หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี

โพสท์โดย Dante Inferno

พระราชวงศานุวงศ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

1. พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามที่กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษว่าเป็นขุนพัฒน์ นามเดิมไหยฮอง ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา แต่ยังไม่พบหลักฐานที่อื่นสนับสนุน
2. สมเด็จพระราชชนนี พระนามเดิมว่า เอี้ยง ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงพิทักษ์เทพามาตย์ สวรรคตวันอังคารเดือน 8 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2317 ดูจดหมายเหตุฉบับลงวันอังคาร เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม จ.ศ. 1137 (พ.ศ. 2318) และหมายรับสั่ง ลงวันศุกร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ จ.ศ. 1138 ( พ.ศ. 2319 )
3. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระนามเดิมว่าสิน มีพระบรมนามาภิไธยเมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ตามที่ปรากฏในศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี ซึ่งกำกับพระราชสารไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ออกพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดีที่สำหรับออกพระนามในศุภอักษรชองพระเจ้า ประเทศราชว่าสมเด็จพระเอกาทศรศรฐ ส่วนที่ออกพระนาม ในพระราชพงศาวดาร ฉบับทรงชำระในรัชกาลที่ 1 ว่า สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้าสมภพเมื่อ ปีขาล พ.ศ. 2277 มีเชื้อชาติสืบจากจีน รับราชการจนได้เป็นที่พระเจ้าตากก่อนพระชนมายุ 31 ปี แล้วเลื่อนเป็นพระยากำแพงเพ็ชรเจ้าเมืองชั้นโท เพราะ ความชอบในการสงครามที่ต่อสู้พม่าเมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ถึงต้นปีกุน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทรงพยายามกู้คืน จากเงื้อมมือพม่าเสร็จในปลายปีนั้น รุ่งขึ้นนปีชวดพ.ศ. 2311 ณ วันอังคารเดือนอ้าย แรม 4ค่ำ ได้ปราบดาภิเษกถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถูกสำเร็จโทษเปลี่ยนพระราชวงศ์ใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2327 ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่วันอินทาราม บางยี่เรือ ธนบุรี
4. สมเด็จพระน้านาง พระนามเดิมว่า อั๋น ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงเทวินทรสุดา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมอั๋น
5.สมเด็จพระราชินี (หอกลาง) พระนามเดิมว่า สอน ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงบาทบริจา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมสอน

6.พระราชโอรสธิดา 29 องค์ คือ
(1) สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า จุ้ย ที่ 1 ในสมเด็จพระราชินี ดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาท ( มีปรากฏในประชุมพงศาวดารภาคที่ 39 หน้า 138 ) ถูกสำเร็จโทษ วันเสาร์ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ พ.ศ. 2325 ต้นสกุล สินสุข และสกุล อินทรโยธิน
(2) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายน้อยที่ 2 ในสมเด็จพระราชินี ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(3) พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ในเจ้าจอมมารดาทิม ( ม.ร.ว. ราชตระกูลกรุงเก่า ธิดาท้าวทรงกันดาล ทองมอญ ) พระญาติแห่งสกุลศรีเพ็ญ
(4) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศพงษ์ที่ 1 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิง ฉิม หรือเรียกในราชสำนักนครศรีธรรมราชว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ ราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช ) ในรัชกาลที่ 2 เป็นพระพงษ์อำมรินทร์ ( หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระพงษ์นรินทร์ ) ต้นสกุลพงษ์สิน
(5) สมเด็จฯเจ้าฟ้าหญิงโกมล
(6) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงบุบผา
(7) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสิงหรา
(8) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายศิลา ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาประชาชีพ ต้นสกุล ศิลานนท์
(9) พระองค์เจ้าชายอรนิกา บรรพบุรุษแห่งสกุลรัตนภาณุที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นสกุลจันโรจวงศ์ ) ถูกสำเร็จโทษเมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
(10) พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี
(11) พระองค์เจ้าชายธำรง
(12) พระองค์เจ้าชายละมั่ง ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาสมบัติบาล
(13) สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายเล็ก (แผ่นดินไหว)
(14) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศไภย เป็นโอรสองค์ที่ 2 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระอินทอำไพ (หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าพระอินทรอภัย) ถูกสำเร็จโทษใน พ.ศ. 2358 เป็นพระบิดาเจ้าจอมมารดาน้อย ต้นสกุล นพวงศ์ และสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา
(15) พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี
(16) พระองค์เจ้าหญิงสังวาล
(17) พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ต้นสกุล อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ แห่งนครศรีธรรมราช) ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระราชชายากรมพระราชวังบวร รัชกาลที่ 2 แล้วถูกสำเร็จโทษ วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
(18) สมเด็จฯ เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมารที่ 3 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระนเรนทรราชา ดำรงพระชนม์มาถึงรัชกาลที่ 3 เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
(19) พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์
(20) พระองค์เจ้าชายเมฆิน
(21) พระองค์เจ้าชายอิสินธร
(22) พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ในเจ้าจอมมารดาเงิน
(23) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ในเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ( พระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ทรงสถาปนาวัดอภัยธารามสามเสน เมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 ถูกสำเร็จโทษพร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็กๆ อีก 6 องค์
(24) พระองค์เจ้าชายบัว
(25) สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปีที่ 4 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 1 เป็นพระชายาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ราชภาคิไนยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
(26) เจ้าชายน้อย ( ในฐานะเป็นราชบุตรบุญธรรมแห่งพระมหาอุปราชแห่งนครศรีธรรมราช) ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง ( ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กของนครศรีธรรมราช) กนิษฐภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช มีสกุลที่สืบมา คือ ณ นคร โกมารกุล จาตุรงคกุล
(27) พระองค์เจ้าชาย
(28) พระองค์เจ้าชายหนูแดง
(29) พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี


7. พระเจ้าหลานเธอ 4 องค์ คือ
(1) พระเจ้านราสุริวงศ์ เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช ทิวงคต พ.ศ. 2319 (มีปรากฏในพระราชพงศาวดารและหมายรับสั่ง)
(2 ) กรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระนามเดิมว่า บุญมี เป็นเจ้ารามลักษณ์ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(3) กรมขุนรามภูเบศร์ พระนามเดิมว่า บุญจันทร์ เป็นเจ้าบุญจันทร์ ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
(4) กรมขุนสุรินทรสงคราม (มีปรากฏในบัญชีมหาดไทย ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 หน้า 114 )

8. พระราชวงศานุวงศ์ที่ไม่ทราบระดับราชสัมพันธ์ 4 องค์ คือ
(1) ในกรมขุนอินทรพิทักษ์ สิ้นพระชนม์ก่อน พ.ศ. 2320 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(2) หม่อมเจ้าแสง สิ้นชีพตักษัยก่อน พ.ศ. 2321 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(3) หม่อมเจ้าปทุมไพจิตร (มีปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช)
(4) หม่อมเจ้านราภิเบศ (มีปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับ ชำระเรียบเรียงในรัชกาลที่ 1 คือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65

9. จำนวนสมาชิกเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี ตั้งแต่ชั้น1ถึงชั้น8 ตามรายพระนาม และนามเท่าที่ปรากฏ(เพียงพ.ศ. 2522) มีรวม 1200 เศษ

10. สกุลสายตรง คือ
(1) สินสุข วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(2) อินทรโยธิน วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(3) พงษ์สิน วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์
(4) ศิลานนท์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา
(5) รุ่งไพโรจน์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร
(6) ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
(7)โกมารกุล ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
(8) จาตุรงคกุล วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)

