พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 — 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466) ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย"[1] และในปี 2544 แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย"[2]
ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและอนุเสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น 217 แห่งทั่วประเทศไทย[3] เช่น โรงพยาบาลชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร[4] หรือที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[5]
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมดธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 มีพระกนิษฐา และพระอนุชา ร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์) และพระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์
ทรงเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษพร้อมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้น ทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในปี พ.ศ. 2436 ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ในปี พ.ศ. 2439 ต่อจากนั้นทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทหารเรือ โรงเรียนปืนใหญ่ และโรงเรียนตอร์ปิโด จนได้เลื่อนยศเป็นเรือเอก รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ในราชนาวีอังกฤษ 6 ปีเศษ
เสด็จกลับประเทศไทย ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2443 จึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (ปัจจุบันเทียบเท่า นาวาตรี) ทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์"[6] ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ และทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ใน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ ทรงจัดเพิ่มเติมวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ เพื่อให้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้ คือวิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติพีชคณิต อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต
ทรงเป็นเรี่ยวแรงสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่นคง และกองทัพเรือจึงยึดถือวันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"
พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระองค์ออกจากราชการอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ จากตำราไทย ทรงเขียนตำราสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง และรับรักษาโรคให้ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า ทรงเรียกพระองค์เองว่า "หมอพร"
พ.ศ. 2460 ประเทศไทยได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกองทัพเรือยังขาดผู้มีความรู้ความสามารถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ เสด็จกลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง เจ้ากรมจเรทหารเรือ และดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารเรือในปี พ.ศ. 2461
พ.ศ. 2462 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดหาซื้อเรือในภาคพื้นยุโรป เรือที่จะจัดซื้อนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "เรือหลวงพระร่วง" ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำเรือหลวงพระร่วงเดินเรือข้ามทวีปจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร ด้วยพระองค์เอง
พ.ศ. 2463 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ ขึ้นเป็นกรมหลวงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิงหนาม ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ฯลฯ (คำ "เขตร์" ในพระนามเปลี่ยนเป็น "เขต" ด้วย)
ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ สร้างเป็นฐานทัพเรือ เมื่อ พ.ศ. 2465 เนื่องจากทรงเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโด มีเกาะน้อยใหญ่รายล้อม สามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เมื่อเรือภายนอกแล่นผ่านบริเวณนี้จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้เลย
พ.ศ. 2466 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงดำรงตำแหน่งได้ไม่นานก็ได้กราบบังคมลาออกจากราชการ เพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ที่จังหวัดชุมพร ทรงถูกฝนประชวรเป็นพระโรคหวัดใหญ่ สิ้นพระชนม์ที่ ตำบลทรายรี ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 43 พรรษา
กองทัพเรือไทยถือเอาวันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันอาภากร"
มวยไทย
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นผู้มีความสามารถด้านมวยไทย และในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นผู้ฝึกสอนให้กับนักมวยต่างจังหวัด ทั้ง นายทับ จำเกาะ, นายยัง หาญทะเล, นายตู้ ไทยประเสริฐ และนายพูน ศักดา ซึ่งเป็นนักมวยที่มีฝีมือชาวโคราช
งานศิลปะ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ยังมีความสามารถในด้านศิลปะ โดยพระองค์ได้ทรงเขียนภาพพุทธประวัติไว้ที่ผนังโบสถ์ของวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท อันเป็นภาพเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผลงานที่ยังคงปรากฏสืบมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผลงานที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง
งานพระนิพนธ์
- เพลงดอกประดู่ (เพลงสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย)
- เพลงเดินหน้า (เดิมแบ่งเป็น 2 เพลง ชื่อ "เกิดมาทั้งทีมันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น" และ "เกิดมาทั้งทีมันก็มีอยู่แต่ทุกข์ภัย") สันนิษฐานว่าทรงพระนิพนธ์ขึ้นในช่วงที่ทรงออกจากราชการในสมัยต้นรัชกาลที่ 6
- เพลงดาบของชาติ ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ
- เพลงสรรเสริญพระบารมี สำนวนขับร้องของทหารเรือ (ขึ้นต้นว่า "ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุทธพลนาวา")
- พระคัมภีร์ อติสาระวรรค โบราณะกรรม และปัจจุบันนะกรรม เป็นสมุดข่อยตำราแพทย์ไทยแผนโบราณที่ทรงเขียนด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2458
ชีวิตส่วนพระองค์
ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ อภิเษกสมรสกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ พระธิดาใน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ กรุณาพระราชทานน้ำสังข์ในพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง แต่ในภายหลัง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ทรงน้อยพระทัยพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ และปลงชีพพระองค์เองด้วยยาพิษ
พระโอรสพระธิดา
ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าเกียรติ อาภากร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์
- หม่อมเจ้าเกียรติ อาภากร ประสูติและถึงชีพิตักษัยในวันเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 2446
- พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) เสกสมรสกับ กอบแก้ว วิเศษกุล (หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา)
- พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพไพเราะ อาภากร สมรสกับ สุคนธ์ ศรโชติ
- อรทิพย์ ศรโชติ สมรสกับ กฤษณ์ วสีนนท์
- นีติบุตร วสีนนท์
- รวคนธ์ ศรโชติ
- ภัทเรก ศรโชติ
- อรทิพย์ ศรโชติ สมรสกับ กฤษณ์ วสีนนท์
- หม่อมราชวงศ์หญิงดารณี อาภากร สมรสกับ วิบูลย์ วัฒนายากร
- สลีลา วัฒนายากร
- สิทธิ วัฒนายากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพไพเราะ อาภากร สมรสกับ สุคนธ์ ศรโชติ
หม่อมกิม ธิดานายตั๊น ซุ่นเพียว
- หม่อมเจ้าหญิงจารุพัตรา อาภากร (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับ หลวงศุภชลาศัย
- อาภา ศุภชลาศัย สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สุทธิสวาสดิ์ กฤดากร
- หม่อมหลวงหญิงลักษสุภา กฤดากร สมรสกับ เข็มชัย รสานนท์ และ กอบศักดิ์ ชุติกุล
- อาภาสิริ ชุติกุล
- ถิร ชุติกุล
- หม่อมหลวงหญิงลักษสุภา กฤดากร สมรสกับ เข็มชัย รสานนท์ และ กอบศักดิ์ ชุติกุล
- ภากร ศุภชลาศัย สมรสกับ อัจฉรา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
- ดรุษา ศุภชลาศัย
- จารุพันธุ์ ศุภชลาศัย สมรสกับ ดุษณี วสุธาร
- จาตุรนต์ วสุธาร
- พลวิตร วสุธาร
- ภูวดล วสุธาร
- พรศุภศรี ศุภชลาศัย สมรสกับ ศรีศักดิ์ จามรมาน
- ศุภศรี จามรมาน
- ศรีพร จามรมาน
- พัตราพร ศุภชลาศัย สมรสกับ ธนชัย จารุศร
- วรพัตร จารุศร
- วรา จารุศร
- ไปรยดา จารุศร
- อาภา ศุภชลาศัย สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สุทธิสวาสดิ์ กฤดากร
