The golden Horde และการล่มสลายของจักรวรรดิ์มองโกล
จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; อังกฤษ: Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ
จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน ค.ศ. 1206 จักรวรรดิเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของเขาและภายใต้ผู้สืบเชื้อสายของเขาต่อ ๆ มา ซึ่งส่งการบุกครองไปทุกสารทิศ จักรวรรดิข้ามทวีปไพศาลนี้เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกด้วยสันติภาพมองโกลซึ่งบังคับใช้ ทำให้การค้า เทคโนโลยี โภคภัณฑ์และอุดมการณ์แพร่หลายและมีการแลกเปลี่ยนทั่วยูเรเชีย
ระบบทหารของพวกมองโกลนั้นเป็นระบบง่าย ๆ ซึ่งคล้าย ๆ กับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งของพวกตนนั่นเอง
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาพวกมองโกลเป็นพวกที่เร่ร่อนทำมาหาดินอยู่ตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ร่งกายจึงกำยำล่ำสัน
ดังนั้น พวกนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่าสิ่งกีดขวาง พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่น้ำด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และด้วยเหตุที่มีชีวิตความเป็นอยู่ง่าย ๆ ดังนั้นพวกมองโกลจึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องมีการจัดระเบียบสังคม เจงกิสข่านเองก็ใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆ นี้ในการทำศึก
กล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามขึ้นมา พวกมองโกลก็จะกลายสภาพมาเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาของเขาทุกคน พวกมองโกลขี่มาเก่งมาตั้งแต่เด็ก
ดังนั้นจึงมีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและมักจะเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วก็ปลีกตัวออก อาวุธที่พวกมองโกลใช้คือธนูซึ่งยาวกว่าปกติและสามารถยิงได้ระยะไกล พวกมองโกลจึงใช้ธนูให้เป็นประโยชน์โดยจะยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกระส่ำระสายเสียก่อนแล้วจึงเข้าตี
นอกจากนั้นแล้ว พวกทหารม้าขมังธนูมองโกลยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามติดตามเป็น "คลังแสงเคลื่อนที่" ด้วย ถ้าหรม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อยพวกมองโกลก็จะใช้ม้าสำรองแทน และขณะเดียวกันม้าสำรองเหล่านี้ก็จะกลายเป็น "เสบียงที่มีชีวิต" ของพวกมองโกลไปในตัวด้วหากต้องอยู่ในสภาพฉุกเฉิน หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว องค์ประกอบในความเป็นทหารของพวกมองโกลก็คือ ความสามารถขี่ม้าได้อย่างคล่องแคล่ว และยิงธนูได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ก็ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียก็ยังหาคนที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นไม่พบเสียด้วย
ในปี ค.ศ. 1246 กองทัพมองโกล เข้าโจมตีเมืองแคฟฟาของอิตาลี กองทัพของมองโกลตังทัพอยู่นอกกำแพงอยู่นานไม่อาจเข้าโจมตีเข้าไปในค่ายได้ ต่อมาเกิดกาฬโรคหรือโรคห่าระบาดในกองทัพของมองโกล ทหารล้มตายเป็นเบือศพทหารกองท่วมค่าย แต่แทนที่จะมีการนำศพนั้นไปฝังหรือเผา แม่ทัพมองโกลกลับมีความคิดที่ดีกว่านั้น ด้วยการนำศพทหารที่ตายด้วยโรคห่าใช้แทนก้อนหินเข้าเครื่องยิงข้ามเข้าไปในกำแพงเมืองแคฟฟา คนในเมืองแตกตื่นกับสภาพศพที่เห็น ที่ทั้งเนื้อทั้งตัวเป็นตุ่มพุพองช้ำเลือดช้ำหนองเน่าแฟะ หนำซ้ำเชื่อโรคยังระบาดสู่ชาวเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือรอดก็พากันหนีออกไปนอกเมือง จนในที่สุดไม่อาจต้านอาวุธเชื้อโรคของมองโกลได้เมืองจึงแตก
