ความหมายของคำว่าภิกษุ แบบไหนถึงจะเรียกว่าภิกษุ
ความหมายของคำว่าภิกษุ แบบไหนถึงจะเรียกว่าภิกษุ
ลาทำยังไงก็ไม่เหมือนโค
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาเดินตามฝูงโคไป แม้จะร้องว่าข้า ฯ เป็นโค ข้า ฯ เป็นโค แต่สีของมันไม่เหมือนโค เสียงก็ไม่เหมือน
รอยเท้าก็ไม่เหมือน มันได้แต่เดินตามฝูงโค ร้องไปว่า ข้า ฯ เป็นโค ข้า ฯ เป็นโค เท่านั้น ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เดินตามหมู่ภิกษุ แม้ประกาศไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ แต่ฉันทะในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของภิกษุรูปนั้น ไม่มีเหมือนภิกษุอื่น ๆ ภิกษุนั้นก็ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุประกาศไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเราจักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"
(34/448/3)
ความแก่ไม่ได้วัดความเป็นเถระ
"บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า 'แก่เปล่า' (ส่วน) ผู้ใด มีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะและทมะ ผู้นั้นมีมลทินอันตายแล้ว ผู้มีปัญญาเรากล่าวว่า 'เป็นเถระ'"
(43/77/5)
ความเป็นสมณะไม่ได้วัดกันอยู่ที่ว่า "หัวเขาโล้น"
"ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ
เพราะศีรษะโล้น ผู้ประกอบด้วยความอยากและความโลภ จะเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วนผู้ใด ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบโดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่าวว่า 'เป็นสมณะ' เพราะยังบาปให้สงบแล้ว"
(43/83/2)
ความเป็นภิกษุไม่ได้วัดกันอยู่ที่เที่ยวขอแต่เขากิน เขาเอาของกินมาให้สัน อยู่สุขสบาย (แต่ตัวเองไม่ประพฤติธรรม)
"บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่นหามิได้ บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่า เป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ผู้ใดในศาสนานี้ ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ (รู้ธรรม)
ในโลก ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแลเราเรียกว่า ภิกษุ"
(43/85/1)
ความเป็นสมณะไม่ได้วัดกันด้วยอาการเพียงแค่ห่มผ้าสังฆาฏิ...
"ภิกษุทั้งหลาย ถึงบุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิอยู่เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะด้วยอาการสักว่า ครองผ้าสังฆาฏิไม่ ถึงบุคคลถือเพศเป็นชีเปลือย ไม่นุ่งห่มผ้า เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ไม่มีผ้านุ่งห่มไม่ ถึงบุคคลถือการหมักหมมเหงื่อไคล ไม่อาบน้ำชำระกาย เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่หมักหมมเหงื่อไคลไม่ ถึงบุคคลถือการลงอาบน้ำ(วัน13ละสามครั้ง)
เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ลงอาบน้ำไม่ ถึงบุคคลถือการอยู่ใต้ต้นไม้เป็นนิตย์ เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่อยู่ใต้ต้นไม้ไม่ ถึงบุคคลถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นนิตย์เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่อยู่ ณ ที่แจ้งไม่ถึงบุคคลถือการอบกายด้วยหมายจะทรมานกิเลสเป็นนิตย์
เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยการที่อบกายไม่ ถึงบุคคลถือการบริโภคอาหารมีการกำหนดเป็นครั้งคราว เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ยักย้ายผ่อนผันบริโภคอาหารเป็นครั้งเป็นคราวไม่ ถึงบุคคลที่ท่องบ่นจำมนต์ได้มาก เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ท่องบ่นจำมนต์ไม่ ถึงบุคคลเกล้าผมเป็นเซิง
เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการเกล้าผมไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า บุคคลผู้ครองสังฆาฏิมีอภิชฌามาก ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาทอยู่ ละพยาบาทเสียได้ มีความโกรธอยู่ ละความโกรธเสียได้ เป็นผู้มักถือโกรธ ละความถือโกรธเสียได้ เป็นผู้ลบหลู่อยู่ ละ1ความลบหลู่เสียได้ เป็นผู้ถือเป็นคู่แข่งดีอยู่ ละความถือเป็นคู่แข่งดีเสียได้เป็นผู้มักริษยาอยู่ ละความริษยาเสียได้ เป็นตระหนี่อยู่ ละความตระหนี่เสียได้ เป็นผู้มักโอ้อวดตัวอยู่ ละความโอ้อวดตัวเสียได้ เป็นผู้มีมายาอยู่ละมายาเสียได้ เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ละความปรารถนาชั่วเสียได้
และเป็นผู้มีความเห็นผิดอยู่ ละความเห็นผิดเสียได้ด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏิ ตั้งแต่แรกเกิดมาและจะพึงชักชวนให้ผู้นั้นครองผ้าสังฆาฏิเท่านั้นด้วยคำชักชวนว่า มาเถิดท่านจงครองผ้าสังฆาฏิเถิด เมื่อท่านครองผ้าสังฆาฏิอยู่ เครื่องเศร้าหมองทั้ง ๑๒ อย่าง มีอภิชฌามาก จักละอภิชฌาเสียได้ด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏินั้นแล เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้ ถึงครองผ้าสังฆาฏิอยู่ ก็มีอภิชฌามาก มีความเห็นผิดฉะนั้น เมื่อครองผ้าสังฆาฏิ
เราก็ไม่กล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏิเลยฯลฯ ถ้าว่าคนเปลือย ผู้เกล้าผม มีอภิชฌามาก ละอภิชฌาเสียได้แล้ว ผู้มีความเห็นผิด ละความเห็นผิดเสียได้ ด้วยอาการที่เกล้าผม มิตรสหาย
ญาติสาโลหิตทั้งหลายก็จะพึงทำผู้นั้นให้เป็นคนเกล้าผม แต่แรกเกิดมา และจะพึงชักชวนให้เกล้าผม ด้วยคำชักชวนว่า มาเถิด เจ้าเกล้าผมเสียเถิด เมื่อท่านเกล้าผมอยู่ มีอภิชฌามาก จักละอภิชฌาได้ มีความเห็นผิด ละความเห็นผิดเสียได้ ด้วยอาการที่เกล้าผมนั้นแล เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้ ถึงเกล้าผมอยู่ ก็ยังมีอภิชฌามาก มีความเห็นผิดอยู่ฉะนั้น เราผู้ที่เกล้าผมเราก็ยังหาละมลทินได้ไม่ จึงไม่กล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่เกล้าผมเลย"
(19/238/9)
(เล่ม/หน้า/บรรทัด)