Lithium สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ รู้สึกกระสับกระส่าย ปากแห้ง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีสิว อึดอัดไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวเวลาอยู่ในที่เย็น ปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ ผมและเล็บเปราะ ฉะนั้นเวลาทาน lithium แพทย์จึงจำเป็นต้องตรวจระดับ lithium ในเลือดผู้ป่วยเสมอ และเพื่อที่จะควบคุมการทำงานของไตและต่อมไทรอยด์ด้วย ซึ่ง lithium มีผลไปลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ การที่ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลงจึงเกิดภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) โดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง การที่ไทรอยด์มากหรือน้อยนั้นไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องระมัดระวังในการควบคุมระดับไทรอยด์ให้สมดุล

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการง่วงซึม เวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสียท้องร่วง ท้องผูก จุกเสียดท้อง อารมณ์แปรรปรวน คัดจมูกมีน้ำมูก มีอาการคล้ายเป็นหวัด

PRinc_photo_of_glass_vials_of_lithium

2. ยาที่ใช้ในการรักษาโรคจิต (Atypical antipsychotics) มักใช้ร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น Olanzapine (Zyprexa), Aripiprazole (Abilify), Quetiapine (Seroquel), Risperidone (Risperdal) และ Ziprasidone (Geodon)

ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงคือมีอาการง่วงซึม เวียนศีรษะในขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง สายตาพร่ามัว หัวใจเต้นถี่รัว จึงไม่เหมาะในการขับขี่รถยนต์ ไวต่อแสงแดด มีผื่นผิวหนัง ประจำเดือนมาไม่ปกติ นอกจากนั้นยังทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากไปเปลี่ยนแปลงระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนและคลอเรสเตอรอลสูงได้อีกด้วย ซึ่งแพทย์จะต้องคอยควบคุมน้ำหนัก ระดับกลูโคสในเลือด และระดับไขมันให้ปกติในขณะที่ทานยา บางรายใช้ยานี้เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดภาวะ Tardive Dyskinesia (TD) คือมีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ มีการดูดริมฝีปากหรือขมุบขมิบปาก เมื่อแลบลิ้นจะพบว่าลิ้นสั่น ลิ้นอาจกระดกไปข้างหน้าหรือข้างหลัง บางครั้งลิ้นอาจจุกอยู่ที่ริมฝีปาก หรือลิ้นม้วนไปมาในปากหรือลิ้นดุนแก้ม หากให้ผู้ป่วยอ้าปากอาจแลบลิ้นออกมาเอง มีการขยับของขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้อาจมีอาการขยับนิ้ว บีบมือ คอบิดเอียง ป้องกันและเฝ้าระวังโดยการให้ยาในขนาดต่ำที่สุดและนานเท่าที่จำเป็น อาการเหล่านี้มักจะค่อยๆหายหรือไม่หายเมื่อหยุดยา

3. ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น Fluoxetine (Prozac), Paroxetine (Paxil), Sertraline (Zoloft), และ Bupropion (Wellbutrin) การทานยากลุ่มนี้เพียงตัวเดียวสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคลุ้มคลั่ง (mania) หรือภาวะคลั่งกึ่งเศร้าได้ (hypomania) ซึ่งแพทย์มักจะให้ยาในกลุ่มควบคุมอารมณ์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะนี้

ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้คือ อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้พะอืดพะอม กระวนกระวายใจ มีปัญหาทางเพศซึ่งพบได้ทั้งหญิงและชาย โดยไปลดความต้องการทางเพศ มีปัญหาและไม่มีความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้ต้องแจ้งแพทย์เพื่อปรับการให้ยาในทันที

หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงต้องการมีบุตรกับการบริโภคยาต้องระมัดระวังเนื่องจากยาควบคุมอารมณ์นั้นสามารถทำอันตรายต่อการพัฒนาของตัวอ่อน หรือทารกได้ เพราะยามักจะเข้าไปอยู่ในน้ำนมด้วย แต่การไม่ใช้ยาก็จะไปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคขณะตั้งครรภ์เช่นกัน lithium มักจะเป็นยาตัวเลือกที่เหมาะสม แต่การปรึกษาแพทย์ด้วยนั้นมักจะดีที่สุดสำหรับหญิงตั้งครรภ์

นอกจากการบำบัดด้วยยาแล้วการทำจิตบำบัด (Psychotherapy) ทั้งจากแพทย์ และครอบครัวนั้นก็สำคัญกับผู้ป่วยโรคนี้ไม่แพ้กัน ในกรณีผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาและทางจิตไม่ได้ผลก็จะมีการรักษาด้วยแนวทางอื่น เช่น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT หรือ “Shock therapy”) การให้นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น อาจจะโดยการเปลี่ยนยา หรือการให้ยาสมุนไพร ซึ่งพบไม่มากนะ เช่น Hypericum perforatum เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าโดยธรรมชาติ หรือกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่พบในน้ำมันปลาหรืออัลมอนด์ เป็นต้น

