สวดมนต์ไม่รู้เรื่องมีโทษสิ้นกาลนาน
สวดมนต์ไม่รู้เรื่องย่อมมีโทษสิ้นกาลนาน
ความหมายของการสวดมนต์
การสวดมนต์ก็เหมือนกับการพูดนี้แหละ คือ พูดภาษาที่ตนเข้าใจ รู้ความหมาย
ที่มาของการสวดมนต์และจุดประสงค์ในการสวด
ในคราวที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่คือ การเรียนธรรมเรียนวินัยในสมัยนั้นไม่มีเครื่องบันทึกช่วยเหมือนในสมัยนี้ ต้องอาศัยสมอง ความจำของผู้เรียนที่มีความสามารถอย่างเช่น พระอานนท์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้บันทึกธรรมแล้วจึงแจกจ่ายสอนต่อไปยังบรรดาลูกศิษย์ของท่านหรือผู้ใดก็ตามที่ต้องการเรียนธรรมก็มาเรียนธรรมต่อไปจากพระอานนท์นั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ความจำของมนุษย์ย่อมมีการเลอะเลือน คลาดเคลื่อนไปบ้าง ผู้เรียนธรรม วินัยในคราวนั้นจึงหาวิธีแก้ไขป้องกันการหลงลืมด้วยการท่องบ่นสาธยายบทธรรม (มนต์) ที่ตนเองเรียนมา และทุกท่านที่ทำการท่องบ่นสาธยายนั้น ก็รู้เรื่องและเข้าใจในคำสอนเป็นอย่างดี เพราะว่า เป็นภาษาที่ท่านเหล่านั้นเข้าใจได้เป็นอย่างดีนั่นเองพร้อมกับปฏิบัติตามได้อย่างดีเยี่ยม มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะพึงได้ พึงถึง จึงบังเกิดให้ท่านเหล่านั้นได้ชื่นชมโดยสมควรแก่ภาวะแห่งตน
นอกจากนี้ยังมีสวดเพื่อปติยานตน เช่น สวดปติยานตนว่าจะถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง สวดสมทานศิล สวดป่าวประกาศต่างฯ และมนต์ที่สวดนั้นต้องเป็นมนต์ที่พระพุทธ-เจ้าสอนเท่านั้น การสวดมนต์นั้นไม่ใช่สวดแบบผิดฯ เข้าใจการสวดไปในทางที่ผิดเช่น สวดให้ขลัง สวดอ้อนวอน สวดให้เป็นสิริมงคล เพราะการสวดแบบนี้เป็นการเห็นผิด งมงาย
จะเห็นว่า ผู้ที่เรียนธรรมวินัยในสมัยนั้น ท่านใช้ภาษาที่ตนเองเข้าใจนะ (มันถึงจะเข้าใจ!) ท่านไม่ได้ใช้ภาษาอื่นที่ตนไม่เข้าใจ (เพราะมันไม่เข้าใจ!) แต่เดี่ยวนี้ ผู้ที่ไม่รู้ภาษาบาลีก็เอาภาษาบาลีมาพูด มาสวด แต่ตนเองไม่รู้เรื่อง มันจะไปดีเองได้ยังไง
การสวดมนต์มีคุณและโทษอย่างไร?
คุณของการสวดมนต์คือ สวดแล้วรู้เรื่อง รู้ความหมาย ถ้าสวดเป็นภาษาบาลีก็ต้องออกเสียงถูก ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ทำให้ความหมายผิดไป แปลได้ และทำตามที่ตนสวด ไม่เข้าใจการสวดไปในทางที่ผิด
โทษของการสวดมนต์คือ สวดไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ความหมาย สวดเป็นภาษาบาลีก็ออกเสียงไม่ถูก ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม แปลไม่ได้ ไม่รู้ว่าตนเองพูดอะไรออกมา แล้วไม่ทำตามที่ตนสวด เช่น สวดปติยานว่าจะเอาพระพุทธ-พระธรมม-พระสงฆ์มาเป็นที่พึ่ง แต่กับไปถือเครื่องรางของขลัง ถือผี ถือเทวดา ถือฤกษ์ ถือลักษณะดีหรือชั่ว ถือมงคล งมงาย ไม่เชื่อกรรม สวดสมาทานว่าจะรักษาศีล แต่ก็พากันละเมิด พากันทำผิดศีลมากมาย หรือเข้าใจการสวดไปในทางที่ผิด เช่น สวดเพื่อให้ขลัง สวดอ้อนวอน ให้เป็นสิริมงคล เหล่านี้ ย่อมมีโทษ
ทำไม่สวดมนต์ไม่รู้เรื่องจึ่งมีโทษ?
