เรื่องของตำนาน ไททานิค
คำเล่าลือถึงสาเหตุของความหายนะของเรือไททานิค ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น "เรือที่ไม่มีวันจม" กลับล่มเสียตั้งแต่ในเที่ยวแรกอย่างไม่น่าเป็นไปได้ น่าจะมาจากอาถรรพ์ ที่เรือไททานิคได้ลักลอบบรรทุก สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งมาด้วย สิ่งนั้นคือมัมมี่ มัมมี่ของเจ้าหญิงไอยคุปต์โบราณ "อาเมน-รา" ที่เต็มไปด้วยอาถรรพณ์
เป็นเรื่องลึกลับที่ไม่น่าเชื่อ .... เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1920 เมื่อ นักโบราณคดีชาวอเมริกันเดินทางไปพบกับนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษชื่อ เมอร์เรย์ ที่บ้านพักในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ จุดประสงค์ของเขามีเพียง ต้องการติดต่อขายสินค้าชิ้นหนึ่งให้กับ เมอร์เรย์ และสินค้าที่ว่านี้คือหีบพระศพของเจ้าหญิงไอยคุปต์โบราณ องค์หนึ่งซึ่งก็คือ เจ้าหญิง "อาเมน-รา"
นักโบราณคดีชาวอเมริกันคนนี้ ดูซูบซีดเหมือนขี้ยา แต่งเนื้อแต่งตัวสกปรก เมอร์เรย์ ก็เลยไม่ค่อยศรัทธาใน "สินค้า" ที่ได้รับการ เสนอขาย แต่ก็เอ่ยปากขอดู "สินค้า" ก่อนจะตัดสินใจ ทันทีที่เมอร์เรย์เห็นหีบพระศพเคลือบด้วยทองคำเหลืองอร่ามตระการตาเข้าเท่านั้น เขาก็ถึงกับอ้าปากค้าง ไม่คาดคิดว่าจะพบสิ่งมีค่ามหาศาลเช่นนี้ ต่อหน้าต่อตา นักโบราณคดีอเมริกันเล่าว่าหีบพระศพใบนี้ ค้นพบที่วิหารอะมอนรา ในธีบีส ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บพระศพของบรรดาเจ้าหญิงอียิปต์โบราณมากมาย สำหรับโลงพระศพที่อยู่ต่อหน้า เมอร์เรย์ คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสตศักราช "ตกลง ผมรับซื้อ" เมอร์เรย์กล่าว
"แต่มันมีอาถรรพณ์หน่อยนะ เพราะมีคำสาปแช่งจารึกไว้ด้วย" นักโบราณคดีอเมริกันบอกกับเมอร์เรย์"ไม่เป็นไร ผมไม่เชื่อเรื่องพรรค์นี้หรอก" เมอร์เรย์กล่าว เมอร์เรย์ไม่เสียดายเงินก้อนใหญ่ที่เขาจ่ายให้นักโบราณคดีผู้นั้นแม้แต่น้อยเลย ด้วยว่ามูลค่าของหีบพระศพที่เขาได้มามีค่ามากกว่ามากนัก แม้คำสาปแช่งที่นักโบราณคดีอเมริกาบันทึกไว้ให้ก็ ไม่ทำให้เขาสะดุ้งสะเทือน คำสาปแช่งนั้นมีความว่า "มันผู้ใดบังอาจรบกวนสถานที่ซึ่งเป็นที่ร่างของข้าได้สถาปนาไว้ในอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำไนล์ มันผู้นั้นจะต้องพบกับภัยพิบัติอันน่าสยดสยองทุกวัน มันต้องตายทุกคน"
เมอร์เรย์ไม่เชื่อเรื่องคำสาป เขานำหีบพระศพของเจ้าหญิงโบราณไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดีในกรุงไคโรอีกหลายท่านพิสูจน์ว่า เป็นหีบพระศพสมัยไหน? ของเจ้าหญิงองค์ใด? แม้ว่าคำตอบที่เขาได้รับจะไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่กลับมีคำชมว่าเขามีสายตาเฉียบคม สามารถซื้อหีบพระศพโบราณได้ในราคาที่นับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริง หลังจากนั้นได้มีข่าวๆ หนึ่งแทรกเข้ามารบกวนความรู้สึกของเขาไม่น้อย นั่นคือ นักโบราณคดีอเมริกันที่เพิ่งขายหีบพระศพใบนี้ให้ ได้เสียชีวิตอย่างลึกลับ! หลังจากที่รับเช็คเงินสดจากเขาไปได้ไม่กี่ชั่วโมง หรือว่าคำสาปจะเป็นจริง?
