หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ชีวิตดั่งนิยาย นโปเลียน โบนาปาร์ต

โพสท์โดย Faithbook

"จากสามัญชนสู่จักรพรรดิสู่สามัญชน"



นโปเลียน โบนาปาร์ต Napoleon Bonaparte (15 สิงหาคม ค.ศ. 1769 - 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1821) เป็นนายพล
ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1799 และได้กลายเป็นจักรพรรดิ
ของชาวฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1804 ถึง ค.ศ. 1814 ภายใต้พระนามว่า นโปเลียนที่ 1 ผู้ได้มีชัยและปกครองดินแดน
ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป และได้แต่งตั้งให้แม่ทัพและพี่น้องของเขาขึ้นครองบัลลังก์ในราชอาณาจักรยุโรปหลายแห่งด้วยกัน
เช่น ประเทศสเปน เมืองเนเปิลในประเทศอิตาลี แคว้นเวสต์ฟาเลนในประเทศเยอรมนี ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสวีเดน


เนื่องจากไม่สามารถดับไฟสงครามที่โหมกระหน่ำประเทศฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1792 ลงได้ ซ้ำยังต้องผ่านการสู้รบ
ครั้งแล้วครั้งเล่า นโปเลียนได้เห็นจักรวรรดิของเขาล่มสลายภายในสิบปีนับตั้งแต่เขาขึ้นครองราชย์ เหลือไว้แต่เพียงผลงาน
ทางราชการมากมายที่ชายผู้ไม่ธรรมดาคนนี้ได้สร้างไว้

ความพยายามใด ๆ ในการเขียนเรื่องราวที่มีเนื้อหาเป็นกลางเกี่ยวกับบุคคลผู้นี้นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ตามคำกล่าวอ้าง
ของนักประวัติศาสตร์สตีเวน อิงลุนด์ รูปแบบ ที่เหมาะสมที่สุดในการกล่าวถึงนโปเลียน คงจะเป็น ความชื่นชมที่เจือปน
ด้วยความประหลาดใจ และความเห็นคัดค้านที่เจือปนด้วยความเศร้า


               
วัยเด็กและการเข้ารับราชการทหาร



นโปเลียนเกิดที่เมืองอาจัคซิโอ บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1769 ภายหลังจากที่นครเจนีวาได้ซื้อเกาะนี้
ไปจากฝรั่งเศสไม่นาน (ค.ศ. 1768) ครอบครัวของเขาเป็นหนึ่งในตระกูลผู้ดีจำนวนน้อยนิดบนเกาะคอร์ซิก้า
บิดาของเขาชื่อ ชาร์ลส มาเรีย โบนาปาร์ต หรือ การโล มาเรีย บัวปารเต (สำเนียงอิตาลี) ได้จัดการให้เขาได้เข้ารับการศึกษา
ที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เขาได้เข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่อายุ 9 ขวบ


ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร (ที่เมืองโอเติง เบรียง(เนอ)
หรือ บรีเเอนน์(แล้วเเต่สำเนียง) และ โรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส) เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ ภายใต้กองกำลังของลาแฟร์
ที่เมืองโอซ็อนน์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยตรีที่เมืองวาล็องซ์ ในปี ค.ศ. 1787 ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก
ในงานที่เขาเขียน ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำที่เป็นเลิศ ในปี ค.ศ. 1789 นโปเลียนหนุ่มมี
ความถนัดทางใช้สติปัญญามากกว่าทางใช้กำลัง





เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์
เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา ที่ซึ่งการสู้รบ
ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนการนับถือราชวงศ์แบบอังกฤษ และทางตระกูล
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี ค.ศ. 1792
โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ
สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส


โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลง
ในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้อังกฤษปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ ชาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็อมมิเย ทำให้
สามารถยึดเมืองตูลงคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกจาโคแบง
ทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้น ๆ ภายหลังการล่มสลายของโรแบสปิแยร์ ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1794

หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บาร์ราส์
ได้อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้านสมัชชาแห่งชาติ ในปี ค.ศ. 1795
ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อโจอาคิม มูราท์ เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการ
ยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์ โรช์

โบนาปาร์ตมีจิตใจผ่องใส สามารถซึมซับความรู้ทางการทหาร รวมถึงยุทธวิธีในสมัยของเขา มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง
เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในกองพลปืนใหญ่ เขาได้คิดค้นการใช้ปืนใหญ่แห่งกริโบวาลเป็นกองทัพเคลื่อนที่
ใช้หนุนกองทหารเดินเท้าอีกทีหนึ่ง