เพราะว่า เมื่อสวดแล้วไม่รู้เรื่อง ก็เลยไม่รู้ว่าตนเองสวดอะไร และก็ย่อมทำให้ตนปฏิบัติผิดต่อสิ่งที่ตนสวด เช่น สวดปติยานว่าจะถึงพระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ก็ไม่ทำตาม ไปถึออย่างอื่นแทน สวดสมาทานว่าจะรักษาศีล แต่ก็ทำผิดศีลอย่างมากมาย และก็เข้าใจการสวดมนต์ไปในทางที่ผิด เช่น สวดให้ขลัง สวดอ้อนวอน สวดให้เป็นสิริมงคล เพราะการสวดแบบนี้เป็นการเห็นผิด
สวดมนต์ไม่ถูกหลักภาษาบาลีก็ เป็นการทำลายศาสนา ผู้ที่ไม่รู้ภาษาบาลีไปสวดภาษาบาลี การออกเสียงภาษาบาลีนั้นย่อม มีผิดพลาดอย่างมาก เมื่อการออกเสียงสำเนียงผิดพลาด ความหมายของบทบาลีนั้นๆ ก็ย่อมผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามไปด้วย เช่น ถ้าเทียบกับภาษาไทยอย่างคำว่า "ไปไหนมา" ถ้าออกเสียงผิดเพี้ยนก็จะเป็น "ไปไหนหมา" อย่างคำว่า "ผู้มีความรู้เป็นอย่างยิ่ง" ถ้าออกเสียงผิดเพี้้ยนก็จะเป็น "ผู้มีความรู้เป็นอย่างหญิง" ทำนองนี้เป็นต้น
ดั่งนั้น สวดมนต์ไม่ถูกหลักภาษาบาลีจึ่ง เป็นการทำลายศาสนา ดั่งที่พระสูตรนี้กล่าวไว้
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบทพยัญชนะที่ใช้ผิด
เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย นี้ธรรมประการที่ ๑
เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป..."
(เล่ม 35 หน้า 381)
พุทธเจ้าสอนเอาไว้แล้วว่า ผู้ที่จะเรียนธรรม วินัยของพระองค์ ต้องเรียนด้วยภาษาที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ ถ้าหากเรียนธรรม วินัยด้วยภาษาที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ พุทธเจ้าตำหนิเอาไว้แล้วว่าเป็นการ "ปฏิบัติผิด"
การปฏิบัติผิดนี่ต้องได้บาป ต้องไปรับโทษในนรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน เมื่อได้หมุนวนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็เป็นมนุษย์ที่มีสติ ปัญญาไม่ดี เรียนรู้อะไรก็เข้าใจยากมาก เงอะงะๆ เซ่อๆซึมๆ สาเหตุก็เพราะได้สร้างความงงงวย งมงาย ไม่รู้เรื่อง เหยียบย่ำตัวเองเอาไว้แล้วเรียบร้อยในคราวนี้ด้วยการสวดมนต์คือคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบผิดๆ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าให้เรียนธรรมในภาษาที่ตนเองเข้าใจ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษาชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี
กิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคำพูด สามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์"
(เล่ม 23 หน้า 329)
สวดมนต์ไม่รู้เรื่องย่อมมีโทษเพราะว่า ธรรมเมื่อเรียนไม่ดี ปฏิบัติผิด เช่นสวดมนต์แบบไม่รู้เรื่อง เข้าใจการสวดไปในทางที่ผิด ก็ย่อมมีโทษ เปรียบเหมือนงูพิษที่เขาจับไม่ดีย่อมกัดเขาฉะนั้น
"ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตายซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ
งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะคาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ (ชื่อหมวดธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน) พวกเขาครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา (สวดไม่รู้เรื่อง ไม่พิจารณา ให้เกิดปัญญา) ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา (เมื่อสวดไม่รู้เรื่อง ธรรมเหล่านั้นก็ไม่แจ่มแจ้งต่อผู้ไม่พิจารณาสิ่งที่ตนสวดนั้นด้วยปัญญา) พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้เป็นอานิสงส์ (คือไม่ใช้ปัญญาพิจารณาบทที่ตนสวด แต่บ่นเพ้อว่าสวดแบบไม่รู้เรื่องเฉยฯจะดีเอง) และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ ทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี"
