อันตรายจากแมงกะพรุน
แมงกะพรุน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในน้ำ มีอยู่ในน้ำเค็มและน้ำจืด ส่วนมากจะเคลื่อนไหวไปตามกระแสน้ำ แต่บางชนิดก็สามารถว่ายน้ำได้เองเช่นกัน ทั้งนี้เป็นที่รู้กันดีว่าแมงกะพรุนเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ควรระวังเสมอเมื่ออยู่ใต้ทะเลเนื่องจากหนวดแมงกะพรุนมีเข็มพิษที่สามารถทำให้ผู้ที่ไปสัมผัสรู้สึกคัน ปวดแสบปวดร้อนหรือบางรายที่มีอาการแพ้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เข็มพิษของแมงกะพรุนจะอยู่บริเวณหนวดมีลักษณะเป็นกระเปาะประกอบด้วยน้ำพิษและฉมวกยาวเป็นเส้น ทำงานเมื่อสัมผัสกับสิ่งเร้าต่างๆซึ่งเข็มพิษจะแทงทะลุผิวของสิ่งที่สัมผัสหนวดแมงกะพรุนแล้วจึงปล่อยนํ้าพิษตามเข้าไป ถึงแม้หนวดของแมงกะพรุนจะขาดและลอยมาตามกระแสน้ำเราก็สามารถโดนพิษของแมงกะพรุนได้เช่นกัน
ในปัจจุบันเชื่อกันว่ามีแมงกะพรุนอาศัยอยู่ในโลกใต้ทะเลมากถึง 30,000 ชนิด แต่เป็นที่รู้จักเพียง 2,000 ชนิดเท่านั้น ด้วยความที่แมงกระพรุนมีหลากหลายชนิด ลักษณะรูปร่างก็จะแตกต่างกันไปรวมถึงความอันตรายด้วย ผู้เขียนจึงขอแบ่งกลุ่มแมงกะพรุนออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1.Scyphozoa (JellyFish) กลุ่มแมงกะพรุนทั่วๆไป เป็นแมงกะพรุนธรรมดาที่เรามักจะเห็นลอยมาเกยตื้นกัน ส่วนใหญ่เป็นแมงกะพรุนที่คนนำมาทำเป็นอาหารกัน
3.Cubozoa (Box Jellyfish) กลุ่มแมงกะพรุนกล่อง ที่ได้ชื่อว่าแมงกะพรุนกล่องเพราะมีลักษณะคล้ายร่มหรือระฆังควํ่า มีขนาดที่แตกต่างกัน มีหนวดเป็นสายโดยแต่ละสายสามารถยาวได้ถึง 3 เมตร ตัวของแมงกะพรุนมักมีลักษณะโปร่งใส อาจมีสีอ่อนๆบ้างทำให้สังเกตได้ยาก แมงกะพรุนกล่องได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกอย่างไรก็ตามแมงกะพรุนกล่องนั้นไม่ได้มีพิษร้ายแรงทุกชนิด มีเพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้นที่มีอันตรายถึงชีวิตและสามารถทําให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น เราสามารถพบแมงกะพรุนกล่องได้บริเวณชายฝั่งของประเทศ Maxico, Japan, Australia ส่วนในประเทศไทยมีรายงานว่าพบบริเวณเกาะหมาก จ.ตราด และเกาะลันตา จ.กระบี่ โดยพบมากในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน และหลังพายุฝนที่พัดพามาใกล้ฝั่ง
ชนิดของแมงกระพรุนกล่อง แบ่งชนิดตามลักษณะของหนวด (tentacle) ได้ 2 ชนิด
- หนวดเส้นเดียวในแต่ละมุม (single tentacle) : มีอาการเจ็บๆคันๆ มักไม่ทําให้เสียชีวิต
- หนวดหลายเส้นในแต่ละมุม (multiple tentacle) : มีพิษร้ายแรง บางชนิดอาจทําให้เสียชีวิตได้
วิธีการป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการลงทะเลในช่วงหลังพายุฝนหรือช่วงที่มีแมงกะพรุนชุกชุม เพราะอาจมีกะเปาะพิษหลุดลอยในทะเลแม้เราจะไม่ได้สัมผัสกับแมงกะพรุนก็ตาม2.สังเกตรอบตัวอยู่เสมอหากพบเจอแมงกะพรุนพยายามอยู่ให้ห่าง
3.สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดเวลาลงเล่นนํ้าทะเลหรือลงดำนํ้า
4.ใช้ครีมที่มีคุณสมบัติป้องกันพิษของแมงกะพรุนก่อนลงทะเล
วิธีการรักษา
1. ล้างพิษตรงผิวหนังที่โดนพิษด้วยน้ำทะเลโดยด่วน (หลีกเลี่ยงการใช้น้ำจืด เพราะน้ำจืดจะไปช่วยกระตุ้นพิษให้กระจายมากขึ้น) รีดเซลล์ของแมงกระพรุน ด้วยของมีคมบางๆ เท่าที่หาได้ เช่น นักท่องเที่ยวอาจจะมีบัตร2. ใช้ผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 5% แล้วประคบผิวหนังบริเวณที่โดนพิษ ห่อด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ ประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดแสบปวดร้อนค่อยๆ หายไปหรือไม่ ถ้าโดนพิษแมงกะพรุนที่ไม่รุนแรงมาก อาการปวดแสบปวดร้อนก็จะลดลง เหลือแค่อาการคันๆ และร่องรอยของจุดที่โดนเซลล์ของแมงกะพรุนต่อย
3. ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนอาจจะมีอาการแพ้พิษทำให้เป็นไข้ หรืออาเจียน หรือเกิดอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน เช่น ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาจะมีอาการที่เป็นผื่นรุนแรง และปวดแสบปวดร้อนมากกว่าคนไทย ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนชนิดที่ไม่รุนแรง ก็จะหายจากอาการปวดแสบปวดร้อนและผื่นแดง หลังจากล้างพิษด้วยผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูประมาณ 30-60 นาที หลังจากนั้นจะมีอาการแพ้พิษอื่นๆ ให้รักษาตามอาการและจะหายภายใน 2-3 วัน แต่ยังคงเหลือร่องรอยของการโดนพิษซึ่งจะปรากฎให้เห็นอยู่เป็นเดือน ถ้าเจอกับแมงกระพรุนไฟ หรือแมงกระพรุนชนิดร้ายแรง ก็จะกลายไปเป็นแผลเป็นไปในที่สุด
4. สำหรับผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนไฟ (Portuguese man-of-war)หรือแมงกะพรุนกล่อง(Box Jellyfish) ซึ่งจะมีความรุนแรงมากโดนพิษครั้งแรกจะปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังที่โดนจะเป็นรอยไหม้ และเป็นแผลเรื้อรัง จนอาจจะเป็นแผลเป็นได้ ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
เครดิต ให้ใช้คมของบัตรนั้นรีดพิษออก ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านใช้ทรายขาวๆ สะอาดถูกเบาๆ แต่สมัยนี้จะหาทรายขาว สะอาดๆ หายาก