มนุษย์เราค้นหาดาวที่อยู่ห่างจากโลกไกลเป็นล้านปีแสงได้อย่างไร ?
หากว่าเราพูดถึงระยะทางระดับ ล้านปีแสง สิ่งนั้นจะไม่ใช่ ดาว (ดาวฤกษ์) แล้วครับ แต่จะเป็นแกแลคซี่ (Galaxy) อย่างเดียวเท่านั้น
เพราะว่าขนาดของแกแลคซี่ทางช้างเผือกเราก็กว้างประมาณ 100,000 ปีแสง ดังนั้น สิ่งที่ไกลระดับล้านปีแสงก็จะต้องเป็นแกแลคซี่อื่น ๆ
แต่หากพูดถึง ดาว เราก็สำรวจได้ไกลประมาณไม่เกินหลัก 10,000 ปีแสง เท่านั้น เพราะดาวฤกษ์นั้นต่อให้สว่างขนาดใหน
ก็จะมีข้อจำกัดในการตรวจจับ ครับ
วัตถุอวกาศที่ไกลระดับ ล้าน หรือ หลายสิบล้านปีแสง จากโลกเรา นั้น เราสามารถสำรวจได้ง่าย ๆ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่
บนโลก หรือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ที่รู้จักกันดีก็คือกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble นั่นเอง ความสามารถของ Hubble นั้นถือว่าสูงมาก
มันสามารถส่องเห็นแกแลคซี่ที่ไกลได้มากถึงหลายสิบล้านปีแสงจากเรา
นี่คือภาพตัวอย่างของ Hubble Ultra-Deep Field (HUDF) ซึ่งเป็นภาพอวกาศห้วงลึกที่ถ่ายโดย
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ด้วยกรรมวิธีพิเศษ สามารถเก็บภาพแกแลคซี่นับหมื่นแห่งในภาพ
อย่างแกแลคซี่ UDF 423 ที่เห็นในด้านขวาล่างในภาพนี้ อยู่ไกลมากถึง 7,700 ล้าน ปีแสง !!
แล้วอีกกี่100กี่พันปีมนุษย์จะสามารถเดินทางไปสำรวจได้นะ
ระยะทางที่ไกลขนาดนั้น หากเป็นการเดินทางปกติก็ไม่สามารถไปได้ครับ เพราะมันไกลมากเสียจนใช้เวลาเดินทางนาน
จนสิ้นอารยธรรมมนุษย์ไปเลยเสียด้วย เราจะต้องใช้การเดินทางด้วยวิธีพิเศษเหมือนที่เราเห็นในภาพยนตร์หลายเรื่อง
เช่น การ WARP การใช้รูหนอนอวกาศ ...... เชื่อไหมว่า ดาวฤกษ์ดวงถัดไปที่ใกล้เราที่สุด คือ Proxima Centauri
ที่ห่างออกไป 4.24 ปีแสง หากเราเดินทางด้วยยานที่เร็วมาก ๆ ประมาณซัก 10 เท่าของยานสำรวจ New Horizons
เรายังจะต้องใช้เวลานานถึง 2,000 ปี จึงจะถึงดาวดวงนั้น