- หม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร (7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2536) ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ ต่อมาทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับ พระจักรานุกรกิจ (วงศ์ สุจริตกุล)
- หม่อมราชวงศ์หญิงเติมแสงไข รพีพัฒน์ สมรสกับ ปรีดา กรรณสูต
- รุจน์ กรรณสูต
- จรัลธาดา กรรณสูต
- แสงสูรย์ กรรณสูต
- ดาลัด กรรณสูต
- หม่อมราชวงศ์หญิงเติมแสงไข รพีพัฒน์ สมรสกับ ปรีดา กรรณสูต
- หม่อมเจ้าหญิงสุคนธ์จรุง อาภากร (3 ธันวาคม พ.ศ. 2449 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2451)
หม่อมแฉล้ม ธิดานายเต็กสิน
- หม่อมเจ้าหญิงศิริมาบังอร อาภากร (6 มิถุนายน พ.ศ. 2447 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ สถาพร เหรียญสุวรรณ
- พันเอก หม่อมเจ้าชายดำแคงฤทธิ์ อาภากร (24 ตุลาคม พ.ศ. 2448 - 9 กันยายน พ.ศ. 2505) เสกสมรสกับ หม่อมอรุณ สารสิน
- หม่อมราชวงศ์สิทธิ อาภากร สมรสกับ คมขำ วุฒิยากร
- หม่อมหลวงวัลวรา อาภากร
- หม่อมหลวงภาสกร อาภากร
- หม่อมหลวงหญิงจิราภา อาภากร
- หม่อมราชวงศ์อิทธินันท์ อาภากร สมรสกับ สุภาวดี แพ่งสภา
- หม่อมหลวงจักราภา อาภากร
- หม่อมหลวงปรมาภา อาภากร
- หม่อมหลวงพลภา อาภากร
- หม่อมราชวงศ์สิทธิ อาภากร สมรสกับ คมขำ วุฒิยากร
-
- หม่อมราชวงศ์อภิเดช อาภากร สมรสกับ กอบกุล รัตนสุวรรณ
- หม่อมหลวงพงศ์อาภา อาภากร
- หม่อมหลวงหญิงพิมพ์อาภา อาภากร
- หม่อมราชวงศ์อภิเดช อาภากร สมรสกับ กอบกุล รัตนสุวรรณ
หม่อมเมี้ยน ธิดาหลวงพรหมภักดี เป็นพี่สาวของหม่อมแจ่ม
- เรือเอก หม่อมเจ้าชายสมรบำเทอง อาภากร (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2473)
หม่อมช้อย วิจิตรานุช ธิดาหลวงอำนาจณรงค์ราญ (ปุย วิจิตรานุช)
- พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์ชาย
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพภากร อาภากร สมรสกับ หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ
- หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
- หม่อมหลวงหญิงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์ชาย
- หม่อมราชวงศ์ชาย
- หม่อมราชวงศ์พรระพี อาภากร สมรสกับ อุมาพร ศุภสมุทร
- หม่อมหลวงพงศ์ระพีพร อาภากร
หม่อมแจ่ม ธิดาหลวงพรหมภักดี เป็นน้องสาวของหม่อมเมี้ยน
- หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร (19 เมษายน พ.ศ. 2459 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549) เสกสมรสกับ ปอง สุขุม, มานิดา โมขดารา และ จิริณี พหิธานุกร
- หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร สมรสกับ น้ำเพ็ชร พานิชพันธ์
-
- หม่อมราชวงศ์หญิง จิยากร อาภากร สมรสกับ พยุงศักดิ์ เสสะเวช
- สุรศักดิ์ เสสะเวช
- พงศธร เสสะเวช
- หม่อมราชวงศ์รุจยาภา อาภากร
- หม่อมราชวงศ์รุจยารักษ์ อาภากร
- หม่อมราชวงศ์หญิง จิยากร อาภากร สมรสกับ พยุงศักดิ์ เสสะเวช
หม่อมลินจง บุนนาค ธิดาพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) กับ คุณหญิงลิ้นจี่ (ซึ่งหม่อมลินจง บุนนาคได้รู้จักคุ้นเคยกับพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ตั้งแต่ครั้งยังทรงอยู่ประทับต่างประเทศ) เป็นพระญาติกับเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค[16] ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ผู้แต่งหนังสือน่าจะออกนามในอีกนามหนึ่งว่า หม่อมเดซี่ เนื่องจากผู้แต่งหนังสือเขียนว่าเป็นสตรีซึ่งทรงเคยรู้จักสนิทสนมมาตั้งแต่ประทับอยู่ต่างประเทศเช่นกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ
พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ชั้นสูงสุด ณ ขณะนั้น)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ชั้นสูงสุด ณ ขณะนั้น)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 (มหาโยธิน)
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม. (ศ))
เครื่องราชอสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- Order of Saints Maurice and Lazarus ชั้นที่ 1, ประเทศอิตาลี
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่1 ประเทศญี่ปุ่น
ราชตระกูล
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
(วร บุนนาค) พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค) พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านผู้หญิงกลิ่น พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านผู้หญิงอิ่ม พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล