หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หนังสือ "กรณีธรรมกาย" มุ่งให้ร้ายธรรมกาย?: วิพากษ์ความคิด ป. อ. ปยุตฺโต กรณีธรรมกาย 2

เนื้อหาโดย doctorsopon


            AREA แถลงฉบับนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ ดร.โสภณ พรโชคชัย
           บางคนเข้าใจว่าหนังสือ "กรณีธรรมกาย" เป็นเอกสารที่ยืนยันว่าธรรมกายสอนผิดอย่างถึงแก่น แต่ความจริงอาจไม่ใช่ อาจเป็นเพียงแค่เอกสารโฆษณาให้เกลียดชังธรรมกายมากกว่าบทวิเคราะห์ที่เป็นธรรม ลองมาวิเคราะห์กันดูเพื่อสังคมอุดมปัญญา
           หนังสือ "กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทยฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่" เล่มนี้เขียนโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) หรือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในปัจจุบัน ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 24 - มกราคม 2551 หน้า 396-421 (http://bit.ly/VxBuIU) เผยแพร่ทางเว็บไซต์ให้ download ฟรีโดยวัดญาณเวศกวันของสมเด็จฯ เอง หนังสือนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2542 และพิมพ์ล่าสุด ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนมีนาคม 2559


           หนังสือเล่มนี้หนา 440 หน้า เมื่อรวมสารบัญอะไรต่าง ๆ ด้วยแล้วก็หนาถึง 456 หน้า บรรจุความรู้ต่างๆ เข้าไปมากเหลือเกินสมกับที่สมเด็จฯ เป็นผู้ได้รับการยกย่องถึงความรอบรู้ แต่ในหนังสือนี้กลับวิพากษ์วิจารณ์ถึง "เอกสารของวัดธรรมกาย" ซึ่งก็เป็นแค่บทความฉบับเดียวของพระสมชาย ฐานวุฑโฒ ที่ชื่อว่า "นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา" ที่เขียนเมื่อปี 2542 (และตีพิมพ์ในมติชนรายวัน 13 มกราคม 2542) และปรากฏในหนังสือกรณีธรรมกายฯ หน้า 272-282 นับเป็นเรื่องแปลกจริงๆ ที่สมเด็จฯ เขียนหนังสือถึง 456 หน้า โต้บทความสั้นๆ แค่ 11 หน้าแค่นี้


           พระสมชาย (ฐานวุฑโฒภิกขุ) หรือพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (http://bit.ly/2ljbsXo) ในปัจจุบัน เคยเป็นนายแพทย์และกำลังเรียนปริญญาเอกในขณะนั้น ในวันที่เขียนบทความก็เพิ่งบวชเรียนมา 14 พรรษา อายุ 38 ปี และคงยังไม่ได้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธรรมกายด้วยซ้ำไป ส่วนสมเด็จฯ ในขณะนั้นบวชเรียนมาแล้ว 38 พรรษา อายุ 61 ปี เรียกว่าเป็นการ "ชกข้ามรุ่น" ระดับพ่อ-ลูก


           สำหรับเอกสาร 11 หน้าที่สมเด็จฯ เอามาวิพากษ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวนี้ จะถือว่าเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการของวัดธรรมกายก็ใช่ที่ สำหรับแนวทางที่ควร สมเด็จฯ น่าไปรวบรวมตำรา ข้อเขียน หรือเทปคำสอนของเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่ในวัดธรรมกาย มาวิพากษ์วิจารณ์จึงจะถือว่าเป็นการหาข้อมูลที่ถูกต้องสมควร ทั้งนี้ควรรวบรวมมาอย่างน้อยก็เป็นสิบเล่ม จึงจะทำการวิเคราะห์อย่างมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือเพียงพอได้


           การวิพากษ์ความเห็นของ "พระเด็ก" ในวัดธรรมกายที่เขียนแค่บทความชิ้นหนึ่งออกมา แต่สมเด็จกลับตอบโต้ถึง 440 หน้า อาจทำให้ดูไม่งาม และกลายเป็นการเขียนที่เยิ่นเย้อ แม้ผู้อ่านจะได้ความรู้เพิ่มเติมในหลายเรื่อง แต่ก็เป็นเรื่องที่แม้เกี่ยวข้องแต่ไม่จำเป็นและควรที่จะกระชับให้ได้ใจความสำคัญ ยิ่งกว่านั้นท่านควรมีระเบียบวิธีวิจัยที่ดีกว่านี้คือ มีการกล่าวถึงปัญหาของวัดธรรมกายเป็นข้อ ๆ แสดงวิธีในการศึกษา แล้วลงมือวิเคราะห์ให้เห็นข้อผิดพลาดเป็นเปลาะๆ ไป แต่เสียดายที่หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาปนเป


           ในบทความของพระสมชายที่สมเด็จฯ อ้างถึง มีความตอนท้ายว่า "อาจสรุปได้ประการหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถอาศัยหลักฐานทางคัมภีร์เท่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันมาสรุปยืนยัน (อย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยไม่มีประเด็นให้ผู้อื่นโต้แย้งคัดค้านได้. . . เมื่อเราปฏิบัติจนสามารถเข้าถึงอายตนนิพพานนั้นได้แล้ว เราย่อมตระหนักชัดด้วยตัวของเราเองว่า นิพพานนั้นเป็นอัตตาหรืออนัตตา ดีกว่าการมานั่งถกเถียงกันโดยไม่ลงมือปฏิบัติ" ข้อนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าบทความนี้มุ่งเปิดกว้างเพื่อให้เกิดสังคมอุดมปัญญา ไม่ได้กล่าวสรุปเป็นตุเป็นตะว่าต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง


           ประเด็นเรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตานั้น พูดไปพูดมา ชาวบ้านทั่วไปคงไม่ได้อะไรมากนัก เราอาจคุยกันได้ในเชิงหลักการ แต่ใครจะไปนิพพานยังไง คงนึกภาพได้ยาก อย่าว่าแต่ระดับตรัสรู้เลย ใครกล้าบอกว่าตนบรรลุแค่โสดาบัน ก็ยังไม่รู้จะเชื่อได้หรือไม่ ถ้านำเรื่องนี้ไปถามหลวงปู่ทวด ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น หลวงพ่อคูณ ฯลฯ ท่านก็คงไม่มาถกจับผิดกันหรอก ท่านเหล่านั้นคงต่างมุ่งในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตามในวงการศึกษา ก็ควรนำมาถกกันบ้างเพราะจะได้เป็นการศึกษาศาสนาพุทธให้ลึกซึ้ง เพียงแต่ไม่พึงพูดในเชิงให้ร้ายกัน


           ในหนังสือ "กรณีธรรมกาย" นี้ เริ่มต้นยังทันได้วิเคราะห์ก็ "พาดหัว" คล้ายพิพากษาในเชิงลบให้ธรรมกายเสียหายอย่างหนักหนาสาหัสเสียแล้ว เช่น "กรณีธรรมกาย ถึงขั้นจ้วงจาบพระธรรมวินัย" (น.1) ". . .ทําพระธรรมวินัยให้วิปริต ร้ายยิ่งกว่า" (น.4) "ถ้าตีรวนพระไตรปิฎกได้ก็ถอนรากพระสงฆ์ไทยสําเร็จ" (น.28) ลักษณะการเขียนพาดหัวแบบนี้ตั้งแต่หน้าแรก ๆ โดยที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ ดูคล้ายไม่ได้มุ่ง "เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย" ดังชื่อหนังสือเสียแล้ว


           นอกจากว่าสมเด็จฯ ไม่ได้ศึกษาหนังสือหรือตำราที่เป็นทางการของวัดธรรมกาย มาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบแล้ว ยังเพียงเอาคำสัมภาษณ์ของพระรูปหนึ่ง (ไม่ได้อ้างชื่อ) ในมติชน อาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2542 น.7 ที่ว่า "ต่อมาทางวัดมีพระที่ออกมาพูดกล่าวตอบทํานองว่า เรายึดแนวพระพุทธเจ้าจะชนะด้วยความสงบนิ่ง . . ." สมเด็จก็เขียนวิพากษ์ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ใช้ความสงบนิ่งมาเอาชนะเท่านั้น บางทีก็ใช้ฤทธิ์ หรืออย่างอื่นหลายๆ อย่าง ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ในกรณีนี้หากวัดธรรมกายเลือกใช้วิธีสงบนิ่งก็ถือเป็นสิ่งที่ดี จะสังเกตได้ว่ามีคนกล่าวหาวัดธรรมกายและเจ้าอาวาสมากมาย แต่พวกเขาก็แทบไม่เคยออกมาตอบโต้ใครเลย ข้อนี้นับเป็นสปิริตอย่างสูงก็ว่าได้


           ในทางตรงกันข้าม สมเด็จกลับมองฝ่ายคุกคามธรรมกายในแง่บวก โดยสมเด็จฯ เขียนว่า "แม้บางท่านจะรุนแรงทางถ้อยคําบ้าง ก็อาจเป็นเพราะความที่รักพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองมาก เมื่อเห็นอยู่ชัดเจนว่าคำสอนและการปฏิบัติของชาวสํานักผิดแผกแตกต่างหรือสวนทางไปไกลด้วยความรักต่อพระศาสนาและส่วนรวม จึงทําให้ท่านเหล่านั้นอดใจไม่ได้ต้องแสดงออกมารุนแรง แต่ก็เพียงด้วยวาจา" (น.251) การเขียนของสมเด็จฯ อย่างนี้อาจแตกต่างไปจากหลักอุเบกขาหรือไม่ อันที่จริงควรเตือนฝ่ายคุกคามให้เลิกก่อวจีกรรมต่อชาวพุทธชาวไทยด้วยกันเสียบ้าง


