เรื่องสุดระยำ "สิบตำรวจเอก ก้มกราบตีนนักการเมืองบนโรงพัก"
เรื่องสุดระยำ "สิบตำรวจเอก ก้มกราบตีนนักการเมืองบนโรงพัก"
เมื่อปี 2550 เกิดเหตุทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นที่งานคอนเสิร์ตเพื่อชีวิต ที่สวนสาธารณะพญาแถน อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งมีลูกชาย นายก อบจ.ยโสธร ร่วมแจมอยู่ด้วย โดย ส.ต.อ.อาทิตย์ แดงดี ผบ.หมู่งานป้องกันปราบปราม สภ.อ.เมืองยโสธร ในขณะนั้น เข้าระงับเหตุตามหน้าที่ แต่ทำให้ นายก อบจ.ยโสธร ไม่พอใจ หาว่าไปทำร้ายลูกชายของเขา ก็เข้าทำนอง “ลูกข้าใครอย่าแตะ”
นายสถิรพร นาคาสุข (นายกฯ อบจ.ยโสธร) จึงเดินทางมา สภ.เมืองยโสธร เพื่อมาเอาเรื่องกับ ส.ต.อ.อาทิตย์ แดงดี ทันที โดยมี พ.ต.อ.โรจน์วัฒน์ รัตนเรืองภิญโญ (ผู้กำกับ) และ พ.ต.ท.ปรีชา สารถี (สารวัตรปราบปราม) คอยยืนเคลียร์อยู่ด้วย จากนั้นลูกน้องของนายสถิรพร วิ่งเข้ามาชกหน้า ส.ต.อ.อาทิตย์ จนเลือดกลบปาก แต่ พ.ต.ท.ปรีชา กลับสั่งให้ลูกน้องยกมือไหว้ขอโทษ
แต่เรื่องไม่จบ เมื่อ นายกฯ อบจ. พูดว่า “...ต้องกราบตีนขอโทษกู จึงจะจบ” ส.ต.อ.อาทิตย์ แย้งไปว่า “คุณไม่ใช่นายผม จะมาสั่งให้ผมกราบตีนได้อย่างไร” ทันใดนั้น พ.ต.ท.ปรีชา เอ่ยแทรกขึ้นมาว่า “ถ้ากูเป็นนาย... กูสั่งให้...กราบ ...จะกราบหรือไม่” ส.ต.อ.อาทิตย์ สวนกลับไปว่า “ถ้านายกล้าสั่ง ผมก็กล้าทำ!!”
“งั้น กูขอสั่งให้...กราบ” พ.ต.ท.ปรีชาออกคำสั่ง แล้ว ส.ต.อ.อาทิตย์ ก็ก้มลงกราบนักการเมืองใหญ่ทั้งเครื่องแบบ!! และขณะที่กำลังเงยขึ้นมาก็ถูกสมุนนักการเมืองเตะเสยเข้าใบหน้าจนสลบเหมือด ต่อหน้า พ.ต.อ.โรจน์วัฒน์ และพ.ต.ท.ปรีชา!
ถามว่า ทำไม? พ.ต.ท.ปรีชา จึงกล้าสั่งให้ลูกน้องกราบตีนนักการเมืองทั้งที่ยังสวมเครื่องแบบตำรวจ ก็มีคำตอบให้ได้วินิจฉัยกันว่า เดิมที พ.ต.ท.ปรีชา มีตำแหน่งเป็นเพียง สารวัตรธุรการ อยู่ที่โรงพักแห่งนี้ ต่อมา พ.ต.ท.ปรีชา และนักการเมืองซึ่งอาจเคยเกื้อหนุนค้ำจุนกันมาก่อน (จะเรื่องใดไม่ทราบ) ก็สวมบท “ป๋าดัน” ทำการ “ดัน” ให้ พ.ต.ท.ปรีชา ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง "สารวัตรปราบปราม สภ.อ.เมืองยโสธร” จนได้ในที่สุด ตำแหน่ง สวป.เมือง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนนั้นถือเป็นตำแหน่งสุดยอดที่บรรดา “ทั่นสารวัตร” ปรารถนากันนัก เหตุผลนี้กระมังที่ทำให้ พ.ต.ท.ปรีชา กล้าสั่งให้ลูกน้องในเครื่องแบบกราบตีนนักการเมือง!!
สุดท้าย เมื่อเรื่องแดง ตำรวจชั้นประทวนทั่วเมืองยโสธรทนไม่ได้ จึงรวมตัวกันกว่า 200 นาย กดดันให้เอาเรื่องกับ นายก อบจ. จนต้องมาขอขมา ส.ต.อ.อาทิตย์ แดงดี ส่วน ผู้บังคับบัญชา ที่ปล่อยให้ลูกน้องถูกทำร้ายแต่กลับไม่ช่วยเหลือ มีคำสั่งดังนี้ (คำสั่ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ - ผู้กำกับ มีฐานะเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนแต่ไม่ดำเนินคดีกับคนร้าย ผิดวินัยร้ายแรงของตำรวจ จึงให้ออกจากราชการ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีการอนุมัติให้กลับเข้ามาเป็นตำรวจอีก ส่วนสารวัตรปราบปรามและคนอื่นๆ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ถูกลงโทษสถานอื่น เพราะกลับใจยื่นสำนวนฟ้องคดีให้ลูกน้องในตอนหลัง จึงยังคงรับราชการต่อไป)
เรื่องนี้จึงอยากให้เป็นอุทธาหรณ์ และอยากให้ตำรวจร่วมด้วยช่วยกันปกป้อง ศักดิ์ศรีของกันและกัน ไม่ใช่ให้ถูกเหยียบย่ำ หรือเกรงกลัวต่ออิทธิพลของนักการเมือง