เมอร์เรย์ ไม่เชื่อว่าจะมีความเร้นลับอะไรในศตวรรษที่ 20 ได้อีก สิ่งที่เขาต้องรีบกระทำขณะนี้ คือ การส่งหีบพระศพไปเก็บไว้ที่บ้านในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สมัยนั้นไม่มีการขนส่งใดดีกว่าทางเรือ เมอร์เรย์ จึงติดต่อว่าจ้างให้บริษัทเดินเรือมาจัดการขนหีบห่อที่เขาจัดการบรรจุไว้เรียบร้อยไปขึ้นเรือก่อนการเดินทาง
แต่ว่าสามวันหลังจากนั้น ก็มีเหตุเกิดขึ้นเมื่อเขาออกไปซ้อมยิงปืนทางตอนเหนือของแม่น้ำไนล์ จู่ๆ ปืนเกิดระเบิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ถูกเข้าที่แขนของเมอร์เรย์เป็นแผลเหวอะหวะ แพทย์ต้องตัดแขนเขาทิ้งตั้งแต่ข้อศอกลงไป เมอร์เรย์ กลายเป็นคนพิการอย่างที่ไม่น่าจะเป็น ด้วยสาเหตุบังเอิญที่น่าพิศวงยิ่ง อุบัติเหตุคราวนี้ทำให้ต้องปล่อยหีบพระศพเดินทางไปล่วงหน้า ส่วนตัวเขาจำเป็นต้องอยู่พักฟื้นในอียิปต์สักพักจนแน่ใจว่าอาการไม่กำเริบแน่ จึงค่อยตามไปภายหลัง
หลังจากนั้น เมื่อบาดแผลค่อยยังชั่ว เมอร์เรย์ ก็รีบเดินทางไปอังกฤษทันที แต่ระหว่างการเดินทางอยู่ในเรือ ปรากฏว่าเพื่อนของเขาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งหีบพระศพ 2 คน และหญิงรับใช้ชาวอียิปต์ของเขาอีก 1 คน จู่ๆ ก็พร้อมใจกันตายโดยไม่ทราบสาเหตุ พอไปถึงอังกฤษ เมอร์เรย์ ก็รีบจัดการนำหีบพระศพออกจากโกดังท่าเรือกลับบ้าน เมื่อถึงที่บ้านเมอร์เรย์ ตัดสินใจเปิดหีบออกดูพระศพ ทันทีที่ฝาโลงเปิดออกเผยให้เห็นมัมมี่ของเจ้าหญิงเท่านั้น
เมอร์เรย์ ถึงกับผงะก็มัมมี่ของเจ้าหญิงที่เขาเห็นเวลานี้ แตกต่างไปจากที่เคยเห็นซะแล้ว มันดูเหมือน ใบหน้าของคนยังมีชีวิตอยู่จริง กำลังจ้องมองเขาเขม็งด้วยแววตาอาฆาตแค้น คราวนี้ เมอร์เรย์ ปักใจเชื่อว่าคำสาปมีจริงเต็มร้อย เขาคิดว่าสิ่งที่นักโบราณคดีอเมริกันเตือน เริ่มสำแดงเดชให้ประจักษ์ ความหวาดกลัวพุ่งเข้าจับขั้วหัวใจ เขาต้องคิดหาวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะนำหีบพระศพไปให้พ้นตัว แต่ใครล่ะจะมาเป็นผู้รับเคราะห์แทน ในที่สุด ก็มีเพื่อนหญิงที่เคยร่วมชั้นเรียน สนิทสนมกับเขามาตั้งแต่เด็ก ยินยอมรับเอาหีบพระศพไปเก็บไว้
เพื่อนหญิง ของ เมอร์เรย์ ไม่ต้องรอนานเลย บรรดาคำสาปที่ติดอยู่กับมัมมี่โบราณก็เริ่มแผลงฤทธิ์ เริ่มด้วยแม่ของเธอเสียชีวิตกระทันหัน แล้วเธอเอง ก็ถูกสามีทอดทิ้ง แล้วต่อมาก็ล้มป่วยด้วยโรคประหลาด เรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นซ้อนๆ กันทำให้เธอรีบนำหีบพระศพมาคืนให้ เมอร์เรย์
เมอร์เรย์ กลัวคำสาปมาก ไม่ต้องการเก็บหีบพระศพไว้เช่นกัน จึงมอบต่อให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอังกฤษ ทางพิพิธภัณฑ์รีบนำมาจัดแสดงทันทีโดยจัดสถานที่วางหีบพระศพให้เหมือนบรรยากาศอียิปต์โบราณ แล้วเปิดให้นักท่องเที่ยวซื้อบัตรเข้าชม ไม่มีใครคาดว่าเหตุการณ์สยองขวัญจะเกิดขึ้นจนได้ ขณะที่นักท่องเที่ยวคนหนึ่งกำลังถ่ายภาพหีบพระศพอยู่นั้น เขาได้ล้มตึงชักดิ้นชักงอขาดใจตายคาที่โดยไม่มีท่าทีมาก่อน นอกจากนี้นักอียิปต์วิทยาผู้แตะต้องหีบพระศพเพื่อการจัดแสดง ก็นอนตายตาเหลือกอยู่บนเตียงในห้องนอน คล้ายกับตกใจกลัวอะไรบางอย่างสุดขีดจนหัวใจวายกระทันหัน
