10 ขนมไทยโบราณที่หากินยากสุดๆ
10. ขนมพันตอง
9. ขนมลา
ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า
ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก
8. ขนมเกสรชมพู่
เกสรชมพู่ ขนมไทยโบราณ เมื่อได้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่าขนมชนิดนี้คือ “ข้าวเหนียวแก้ว” แต่ถ้าพิศมองให้ดีจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทำจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ำและน้ำตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ แล้วตักใส่ถ้วย เรื่องรสชาติเกสรชมพู่จะมีความมัน ความหอมของมะพร้าว และมีความหวานเป็นเอกลักษณ์
7. ขนมโพรงแสม
ขนมโพรงแสม ขนมชนิดนี้ใช้ในพิธีแต่งงาน โดยแทนเสาบ้านเสาเรือน เพื่อให้คู่บ่าวสาวอยู่กันยั่งยืนและร่ำรวย ลักษณะคล้ายๆขนมทองม้วน แต่ขนมชนิดนี้จะมีความแตกต่างอยู่ตรงที่มีน้ำตาลเคลือบพันร้อยอยู่ที่ตัวขนม เมื่อตัวขนมได้ถูกบดขยี้กับฟันและลิ้นที่สัมผัสรส จะให้ความรู้สึกกรุบกรอบน่ากัดกิน ผสมกับความหวานของน้ำตาลที่เคลือบขนมอย่างลงตัวไม่ที่ไม่หวานมากนัก ก็ยิ่งทำให้ขนมชนิดนี้เหมาะสำหรับการกินเล่น กับน้ำชาตอนบ่าย
6. ขนมตูโบ้
5. ขนมเทียนแก้ว
ขนมเทียนแก้ว หรือ ขนมนมสาว เปรียบเสมือนแสงสว่าง ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ ขนมชนิดนี้จะให้กลิ่นหอมสดชื่นน่ากินของควันเทียนและน้ำลอยดอกมะลิที่อบอวลอยู่ในเนื้อขนม
4. ขนมสามเกลอ
ขนมสามเกลอ เป็นขนมเสี่ยงทายในพิธีแต่งงาน ถ้าขนมยังติดกันทั้ง 3 ลูกในขณะที่ทอด หมายความว่า คู่บ่าวสาวที่จะแต่งงานจะอยู่ด้วยกันดี ตลอดจนมีลูกด้วยกัน แต่ติดกันอยู่เพียง 2 ลูก หมายความว่า มีลูกยากหรือไม่มี ถ้าแยกหรือหลุดออกทั้ง 3 ลูก หมายความว่า อยู่ด้วยกันไม่ยืด ขนมชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไส้ที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าว มะพร้าวขูด และงา แล้วเอามาหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนที่สอง ทำจากไข่ไก่ (อาจจะใส่สีผสมอาหารด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงาม) ที่นำมาโรยบนกระทะเป็นแผ่นบางๆ เพื่อนำมาห่อตัวขนม
3. ขนมตะลุ่ม
ตะลุ่ม มีสองส่วน คือส่วนตัวขนม ทำแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใส และหางกะทิ นำไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่ หัวกะทิ ไข่ และน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้ว นำไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคำหรือลักษณะตามชอบ เวลาจะรับประทานควรรับประทานพร้อมกันเพราะให้รสชาติที่หวาน มัน และมีกลิ่นหอมของกะทิยามรับประทานในคำเดียวกัน
2. ขนมหม้อตาล
ขนมหม้อตาล เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในพิธีแต่งงาน เรียกว่า “หม้อเงิน หม้อทอง” ตัวถ้วยขนม ผสมแป้งสาลี น้ำเย็น ไข่แดง กรุแป้งในพิมพ์หม้อตาล อบให้สุก ไส้ ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำเคี่ยวให้ข้น ตักใส่ถ้วย หยดสีตามต้องการ หยอดลงในพิมพ์ ให้น้ำตาลแห้ง ดูจากลักษณะภายนอกดูกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก หลากสีสันชวนน้ำลายสอ เมื่อลองลิ้มชิมรสเนื้อแป้งของขนมที่กรอบจะเข้ากันดีกับตัวน้ำตาลที่หวานกำลังดี
1. ขนมบุหลันดั้นเมฆ
บุหลันดั้นเมฆ ลักษณะของขนมจะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ เป็นขนมชาววังคิดประดิษฐ์ขึ้น ให้มีสีสันอุปมาอุปไมยเลียนแบบเพลงไทย‘บุหลันลอยเลื่อน’ ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 2 ส่วน คือ ส่วนตัวขนม ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำดอกอัญชัน น้ำตาลทราย หยอดลงบนถ้วยตะไล เมื่อนำไปนึ่งตรงกลางจะบุ๋มลงไป ส่วนตัวหน้าขนม ประกอบด้วย ไข่ กะทิ น้ำตาลมะพร้าว และนำไปนึ่งต่อจนสุก เมื่อรับประทานจะให้ความรู้สึกถึงความหอมหวานของน้ำดอกอัญชันกับกลิ่นน้ำตาลมะพร้าว
โพสท์โดย: I sea u