               


ปฏิบัติการในอิตาลี



เพื่อเป็นรางวัล ที่สามารถการนำกองพลปืนใหญ่ปราบกบฏฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ได้ นโปเลียนได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง
แม่ทัพแห่งกองกำลังอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีกลับคืนมาจากออสเตรีย กองกำลังของเขาขาดแคลน ทั้งยุทโธปกรณ์และเสบียงคลัง
ซึ่งแม้เขาจะอดมื้อกินมื้อ และแต่งตัวซอมซ่อ แต่ก็ได้ฝึกฝนนายทหารในบังคับบัญชาด้วยความขะมักเขม้น และสามารถนำทัพ
เข้าปะทะกับกองกำลังของออสเตรียที่มีจำนวนมากกว่า และมียุทโธปกรณ์พร้อมกว่าได้ ในการรบหลายต่อหลายครั้ง


ในสมรภูมิที่เมือง มองเตอโนต โลดิ หรือ อาร์โกล มีนโปเลียนเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง การรบท่ามกลางห่ากระสุนทำให้ มุยร็อง
เพื่อนและผู้ช่วยของเขาเสียชีวิต นโปเลียนเป็นนายทหารฝีมือฉกาจ ผู้ซึ่ง อยู่ทุกหนทุกแห่งและมองเห็นทุกอย่าง
ว่องไวดุจสายฟ้าแลบและโจมตีดุจสายฟ้าฟาด เขาเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความสามารถในการบัญชาการ
ความกล้าหาญและความเลือดเย็น ในบรรดานายทหารหลายนายที่แวดล้อมเขา นโปเลียนได้มองเห็นความสามารถของนาย
ทหารนิรนามคนหนึ่ง ชื่อลานน์





ตลอดการสู้รบในช่วงเวลานั้น ภาพวาดกองบัญชาการของนโปเลียนในสมัยนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า นโปเลียนได้ใช้ระบบสื่อสาร
ทางไกล ระบบแรกของโลกที่เรียกว่าโทรเลขที่คิดค้นโดยโคลด ชาปป์ (เช่นเดียวกับกองบัญชาการรบอื่น ๆ ในสมัยนั้น) นโปเลียน
ได้ทำให้ออสเตรียซึ่งบัญชาการโดยอาร์คดยุคชาร์ลส จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ที่มีชื่อว่าสนธิสัญญา
ก็อมโป-ฟอร์มิโอ ว่าด้วยเรื่องการให้ฝรั่งเศสเข้าครองเบลเยียม และยืดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนออสเตรียได้ถือครองแคว้น
เวเนเซีย

เหตุการณ์ที่ประเทศอิตาลีนี้เอง ที่ทำให้นโปเลียนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เขาเป็นต่อ เขาเป็นจ้าว
แห่งสนามรบเช่นเดียวกับในทุก ๆ ที่ เมืองมิลานเกิดสภาพคล้าย ๆ กับพระราชวังเล็ก ๆ รายล้อมนายพลนโปเลียน ถึงแม้ว่าเขา
จะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของบรรดาเศรษฐีชาวอิตาลีเอาไว้ และได้เปรียบคู่ต่อสู้อยู่มาก แต่เขาก็ยังห่างไกล กับคณะกรรมาธิการรัฐ
ที่มีอำนาจบริหารจัดการประเทศ ในปี ค.ศ. 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเจอโร นโปเลียนได้จัดการทางการเมืองบางอย่าง
ที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ็น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกจาโคแบงเอาไว้ได้


               
ปฏิบัติการในอียิปต์




ในปี ค.ศ. 1798 สมัชชาการปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้กังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนโปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น
จึงได้บัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครองครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง
เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย เนื่องด้วยนโปเลียนชื่นชมยุคแสงสว่างอยู่แล้ว เขาจึงได้ตัดสินใจนำคณะ
นักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาร่วมทัพไปกับเขาด้วย และจัดตั้งสถาบันอียิปต์ศึกษาขึ้น หนึ่งในเจ้าหน้าที่หนุ่มผู้ชาญฉลาด
ที่ร่วมเดินทางไปกับเขา ชื่อปิแอร์-ฟร็องซัวส์-ซาวิเย บูชาร์ด ได้ค้นพบศิลาจารึกแห่งโรเซตตา ที่ทำให้นักอียิปตวิทยา
ชอง-ฟร็องซัวส์ ช็อมโปฺลลิยง สามารถถอดรหัสอักษรไฮโรกลิฟฟิก ได้ในเวลาต่อมา


หลังจากที่มีชัยในการรบที่ มงต์ ตาบอร์ (ฝรั่งเศสต้องการยึดเมืองในอียิปต์คืนจึงรบกับตุรกีที่มีอังกฤษหนุนหลัง)
เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1799 การเดินทัพต่อไปยังซีเรียของนโปเลียนต้องชะงักเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค
อันเป็นเหตุให้มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก นโปเลียนได้เข้าจัดการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อกาฬโรคที่เมืองจาฟฟา
เท่าที่สามารถทำได้






เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1798 นโปเลียนมีชัยต่อกองกำลังมาเมอลุก (ทาสรับใช้กาหลิบของจักรวรรดิออตโตมัน)
ในการรบที่พีระมิด ในสงครามเอ็มบาเบห์ ทำให้ชื่อของเขาขจรขจายไปไกล แต่การพ่ายแพ้ของเขากลับไม่เป็นที่กล่าวถึง
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม และ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1798 ทัพเรือของฝรั่งเศสที่นำนโปเลียนถูกกองเรือของโฮราทิโอ เนลสัน
(ของอังกฤษ) ทำลายเกือบย่อยยับในการรบที่อ่าวอาบูกีร์

สถานการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ให้กับชอง-บัพติส
เคลฺแบร์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส ตลอดเส้นทางกลับกรุงปารีเส นโปเลียนได้รับเสียงโห่ร้องชื่นชมจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ
ส่วนชอง-บัพติส เคลฺแบร์ ต้องพ่ายการรบมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1801 หลังจากเสียนายทหารไปกว่า 13,500 นาย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของโรคระบาด



               
ก่อรัฐประหาร




เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับตัลเลย์ร็อง ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มระบอบ
ปกครองโดยคณะมนตรี ที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง


โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน
ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ เอ็มมานูเอล โจเซฟ เซแยส โรเฌ่ร์ ดูโคส์ (สมาชิกคณะมนตรีแห่งการ
ปฏิวัติสองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอม
ไปออกรบที่อียิปต์ และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้า
(ที่ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตรงข้ามกับพวกจาโคบังที่ยึดติดกับระบอบกษัตริย์) ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป
และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 มาขึ้น
ครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล

หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้วุฒิสภาเห็นชอบกับการล้มล้างระบอบปกครองโดยคณะมนตรีได้แล้ว
แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 เดือนบรูแมร์ ค.ศ. 1799 (ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ประกอบ
ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภา
จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังเมืองแซงต์-คลูด เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร
และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิจาโคบังกำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความ
เป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1789เป็นต้นมา รัฐสภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด



เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 19 เดือนบรูแมร์ ที่เมืองแซงต์-คลูด ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะมนตรี
แห่งการปฏิวัติห้าคน ยกขบวนลาออกจากรัฐสภาแห่งชาติ รวมทั้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติห้าร้อยคนเลือกรัฐบาลใหม่
แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกจาโคแบงสองคนไม่ยอม
ลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด

เขาได้นำกำลังทหารเข้าไปในห้องประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติห้าร้อยคน ที่กำลังถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน และได้
พยายามพูดโน้มน้าวให้สภาดังกล่าวยอมรับการโค่นล้มระบอบปกครองโดยมุขมนตรี แต่ไม่มีผู้แทนคนใดยอมรับฟัง การเข้า
แทรกแซงดังกล่าวทำให้นโปเลียนถูกบังคับให้ลาออกจากรัฐสภาแห่งชาติ แต่สถานการณ์กลับตาลปัดเมื่อมีผู้พยายามลอบ
แทงนโปเลียนในห้องประชุมสภา ฝ่ายได้เปรียบกลายเป็นฝ่ายนโปเลียนและลูเซียน โบนาปาร์ต น้องชายของนโปเลียน
ผู้ซึ่งเป็นผู้กุมบังเหียนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติห้าร้อยคนเอาไว้ ลูเซียนต้องการช่วยนโปเลียนจากสถานการณ์คับขัน
จึงจัดการให้มีผู้ลอบแทงนโปเลียนเพื่อหาความชอบธรรมให้กองทัพเข้าแทรกแซง ภาพของผู้แทนที่โผล่มาจากทางหน้าต่าง
เพื่อลอบแทงนโปเลียนแพร่กระจายไปทั่ว นโปเลียนเป็นผู้ได้เปรียบในสถานการณ์นี้อย่างมาก เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภา
ใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร ทำให้เขาสามารถนำกองทัพเข้าบุกรัฐสภาที่เมืองซังต์-คลูด
และก่อรัฐประหารได้สำเร็จในที่สุด

แม้จะก่อรัฐประหารสำเร็จ แต่นโปเลียนก็ยังยึดติดกับรูปแบบการปกครองโดยกระบวนการทางกฎหมายอยู่ ในคืนวันที่ 19
เดือนบรูแมร์ หลังก่อรัฐประหารสำเร็จ คณะผู้แทนยังคงอยู่ที่ซังต์-คลูดเพื่อลงมติเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการสองชุด
ในการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แสดงให้เห็นได้ว่า นโปเลียนต้องการผลักดันให้มีระบอบการปกครอง ที่กิจการต่าง ๆ
ของรัฐผ่านการลงมติจากคณะผู้แทนราษฎร

นที่ 20 เดือนบรูแมร์ กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประเทศ ได้แก่ นโปเลียน, เอ็มมานูเอล โจเซฟ ซีเอเ...์
และโรเฌ่ร์ ดูโคส์ นับเป็นจุดเริ่มต้นระบบการปกครองโดยคณะกงสุล

นโปเลียนได้ประกาศว่า
"ประชาชนทั้งหลาย...การปฏิวัติยังคงยึดมั่นบนหลักการเดียวกันกับเมื่อมันได้เริ่มต้นขึ้น นั่นคือ การปฏิวัติสิ้นสุดลงแล้ว"

ระบอบกงสุลได้ถูกจัดตั้งขึ้น เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งอันที่จริงแล้ว มีเพียง
กงสุลคนแรกเท่านั้นที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือ
ของจักรพรรดิ


               

จากกงสุลกลายเป็นจักรพรรดิ





นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา
กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ชอง-ชากส์ เรจีส์ เดอ กองบาเซเเรส์
เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมายนโปเลียน แห่งปี ค.ศ. 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียม
หลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่


ผลงานทางราชการของนโปเลียนมีต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1814 เขาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส
ระบบเงินฟรังค์แจร์มินาล ที่ว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ (L'ordre national de la Légion d'honneur)

ในปี ค.ศ. 1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ ทำให้ออสเตรียที่พ่ายต่อทัพของนโปเลียน
ที่สมรภูมิเมืองมาเร็งโก และต่อทัพของชอง วิคตอร์ มารี โมโรที่เมืองโฮเฮนลินเดอร์ ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาลูเนวิลล์
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801 ซึ่งทำให้อังกฤษยอมลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกอาเมียงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1801
ในกาลต่อมา ถ้าหากแม้อำนาจของนโปเลียนถูกสั่นคลอนภายหลังก่อรัฐประหาร ชัยชนะในสมรภูมิที่เมืองมาเร็งโกก็ทำให้
สถานการณ์ของนโปเลียนแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันมาก

เขาได้ส่งทหาร 70,000 นายไปยังเมืองเเซงต์-โดมังก์ (ชื่อของเฮติที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้น)
ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลชาร์ลส เลอแคลฺ เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร
โดยเฉพาะจากการจับตูเเซงต์ ลูแวร์ตร์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่ฟอร์ เดอ จัวย์ ที่อำเภอดูบส์ วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1803)
กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของไข้เหลือง เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขายมลรัฐลุยเซียนา ให้กับสหรัฐอเมริกา
ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1800 (วันคริสตมาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส
ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า รถม้าของกงสุลใหญ่ได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว
ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็ม
ไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน โจเซฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่า
อาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวกจาโคเเบง การประหาร
ดยุคแห่งอิงไฮน์เป็นหนึ่งในผลพวงตามมา



ในปี ค.ศ. 1802 นโปเลียนได้รื้อฟื้นระบบทาสในดินแดนอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่นางโจเซฟีน
เดอ โบอาร์เเนส์ (ชาวเบเก จากหมู่เกาะ มาร์ตีนีก) การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคม
โพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1848 กว่าความพยายามในการเลิกทาส
อย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ


หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึงสวิส ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยังเยอรมนี กรณีพิพาท
ของมอลตาก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้งในปี ค.ศ. 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบ
กษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะ
กำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลใหญ่ได้สั่งประหารดยุคแห่งอิงไฮน์ เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูร์บง

การประหารเกิดขึ้นที่เมืองเเวงเซนน์ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ
(ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วนรัสเซียและออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน
ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น โรเเบสปิแอร์บนหลังม้า (โรแบสปิแอร์เป็นอดีตนักการเมืองฝรั่งเศสผู้โหดเหี้ยม)
(ที่เกาะเเซงต์-เตเเลน นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าตัลเลย์รองจะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้
ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลใหญ่ขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเอง
ขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804

ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์สตีเฟน อิงลุนด์เชื่อในแนวความคิดที่ว่า
การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่าง ๆ
จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ

หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึง
ความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (ความเสมอภาค อิสรภาพ และ ความยุติธรรม) การที่เงินเหรียญ
ของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด

การปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้กลายมาเป็นระบอบจักรวรรดินิยม ในภายหลังเท่านั้น
เพื่อปกป้องสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส


พิธีขึ้นครองราชย์ของนโปเลียนมีขึ้น ภายใต้พระเนตรของสมเด็จพระสันตะปาปา ที่ไม่ได้รับเกียรติให้สวมมงกุฎให้นโปเลียน
แต่ถูกลดบทบาทให้แค่มาร่วมอวยพรผู้นำฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ก็นับเป็นโอกาสดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับวาติกัน
การลงนามของกงสุลใหญ่ในปี ค.ศ. 1801 นั้น มีเนื้อหายอมรับว่าคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศส
ส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชจะต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ในการฟื้นฟูนิกายโรมันคาธอลิก
ทำให้เกิดความกังขาว่า เป็นไปได้หรือที่จะเกิดการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ภายในระยะเวลาไม่ถึงสิบปีหลังจากที่หลวง
ยึดทรัพย์สินของโบสถ์? นโปเลียนสงวนท่าทีต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปา เขาออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาที่ป่าฟองเเตนโบล
โดยขี่ม้าไปและสวมชุดล่าสัตว์ ทำให้ฉากการพบปะดังกล่าวมีลักษณะเหมือนการพบกันโดยบังเอิญ

และเช่นเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1804 จักรพรรดิมิได้เป็นผู้เดินทางไปประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ที่กรุงโรม ตามที่จักรพรรดิเยอรมัน
เคยกระทำ แต่เป็นพระสันตะปาปาที่ถูกเชิญมายังกรุงปารีส ราวกับว่าเป็นนักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญ


เราจะเห็นได้ว่า การที่นโปเลียนเข้าหาศาสนจักรนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์เฉพาะอย่าง (สร้างสัมพันธ์ระหว่างคาธอลิกกับฝรั่งเศส
และทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากับกษัตริย์อย่างถูกต้อง) และเมื่อพระสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่องต่อคำสั่งของนโปเลียน
เขาก็ไม่รอช้าที่จะขังพระสันตะปาปาไว้ในพระราชวังฟองเเตนโบล


               
จักรวรรดิเรืองอำนาจ




ในปี ค.ศ. 1804 ยังไม่ถึงเวลาแห่งการออกรบครั้งใหญ่เพื่อยึดครองดินแดน และนโปเลียนซึ่งยึดติดกับแนวความคิดว่า
สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ ต่อเมื่อปราบสหราชอาณาจักรลงได้เท่านั้น ได้ร่วมกับพลเรือเอกลาตุชเชอ-เทรวิลล์
(ผู้ซึ่งเสียชีวิตก่อนจะกระทำการสำเร็จ) วางแผนบุกอังกฤษ ซึ่งเป็นแผนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากการรบที่สมรภูมิทราฟัลการ์
กองเรือฝรั่งเศส-สเปนที่บัญชาการโดยพลเรือเอกวิลล์เนิฟถูกพลเรือเอกเนลสันของอังกฤษตีจนแตกพ่าย ทำให้สหราชอาณาจักร
กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นจวบจนในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา


ในปีเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. 1805) ได้มีการจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมที่สามในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านนโปเลียน ทำให้จักรพรรดิ
ผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมืองบูลอญจ์ในฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่ง
ของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน นโปเลียนได้สั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ
ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จากสมรภูมิออสแตร์ลิทซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น"สงครามสามจักรพรรดิ" ในปี ค.ศ. 1806 ปรัสเซีย
ได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ ซึ่งเป็นแผนการที่นโปเลียนยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งโลก"
ของเฮเกลมาใช้ แต่นโปเลียนก็สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซีย ที่การรบในสมรภูมิอิเอนาได้ในที่สุด (ซึ่งได้ความยินดีเป็นสองเท่า
จากชัยชนะของดาวูต์ ที่เมืองโอเออสเต็ดท์ในช่วงเวลาเดียวกัน) แต่นโปเลียนยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาเขาได้เดินทัพข้ามโปแลนด์
และสิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสํญญาเมืองทิลสิทในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1807 กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่หนึ่ง
ซาร์แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น
เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)

นโปเลียนผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง
ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วย
พลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น
นั่นคือนโปเลียนไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในสมรภูมิเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 1808 นโปเลียนได้สร้างระบบศักดินาของจักรวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมเขา ไม่นานต่อมา
บรรดานายพันและนายพลของนโปเลียนต่างได้รับฐานันดรเป็นท่านเค้าท์แห่งจักรวรรดิ เจ้าชายแห่งเนอชาเตล
ดยุคแห่งโอเออสเต็ดท์ ดยุคแห่งมงต์เบลโล ดยุคแห่งดันต์ซิก ดยุคแห่งเอลชิงเกน กษัตริย์แห่งเนเปิล ฯลฯ

จากกรุงอัมสเตอร์ดัมจากถึงกรุงโรม จักรวรรดิของนโปเลียนมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคน
เท่านั้นที่เป็นชาวฝรั่งเศส

               
ปฏิบัติการที่คาบสมุทรไอบีเรีย ออสเตรีย และรัสเซีย




เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส นโปเลียนเลยพยายามจะบังคับให้เกิดการกีดกันภาคพื้นทวีป
โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษ
มาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ นโปเลียนจึงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส
ในที่สุดเขาก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้งโจเซฟ โบนาปาร์ต น้องชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และโปรตุเกส
ก็ถูกนโปเลียนรุกรานเช่นกันในปี ค.ศ. 1807


ประชากรส่วนหนึ่งของสเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ
บัญชาการโดยว่าที่ดยุคแห่งเวลลิงตันก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านประเทศโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1808 และด้วยความช่วยเหลือ
ของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของ
ฝรั่งเศสดำเนินภารกิจอยู่ในสเปน ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบในสมรภูมิ
ที่เมืองวากร็อง จอมพลลานส์ เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดินโปเลียนได้ถึงแก่กรรมที่เมืองเอสลิง

หลังจากที่ พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ
ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับนโปเลียนในการโจมตีสหราชอาณาจักร นโปเลียนซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้
ได้กรีฑาทัพบุกรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 ทัพใหญ่ของนโปเลียนประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมนี และออสเตรีย
มีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม แม่น้ำนีเมน

พวกรัสเซียที่บัญชาการโดยมิคาอิล อิลลาริโอโนวิทช์ โกเลนิทเชฟ-คูตูโซฟ ได้ใช้ยุทธวิธี แผ่นดินเดือด โดยถอยร่นให้ทัพ
ฝรั่งเศสตามเข้ามาให้รัสเซีย การรบที่สมรภูมิเมืองมอสโกวาเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซีย
จะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนเท่า ๆ กัน

วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโก ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ
พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโกในทันที ทำให้นโปเลียนต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดน
แถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน นโปเลียนที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากพระเจ้าซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย

กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามา
และถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้ามแม่น้ำเบเรซินา
กลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี ทัพใหญ่ของนโปเลียนต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ


หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายนโปเลียน
และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส นโปเลียนซึ่งถูกคนในกองทัพของเขาเองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่สมรภูมิ
เมืองไลปซิก หรือที่รู้จักในนามของ สงครามนานาชาติ ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 180,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 300,000 นาย
(รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี สวีเดน) จอมพลโจเซฟ แอนโทนี โปเนียโตวสกี เจ้าชายแห่งโปแลนด์และพระราชนัดดา
ของกษัตริย์องค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้ามแม่น้ำเอลสเตอร์
มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน

               
ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส





ในปี ค.ศ. 1814 สหราชอาณาจักร รัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่านโปเลียนจะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่
ชอมโปแบร์ และ มงต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี-หลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามมารี-หลุยส์ แห่งออสเตรีย
จักรพรรดินีของนโปเลียน) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และเหล่าจอมพลได้บังคับให้นโปเลียนสละราชบัลลังก์


นโปเลียนคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินีมารี-หลุยส์ และนโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์
ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน นโปเลียนได้กินยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เองได้ นั่นคือ
ฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน

พระองค์เลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของพระองค์จะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้
ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในสมรภูมิ


หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าเกินไป

พระองค์ได้ประกาศต่ออาร์มองด์ ออกุสตัง หลุยส์ เดอ โคลังกูร์ ว่า
"เราตายด้วยความทุกข์ทรมาน เราทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพลงช้ากว่าเดิม!"



อาการคลื่นเหียนอาเจียนของนโปเลียนรุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมา
อย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง นโปเลียนได้ขอให้แพทย์ให้ยาพิษ
อีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตรกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่
ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด

ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โคลังกูร์ ออกจากห้องและบอกให้ข้ารับใช้ส่วนพระองค์และข้าราชบริพาร
ฝ่ายในเงียบเสียง นโปเลียนเรียกโคลังกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา

ยาพิษได้คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด

ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นเข้าไปในปริมาณขนาดนั้น
ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง พระองค์ต้องไปลี้ภัยที่เกาะอัลบา
ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟงเตนโบล ยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ แต่ทรงปกครองได้เฉพาะ
บนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้เท่านั้น

               
คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน





ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ได้ขับไล่ นโปเลียนที่ 2 และขึ้นครองราชย์แทน นโปเลียนเป็นกังวลเกี่ยวกับชะตากรรม
ของพระมเหสีและโดยเฉพาะอย่างยิ่งของพระโอรสของพระองค์ที่ตกอยู่ในเงื้อมือของพวกออสเตรีย รัฐบาลฝรั่งเศสที่ฝักใฝ่
ในระบอบกษัตริย์ปฏิเสธจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ตามสัญญาในที่สุด และมีข่าวลือว่าเขากำลังจะถูกส่งตัวไปยังเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้
ของมหาสมุทรแอตแลนติก


ดังนั้น นโปเลียนที่หลบหนีออกจากห้องขังบนเกาะเอลบา ได้ขึ้นสู่ฝั่งบนแผ่นดินฝรั่งเศสใกล้ ๆ กับเมืองคานส์ เมื่อเดือนมีนาคม
ปี ค.ศ. 1815 กองทัพที่ถูกส่งไปจับกุมตัวเขากลับมา ต่างโห่ร้องต้อนรับเขาเยี่ยงวีรบุรุษตลอดเส้นทางจากชายฝั่งริเวียราฝรั่งเศส
ขึ้นมายังเมืองลียง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถูกเรียกว่า "ถนนสายนโปเลียน" ไปแล้ว จอมพลมิเชล ไนยผู้ซึ่งได้สาบานต่อหน้า
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18ว่าจะนำนโปเลียนกลับมาในกรงเหล็ก ก็รู้สึกโอนอ่อนเข้าหาฝ่ายจักรพรรดิเดิมของตน (หลังที่นโปเลียนเดินอย่าง
อุกอาจเข้าไปประกาศต่อฝูงชนว่า "ใครต้องการจะสังหารจักรพรรดิของท่านก็เชิญ") ทำให้เขากลายเป็นจอมพลคนเดียวที่ถูกจับกุม
ในข้อหาทรราชย์ หลังจากการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ครั้งที่สอง นโปเลียนเดินทางถึงกรุงปารีสอย่างง่ายดาย

ช่วงเวลา"คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน" เริ่มต้นขึ้น แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของเขาพ่ายการรบกับอังกฤษ
และปรัสเซียที่สมรภูมิวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 จอมพลกรูชีไม่สามารถต้านทานกองทัพ
ร่วมระหว่างอังกฤษและปรัสเซียได้ เนื่องจากเป็นทัพหลวงที่ยกมา

             
นโปเลียนถูกลอบสังหารจริงหรือ?




นโปเลียนถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยังเกาะแซงต์เตเเลน ตามบัญชาการของ เซอร์ฮัดสัน โลว พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดี
บางส่วน รวมถึงท่านเคาน์ลาส กาสด้วย นโปเลียนได้ใช้เวลาบนเกาะซังต์เตเลน อุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์เอง
ให้คนรุ่นหลังได้อ่าน ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพินัยกรรม และหมายเหตุพินัยกรรม
หลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ "ฝรั่งเศส กองทัพ เเม่ทัพ โจเซฟีน"
หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะแซงต์เตเเลน" คือ "...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้าช่วย!"


ในปี ค.ศ. 1955 จดหมายเหตุของท่านเค้าท์หลุยส์ มาร์ชองด์ ข้ารับใช้ของนโปเลียนได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์
ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนนโปเลียนจะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วยสารหนู




ในปี ค.ศ. 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมืองสตราสบูร์กได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนู
ในเส้นพระเกศา(ผม)ของนโปเลียนภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า
การวิเคราะห์ของนิตยสาร วิทยาศาสตร์และชีวิต ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่าง
ที่เก็บได้มาจากปี ค.ศ. 1805 ค.ศ. 1814 และ ค.ศ. 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผม
พ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า นโปเลียนสวรรคตจากโรคมะเร็ง
ในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัย
ยังได้สำรวจกางเกงที่นโปเลียนสวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือน
ก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากนโปเลียนมีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็น
คนป่วยด้วยโรคมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่มีเหตุผลที่สรุปได้ว่าพระองค์ถูกสังหารโดยคนสนิทหรือป่วยตายตามธรรมชาติกันแน่


ที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Faithbook's profile


โพสท์โดย: Faithbook
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
8 VOTES (4/5 จาก 2 คน)
VOTED: Tabebuia, ginger bread
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หามส่งโรงพยาบาลแล้ว ทริปน้ำไม่อาบตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิเมื่อจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงเสียชีวิตลงในฐานะคนธรรมดา รัฐบาลจีนนำไปฝังไว้ที่สุสานจักรพรรดิ ยังความไม่พอใจบางกลุ่มฮาวทูเสิร์ฟข้าวผัดไก่ให้ถูกใจลูกค้าฝรั่ง พนักงานทำดี ทำถึง เดินเสิร์ฟเฉย ๆ มันธรรมดาไปสินะปลัดสาวเมาขับ ชนเด็กเสียชีวิต"อย่ากินถ้าไม่รู้! 'ผัก 4 ชนิด' คร่าชีวิตชายวัย 41 หมอเผยต้นเหตุอันตราย"นทท.สาวสุดปลื้ม! ตร.ท่องเที่ยวกระบี่ตามคืนไอโฟน12 หลังหายกลางดึกอาจารย์เบียร์ คนตื่นธรรมขออาสาจ่ายค่าทำแผล พระธีระ ถูกถีบช่างภาพชาวไต้หวันใช้เวลา 17 ปีถ่ายทอดการเติบโตของลูกชายผ่านเลนส์ในประวัติศาสตร์จีน ทำไมจึงมีการคัดเลือกพระสนมใหม่เข้ามาในราชสำนักอยู่เรื่อยๆ แม้จะมีอยู่แล้ว?จีวรบิน!! พระปีนเสา ถูกชายปริศนากระโดดถีบล้มหัวขมำ หน้าตึกช่อง 8มหาพีระมิดแห่งกีซ่า ความยิ่งใหญ่ที่สะท้อนผ่านมุมมองจากเบื้องล่าง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
จีวรบิน!! พระปีนเสา ถูกชายปริศนากระโดดถีบล้มหัวขมำ หน้าตึกช่อง 8อาจารย์เบียร์ คนตื่นธรรมขออาสาจ่ายค่าทำแผล พระธีระ ถูกถีบบ้านในฝันก็ต้องปล่อย! 'กวินท์-ปุ้มปุ้ย' เปิดใจขายบ้าน 19.5 ล้าน ทั้งที่รักมากสนุกแน่ ลิซ่า-เจนนี่ บนเวที Coachella 2025เกาหลีใต้ส่ายหน้า การท่องเที่ยวขาดดุลหนัก แม้ K-Culture จะปังไปทั่วโลก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ดูดวง เรื่องลึกลับ
4 ราศีดวงดีช่วงครึ่งเดือนหลังพฤศจิกายน 2567 by Nicha พยากรณ์ดวงรายสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2567 ดูดวงกับดาราคำเตือนประจำสัปดาห์ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 67 by ภูริดา พยากรณ์ดวงรายสัปดาห์ วันที่ 25 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2567 by อ.กิ่ง นาคราช
ตั้งกระทู้ใหม่