หลังจากที่เมืองแคฟฟา อิตาลีแตก กองทัพมองโกลจึงเคลื่อนทัพเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน เข้าโจมตีหมู่เกาะซิซิลี และยุโรปตะวันออกด้วยวิธีการเดียวกัน เพียงแค่ในเวลา 3 ปีในการทำสงคราม คาดว่ามีผู้คนล้มตายด้วยกาฬโรคไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน
นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำอาวุธเชื้อโรคเข้ามาทำสงคราม และถือว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดที่สุดในหน้าหนึ่งเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยบันทึกเอาไว้
แม้จะมีอาณาเขตกว้างขวางทั้งเอเชียกับยุโรป แต่การปกครองของชาวมองโกลที่เข้มงวด โหดเหี้ยม มิได้มีพื้นฐานจากความเมตตาอันเป็นคุณธรรมของนักปกครองบ้านเมือง สร้างปัญหาสั่งสมยาวนานในทุกชนกลุ่มของอาณาจักรใหญ่ มันบ่อนทำลายความเข้มแข็งของผู้ปกครองชาวมองโกลซึ่งมีเวลาครองอำนาจเพียงประมาณ 99 กว่าปีเท่านั้นก็ถึงกาลล่มสลาย โดยสรุปสาเหตุหลักได้ดังนี้
เดิมทีนั้นชาวมองโกลชำนาญการรบ มิใช่การปกครอง การบริหารบ้านเมืองจึงสับสน เลือกใช้มาตรการไม่เหมาะกับสถานการณ์ มีความหวาดระแวงสูง กดขี่ข่มเหงชาวบ้านมากเกินควร
ขุนนางมองโกลขูดรีด ฉ้อราษฎร์ เก็บภาษีสูงตามอำเภอใจ เศรษฐกิจพังทลาย ความอดอยากของชาวบ้านเพิ่มทวี
การแบ่งชนชั้นประชาชนลุกลามไปถึงพระในศาสนาของชาวฮั่นซึ่งตัวแทนศาสนาลัทธิลามะซึ่งราชวงศ์หยวนนับถือต่างใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงเสมอ จึงสร้างความแค้นสะสมแก่ชาวบ้าน
ชาวมองโกลแสวงหาความสุขสบายบนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ของชาวฮั่น จึงละเลยฝึกฝนการทหาร ทำให้กองทหารด้อยคุณภาพลง
วาระสุดท้ายของอาณาจักรหยวน
ปัญหาสั่งสมในกลุ่มชาวบ้านทั้งแผ่นดินอันเกิดจากการบริหารประเทศของราชวงศ์หยวน นำไปสู่การก่อจลาจลตามเมืองต่างๆตอนปลายราชวงศ์ติดต่อกันนับสิบกว่าปี กอปรกับราชวงศ์หยวนพึ่งพากำลังทหารชำนาญรบเป็นหลัก แต่ระยะหลังกองทัพด้อยคุณภาพมาก เมื่อเผชิญหน้ากับกองทัพชาวบ้านที่เข้มแข็งและเต็มไปด้วยความแค้น จึงพบความพ่ายแพ้ต่อเนื่อง ลางร้ายแห่งการสูญเสียอำนาจเริ่มปรากฏให้เห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มต่อต้านของ จูหยวนจาง ซึ่งมีอำนาจอยู่แถบภาคกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำแยงซีเกียงเป็นกองทัพที่เข้มแข็งและคนมีคุณภาพมากที่สุด
ปี ค.ศ. 1368 จูหยวนจาง ยกทัพขึ้นเหนือยึดเมืองหลวง ต้าตู ของราชวงศ์หยวนได้ พระเจ้าหยวนซุ่นตี้กับชนชั้นปกครองมองโกลหลบหนีออกนอกด่าน ราชวงศ์หยวนจึงสิ้นสุดลงนับแต่นั้นมา
ความเกรียงไกรของกองทัพและอาณาเขตของนักรบมองโกลกลายเป็นตำนานที่ชาวโลกมิเคยลืมเลือนและยกย่องความสามารถของเหล่านักรบบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของเจงกีสข่านเรื่อยมาถึงกุบไลข่าน แม้พวกเขาจะมีเวลาครองอำนาจเหนือดินแดนเหล่านั้นน้อยนิดก็ตาม ประวัติศาสตร์ของโลกได้จารึกแสนยานุภาพของนักรบเอเชียบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปเป็นครั้งแรก มันคือปฐมบทแห่งการล่าอาณานิคมของโลกในยุคต่อมา