ดนตรีนั้นได้อยู่สังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ และวิวัฒนาการตามกาลเวลา ทั้งเครื่องดนตรี และ เทคนิกการร้อง
วันนี้ ลองมาทำความรู้จักกันว่า โอเปร่าหรืออุปรากรนั้นมืออะไี
โอเปร่าคือ ศลิปการแสดงแขนงหนึ่งที่ใช้ดนตรีเป้นตัวเดินเรื่องเป็นหลัก มีความคล้ายคลึงกับละครเวทีแต่ที่แตกต่างออกไปนั่นคือการให้ความสำคัญกับ เพลง ดนตรีที่ประกอบนั่นเอง ซึ่งวงดนตรีที่ใช้จะมีตั้งแต่วงขนาดเล็กไปจนถึงวงออเครสตร้าขนาดใหญ่
(ภาพจากการแสดงโอเปร่าเรื่อง Carmen)
สัำหรับต้นกำเนิดของโอเปร่านั้น ขอสรุปคร่าวๆว่าเกินในประเทศอิตาลี่ ราวๆ ช่วงท้ายๆศตวรรษที่ 16 และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนใกล้เคียงกับโฮเปร่าในยุคปัจจุบันราวๆต้นศตวรรษที่ 17 ในยุคบาโร้คนั้น ผู้แสดงจะเป็นหญิงล้วน แต่พอเข้ายุคคลาสสิค เริ่มมีนักแสดงชายหญิง ทั้งนี้โมสาร์ท ก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา โอเปร่าในยุคคลาสสิคให้มีมาตรฐานมากขึ้น
(ภาพการแสดงโอเปร่าเรื่อง Tosca)
องค์ประกอบของการแสดงโอเปร่าสามารถแบ่งได้ดังนี้ค่ะ
1. เนื้อเรื่อง ซึ่งดัดแปลงมาจากนินทาน ตำนาน เทพนิยาย ต่างๆ โดยคีตกวีจะเป็นผู้ประพันธ์บทเพลง หรือบางเรื่องนั้น คีตกวีเป็นผู้ประพันธ์ทั้งเนื้อเรื่องและบทเพลงก็มี
2. ดนตรี การแสดงจะเริ่มขึ้นด้วยเพลงโหมโรง และ ดนตรีประกอบบทพูดบทร้องตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งเป้นองค์ประกกอบสำคัญของการแสดง ซึ่งในบางครั้ง การแสดงโอเปร่าที่มีดนตรีประกอบที่ดีมากๆ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานของคีตกวีไปเลย (ดังกว่าคนแต่งเรื่อง และเขียนบท) เช่น Madame Butterfly ถูกยกย่องให้เป็นผลงานชิ้นเองของ Puccini แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าเนื้อเรื่องเป้นผลงานของ David Belasco (เรื่องนี้คนไทยจะรู้จักในชื่อ โจโจ้ซัง เนื้อเรื่องเดียวกันเลยแหละ... อันความรักมักชวนชักให้ใจลุ่มหลงระเริง เปรียบดั่งเปลวเพลิงที่ได้จุนเจือเชื้อไปไหม้ลาม.........
3. ผู้แสดง อันนี้สำคัญมาก ต่อให้เพลงดี เนื้อเรื่องดี แต่นักแสดงยังไม่เก่งก็ทำให้การแสดงนั้นแย่ได้ ซึ่งโอเปร่านั้นจะใช้นักร้องที่มีเสียงอันทรงพลังที่ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อป็นนักแสดงโอเปร่า ตลอดจนฝีไม้ลายมือการแสดงเข้าขั้น Drama Queen ไปเลย และโอเปร่ามักจะใช้นักแสดงที่มีเสียงสูงรับบทเป้นตัวหลักของเรื่อง โดย เสียงของนักแสดงนั้นสามารถแบ่งได้ 6 ประเภท
1. โซปราโน่ (Soprano) เป็นระดับเสียงสูงสุดของนักร้องหญิง
2. เมซโซ่โซปราโน่(Mezzo - Soprano) เป็นระดับเสียงกลางของนักร้องหญิง
3. คอนทรัลโต หรือ อัลโต้ (Contralto or Alto) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องหญิง
4. เทเนอร์ (Tenor) เป็นเสียงระดับสูงสุดของนักร้องชาย
5. บาริโทน (Baritone) เป็นเสียงระดับกลางของนักร้องชาย
6. เบส (Bass) เป็นเสียงระดับต่ำสุดของนักร้องชาย
เพลง
Un bel di จาก Madame Butterfly ผลงานชิ้นเอกของ Puccini
ลักษณะของอุปรากร
1. ลิเบรตโต้ (Libretto) คือเนื้อเรื่อง หรือบทละครของอุปรากร บางครั้งอาจดัดแปลงมาจากนวนิยายหรือบทละครอื่น ๆ บางครั้งก็เป็นบทที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับคีตกวี
2. เพลงโหมโรง (Overture) คือ บทประพันธ์ที่ใช้บรรเลงนำก่อนการแสดงอุปรากร บางครั้งใช้คำว่า พรีลูด (Prelude) เป็นเพลงที่แสดงถึงอารมณ์โดยรวมของอุปรากรที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าเป็นเรื่องเศร้า เพลงโหมโรงก็จะมีทำนองเศร้าอยู่ในที เป็นต้น บางครั้งเพลงโหมโรงอาจรวมเอาทำนองหลักจากอุปรากรฉากต่าง ๆ ไว้ก็ได้ เพลงโหมโรงนี้มักเป็นเพลงสั้น ๆ ประมาณ 5-10 นาที ปกติจะใช้วงออร์เครสตาร์ทั้งวงบรรเลง ลักษณะของเพลงโหมโรงมักรวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีไว้อย่างครบถ้วน
Gioachino Rossini : The Barber Of Seville
3. เรซิเททีฟ (Recitative) คือบทสนทนาในอุปรากรที่ใช้การร้องแทนการพูด อย่างไรก็ตามมักจะไม่เป็นทำนองที่ไพเราะมากนัก จะเน้นที่คำพูดมากกว่า แต่ก็มีดนตรีและการร้องช่วยทำให้บทสนทนาน่าสนใจ เป็นลักษณะการร้องอีกประเภทหนึ่ง
4. อารีอาห์ (Aria) คือ บทร้องเดี่ยวในอุปรากร มีลักษณะตรงกันข้ามกับเรซิเททีฟ เนื่องจากเน้นการร้องและดนตรีมากกว่าเน้นการสนทนา อาเรียเป็นบทร้องที่ตัวละครเดี่ยวร้อง จัดเป็นบทร้องที่เต็มไปด้วยลีลาของดนตรีที่งดงาม ยากแก่การร้อง กล่าวได้ว่าอาเรียเป็นส่วนที่ทำให้อุปรากรมีความเป็นเอกลักษณ์ได้เลยทีเดียว
Vissi d'arte - Tosca - Puccini
5. บทร้องประเภทสอง สาม สี่ และมากกว่านี้ของตัวละคร (Duo, Trio, and Other Small Ensembles) บทร้องที่มีนักร้องสองคนแทนที่จะเป็นคนเดียวในลักษณะของอาเรีย เรียกว่า ดูโอ (Duo) ถ้าเป็น 3 คนร้องเรียกว่า ทริโอ (Trio) สี่และห้าคนร้องเรียกว่า ควอเต็ท (Quartet) และ ควินเต็ท (Quintet) และอาจมีมากกว่าห้าคนก็ได้ เช่น บทร้อง 6 คน (
Sextet) “Lucia” จากเรื่อง Rigoletto เป็นบทร้องที่มีชื่อเสียงมาก
Rigoletto Quartet
6. บทร้องประสานเสียง (Chorus) ในอุปรากรบางเรื่องที่มีฉากประกอบไปด้วยผู้เล่นจำนวนมากมักจะมีการร้องประสานเสียงเสมอ
Triumphal March - Aida
7. ออร์เครสตร้า (Orchestra) วงออร์เครสตร้านอกจากจะเล่นเพลงโหมโรงแล้ว ยังใช้ประกอบการร้องในลักษณะต่าง ๆ ตลอดเรื่อง ในบางครั้งออร์เครสตร้าจะบรรเลงโดยไม่มีผู้ร้อง เพื่อให้การร้องหรือเรซิเททีฟแต่ละตอนต่อเนื่องหรือสร้างอารมณ์ให้เข้มข้นขึ้น บางครั้งวงออร์เครสตร้าจะมีบทบาทมาก
8. ระบำ (Dance) ในอุปรากรบางเรื่องอาจมีบางฉากที่มีการเต้นรำประกอบ โดยทั่วไปมักเป็นการแสดงบัลเลต์ที่สวยงาม ซึ่งเป็นของคู่กันกับอุปรากรแบบฝรั่งเศส (French Opera) บางครั้งอาจจะเป็นระบำในลักษณะอื่น ๆ เช่น ระบำพื้นเมือง การเต้นรำแบบต่าง ๆ เช่น วอล์ทซ (Waltz) เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
9. องก์ และฉาก (Acts and Scenes) อุปรากรก็เช่นเดียวกับละครทั่ว ๆ ไป มีการแบ่งเป็นองก์ และแบ่งย่อยลงไปเป็นฉาก
10. ไลท์โมตีฟ (Leitmotif) ในอุปรากรบางเรื่อง ผู้ประพันธ์จะมีแนวทำนองต่าง ๆ แทนตัวละครแต่ละตัว หรือแทนเหตุการณ์ สภาพการณ์ แนวทำนองเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดเวลาเพื่อแทนตัวละครหรือเหตุการณ์นั้น ๆ
หวังว่าคงได้ความรู้เพิ่มเติมนะคะ ต่อจากนี้ก็ขอหยิบยกเอา โอเปร่าเด่นๆมาให้ลองฟังดูคะ
Carmen - Habanera (Anna Caterina Antonacci, The Royal Opera)
Turandot (Nessun Dorma & Finale)
Don Giovanni's Champagne Aria
Queen of the Night - The Magic Flute
Largo al factotum - The Barber of Seville
แล้วพบกันใหม่ในกระทู้ถัดไปค่ะ