หนังสือพิมพ์อังกฤษเอาข่าวนี้ไปตีพิมพ์ กลายเป็นข่าวดังทำให้ประชาชนหวาดกลัว ไม่มีใครอยากเฉียดเข้าไปใกล้หีบพระศพเลย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอังกฤษ จึงตัดสินใจมอบหีบพระศพใบนี้ให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งทางนิวยอร์คก็ยอมรับอย่างยินดี โดยให้ทางอังกฤษจัดส่งโดยเรือที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด และใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นคือ เรือไททานิค
เรือไททานิค เป็นเรือที่ถือกันว่า "ไม่มีวันจม" และถือว่าเป็นเรือที่หรูหราที่สุด หากจะขนย้ายหีบพระศพไปกับเรืออย่างเปิดเผย ก็กลัวผู้คนจะแตกตื่น เลยจำเป็นต้องกระทำอย่างเป็นความลับ ทางฝ่ายขนส่งจัดการบรรจุหีบพระศพใส่ลังอย่างดี แล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ท้องเรือ ไม่มีผู้โดยสารทราบเลยแม้แต่คนเดียวว่า มีหีบพระศพอียิปต์โบราณที่มีอาถรรพณ์ บรรทุกมากับเรือด้วย ผู้รู้เรื่องนี้ดีก็คือ บริษัทผู้จัดส่งเท่านั้น เรือไททานิคเที่ยวแรกออกเดินทางจาก South Hamton มู่งสู่New York
กระทั่งถึงวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1912 ทั่วโลกก็ตะลึงงันกับข่าว "เรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็งอับปางลงกลางมหาสมุทรแอตแลนติค มีผู้โดยสารเสียชีวิตถึง 1,498คน" ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าเรือไททานิคที่มีอุปกรณ์เดินเรือทันสมัย ทำไมถึงอับปางเร็วนัก หรือทำไมถึงต้องพุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งเข้าอย่างจัง
แต่บริษัทผู้รับจ้างขนหีบพระศพและบริษัทประกันภัยเท่านั้นที่ทราบอยู่เต็มอกว่า เหตุที่เรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็งจนมีผู้เสียชีวิตมากมาย เพราะคำสาปของเจ้าหญิงอียิปต์โบราณ "อาเมน-รา" นั่นเอง เรือไททานิคต้องคำสาป และถูกทำลายด้วยมนต์ตราโบราณอายุนับพันปี เจ้าหญิงองค์นี้คงต้องการที่อยู่ที่สงบ ปราศจากการรบกวนของผู้คน เธอจึงเลือกท้องน้ำที่ลึกที่สุดซึ่งจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีการกู้เรือมาได้เพราะความลึกของท้องน้ำทะเล
ที่มา Click
ในระหว่างการเดินทางนับตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายนฯ เป็นต้นมา เรือ "ไททานิค"
ได้รับสัญญาณวิทยุเตือนภัยให้ระวังเรื่องภูเขาและกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่ปรากฏลอยอยู่เกลื่อนกลาด ทั่วไปในเส้นทางการเดินทางจากเรือลำอื่นๆ มาโดยตลอด เมื่อคืนวันที่ ๑๔ เมษายนฯ เวลา ๒๒.๓๐ น.พนักงานวิทยุประจำเรือ "คาลิฟอร์เนียน" ซึ่งกำลังติดอยู่ในกลุ่มก้อนน้ำแข็งห่างจากเรือ "ไททานิค" ประมาณ ๑๙ ไมล์ทางเหนือ ได้ส่งสัญญาณเตือนภัยให้แก่เรืออื่นๆ
ซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในเส้นทางที่ใกล้เคียงให้ระมัดระวังภัยพิบัติที่อาจจะเกิดจากการชนภูเขาน้ำแข็งภายในบริเวณนี้ได้ ขณะที่ กำลังเรียกขานเรือ "ไททานิค" เพื่อแจ้งให้ระมัดระวังเหตุภัยพิบัตินี้เช่นกัน ก็ได้รับสัญญาณตอบกลับมาในลักษณะที่ไม่ค่อยสุภาพว่า "ให้หยุดเตือนเสียที เพราะสัญญาณเข้าไปรบกวนการทำงาน(ของเขา)กับ Cape Race" พนักงานวิทยุประจำเรือ "คาลิฟอร์เนียน" จึงเลิกทำการติดต่อ และปิดเครื่องวิทยุเมื่อเวลา ๒๓.๓๐ น.