การอยู่ร่วมกับผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกวิธีโดยพาไปพบแพทย์ ให้กำลังใจในการรักษา การเข้าใจจากคนใกล้ชิดและญาติมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เป็นมีกำลังใจในการรักษาให้ตนเองกลับสู่ปกติ ญาติยังมีส่วนสำคัญในการสังเกตว่าผู้ที่เป็นมีอาการกลับเป็นซ้ำหรือไม่ โดยในช่วงแรกที่อาการยังไม่มาก ผู้ที่เป็นจะไม่ทราบว่าตนเองเปลี่ยนแปลงไป

A woman with a counselor

และถ้ารู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้ อาจจะยากที่จะช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้น เพราะต้องใช้เวลาซึ่งจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับยาแล้ว ในขณะที่รักษาตัวนั้นก็ไม่ควรบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนเพราะจะไปรบกวนการทำงานของยาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ง่ายขึ้น รักษาความสม่ำเสมอในการดำเนินกิจวัตรพื้นฐานประจำวัน ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการนอน พบว่าการนอนน้อยติดต่อกันหลายวันทำให้อาการแกว่งไกวได้ จึงควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการนอนดึก หรือดื่มแอลกอฮอล์

ในช่วงที่เริ่มมีอาการคลุ้มคลั่งให้เลี่ยงการตัดสินใจที่สำคัญๆ หาหลักควบคุมการใช้เงิน (เช่นฝากเงินไว้กับภรรยา) หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์มากๆ ให้คนใกล้ชิดและญาติคอยเตือนเมื่อเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมที่อาจไม่เหมาะสม

ในช่วงซึมเศร้า เลี่ยงการตัดสินใจที่สำคัญๆ เช่น ลาออกจากงาน การออกกำลังกาย โดยในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าไม่มาก จะรู้สึกว่าจิตใจคลายความเศร้า และแจ่มใสขึ้นได้ หากอาการมากอยู่ อย่ากดดันตัวเองให้ทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเดิม ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ยังต้องการการพักผ่อน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกระตุ้นตนเองมากไปกลับยิ่งจะทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ที่ทำไม่ได้อย่างที่หวัง

family 2_r2_c2

โรคอารมณ์สองขั้วเป็นจากความผิดปกติทางสมอง ไม่ได้เกิดจากคิดมากหรือพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ดี โรครักษาได้ ยาใหม่ๆ มีมาก หากไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นหรือเปล่าก็ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนก็ได้ คนที่เป็นแล้วก็ควรติดตามการรักษาอย่างส่ำเสมอ มีปัญหาอะไรก็บอกแพทย์ เพื่อที่จะได้ปรับให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด ญาติมีส่วนสำคัญมาก พบว่าผู้ป่วยที่ญาติเข้าใจ สนับสนุนให้กำลังใจ จะมีอาการน้อยกว่าครอบครัวที่ไม่เข้าใจหรือไม่สนใจผู้ป่วย

ความรัก ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคอารมณืสองขั้วค่ะ ดูแลกันให้ดีๆนะคะ

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
น้ำตาลเผ็ด's profile


โพสท์โดย: น้ำตาลเผ็ด
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: น้ำตาลเผ็ด, ginger bread, OrtistiC, The Mozart Effect
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิเลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.10" งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567"พชร์" ลั่น! เรื่องของxึง xูไม่เสือxก็ได้..หลังจะช่วยเคลียร์ใจ "มอส-เต๋า" ทะเลาะกันเบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้านสรุปดราม่า"ทริปน้ำไม่อาบวันนี้"หลังจากจูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิงสังหารศัตรู 13 ฮ่องเต้หลังจากนั้นกลายเป็นเลือดผสมสุดอาลัย ต่อ ตุดยอด เพื่อนรักของ แจ๊ส ชวนชื่น จากไปอย่างสงบหลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหญิงสาวอเมริกันปีนเสาไฟฟ้าแรงสูง ส่งผลให้ไฟดับทันที 800 หลังคาเรือนเดือดร้อน โดนด่ายับเกาหลีใต้ส่ายหน้า การท่องเที่ยวขาดดุลหนัก แม้ K-Culture จะปังไปทั่วโลกขนม เม้นท์ เลี้ยงลูกเป็นเพื่อนกันนะ หลังครูเต้ยโพสต์คลิปขยี้ตาแรง! "นิวเคลียร์" หน้าใหม่เป๊ะเวอร์ ผ่านไป 3 เดือนจำแทบไม่ได้เลขเด็ด "มนต์สิทธิ์" งวด 1 ธันวาคม 67 มาแล้ว! ..แฟนหวยรีบมารวยกันเลย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สรุปดราม่า"ทริปน้ำไม่อาบวันนี้"ขยี้ตาแรง! "นิวเคลียร์" หน้าใหม่เป๊ะเวอร์ ผ่านไป 3 เดือนจำแทบไม่ได้หญิงสาวอเมริกันปีนเสาไฟฟ้าแรงสูง ส่งผลให้ไฟดับทันที 800 หลังคาเรือนเดือดร้อน โดนด่ายับครูสาวพลาดฉายไลน์ลับคุยกับนักเรียนชาย ถูกตรวจสอบทันทีหลังจากจูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิงสังหารศัตรู 13 ฮ่องเต้หลังจากนั้นกลายเป็นเลือดผสมวัดป่าภูทับเบิก วัดสวย ในเพชรบูรณ์
ตั้งกระทู้ใหม่