หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรือรบกองทัพเรือไทย

โพสท์โดย paediatrics

เรือหลวงจักรีนฤเบศร ( HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

 

ประวัติ
 

ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย

เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท

เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล

กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ

ลักษณะจำเพาะ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG) แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวงแบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต

อาวุธและอากาศยาน

ภาพเปรียบเทียบเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ขวา) กับเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส (ซ้าย)

เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง  อาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง

เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตรสามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว

ระบบตรวจการและตอบโต้

พระราชพิธีเจิมเรือ ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จะมองเห็นเครื่องแฮริเออร์ AV-8S และเฮลิคอปเตอร์ SEA HAWK S-70B อยู่บนดาดฟ้าเรือ

ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน

เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่องและเป้าลวงลากท้าย SLQ-32

ภายในเรือ

ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว

โรงพยาบาล

โรงพยาบาลในเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง

อื่นๆ

ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วย[ เครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง

เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็น ขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือ จำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับ จำนวน 4 เครื่อง

ภารกิจ

ภาพขณะเครื่องแฮร์ริเออร์ AV-8 กำลังขึ้นบิน เผยให้เห็นลิฟต์บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้] มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร ทำให้เรือสามารถทำหน้าที่เป็นฐานปฏิบัติการในทะเลต่อระยะทำการของอากาศยาน และเป็นเรือรบปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและปกป้องอธิปไตยของชาติ

 

เรือหลวงอ่างทอง

HTMS Angthong 791.jpg
เรือหลวงอ่างทอง (LPD 791)
ประวัติ (ประเทศไทย)Naval Ensign of Thailand.svg
ชั้นและประเภท: Endurance Class
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่
ชื่อเรือ: เรือหลวง อ่างทอง
ต่อขึ้นที่: ST Marine Ltd. สิงคโปร์
ขึ้นระวาง: พ.ศ. 2554
ประจำการ: 19 เมษายน พ.ศ. 2555
สถานะ: ในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 7,600 ตัน
ความยาว: 141 เมตร
ความกว้าง: 21 เมตร
กินน้ำลึก: 4.6 เมตร
ความเร็ว: 20 นอต (37 กม./ชม.) สูงสุด
12 นอต (22 กม./ชม.) ปฏิบัติการ
ระยะทางเชื้อเพลิง: 5,000 ไมล์ทะเล (8,000 กิโลเมตร)
ระยะปฏิบัติการ:
  • ปืนหลัก OTO Melara 76/62 มม. Super Rapid
  • ปืนกล 30 มม. Sea Hawk MSI-DS30 MR
  • ปืนกล 12.7 มม.
จำนวนเรือและอากาศยาน:
  • เรือลำเลียงกำลังพล 2 ลำ
  • เรือระบายพลขนาดเล็ก 2 ลำ
กำลังพล: 151 นาย
อัตราเต็มที่: 500 นาย
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: Terma SCANTER 4100
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ

เรือหลวงอ่างทอง (791) ( HTMS Angthong 791) เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ลำแรกของกองทัพเรือไทย สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ และเป็นเรือในประจำการที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน รองจาก เรือหลวงสิมิลัน และ เรือหลวงจักรีนฤเบศร

ประวัติ

เรือหลวงอ่างทองหมายเลข 791 เป็นเรือหลวงอ่างทองลำที่ 3 ของไทย ซึ่งเรือหลวงอ่างทองลำแรกนั้น เดิมทีคือเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง และเรือหลวงอ่างทองลำที่สอง (711) คือเรือ USS LST-924 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

โครงการจัดหาเรือหลวงอ่างทองเข้าประจำการ เป็นไปตามแผนพัฒนากองทัพในระยะ 9 ปี โดยได้มีการลงนามในสัญญาจ้าง เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551 โดย พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง โดยกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพเรือจ้างสร้างเรือยกพลขึ้นบก เป็นเงิน 4,944 ล้านบาท

ภารกิจ

เรือหลวงอ่างทองนั้นได้ต่อขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก และ การขนส่งลำเลียงทางทะเล เป็นเรือบัญชาการและฐานปฏิบัติการในทะเล

เรือหลวงนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
HTMS Naresuan in Hong Kong.JPG
เรือหลวงนเรศวร (FFG 421)
ประวัติ (ประเทศไทย)Naval Ensign of Thailand.svg
ชั้นและประเภท: ฟริเกต ไทป์ 053
ชื่อเรือ: เรือหลวง นเรศวร
ต่อขึ้นที่: อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์, เซี่ยงไฮ้
วางกระดูกงู: พ.ศ. 2534
ปล่อยลงน้ำ: 15 ธันวาคมพ.ศ. 2537
ขึ้นระวาง: 1995
รหัสประจำเรือ: 421
คำขวัญ: องอาจ กล้าหาญ สู้เพื่อชาติ
สถานะ: อยู่ในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,985 ตัน
ความยาว: 120.5 ม.
ความกว้าง: 13.7 ม.
กินน้ำลึก: 4.3 ม.
กินน้ำลึก: 3.8 ม.
เครื่องยนต์: 1 × เจเนอรัลอีเลคทริ LM2500+ แก็สเทอร์ไบน์ และ 2 × เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู 20V1163 TB83
ใบจักร: 2 × ใบจักรแบบปรับมุมได้
ความเร็ว: 32 นอต (59 กม./ชม.) สูงสุด
ระยะทางเชื้อเพลิง: 4000 ไมล์ทะเล (7408 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต
อัตราเต็มที่: 150
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: 1 x เรดาร์ตรวจการ ซ๊าบ ซีร์ ยีราฟ AMD 3D
1 x เรดาร์ค้นหาระยะไกล Thales LW08
2 x เรดาร์ควบคุมการยิง Saab Ceros 200
1 x เรดาร์ควบคุมการยิง Thales STIR
ระบบปฏิบัติการรบ:Saab 9LV 400 Mk.4 โดย Saab TIDLS
ยุทโธปกรณ์:

1 x 5 นิ้ว/54 (127 มม.) ปืนใหญ่เรือ มาร์ค-45 มอด 2
2 x ไทป์ 76 แท่นคู่ 37 มม.

8 ท่อยิง มาร์ค.41 ฐานยิงแนวดิ่ง สำหรับ 32 x อาร์ไอเอ็ม-162 อีเอสเอสเอ็ม
8 x อาร์จีเอ็ม-84 ฮาร์พูน
2 x ตอร์ปิโดแฝดสาม 324 มม. มาร์ค-32 มอด.5
อากาศยาน: 1 x เวสต์แลนด์ลิงซ์

เรือหลวงนเรศวร ( HTMS Naresuan), (FFG 421) เป็นเรือฟริเกตสังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ  กองทัพเรือไทย ดัดแปลงมาจากเรือฟรีเกตไทป์ 053 ของจีน โดยความร่วมมือกันออกแบบระหว่างกองทัพเรือไทยกับจีน ต่อที่อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ปล่อยเรือลงน้ำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 และเข้าประจำการในปี 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เรือหลวงนเรศวรมีเรือในชั้นเดียวกันอีกหนึ่งลำคือ เรือหลวงตากสิน

การปรับปรุง

ในปี ค.ศ. 2011 กองทัพเรือได้เลือกระบบ 9LV ของบริษัทซ๊าบ ประเทศสวีเดน ในการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง และระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน

เรือหลวงเจ้าพระยา

Htms chaophraya.jpg
เรือหลวงเจ้าพระยา (FFG 455)
ประวัติ (ประเทศไทย)Naval Ensign of Thailand.svg
ชั้นและประเภท: เจ้าพระยา (ฟริเกต ไทป์ 053 HT ชั้นเจียงหู III)
ชื่อเรือ: เรือหลวง เจ้าพระยา
ต่อขึ้นที่: อู่ต่อเรือหูต่ง, เซี่ยงไฮ้
ได้รับเรือ: 8 เมษายน พ.ศ. 2534
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 1.676 ตัน (เต็มที่ 1,924 ตัน)
ความยาว: 102.87
ความกว้าง: 11.36
กินน้ำลึก: 4.3 ม.
กินน้ำลึก: 3.1 ม.
เครื่องยนต์: 4 × เครื่องจักรใหญ่ดีเซล CODAD MTU 30 V 1163 TB 83
ใบจักร: 2 × ใบจักร ควบคุมด้วยระบบปรับพิทช์ใบจักร
ความเร็ว: 30 นอต (56 กม./ชม.) สูงสุด
ระยะทางเชื้อเพลิง: 3500 ไมล์ทะเล ที่ 18 นอต
ยุทโธปกรณ์: 2 × ปืนเรือขนาด 100 ม.ม. แท่นคู่
8 × อาวุธปล่อยนำวิถี C-801
2 × ปืนกล 37 ม.ม. แท่นคู่
2 × จราดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200

เรือหลวงเจ้าพระยา (HTMS Chao phraya) เป็นเรือฟริเกตในชั้นเจ้าพระยา หมายเลขเรือ 455 สังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ  ฐานทัพเรือสัตหีบ  ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือหูต่ง ประเทศจีน โดยปรับปรุงแบบจากเรือฟริเกต ประเภท 053 HT (ชั้นเจียงหู III) ของจีน มีเรือในชั้นเดียวกันอีกสามลำคือ เรือหลวงบางปะกง, เรือหลวงกระบุรี , และเรือหลวงสายบุรี