11. ผู้ที่อยู่ในสกุลสายตรง ที่มีศักดิ์สูงมีจำนวนดังนี้ คือ
(1) สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน 1
(2) สมเด็จพระมหาอุปราช 1
(3) สมเด็จเจ้าฟ้า 11
(4) พระองค์เจ้า 16
(5) หม่อมเจ้า 17
(6) เจ้าพระยา 8
(7) พระยา 23
(8) คุณเท้า 2
(9) เจ้าจอม 37
(10) หม่อมห้าม 16
(11) คุณหญิง 14

12. สกุลที่สืบสายตรงฝ่ายหญิง คือ
(1) อิศรเสนา ณ อยุธยา
(2) ธรรมสโรช
(3) นพวงศ์ ณ อยุธยา
(4) สุประดิฐ ณ อยุธยา
(5) ศรีธวัช ณ อยุธยา
(6) วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
(7) รัตนโกศ
(8) ภาณุมาศ ณ อยุธยา
(9) กาญจนวิชัย ณ อยุธยา

13. สกุลเกี่ยวพันทางสายฝ่ายหญิง คือ
(1) อิศรากูร ณ อยุธยา
(2) ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
(3) เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
(4) กุญชร ณ อยุธยา
(5) ชุมสาย ณ อยุธยา
(6) ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
(7) สุริยกุล ณ อยุธยา
(8) แสงชูโต
(9) รัตนภาณุ
(10) วิภาตะศิลปิน
(11) ศรีเพ็ญ
(12) ศรียาภัย
(13) เทพหัสดิน ฯ อยุธยา
(14) บุนนาค
(15) บุรานนท์
(16) สุวงศ์
(17) ลักษณสุต
(18) สุขกสิกร
(19) บุรณศิริ
(20) แดงสว่าง
(21) กมลาศน์ ณ อยุธยา
(22) แสงต่าย
(23) มิตรกุล
(24) จุลดิลก
(25) สายะศิลป์
(26) พนมวัน ณ อยุธยา

14. ผู้อยู่ในสกุลอันสืบจากทางสายฝ่ายหญิง ที่มีศักดิ์สูง คือ
(1) พระองค์เจ้า 15
(2) หม่อมเจ้า 23
(3) พระยา 3
(4) เจ้าจอม 3
(5) หม่อมห้าม 2

บัญชี ลำดับวงศ์ขุนหลวงตากนี้ ว่าเดิมพระยาราชสัมภารากร(เลื่อน ) ผู้เป็นเป็นสมาชิกในสกุลคนหนึ่ง ได้เรียบเรียบขึ้นไว้ แล้วลอกคัดกันต่อมา ในเชื้อสายของสกุล ได้สำเนามายังหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 ในบัญชีเชื้อวงศ์ขุนหลวงตาก ซึ่งหอพระสมุดฯได้มาว่า พระยาประชาชีพศิลา ในรัชกาลที่3 กับพระยาสมบัติบาล ในรัชกาลที่3 เป็นลูกเธอขุนหลวงตากอีก2คนกับจอมมารดาเดียวกัน ในบัญชีนั้นว่าธิดาพระยาประชาชีพศิลา(ชื่อทับ) เป็นหม่อมห้ามกรมพระรามอิศเรศ มีหม่อมเจ้าหลายองค์ คือหม่อมเจ้าหญิงเป้าและมีธิดาอีกคนหนึ่ง(ชื่อพลับ) เป็นหม่อมห้ามของกรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดิ์เดช มีหม่อมเจ้าหลายองค์ยังอยู่แต่ชั้นหลาน คือ พระยาวงศ์พงศ์พิพัฒน์ เป็นต้น ชี้แจงว่าพระยาประชาชีพศิลา หาได้เป็นลูกเธอของขุนหลวงตากไม่ เป็นแต่เพียงข้าในกรมเจ้าฟ้าเหม็น ครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้าไทยของเจ้าฟ้าเหม็นและ พระยาประชาชีพศิลา กับพี่น้องจึงได้มาเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลที่3 จึงได้เป็นขุนนาง

สายสัมพันธ์ราชสกุลพระเจ้าตากสนฯ กับราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทั้ง 3 พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษไทย ทรงเป็นนักรบที่เคยกู้ชาติจากทัพอังวะทั้งสิ้น

ราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 19 ราชสกุล
(ราชวงศ์ธนบุรี) ได้แก่
ราชสกุล สินสุข (สินศุข)
ราชสกุล อินทรโยธิน
ราชสกุล พงษ์สิน
ราชสกุล จาตุรงคกุล
ราชสกุล รุ่งไพโรจน์
ราชสกุล ศิลานนท์
ราชสกุล รัตนภาณุ
ราชสกุล โกมารกุล ณ นคร
ราชสกุล ณ นคร
ราชสกุล ศิริพร ณ.ราชสีมา
ราชสกุล คชวงศ์ (คชวงษ์)ณ.ราชสีมา
ราชสกุล มหาณรงค์ ณ.ราชสีมา
ราชสกุล อินทรกำแหง ณ.ราชสีมา
ราชสกุล อินทโสฬส ณ.ราชสีมา
ราชสกุล อินทนุชิต ณ.ราชสีมา
ราชสกุล เชิญธงไชย ณ.ราชสีมา
ราชสกุล เนียมสุริยะ ณ.ราชสีมา
ราชสกุล นิลนานนท์ (นินนานนท์) ณ.ราชสีมา
ราชสกุล ชูกริส (ชูกฤส) ณ.ราชสีมา
หากกล่าวถึงสมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตริย์ตรานุชิต(เจ้าฟ้าชายอภัยธิเบศร์)หรือว่าเจ้าฟ้าเหม็น พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่(พระราชธิดาในรัชกาลที่1)นั้นมีพระโอรสพระธิดาดังนี้
หม่อมเจ้าชายใหญ่ ถูกสำเร็จโทษ
หม่อมเจ้าหญิงตลับ
หม่อมเจ้าหญิงป้อม
หม่อมเจ้าชายสุวรรณ ถูกสำเร็จโทษ
หม่อมเจ้าหญิงยี่สุ่น
หม่อมเจ้าชายหนูเผือก ถูกสำเร็จโทษ
หม่อมเจ้าชายสวาสดิ์ ถูกสำเร็จโทษ
หม่อมเจ้าหญิงสาลี่
หม่อมเจ้าหญิงสารภี
หม่อมเจ้าชายเล็ก ถูกสำเร็จโทษ
หม่อมเจ้าหญิงมุ้ย
หม่อมเจ้าชายแดง ถูกสำเร็จโทษและหม่อมหญิงไม่ปรากฏพระนาม


อนึ่งหม่อมเจ้าชายพระโอรสในเจ้าฟ้าเหม็น ถูกสำเร็จโทษทั้งหมดในสมัยรัชกาลที่2 ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทั้งหมด(ใส่แพไปลอยที่ปากอ่าว) จึงไม่มีสายราชสกุลวงศ์นี้ต่อมาค่ะ
สำหรับสายราชสกุลวงศ์ พระเจ้ากรุงธนบุรี สายเจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) เจ้าพระยานครราชสีมา(เจ้าพระยาท่านนี้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงยวน ราชธิดาพระเจ้านครศรีธรรมราช)
เจ้าพระยานครราชสีมามีภริยาสองท่านคือ
1.ท่านผู้หญิงทับทิม ณ.ราชสีมา รายณสุข)ภายหลังถึงแก่กรรม
2.หลังท่านผู้หญิงทับทิมถึงแก่กรรมได้สมรสใหม่กับ
ท่านผู้หญิงบุนนาค ณ.ราชสีมา(สิงหเสนี)ผู้เป็นน้องสาวของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

 