           โดยภาพรวมแล้วหนังสือกรณีธรรมกายฯ ของสมเด็จฯ ไม่ได้วิเคราะห์อะไรเป็นพิเศษจากคำสอนของธรรมกาย มีเพียงอ้างหนังสือ “เดินไปสู่ความสุข” ของวัดที่หน้า 38 ว่าได้เล่าเรื่องครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 แม่ชีได้ปัดระเบิดไปตกฮิโรชิมา แต่เมื่อตรวจดูหนังสือดังกล่าว (http://bit.ly/2ljlMhZ) ก็ไม่พบเรื่องฮิโรชิมา แต่มีการปัดระเบิดในไทย ซึ่งเป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ที่ผมเองก็ไม่เชื่อ แต่เรื่องแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่เขียนในวงการพระไทยโดยทั่วไป สมเด็จฯ ไม่ควรเลือกเพ่งโทษเฉพาะธรรมกาย อย่างไรก็ตามพื้นที่ส่วนใหญ่ของหนังสือของสมเด็จฯ ก็เน้นไปในเรื่องอื่น เช่น ภาค ๒ บุญ–บารมีที่จะกู้แผ่นดินไทย (น.283-357) ส่วนหน้า 392-442 ผมได้วิพากษ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ (http://bit.ly/2ldBU4w)


           อาจกล่าวได้ว่าสมเด็จฯ มีฐานะที่สูงส่งเป็นพระผู้ใหญ่ สิ่งที่ท่านเขียนจึงมีคนเชื่อโดยไม่ได้วินิจฉัยเอง หรืออาจจะเชื่อโดยไม่ได้อ่านให้ชัดเจนด้วยซ้ำไป อันที่จริงควรจัดเวทีถกเถียงเพื่อให้เกิดสังคมอุดมปัญญา แทนการเขียนอยู่ข้างเดียวแบบนี้ แถมมีการตีพิมพ์ซ้ำๆ ไปแล้วถึง 31 ครั้งในระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายวัดธรรมกายก็คงเห็นว่าการโต้แย้งไปก็ไร้ประโยชน์เพราะฝ่ายตรงข้ามเน้นแต่บริภาษเป็นหลัก การไม่ได้อ่านหนังสือของสมเด็จฯ ให้ชัดเจน จึงกลายเป็นการสร้างความแตกแยกไปเสียอีก

  ถ้าเรารักพุทธศาสนา ก็ควรมีท่าทีที่เป็นมิตร และร่วมกันพัฒนาศาสนาพุทธให้ดีกว่านี้จะดีกว่านะครับ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

หนังสือกรณีธรรมกาย 440 หน้า พิมพ์ถึง 31 ครั้งในรอบ 18 ปี เพื่อตอบโต้บทความ 11 หน้าของพระหนุ่มรูปหนึ่งที่บวชที่วัดธรรมกาย!?!


           ถ้าเรารักพุทธศาสนา ก็ควรมีท่าทีที่เป็นมิตร และร่วมกันพัฒนาศาสนาพุทธให้ดีกว่านี้จะดีกว่านะครับ

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: doctorsopon, vho
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เหตุการณ์วันสิ้นพระชนม์"เสด็จเตี่ย"ใครยังไม่รู้จัก เกาะนี้ แสดงว่ายังมาไม่ถึงกลุ่มฮามาส ไว้อาลัยประธานาธิบดีอิหร่าน และผู้ติดตามที่จากไปก็แค่ปัญหา...เล็กนิดเดียวหนุ่มสาวชาวจีน แห่สมัคร "สัปเหร่อ"..เนื่องจากปัญหาการว่างงานสูง!พฤติกรรมที่มีระเบียบของผู้ดีอังกฤษ เมื่อคุณได้รู้อาจจะทำให้คุณว้าวได้!"โจวเหวินฟะ" ออกกำลังมากเกินไป..ทำเอาแฟนๆ อดห่วงไม่ได้"ดีเจต้นหอม" โพสต์โดนใจ..ทำไมถึง "อย่ามีลูก"ราคา Golden Boy รู้แล้วอึ้ง! ถูกลักลอบขายไปจากไทยเมื่อ 60 ปีที่แล้ว?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"โจวเหวินฟะ" ออกกำลังมากเกินไป..ทำเอาแฟนๆ อดห่วงไม่ได้Robert Wadlow ชายที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ สูงถึง 272 เซนติเมตรใครยังไม่รู้จัก เกาะนี้ แสดงว่ายังมาไม่ถึงภาพยนตร์เรื่องแรก ที่ทำเงินจากการฉายในไทยได้มากถึง 100 ล้านบาท
กระทู้อื่นๆในบอร์ด บ้าน คอนโด ที่ดิน
Download ฟรีหนังสือ “การประเมินค่าทรัพย์สินมีความสำคัญอย่างไร”Zoom มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐกับผลกระทบต่อผู้ซื้อบ้านประ มูลห้องชุด โครงการเดอะ โคสท์ แบงค็อก บางนาห้องชุดราคาแพงที่สุดในประเทศไทย
ตั้งกระทู้ใหม่