ขณะที่จมดิ่งลงมาลึกราว 300 เมตร ลำเรือก็แตกร้าวเป็นสองท่อน ด้านหัวเรือซึ่งยาวกว่าพุ่งนำลงมาก่อน ลากเอาส่วนท้ายตามลงมาในแนวดิ่ง แล้วก็หักหลุดจากกัน ท่อนหัวดำดิ่งพุ่งลิ่วยังกับตอร์ปิโด โครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ กระจัดกระจายไปทั่ว แล้วหัวเรือก็ปักจมลงไปในโคลนใต้สมุทรลึกประมาณตึก 6 ชั้น และซากส่วนนี้แหละที่คาเมอรอนกับคณะสนใจสำรวจ
เอกลักษณ์อันติดตรึงใจของไททานิกก็คือ บันไดใหญ่หรือแกรนด์สแตร์เคส (The Grand Staircase )ที่สร้างอย่างอลังการ ด้วยไม้โอ๊คแกะสลักบันไดนี้ทอดยาวจากชั้นดาดฟ้า A จนถึง E รวมหกชั้นด้วยกัน ประดับด้วยราวทองเหลืองและบรอนซ์เป็นมันแวววาว อภิมหาบันไดนี้ เป็นที่สงสัยกันมานานถึงชะตากรรมที่บังเกิดกับมันว่าเป็นฉันใด
แจ๊ค ธาเยอร์ หนึ่งในผู้รอดชีวิตให้การว่า เขาเห็นส่วนหัวเรือลอยอยู่เหนือน้ำ (ซึ่งแท้จริงยังจมอยู่ใต้โคลน) ดังนั้น เป็นไปได้ไหมว่า สิ่งที่เขาเห็นนั้นคือ ซากของบันได นอกจากนี้ ยังมีรายหนึ่งซึ่งเกาะท่อนไม้ล่องลอยอยู่จนมีเรือมาช่วยไว้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เราไม่อาจรู้แน่ชัดว่าไม้ท่อนนั้นเป็นเศษของบันไดหรือไม่
และที่ดาดฟ้านี่เอง ที่มีเหตุการณ์อันเหลือเชื่อ นั่นคือ นักดนตรีทั้งหลายแห่ง วงออร์เคสตราได้ร่วมใจ กันขึ้นมาบรรเลงเพลง เพื่อให้ผู้โดยสาร ที่ตื่นตระหนกได้สงบลง เพลงสุดท้ายเป็นเพลงช้าๆ ที่คาดกันว่าชื่อ Nearer My God To Thee ผู้กำกับวงที่มีนามว่า วอลเลซ ฮาร์ทลีย์ ได้รับความยกย่องในสมาธิ และความกล้าหาญที่คุมวงบรรเลง จนหยดสุดท้าย นักดนตรีทั้งหมดเสียชีวิต และได้พบร่างของฮาร์ทลีย์ในภายหลัง เขาได้รับพิธีฝังเยี่ยงวีรบุรุษ
จุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ห้องวิทยุ นับเป็นโชคดีที่ยุคนั้นได้มีการสื่อสาร แบบไร้สายกันแล้ว โดย มาร์โคนี เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุขึ้น ซึ่งถ้าหากไททานิกไม่ได้ส่งสัญญาณวิทยุ ไปยังเรือต่างๆ ให้มาช่วย โดยเฉพาะเรือคาร์พาเธียแล้วละก้อ คงมีผู้เสียชีวิตกลางทะเล มากกว่านี้อย่างแน่นอน