กว่าจะเป็นเบนเฮอร์
ระหว่างที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้เบนเฮอร์ฉบับรีเมคกำลังฉายโรงอยู่ ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่นิยายของ ลูว์ วอลเลซที่รับการขนานนามว่า หนังสือนิยายที่ขายดีที่สุดรองไบเบิ้ลเล่มนี้ได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ซึ่งภายหลังจากปี 1959 ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เกริกเกียรติขึ้นรับรางวัลถึง 11 รางวัล นับว่าเป็นหนึ่งในสามภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลนี้ โดยสองเรื่องนั้นคือ ไททานิค และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริง เดอะรีเทริ์นออฟเดอะคิง ยิ่งบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของมันที่กล่าวกันว่าภาพยนตร์ที่อลังการที่สุดในโลก
.
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ก่อนจะมาเป็นหนังสือเรื่องนี้จุดประสงค์หลักของเบนเฮอร์นั้นมาจากความคิดของลูว์ วอลเลซที่อยากจะเขียนงานเกี่ยวกับศาสนา
.
ภายหลังจากอดีตนายทหารชั้นสูงของอเมริกาที่มีงานอดิเรกคือ การเขียนหนังสือนั้นได้มีแนวคิดอยากจะเล่าเรื่องของคนสามคนที่ได้ไปเป็นพยานในการประสูตริของพระคริสต์อยู่ในหัว เขาวางแผนจะเขียนมันแต่ยังไม่รู้ว่าจะเล่ายังไง ภายหลังหันมาจับงานเขียนแนวชีวประวัติแล้วไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่น้อย
.
เขาเริ่มจรดปากกาเขียนเรื่องที่ว่านี้ในปี 1873 แต่ก็ยังไม่เสร็จเสียที เพราะอย่างที่บอก เขายังไม่รู้ว่าจะเขียนมันไปไหน ทางไหนจนกระทั่งออกเดินทางยังเหมือนอินเดียน่าโปลิสในปี 1876 ที่นั้นเองเขาได้สนทนากับผู้พันโรเบริ์ต จี เอนเกิลซอล เป็นครั้งแรก ทั้งสองคนคุยกันเรื่องอย่างออกรสจนกระทั่งตัวของลูว์รู้ทันทีว่า เขายังมีความรุ้ด้านศาสนาน้อยเกินไปจนรู้สึกว่า เขาไม่ได้รู้จักศาสนาที่ตัวเองเลยสักนิดเดียว
.
หลังจากนั้นลูว์ได้เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ด้านศาสนาอย่างจริงจัง นอกเหนือจากการอ่านไบเบิ้ล เขาลองนึกภาพของตัวละครตัวหนึ่งที่จะผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ไปจนกระทั่งได้เห็นพระคริสต์หลั่งเลือดในวันทีไถ่บาปนั้น เขาได้นำไอเดียแรกมาแก้ไขจนกลายเป็นเรื่องราวของพระคริสต์ที่เล่าผ่านสายตาของชายหนุ่มที่ชื่อว่า จูดาห์ เบนเฮอร์
.
เรื่องราวของเบนเฮอร์ถูกเขียนโดยเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ของเขากับเพื่อนรักอย่าง เมสซาลา ก่อนจะต้องกลายเป็นทาสในเรือรบโรมัน เพราะ การใส่ร้าย เขาจึงต้องหาทางกู้ศักดิ์ศรีตัวเองและแก้แค้นเพื่อนชั่วของเขาให้จงได้ โดยวันที่พวกเขาจะเผชิญหน้ากันนั้นคือ วันที่เขาจะต้องขึ้นขี่รถม้าสู้กับเพื่อนเขาในโคลอสเซียม ที่มีความเป็นความตายของเขาเป็นเดิมพัน ในขณะที่พระคริสต์กำลังแบกไม้กางเขนไปเพื่อไถ่บาป
.
นี่คือสิ่งที่นิยายเล่าไว้แบบนั้นด้วยความหนาถึง 8 จบที่บอกเราเรื่องราวทั้งหมดอย่างละเอียดลออ ซึ่งใช้เวลาเขียนถึงหลายสิบปืทีเดียว
.
เขาได้นำต้นฉบับเรื่องนี้ไปยังสำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์แอนด์บราเธอร์ทันที แต่ด้วยความหนาและยาวของมันบวกกับความรู้สึกว่า นี่คือการดัดแปลงพระคัมภีร์ทำให้นิยายเรื่องนี้เกือบไม่ได้ตีพิมพ์แล้วด้วยซ้ำ โชคดีที่เจ้าของสำนักพิมพ์ยอมฟังคำชี้แจ้งของลูว์ว่า นิยายเรื่องนี้เป็นเช่นไร เขาจึงนำมาอ่านแล้วพบว่า นี่คือ ต้นฉบับที่งดงามที่สุดเท่าที่มีการเขียนมา
.
“ส่วนมากงานที่ดัดแปลงมาจากพระคัมภีร์มักจะล้มเหลว”
.
ตอนแรก เบนเฮอร์นั้นขายได้เพียง 2700 เล่มเท่านั้น ทว่าความนิยมของมันค่อย ๆ สั่งสมขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นนิยายขายดีที่ซึ่งใช้เวลาถึง 20 ปีที่เดียวที่หนังสือเรื่องนี้จะสามารถแย่งชิงตำแหน่งนิยายขายดีที่สุดรองจากไบเบิ้ลมาได้ (ซึ่ง Gone with the wind เป็นเรื่องแย่งตำแหน่งนี้มาได้ในเวลาต่อมา)
.
นับจากวันนั้นก็ไม่มีคนอเมริกันคนใดไม่รู้จักเรื่องราวชองเบนเฮอร์