ทำไมบางคนถึงเข้าใจว่าสำเนียงถิ่นอีสานทาง"หนองคาย"จะออกไปทางอุดร ขอนแก่นแทบทั้งนั้น (หมายถึงหนองคายทุกๆอำเภอนะครับ)
คือแบบผมเห็นบางที่ไปรีวิวเกี่ยวกับหนองคาย เวลาไปเที่ยวหนองคาย ไม่ก็เวลาไปเที่ยวลาวแล้วรีวิวลงเว็บบางคนจะบอกว่าสำเนียงลาวเวียงจันทน์จะออกเนิบๆคล้ายไปทางเหนือผิดกับหนองคายข้ามฝั่งมาจะเป็นคนละสำเนียงออกเป็นคนละเรื่อง ออกไปทางขอนแก่นห้วนๆถึงกับบอกว่าเป็นสำเนียงแท้ของจังหวัดหนองคาย ผมเลยคิดว่าเอ๋าหนองคายก็มันก็ไม่ได้มีแค่ตัวเมืองหนองคายเพียงที่เดียว แล้วที่นั่นคิดไปคิดมามันก็มีรอยต่อติดกับเขตแดนของถิ่นที่พูดอีสานสำเนียงห้วนๆมันเลยมีไทครัว หรือคนแถบนั้นโยกย้ายถิ่นฐานมานี่ เลยมีสำเนียงมาปนๆ แม้แต่ทางนครพนมก็น่าจะมี แถบนั้นมันไม่ได้รับอิทธิพลกับล้านช้างเวียงจันทน์โดยตรงอีก แต่ผมเห็นบางทีไปหนองคายก้เห็นแม่ค้าพูดสำเนียงเอนไปทางลาวผมว่าเขาน่าจะๆไม่ใช่คนลาวนาหรือว่าไง อีกอย่างเห็นเขาว่าทางหลายอำเภอสำเนียงจะต่างกัน เนิบมาก เนิบน้อย บางที่เนิบกว่าลาวอีก เขายังว่าอีกว่าสำเนียงพื้นเมืองของหนองคายจะเป็นแบบฝั่งลาวหรือว่าไงนี่แหละ เพราะพวกไทครัวที่พูดห้วนๆยังรับคำว่าหวา แล้วหวา มาจากชาวถิ่นพื้นเมืองนี่ครับ เพราะยังมีคนบางกลุ่มสำเนียงออกทางฝั่งลาวเห็นคุ้นๆว่างั้น แต่ผมก็ยอมรับว่าทางหนองคายก็มีสำเนียงห้วนๆแบบขอนแก่นมาปน แต่ก็ไม่น่าใช่สำเนียงพื้นเมือง ก็เลยสงสัยว่าบางคนเขายืนยันได้ไงว่าเป็นสำเนียงของทางหนองคายโดยสิ้นเชิง
อ้อผมอยากถามชาวหนองคายและผู้รู้เพิ่มอีกว่าทำไมทางตัวเมืองหนองคายหลายที่ถึงพูดออกไปทางขอนแก่น อุดร เป็นไทครัวอย่างที่เขาหรือเปล่าที่ว่าย้ายสำมะโนครัวจากถิ่นที่แห้งแล้งกว่า หรือที่เรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มายังแถบริมโขงที่อุดมสมบูรณ์นี้ แล้วจริงไหมที่ชนพื้นเมืองหนองคายพูดอีกสำเนียงนึง จนเป็นที่มาหวา สำเนียงห้วนๆไม่เจ้าที่ ความเป็นมาของชนเดิมทางหนองคายเป็นยังไง อยากรู้มาก ไว้อันไหนคือพื้นเมืองเดิม อันไหนคือสำเนียงคนมาเยือน