ผู้สืบสายสกุลพระราชวงศ์ชั้นนี้มีรายชื่อเพียงชั้นบุตรธิดาของเจ้าพระยา กำแหงสงครามเท่านั้น คือ
1.นายศัลยวิชัย หุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา)เป็นสามีท่านยายน้อยธิดาท้าวเทพภักดี(ทองรอด) กับพระยามหาเทพ (ทองปาน ปาณิกบุตร) ท่านนายศัลยวิชัยผู้นี้ เป็นบิดาเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ในรัชกาลที่4 พระมารดากรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ต้นราชสกุล “ทองใหญ่ ณ อยุธยา”และกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ต้นราชสกุล “ทองแถม ณ อยุธยา” นายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา)มีท่านผู้หญิงทับทิม รายณสุข เป็นมารดา
2.คุณชายทองแก้ว ณ ราชสีมาท่านผู้นี้ ท่านผู้หญิงบุนนาค ธิดาเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น สิงหเสนี)ซึ่งเป็นน้องสาว เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นมารดา
3.พระยานครราชสีมา (เมฆ ณ ราชสีมา)
4.พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (ขำ ณ ราชสีมา)
5.พระภักดีนุชิต (ไม่ทราบนามเดิม)
6.พระพล (ไม่ทราบนามเดิม)
7.พระนรินทรบริรักษ์ (ไม่ทราบนามเดิม)
8.พระมหาณรงค์ (พลาย มหาณรงค์) (ตั้งสายสกุลใหม่ใช้ “มหาณรงค์)
9.คุณหญิงโต ณ ราชสีมา
10.คุณหญิงเอี่ยม ณ ราชสีมา ภริยาหลวงอภัย
11.หลวงกลาง (แปะ ณ ราชสีมา)
12.คุณหญิงชื่น ณ ราชสีมา เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่3
13.พระยาสุริยเดช (คง ณ ราชสีมา)
14.คุณหญิงทรัพย์ ณ ราชสีมา เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่3
15.คุณหญิงสุ่น ณ ราชสีมา
16.พระศรีสิทธิสงคราม (แย้ม ณ ราชสีมา)
17.พระบวรยกกระบัตร (บัว ณ ราชสีมา)
18.คุณหญิงแจ่ม ณ ราชสีมา เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่3
19.พระศรีสิทธิสงคราม (ช้าง ณ ราชสีมา)
20.คุณหญิงเปี่ยม ณ ราชสีมา เป็นภรรยาพระพรหมบริรักษ์
21.พระยาบรมราชบรรหาร (สมบูรณ์ ณ ราชสีมา)
22.คุณหญิงฉิม ณ ราชสีมา เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
23.พระยาสุริยเดช (โสฬส อินทโสฬส) ตั้งสายสกุลใหม่ใช้ “อินทโสฬส”
24.คุณหญิงสำอาง ณ ราชสีมา เป็นภริยาพระพิพิธ (เด่น)
25.คุณหญิงคล้าย ณ ราชสีมา เป็นภริยาพระพรหมภักดี
26.พระนครภักดี (สัมฤทธิ์ ณ ราชสีมา) เจ้าเมืองบุรีรัมย์
27.คุณหญิงอิ่ม ณ ราชสีมา เป็นภริยาเจ้าเมืองนครนายก
28.คุณหญิงทับ ณ ราชสีมา เป็นภริยานายแก้ว
29.พระศรีสิทธิสงคราม (ถาวร ณ ราชสีมา)
30.คุณชายทั่ง ณ ราชสีมา
31.คุณชายศรีจันทร ศิริพร(ท่านผู้หญิงบุนนาค เป็นมารดา)สายสกุลใหม่ใช้ “ศิริพร”ณ.ราชสีมา
32.คุณหญิงเตย ณ ราชสีมา
33.คุณชายดี ณ ราชสีมา
34.พระมหาดไทย (สิงห์ ณ ราชสีมา)
35.คุณหญิงเปีย ณ ราชสีมา
36.คุณชายอ่อน ณ ราชสีมา
37.คุณชายแสง ณ ราชสีมา
38.พระธานี(ดั่น ณ ราชสีมา)
39.คุณหญิงสังวาลย์ ณ ราชสีมา
40.คุณหญิงแจ้ง ณ ราชสีมา ภริยานายอิน
41.คุณหญิงเอี้ยง ณ ราชสีมา ภริยาหลวงพล
42.หลวงเทพภักดี (มั่น ณ ราชสีมา)
43.คุณชายแดง ณ ราชสีมา
44.คุณหญิงพุ่ม ณ ราชสีมา เป็นภรรยาหลวงเทพอาญา (จู๋)
45.คุณชายทองสุข ณ ราชสีมา
46.คุณหญิงพัน ณ ราชสีมา ภริยาหลวงอภัย (สุ่น ณ ป้อมเพชร)
47.คุณหญิงพริ้ง ณ ราชสีมา
48.คุณหญิงอ่อง ณ ราชสีมา
49.คุณหญิงนุ่ม ณ ราชสีมา เป็นภรรยาหลวงนล (รุ่ง โรจนวิภาต)
50.พระภักดีนุชิต (ทัศ อินทรกำแหง ณ.ราชสีมา) ท่านผู้นี้ใช้สกุล“อินทรกำแหง ณ.ราชสีมา” อันเป็นนามสกุลเก่า ใช้ร่วมสำหรับผู้ใช้นามสกุลลงท้ายด้วย (ณ.ราชสีมา)ขณะนี้เป็นส่วนใหญ่พระองค์เจ้าชาย อรนิภา มีพระโอรสพระธิดาสืบต่อมาคือคุณชายกลิ่น คุณชายเพ็ง คุณชายช้าง คุณชายปาน คุณชายตลับ และคุณหญิงคลี่ ผู้สืบสายสกุลพระองค์เจ้าชายอรนิภา คือ ราชสกุล รัตนภาณุ

สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยมีพระโอรสพระธิดาคือ
1.คุณชายกุดั่น เป็นหลวงมงคลรัตน์ ในรัชกาลที่4
2.คุณหญิงน้อย เป็นเจ้าจอมมารดา ในรัชกาลที่4 พระมารดาของ พระองค์เจ้านพวงศ์ และพระองค์เจ้าชาย สุประดิษฐ์และมีอีกดังรายชื่อต่อไปนี้ คุณหญิงลูกอิน คุณหญิงอรัญ(หรือหิรัญ) คุณชายเหรา คุณหญิงพุ่ม คุณหญิงไผ่ คุณชายมังกร คุณชายเล็ก คุณหญิงเผือก คุณหญิงหนู คุณชายจุ้ย(เป็นหลวงมงคลรัตน์ในรัชกาลที่4) และคนสุดท้ายอีกคน คุณชายน้อย
จากข้อมูลที่รวบรวมได้ในรุ่นหลัง เราว่ายังคลาดเคลื่อนกับหลักฐานชั้นต้นอยู่องค์หนึ่ง คือ เจ้าฟ้าชายเล็ก ซึ่งระบุว่า "ไม่ทราบนามพระมารดา"

ความจริงในจดหมายเหตุความทรงจำ กรมหลวงนรินทรเทวี ได้ระบุไว้ชัดเจนนะ ว่า"เจ้าหอกลางประสูติเจ้า เป็นราชกุมาร แผ่นดินไหว...โปรดให้ปล่อยนักโทษทั้งแผ่นดิน หมายสมโภชเจ้าฟ้าน้อย" ซึ่งก็น่าจะหมายถึงเจ้าฟ้าแผ่นดินไหวพระองค์นี้เอง

อีกอย่างนามสกุล "อภัยกุล" ก็มีระบุไว้ใน "นามสกุลพระราชทาน" ว่า "สืบสกุลมาจากเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์" พระนามอภัยธิเบศร์นี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีเพียงองค์เดียว คือ เจ้าฟ้าเหม็น หรือเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์นี้เอง จึงน่าจะถือได้ว่า นามสกุล "อภัยกุล" ก็สืบสายมาจากราชวงศ์กรุงธนบุรีด้วย

