เป็นคนจนมันแพง
เป็นคนจนมันแพง
บทความนี้พูดเรื่องที่เรารู้กันอยู่ "คนมีตังค์" กับ "คนจน" ต้องใช้ความพยายามในการประหยัดต่างกัน เล่าให้ชัดผ่านพฤติกรรมการซื้อทิชชู่
ทีมวิจัยเลือกศึกษากับทิชชู่ เพราะมันเป็นของใช้ที่ไม่เน่า และไม่ใช่ของประเภทมีเยอะแล้วจะทำให้ใช้เยอะ มันก็ใช้เช็ดตูดเท่าที่จะขี้ไหว
เขาบอก คนที่จะประหยัดเงินซื้อทิชชู่อาจทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ เลือกยี่ห้อถูกๆ ที่คุณภาพกระดาษทราย หรือซื้อทีละเยอะๆ เพื่อให้ราคาต่อหน่วยต่ำ ไม่งั้นก็รอมันลดราคาค่อยซื้อ
วิจัยบอก คนจน ทำสองวิธีหลังไม่ไหว เพราะไม่มีเงินมาทุ่มซื้อทิชชู่ทีละมากๆ หรือจะให้รอดีลลดราคา ก็รอไม่ไหว คนจนจะไม่สามารถเก็บสต็อคทิชชู่ ต้องรอใช้ใกล้หมดค่อยกำเงินมาซื้อ เช่น คนรวยจ่ายเงิน $24 ได้ทิชชู่ 30 ม้วน แต่คนจนจ่าย $5 ได้ทิชชู่ 4 ม้วน พอมันใกล้หมดค่อยไปซื้อซึ่งแม้มันไม่ลดราคา ก็ต้องจำใจซื้ออยู่ดี
เขาบอก คนจนจ่ายค่าทิชชู่แผ่นหนึ่งแพงกว่าคนรวย 5.9% เพิ่มอีกนิดก็ไปใช้ทิชชู่แพง (แบบลดราคา) ได้เลย
งานนี้ย้ำปัญหาความยากจนที่ว่า ทำยังไง๊เป็นคนจนมันก็แพงกว่า ซึ่งไม่ใช่ว่าคนจนคิดไม่เป็นเรื่องการใช้เงิน แต่เพราะระบบมันออกแบบมาว่า ต้องมีเงินมากๆ ถึงจะเข้าถึงโอกาสให้จ่ายประหยัดได้
......................................................................
อ่านหลายๆความเห็นแล้วก็พอจะสรุปได้ว่า
คนที่มีเงินน้อย เข้าถึงความประหยัดได้ยากกว่าคนที่มีเงินเยอะจริง ทั้งในเรื่องสินค้า เรื่องดอกเบี้ย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เข้าถึงการลงทุน
แต่ก็มีอีกหลายอย่าง ที่คนมีเงินน้อยประหยัดได้มากกว่า ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ เงินภาษี หรืออะไรๆที่สนับสนุนโดยรัฐบาล และแชมพูด้วย
ส่วนสินค้าที่ขายปลีกนั้น ก็ทำมาเพื่อตอบสนองคนที่มีเงินน้อย ได้ซื้อในจำนวนเงินที่ซื้อได้ อาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขายปลีก
ทิชชู่ อาจไม่สามารถยกมาเปรียบเทียบกับการเข้าถึงการประหยัดได้ครอบคลุมถูกต้อง
ส่วนตัวแล้วมองอีกมุม
ว่าการซื้อของเป็นแพ็คทีละมากๆเพื่อลดราคาต่อหน่วย
มันน่าจะมีค่าใช้จ่ายแฝงในด้านโลจิสติกอยู่เหมือนกัน
ไหนจะพื้นที่จัดเก็บ การดูแลรักษา รักษาไม่ดีใช้ได้ครึ่งเดียว ต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าทีเดียว
ต้นทุนรวมอาจจะแพงกว่าซื้อทีละชิ้นด้วยซ้ำ
สุดท้ายแล้ว
ทุกคนสามารถเข้าถึงการประหยัดได้ตามวิถีชีวิตของตัวเอง
คนรวยประหยัดดอกเบี้ย ประหยัดราคาต่อหน่วยในสินค้าบางอย่าง
คนจนประหยัด ค่าใช้จ่ายพื้นฐาน โอกาศได้รับการช่วยเหลือมากกว่า
ซึ่งการประหยัดอันที่จริงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเงิน ที่เราต้องการลดค่าใช้จ่าย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผนการเงินที่ดี รู้ตัวเอง รู้รายรับ รู้รายจ่าย
มีการวิเคราะห์แก้ไขหากมีปัญหา ส่วนต่างที่เหลือนำไปลงทุนที่คุ้มค่า พัฒนาตัวเองให้พ้นจากคำว่า "จน"