เรือหลวงเจ้าพระยาลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือหลวงลำที่สองที่ใช้ชื่อเจ้าพระยา โดยเรือลำแรกเป็นเรือสลุปในสมัย พ.ศ. 2466

อาวุธ

เอ็กโซเซต์

 

 

เอ็กโซเซต์ ( Exocet) เอ็กโซเซต์เป็นขีปนาวุธ โจมตีเรือที่ยิงจากรถปล่อย เรือดำน้ำ  และ เครื่องบิน เอ็กโซเซต์ถูกสร้างและพัฒนาโดยบริษัท เอ็มบีดีเอ  แผนกย่อยหนึ่งของแอโรสปาติอาล  รุ่น เอ็มเอ็ม 38 ถูกยิงจากฐานปล่อยบนเรือ ในปี ค.ศ. 1967

เอ็กโซเซต์ เอ็มเอ็ม 40 เป็นรุ่นล่าสุดที่ได้มีการพัฒนา รัศมีการยิง 180 กิโลเมตรมีระบบนำทางจีพีเอส-ไอเอ็นเอส สามารถโจมตีเป้าหมายที่อยู่ตามแนวชายฝั่ง

 

 

เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน

เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน
Harpoon asm bowfin museum.jpg
ขีปนาวุธฮาร์พูน ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์
ชนิด ขีปนาวุธต่อต้านเรือ
สัญชาติ สหรัฐอเมริกา
บทบาท
ประจำการ พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิต โบอิง ดีเฟนซ์, สเปชแอนด์ซีเคียวริตี้
มูลค่า US$1,200,000 สำหรับบล็อก II
ข้อมูลจำเพาะ
น้ำหนัก 1,523 ปอนด์ (691 กก.)
ความยาว อากาศยาน: 12.6 ฟุต (3.8 เมตร);พื้นดินหรือเรือดำน้ำ 15 ฟุต (4.6 เมตร)
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.1 ฟุต (0.34 เมตร)

หัวรบ 488 ปอนด์ (221 กก.)

เครื่องยนต์ เทเลดาย เทอร์โบเจ็ต/ส่วนขับดัน แรงขับมากกว่า 600 ปอนด์ (มากกว่า 272.2 กิโลกรัม)
ความยาวระหว่างปลายปีก 3 ฟุต (0.91 เมตร)
พิสัยปฏิบัติการ 124 กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับฐานยิง)
ความสูงปฏิบัติการ เรี่ยผิวน้ำ
ความเร็ว 864 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระบบนำวิถี ผิวน้ำควบคุมโดยเรดาร์ / แอคทีฟเรดาร์โฮมมิง
ใช้กับ หลายรูปแบบ
  • RGM-84A เรือผิวน้ำ
  • AGM-84A อากาศยาน
  • UGM-84A เรือดำน้ำ

เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน เป็นระบบขีปนาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และอากาศสู่พื้น โจมตีเรือรบผิวน้ำในระยะขอบฟ้าทุกสภาพอากาศ พัฒนาและผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโบอิง) มีจำนวนผลิตกว่า 7,000 ลูก นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ฮาร์พูนได้รับการพัฒนาและดัดแปลงจำนวนหลายบล็อก เช่น บล็อก I, II, ID และ IG ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นบล็อก III นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบขีปนาวุธฮาร์พูนเป็นรุ่นโจมตีภาคพื้นดินเรียกอีกชื่อว่า สแลม (Standoff Land Attack Missile)

ฮาร์พูนใช้เรดาร์แอคทีฟโฮมมิ่งนำทางเข้าหาเป้าหมาย โดยจะบินเรี่ยผิวน้ำในระดับต่ำเพื่อหลบหลีกการถูกตรวจจับจากเรดาร์ข้าศึก สามารถยิงได้ทั้งจากเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ อากาศยาน และจากฐานยิงบนบก แบ่งออกดังนี้

  • อากาศยานปีกตรึง (เอจีเอ็ม-84 รุ่นปราศจากจรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง)
  • เรือรบผิวน้ำ (อาร์จีเอ็ม-84 รุ่นติดตั้งจรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง )
  • เรือดำน้ำ (ยูจีเอ็ม-84 รุ่นตั้งภายในจรวดเชื้อเพลิงขับดันภายในแคปซูล ใช้ยิงจากท่อยิงตอร์ปิโด)
  • ฐานยิงบนบก

ฮาร์พูนเทียบเคียงได้กับขีปนาวุธรุ่นใกล้เคียงอื่นๆ เช่น เอ็กโซเซ่ต์ ของฝรั่งเศส, อาร์บีเอส-15 ของสวีเดน, เอสเอส-เอ็น-25 ของรัสเซีย, ซี อีเกิล ของอังกฤษ, และ ซี 802 ของจีน

ฮาร์พูนรุ่นแรก

ขีปนาวุธฮาร์พูนได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ภายหลังเหตุการณ์เรือพิฆาตของอิสราเอลโดนโจมตีจากขีปนาวุธโจมตีเรือ พี-15 เทอร์มิต ซึ่งผลิตในโซเวียต ทำให้มีการพัฒนาขีปนาวุธสำหรับยิงจากอากาศยานลาดตระเวน พี-3 โอไรออน อีกทั้งได้รับการดัดแปลงให้ใช้ทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 ซึ่งสามารถบรรทุกได้แปดถึงสิบสองลูก ฮาร์พูนได้รับความนิยมจากชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติสมาชิกนาโต อาทิเช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และชาติพันธมิตรนอกนาโต เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และในส่วนอื่นๆของโลก

ฮาร์พูนได้รับการดัดแปลงให้ใช้ยิงจากเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งได้กับอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่น พี-3 โอไรออน, เอ-6 อินทรูเดอร์, เอส-3 ไวกิ้ง, เอวี-8 แฮริเออร์, และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท

ฺฮาร์พูนขณะถูกยิงจากเรือรบหลวงเรจินาของกองทัพเรือแคนาดา

ฮาร์พูน บล็อก ID

ฮาร์พูนรุ่นดังกล่าวได้รับการดัดแปลงเพิ่มขนาดถังเชื้อเพลิง แต่มีจำนวนการผลิตที่จำกัดในสมัยสงครามเย็น (ใช้ในสงครามกับประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอของยุโรปตะวันออก)

 

แสลม เอทีเอ (บล็อก IG)

อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบินวนโจมตีเป้าหมาย มีความสามารถไกล้เคียงกับขีปนาวุธร่ินโทมาฮอร์ก โดยขีปนาวุธจะทำการคำนวณเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้ากับเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ โดยการเปรียบเทียบภาพเป้าหมายจริงกับภาพเป้าหมายที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์[2]

ฮาร์พูน บล็อก II ทดสอบยิงจาก ยูเอสเอสธอร์น

ฮาร์พูน บล็อก II

พัฒนาโดยโบอิง โดยเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านต่อต้านทางอิเล็กโทรนิก (ECM) และระบบชี้เป้าด้วยระบบดาวเทียม (GPS)

 

ฮาร์พูน บล็อก III

แผนการพัฒนาโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดยการปรับปรุงระบบควบคุมการยิง สำหรับติดตั้งบนเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถี เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี และใช้ติดตั้งบนเครื่องบินโจมตี/ขับไล่แบบ เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แต่ภายหลังการพัฒนาที่ล่าช้า นโยบายการควบคุมจำนวนเรือ การทดสอบที่ถูกเลื่อนออกไป ทำให้แผนการพัฒนาถูกยกเลิกในเดือน เมษายน พ.ศ. 2552

 

ที่มา: th.wikipedia.org
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
paediatrics's profile


โพสท์โดย: paediatrics
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567เผยสาเหตุมะเร็งเหตุจากตู้เย็นแช่ของนานเกินไป!!😮♨︎🍣iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!หลานโฉด เข็นศwลุงไปกู้เงินธนาคารแคสตรงปก เจมส์จิ(คุณชายพุฒิภัทร) และไมกี้(คุณฉัตรเกล้า)เปิดเมนูแสนอร่อยของ "กัมพูชา" แต่ยอดแย่ที่สุดในโลกวันนี้แล้ว! น้ำมัน เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับขึ้นสุสานลับใต้ดิน ทำไมไม่มีใครกล้าเปิด "สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้"เมื่อเจ้าหญิงน้อยไอดอลของชาวเขมร บินมาดูคอนเสิร์ตที่กรุงเทพ! แบบนี้มันข้ามหน้าชาวเขมรไปไหมน้อ?😃
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ยังจำคดีน้องการ์ตูนได้ไหม ??? สุดท้ายคนผิดลอยนวลเพราะคดีความหมดอายุถนนผีสิง ถนนสาย B3212 เปิดตำนาน ถนนผีสิงแห่งเมืองผู้ดีนี้คือนิสัยแย่ๆ ที่อาจจะทำให้เwศตรงข้ามไม่ชอบคุณ"เสรีพิศุทธ์" เปิดข้อเขียนปี 2521 ชี้ จะได้ครบถ้วนวิ่งเต้นเสียเงินเรื่องใช้เงินซื้อตำแหน่งไม่ใช่เพิ่งมี
ตั้งกระทู้ใหม่