(เล่ม 1 หน้า 51)
เมื่อสวดแบบไม่รู้เรื่อง ก็ไม่เกิดปัญญาเข้าใจการสวดไปในทางที่ผิด ก็ย่อมเป็นผู้งมงาย จะเกิดปัญญาได้มันก็ต้องสวดรู้เรื่องมันถึงจะพิจารณาสิ่งที่ตนสวดได้ด้วยปัญญา ดั่งที่พระสูตรนี้กล่าวไว้
ธรรมที่ควรสั่งสมเพื่อความเจริญแห่งปัญญาอันถูกต้อง
"ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
การคบสัตบุรุษ ๑ (คบคนดีมีศีลธรรมอันงามในพระพุทธศาสนา) การฟังสัทธรรม ๑ (อ่าน - ฟังธรรมอันงามที่นำสัตว์ออกจากทุกข์ คือ ธรรมของพระพุทธเจ้า) การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ (อ่าน - ฟังแล้วทรงจำไว้ได้ - เข้าใจความหมายได้ดีทะลุปรุโปร่ง) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ (จากนั้นก็ปฏิบัติไปตามธรรมที่ตนจำได้และเข้าใจความหมายได้ถูกต้องนั้น)"
(เล่ม 31 หน้า 394-396)
ต้องเข้าใจว่า คำพูดที่ออกมาจากปากเฉยฯนั้น มันไม่ได้ทำให้ใครดีหรอกนะ คำพูดที่พูดออกมาจากปากเฉยฯมันจะไปทำให้ใครดีเองได้ยังไง แถมออกมาจากปากโดยที่ไม่รู้ว่าพูดอะไร พระสูตรด้านล่างนี้กล่าวไว้ชัดเจนว่าถึงแม้จะสวดอ้อนวอน แต่ไม่ทำความดี ก็ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดั่งนั้น สวดไม่รู้เรื่อง ไม่ทำตามที่ตนสวดย่อมมีโทษ ถึงแม่จะรู้แต่ไม่ปฏิบัติก็มีโทษเหมือนกัน
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ มีคณโฑน้ำติดตัว
ประดับพวงมาลัยสาหร่ายอาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่ายังสัตว์ที่ตายทำกาละแล้วให้ฟื้นขึ้นมา ให้รู้สึกตัว จูงให้ขึ้นสวรรค์ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถการทำให้สัตว์โลกทั้งหมด เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ปัญหาควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นด้วยประการนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาทมีความเห็นผิด หมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว พึงสวดวิงวอน สรรเสริญประนมมือเดินเวียนรอบผู้นั้นว่า คือบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะเหตุการสวดวิงวอน เพราะเหตุการสรรเสริญ หรือเพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบดังนี้ หรือ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อนหนาใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน
สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบหินนั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเกิดท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิดท่านก้อนหิน ขอจงขึ้นบกเถิดท่านก้อนหินท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือพึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ ประณมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ
คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษ
นั้นเมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก" (เล่ม 29 หน้า 189 บรรทัด 6)
ขอท่านที่ชอบสวดมนต์จงคิดดูเถิดว่า มันจะมีผลเสียมากน้อยแค่ไหน ต่อธรรมคำสอนนี้ โดยเฉพาะพวกทิพย์ที่ว่าชอบฟังการสวดมนต์และฟังได้รู้เรื่อง เขาจะตำหนิติเตียนคนสวดมนต์ที่สวดให้ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิมมากน้อยอย่างไร และบาปจะมีกับคนที่สวดมนต์โดยไม่พิจารณาให้ดีมากหรือน้อยเพียงไร
คำสอนของพระพุทธเจ้านี้ไม่มีนะ ประเภทเงอะๆงะๆ สวดแบบไม่รู้เรื่องแล้วมันจะดีเอง มันจะไปดีได้ยังไงเพราะมันไม่รู้เรื่อง และถึงรู้เรื่องแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ มันก็ยังดีไม่ได้อีก สวดเฉยๆ แล้วมันจะดี - เจริญเอง คำสอนใครหว่า? พิจารณาซิ พิ - จา - ร - ณา