คุณค่าทางโภชนาการของละมุด Nutritional value of Sapodilla by LASIK Center Laser Vision
คุณค่าทางโภชนาการของละมุด
Nutritional value of Sapodilla.
ละมุด (อังกฤษ: Sapodilla) เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบชนิดหนึ่ง ผลมีรสหวานหอมนิยมรับประทานเป็นอาหารว่างและนิยมรับประทานในประเทศไทย ผลละมุดสุกมีน้ำตาลสูง และประกอบไปด้วย วิตามินเอและซี ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ลักษณะของผลละมุดจะเป็นรูปไข่ หรือมีปลายแหลม ผิวมีสีน้ำตาล ละมุดดิบมียางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสารที่ชื่อว่า “gutto” รสฝาด แข็ง ส่วนผลสุกจะนิ่ม มีรสหวานไม่มียาง ข้างในผลมีเมล็ดรูปยาวรี สีดำฝังอยู่ในเนื้อ ใน 1 ผลจะมีประเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด ละมุดมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ ชวานิลอ (ปัตตานี,มลายู ยะลา)
โดยสายพันธุ์ละมุดที่นิยมปลูกนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด นั้นก็คือ ละมุดไทย (ละมุดสีดา) และ ละมุดฝรั่ง
คุณค่าทางโภชนาการของละมุดไทย ต่อ 100 กรัม เช่น
- พลังงาน 83 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 19.96 กรัม
- เส้นใย 5.3 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม
- โปรตีน 0.44 กรัม วิตามินเอ ( Total VitaminA (RE) ) 4 Ug
- เบต้า เคโรทีน ( Betacarotene ) 22 Ug
- วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี5 0.252 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี6 0.037 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม 4%
- วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม 18%
- ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุโพแทสเซียม 193 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database / Vitamin.co.th
วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีความสำคัญต่อร่างกายในด้านการมองเห็น ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
สารอาหารคาร์โรทีนอยด์ สารจากธรรมชาติ พบมากในผักสีเขียว สีส้ม เช่น แครอท ผักโขม ฟักทอง สาหร่าย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง และสามารถเปลี่ยนเป็น วิตามินเอ (Pro vitamin A )เมื่อร่างกายต้องกาย
คุณค่าของวิตามินเอ ได้จากการรับประทาน อาหารดังต่อไปนี้
อาหารประเภทผลไม้ ที่อุดมไปด้วยแหล่งของวิตามินเอ อาทิเช่น มันเทศ มะละกอสุก กล้วย แตงโม สับปะรด ละมุด มะม่วง (ทั้งมะม่วงดิบและมะม่วงสุก) ลูกท้อ ส้มเขียวหวาน ข้าวโพด มะเขือเทศสีดา มะปราง แอปริคอด เป็นต้น
อาหารประเภทผัก ที่อุดมไปด้วยแหล่งของวิตามินเอ อาทิเช่น ผักบุ้ง ฟักทอง กระถิน ผักคะน้า ขี้เหล็ก กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักโขม แตงกวา ใบโหระพา ใบชะพลู ใบทองหลาง พริกหวาน ใบยอ มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว พริกไทยสด ผักกาดหอม ใบมันสับปะหลัง แครอท ใบขี้เหล็ก บร็อกโคลี เซเลอรี บีทรูท เป็นต้น
Betacarotene เหมาะสำหรับ บำรุงสายตา ชะลอการเสื่อมของดวงตา ช่วยให้มองในที่กลางคืนชัดขึ้น ปกป้องผิวจากแสงแดดที่ทำลายผิวและดวงตา
ธาตุสังกะสี ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่น และสายตา และจะทำงานร่วมกับ วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ได้ดีที่สุด หากคุณเพิ่มธาตุสังกะสีในอาหาร ร่างกายคุณอาจต้องการวิตามินเอเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ธาตุสังกะสี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์สำคัญมากมาย รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระอย่างซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) ประโยชน์ของสังกะสี ช่วยในการทำงานของสมอง ช่วยเพิ่มการตื่นตัวทางจิต
ขอบคุณภาพประกอบจาก 300thai.blogspot.com
ประโยชน์ของละมุด
- ประโยชน์ ละมุดมีวิตามินซีสูงจึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค และช่วยป้องกันหวัดได้
- สรรพคุณละมุด เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
- การรับประทานละมุดจะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
- ประโยชน์ของละมุด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ทำไวน์ หรือนำมาทำน้ำละมุด
- ยางที่มีสีขาวทุกส่วนของลำต้น สามารถนำไปใช้ทำหมากฝรั่ง
- เปลือกของลำต้นละมุด นำมาต้มปรุงเป็นยาแก้บิด (ประเทศฟิลิปปินส์)
- สรรพคุณของละมุด ยางใช้เป็นยาถ่ายพยาธิชนิดรุนแรง
ข้อควรระวัง
ละมุดเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรปริโภคเพียงเล็กน้อยและนานครั้งๆ และไม่ควรให้เด็กเล็กรับประทานละมุดโดยลำพัง หากต้องการให้เด็กรับประทานควรเอาเมล็ดออกก่อนพร้อมหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอคำที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้ เนื่องจากเมล็ดของละมุดมีความลื่นและมีโอกาสจะหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ฟันยังขึ้นไม่ครบ ก็ควรจะบดให้ละเอียด และไม่ควรป้อนอาหารด้วยความรีบร้อน เพราะเด็กอาจจะสำลักติดคอได้
เคล็ดลับการเลือกซื้อละมุด อย่างแรกก็ให้ลองจับที่ผิวเบาๆ ถ้าผิวไม่นุ่มมากก็ใช้ได้ ลักษณะภายนอกของผลผิวดูเกลี้ยงกลม มีสีน้ำตาลเป็นธรรมชาติและขั้วไม่หัก ก็จะได้ละมุดคุณภาพดีๆแล้ว
ที่มา : Greenerald