กระสวยอวกาศโคลัมเบีย การเดินทางอย่างไม่มีวันกลับ
โพสท์โดย มารคัส
ฮัลโหล จากเหนือโลกที่งดงามของเรา “ ลอเรล คลาร์ก แพทย์หญิงกองทัพเรือสหรัฐ นักบินอวกาศ วัย 41 ปี ของกระสวย อวกาศโคลัมเบีย เริ่มต้นข้อความในอีเมล์ของเธอ ที่ส่งมายังครอบครัว และเพื่อนก่อนหน้าที่กระสวยอวกาศโคลัมเบีย จะเดินทางกลับโลก ในเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2003 เพียงวันเดียว
“ฉันเห็นบางภาพที่ดูเหลือเชื่อ แสงสว่างกระจายไปทั่วแปซิฟิก แสงออโรร่าที่ขอบฟ้า มีแสงเรืองๆ ของเมืองในออสเตรเลีย อยู่ข้างล่าง และพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ลอยเด่นอยู่ด้านข้างของโลก ที่ราบอันกว้างใหญ่ของแอฟริกา และเนินทรายที่แหลมฮอร์น “ และสิ่ง ที่ทำให้เธอตื่นเต้นที่สุด คือภาพรัฐที่เธออาศัยอยู่ “ มันช่างน่าอัศจรรย์ วันแรกๆเราบินเหนือทะเลสาบมิชิแกน ฉันเห็นวินพอยต์ [วิสคอนซิล] อย่างชัดเจน”
แต่คลาร์กและเพื่อนนักบินอวกาศอีก 6 คน คือ ริก ฮัสแบนด์ ผู้บังคับการ ไมเคิล แอนเดอร์สัน วิลลี แมคคูล เดวิด บราวน์ คัลพาน่า เชาวลา และ อิลาน รามอน นักบินอวกาศคนแรกของอิสราเอล ไม่มีโอกาสกลับบ้านและพบกับครอบครัวและคนที่รัก กระสวยอวกาศ โคลัมเบีย ไม่ได้กลับโลกที่งดงามของคลาร์ก แต่มันระเบิดเป็นเสี่ยงๆที่ระดับความสูง 39 ไมล์เหนือรัฐเท็กซัส ขณะกำลังมุ่งหน้า มายัง ศูนย์อวกาศเคเนดี้ ด้วยความเร็วเหนือเสียง 18 เท่า นักบินอวกาศทุกคนเสียชีวิต องค์การนาซ่าและชาวอเมริกัน ต้องพบกับโศกนาฎกรรม เป็นครั้งที่สาม ต่อจากยานอพอลโล 1 และกระสวยอวกาศชาแลนเจอร์
กระสวยอวกาศโคลัมเบีย เป็นกระสวยอวกาศเก่าแก่ ปฎิบัติการครั้งแรกเมื่อปี 1981 มันมีผลงานดีเยี่ยม บินมาแล้วถึง 27 เที่ยวบิน ภารกิจครั้งสุดท้ายคือการนำนักบินอวกาศ ขึ้นไปซ่อมบำรุงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2002
โคลัมเบียถูกส่งขึ้นไปยังอวกาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2003 มันเป็นเที่ยวบินที่ STS – 107 ในภารกิจการทดลอง ทางวิทยาศาสตร์ 80 รายการ ใช้เวลาทั้งสิ้น เวลา 16 วัน นักวิทยาศาสตร์เรียกปฎิบัติการ นี้ว่า ปฎิบัติการมาราธอน การทดลองทาง วิทยาศาสตร์ทำในโมดูลที่เรียกว่า SPACEHAB Research Double Module [RDM]ที่นำขึ้นไป นักบินอวกาศ ต้องทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมงโดยแบ่งเป็นสองกะ ทีมแรก The Red Shift ประกอบด้วย ฮัสแบนด์ ชวาลา คลาร์ก และรามอน ทีมที่สอง The Blue Shift ประกอบด้วย แมคคูล บราวน์ และแอนเดอร์สัน
ราว 80 วินาทีหลังจากมันทะยานขึ้นจากแหลมคานาเวอราล ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อน ขนาดยาวประมาณ 20 นิ้ว หลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก และพุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ วิศวกรนาซ่า ทำการประเมินผลกระทบ โดยทันที เพราะมันอาจทำความเสียหายให้กับแผ่นฉนวนกันความร้อน ที่เรียกว่า Thermal Tiles หรืออาจทำให้มันหลุดไป ผลสรุป คือไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
กระสวยอวกาศจะมี Thermal Tiles มากกว่า 20,000 แผ่น เพื่อป้องกันความร้อน ในขณะที่มันเดินทาง เข้าสู่บรรยากาศ ของโลก ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า หากเกิดมันหลุดออก จนมีขนาดใหญ่จะเกิดความร้อนสูง จนทำให้กระสวยอวกาศแตกเป็นเสี่ยงๆ ในขณะที่ มันเดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก คล้ายกับสถานีอวกาศเมียร์ที่แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
แต่ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะดำเนินไปด้วยดี ไม่มีสัญญาณใดๆ ที่แสดงให้เห็นถึง ความผิดปกติ วันที่ 20 มกราคม 2002 ไมล์ โอไบรอัน ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นได้ ทำการสัมภาษณ์ทีมนักบินอวกาศ ขณะที่กระสวยอวกาศโคลัมเบีย บินอยู่ในระดับ ความสูง 150 ไมล์เหนือแปซิฟิก ด้วยความเร็ว 17,300 ไมล์ต่อชั่วโมง นักบินอวกาศทุกคนมีความสุข
ฮัสแบนด์ ผู้บังคับการบอกว่า ทุกสิ่งดำเนินไปด้วยดีและการทดลอง ก็ประสบผลดีเยี่ยม คำพูดของฮัสแบนด์ ผู้ซึ่งเคยเป็น นักบินกระสวยอวกาศ เที่ยวบิน STS-96 มาแล้วเสมือนการยืนยันว่า ทุกอย่างไม่มีปัญหาทางด้านรามอนนักบินอวกาศอิสราเอลเล่าว่า ตอนกระสวยอวกาศทะยานขึ้นสู่อวกาศนั้น มันตื่นเต้นจริงๆ เสียงมันดังมาก และมันก็สั่น แต่หลังจากนั้นไม่กี่นาทีทุกอย่างก็ราบเรียบ
เขาพูดถึงประเทศของเขาว่า ไม่ได้เห็นประเทศอิสราเอลทั้งหมด เพราะเฆฆมากเห็นเฉพาะทางตอนเหนือ แต่แค่นี้ก็ทำให้เขา รู้สึกตื่นเต้น รามอนยังตอบคำถามจากอีเมล์ ที่ส่งมาจากสหราชอาณาจักรที่ว่า คุณไม่คิดเลยหรือว่ามันจะก่อให้เกิดพลัง และภาพพจน์ที่ดี ต่อมนุษย์ชาติ หากคุณได้บินกับชาวปาเลสไตน์หรือชาวอาหรับอื่นๆ
รามอน ตอบคำถามนี้อย่างน่าสนใจว่า เขารู้สึกว่า อย่างแรกเขาเป็นตัวแทนของประเทศอิสราเอล และชาวยิว แต่ก็เป็นตัวแทน ของประเทศ เพื่อนบ้าน ทั้งหมดด้วย
เชาวลา นักบินอวกาศหญิงเชื้อสายอินเดีย ผู้มีประสบการณ์บินกับกระสวยอวกาศ เที่ยวบินที่ STS-87 มาแล้ว เล่าถึงการทำงาน ใน SPACEHUB ว่าเธอกำลังทดลองทางวิทยาศาสตร์ 4 อย่างพร้อมๆ กัน แต่มันก็สนุกมากและทำให้เธอเพลิดเพลินใจ
คลาร์ก บอกว่า หลายสิ่งหลายอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น ตามที่คาดไว้ มีเพียงความบกพร่อง ของเครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ “เราใช้เวลาฝึก เดือนแล้วเดือนเล่าแต่ก็ไม่ได้ใช้สิ่งที่เตรียมการมากกว่า การระมัดระวังและเตรียมตัวให้พร้อม”
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2003 ก่อนหน้าการกลับสู่โลก ของกระสวยอวกาศโคลัมเบียหนึ่งวัน ลีรอย เคน ผู้อำนวยการบินของ กระสวยอวกาศ โคลัมเบียดูจะเป็นคนที่มีความสุขมากที่สุด เมื่อการตรวจเช็คระบบการนำกระสวยอวกาศกลับโลกแสดงผลว่า ทุกอย่างเรียบร้อย และสภาพอากาศก็ดี “นี่เป็นปฎิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก “ เขากล่าว
เคนยังเชื่อว่า แผ่นโฟมที่กระทบปีกของกระสวยอวกาศ ไม่น่าเป็นห่วง “ เราใช้ความละเอียดละอออย่างมาก ในการตรวจสอบ สถานการณ์ บริเวณปีกด้านซ้ายแล้ว ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ดังนั้นเราจะไม่เปลี่ยนแผนใดๆ เกี่ยวกับเส้นทางการบินที่วางไว้”
แต่เช้าวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2003 กลับกลายเป็นวันที่นำความเศร้าใจให้แก่คนทั่วโลก ขณะกระสวยอวกาศโคลัมเบีย อยู่เหนือรัฐเท็กซัส เวลา 8.53 นาที ศูนย์ควบคุมตรวจพบ เซนเซอร์ ที่บันทึกอุณหภูมิของระบบไฮโดรลิกตัดวงจร อีกสามนาทีต่อมา อุณหภูมิบริเวณ Landing Gear ด้านซ้ายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเซนเซอร์วัดอุณหภูมิบริเวณปีกด้านซ้าย 3 ตัว หยุดการทำงาน หลังจากนั้นอีกไม่กี่นาทีกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ก็ขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุม ขณะที่มันอยู่ที่ความสูง 203,000 ฟุต
ความสูญเสียในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เฉพาะคนบนพื้นโลกเท่านั้นที่แสดงความเสียใจ นักบินอวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติคือ เคน โบเวอร์ซอค ดอน เพตติต และนิโคไล บูดาริน ก็ได้แสดงความเสียใจ แต่พวกเขาก็ภูมิใจในปฎิบัติการครั้งนี้
ในปี 2002 นักวิทยาศาสตร์ของ ห้องปฎิบัติการเคมีดาราศาสตร์ของนาซ่า ก็สร้างผลงานที่ตื่นตาตื่นใจ อีกครั้งหนึ่ง โดยจำลอง สภาพของก๊าซ และฝุ่นในอวกาศ แล้วทำการยิงรังสีอุลตราไวโอเลต ผลการทดลองพบว่า เกิดฝุ่นละอองเหมือนที่เกิดในอวกาศ และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของฝุ่น แล้วพบกรดอะมิโน การค้นกรดอะมิโน ในอวกาศได้พลิกโฉมหน้า ความเชื่อเดิมที่เชื่อว่า กรดอะมิโนเกิดเฉพาะในดาวหางและดาวเคราะห์น้อย และอุกกาบาต หลังการก่อตัวของระบบสุริยะ แต่มันมีอยู่ทั่วไปในอวกาศ
การสอบสวนสาเหตุการระเบิดของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย กำลังดำเนินอยู่ มันคงเป็นอย่างที่รอน ดิตต์มอร์ ผู้อำนวยการยาน ขนส่งอวกาศกล่าว “ ยังไม่มีการสรุปถึงสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก เราต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ “
วันนี้ กระสวยอวกาศโคลัมเบีย กลายเป็นประวัติศาสตร์อันข่มขื่นพร้อมๆ กับความภาคภูมิใจ แถลงการณ์จากครอบครัว นักบินอวกาศ ที่เสียชีวิต มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ ภารกิจ 16 วันของกระสวยอวกาศโคลัมเบียเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ มันจะยังคง อยู่ในความทรงจำ ของพวกเราตลอดไป เราอยากขอบคุณนาซ่า และประชาชนทั่วโลกสำหรับความรัก และการสนับสนุน ที่หลั่งไหลมา อย่างไม่น่าเชื่อ ถึงแม้ว่าเรา จะเศร้าโศกอย่างยิ่ง เหมือนกับครอบครัวของยานอพอลโล 1 และ กระสวยอวกาศชาแลนเจอร์ก่อนหน้านี้ แต่การสำรวจอวกาศอย่างกล้าหาญ ต้องดำเนินต่อไป “
อีกไม่นาน กระสวยอวกาศ ดิสคัพเวอรี่ เอนดีฟเวอร์ และแอตแลนติส จะขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับนักบินอวกาศที่กล้าหาญ
คุณบัณฑิต คงอินทร์ แปลและเรียบเรียง
ที่มา : http://www.darasart.com
อวสาน "ยานโคลัมเบีย"
ยานกระสวยอวกาศโคลัมเบีย (โอวี-102) เป็นยานกระสวยอวกาศเก่าที่สุดในฝูงยานประเภทนี้ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (นาซา)
ยานลำนี้เริ่มสร้างในปี 1975 เริ่มภารกิจในอวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายน ปี 1981 และได้ออกปฏิบัติภารกิจสู่อวกาศอย่างประสบความสำเร็จรวม 27 เที่ยว (เที่ยวล่าสุดที่ยานตกคือเที่ยวที่ 28)
แม้เป็นยานกระสวยลำเก่าที่สุดในฝูง แต่ยานโคลัมเบียก็ได้รับการปรับปรุงยกเครื่องครั้งใหญ่หลายต่อหลายระลอก และยานรุ่นเดียวกันนี้หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 3 ลำ คือ ดิสคัฟเวอรี แอตแลนติส และ เอนเดฟเวอร์
การสูญเสียกระสวยอวกาศ โคลัมเบียและนักบินเจ็ดคนที่เสียชีวิตจากการระเบิดกลางอากาศ เมื่อวันเสาร์ (1 ก.พ.) นับเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งที่ 2 ที่เกิดกับวงการอวกาศสหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดการระเบิดกับยานอวกาศชาเลนเจอร์ หลังขึ้นจากฐานปล่อยยาน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1986 และนักบินอวกาศบนยานเสียชีวิตทั้งหมดเช่นกัน
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: Darius, MAC Mask, พี่ใหญ่ ใจดี, zerotype, ginger bread, แมวฮั่ว แมวขี้งอน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดตัวตำรวจสาว นางฟ้าผู้พิสูจน์หลักฐาน สวยและเก่ง ช่วยคลี่คลายคดีแอมไซยาไนด์ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรงHot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า