สุดท้ายค่ะ พระองค์เจ้าชายหนูแดง มีปรากฏชื่อในรัชกาลที่3 ว่าพระยาบำเรอราชแพทย์ เรียกกันว่า "หมอหนูแดงบุตรเจ้าตาก" เป็นผู้รวบรวมตำรายาไปจารึกไว้ในวัดโพธิ์ น่าเสียดายว่าไม่ปรากฏหลักฐานผู้สืบสกุลต่อมา พอๆกับเชื้อสายของเจ้าฟ้าทัศไพ และพระองค์เจ้าชายอรนิกา ที่ถูกประหารชีวิตไป เชื้อสายของท่านสืบมาถึงรัชกาลที่5 เป็นอย่างน้อย ก็หลุดหายไปจากประวัติศาสตร์

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Dante Inferno's profile


โพสท์โดย: Dante Inferno
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
48 VOTES (4/5 จาก 12 คน)
VOTED: PaMok, พระพันปีหลวง, lilu, beerzazap, llHackll, vho, kleoland, Tabebuia, phakri, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, Dante Inferno
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ด่วน!!!เงิน10000เงินดิจิทัลล่าสุดน่ากลัวมาก!! แท่งคอนกรีตร่วงจากหลังรถบรรทุก ทับรถยนต์ Tesla ที่อยู่ข้างๆ เละ โชคดีคนขับไม่ได้รับบาดเจ็บ 😢สส.ไอซ์ รักชนก ตอบแล้ว ไม่ใช่คนในคลิปสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่สภา วอนช่วยแก้ข่าวเขาเขียว ดัน “หมูเด้งฟีเวอร์” เตรียมตั้งกล้อง 24 ชม. ดูสดพร้อมกันทั่วโลกประสบการณ์สุดแปลกใจหายแว่บๆ...นึกว่า "ขิต" ไปแล้ว...กับน้องฮิปโปแคระที่สวนสัตว์สลด! สาวตกคอนโดหรูกลางกรุง ร่างกระแทกพื้นดับแก๊งค์เชื่อมจิต 8 ชีวิต เข้ารับทราบข้อกล่าวหา โดนยกก๊วน 3 ข้อหาราชกิจจาฯประกาศ ก.พ. 2566 ประกาศ กำหนดเหลือ 4 โรค ห้ามรับราชการพ่อมาเลย์จุดไฟเผามอเตอร์ไซต์ลูกชาย เพื่อไม่ให้ลูกเอารถไปซิ่ง หลังวัยรุ่นหลายคนเสียชีวิตจากการแข่งรถกันบนถนน 😢สพฐ. เปิดคะแนน ‘ครูเบญ’ สอบไม่ผ่าน ได้คะแนนไม่ถึง 60%มาทำความรู้จักกับ มะม่วงหิมพานต์ กันเถอะโจรตีเนียนยืมเงินเเม่ค้าเติมน้ำมัน บอกเป็นอาจารย์ มาซื้อของแถวนี้บ่อย ๆ แถมยังหยิบเงินแม่ค้าไปนับเองหน้าตาเฉย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พ่อมาเลย์จุดไฟเผามอเตอร์ไซต์ลูกชาย เพื่อไม่ให้ลูกเอารถไปซิ่ง หลังวัยรุ่นหลายคนเสียชีวิตจากการแข่งรถกันบนถนน 😢มาทำความรู้จักกับ มะม่วงหิมพานต์ กันเถอะด่วน!!!เงิน10000เงินดิจิทัลล่าสุดน่ากลัวมาก!! แท่งคอนกรีตร่วงจากหลังรถบรรทุก ทับรถยนต์ Tesla ที่อยู่ข้างๆ เละ โชคดีคนขับไม่ได้รับบาดเจ็บ 😢
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
มาทำความรู้จักกับ มะม่วงหิมพานต์ กันเถอะจริงหรือไม่!! "ลายมือ" จะบอกนิสัยใจคอของคนเขียนได้Ayam Cemani ไก่สายพันธุ์หายากและลึกลับจากอินโดนีเซียเมนูลดความอ้วน น้ำพริกอ่องอกไก่
ตั้งกระทู้ใหม่