เข้าใจเลยว่าทำไมทำฟันปลอมถึงเเพงมาก
ฟันปลอมทั้งปาก – complete denture
ที่ทำเกี่ยวกับฟันปลอมแบนี้เพราะ...พึ่งเสร็จขึ้นตอนสุดท้ายไม่นานมานี้เอง...ทำมาทั้งปปี ในที่สุดก็ผ่านแลปนี้ไปได้ด้วยดี แต่เกรดค่อยว่ากันอีกทีละกัน
หวังว่ากระทู้นี้จะพอมีประโยชน์แก่ผู้อ่านนะครับ ผมเขียนแค่บางขั้นตอนนะ ไม่งั้นมันจะละเอียดเกิน
ผมจะใช้ภาษาในแบบที่เข้าใจง่ายที่สุดนะครับ ศัพท์เฉพาะนี่ถ้าไม่จำเป็นผมจะไม่พูด
เริ่มกันเลย
ฟันปลอมเนี่ย ถ้าจะพูดให้หมดมันมีเป็นสิบชนิดเลย ผมขอไม่กล่าวถึงละกันว่ามันมีอะไรบ้าง
ชนิดที่ผมมานำเสนอจะทำในผู้ที่ไม่มีฟันเหลือในปากเลย
แต่ไม่ว่าจะทำฟันปลอมแบบไหน จะต้องทำขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญสุดๆ คือการ
พิมม์ปาก เอาให้ง่ายๆคือเราไม่สามารถรักษาคนไข้อย่างสมบูรณ์แบบโดยการมองจากปากที่ทั้งมืดและแคบได้
เราต้องจำลองปากนั้นออกมา แล้วสร้างเป็นโมเดลที่ทำจากวัสดุจำพวกปูนปลาสเตอร์
เพื่อที่มองเห็นข้างในปากนั้นได้ในทุกมิติและชัดเจน เพื่อจะได้วิเคราะห์และว่างแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
เราจะมีถาดพิเศษที่ลักษณะโค้งไปตามสันเหงือกแล้วใส่วัสดุพิมพ์ปากเข้าไป จากนั้นก็กดลงสันเหงือก
รอให้มันเซ็ตตัว ดึงออก แล้วก็เอาไปเทปูน ก็จะได้โมเดลที่หน้าตาเหมือนในช่องปากของผู้ป่วย
แต่สำหรับฟันปลอมชนิดนี้ จะต้องมีการพิมพ์ปากกันสองรอบ
รอบแรกก็พิมพ์ด้วยถาดพิมพ์ปากทั่วไป (stock tray) ในรอบที่สอง
เราจะสร้างถาดพิมพ์ปากขึ้นมาให้เหมาะกับช่องปากแต่ละบุคคล โดยทำจากacrylicให้มีรูปร่างคล้อยไปกับโมเดลที่ได้จากการพิมพ์ปากในครั้งแรก เพื่อที่จะลอกเลียนลายละเอียดได้ครบถ้วนตามสภาพที่เป็นอยู่
รูปพวกนี้เป็นของวิชาlabนะครับ ผมยังไม่ได้ทำในคนไข้จริง
ขากรรไกรบน
ที่ด่านท้ายของขากรรไกรบน เราจะเห็นว่ามันมีรอยแปลกๆเป็นรูปคลื่นใช่ไหมครับ
ส่วนเว้าเหล่านี้เราจะหาจากการพิมพ์ปากครั้งสุดท้าย เป็นจุดที่อยู่บนเพดานอ่อนหลังต่อเพดานแข็ง
จุดนี้มันจะกดแล้วยุบตัว เราต้องหามันไว้เพื่อให้เกิดการยึดเกาะของตัวฟันปลอมกับปากคนไข้แบบสุญญากาศ
การจะทำอะไรมันต้องมีฐาน เราจึงต้องทำแผ่นฐานชั่วคราว (baseplate)
ก็เพื่อเป็นฐานของฟันปลอมนั่นแหละครับ ทำจากacrylicชนิดบ่มเอง (self cured)
วิธีการคือเอาผงอะคริลิกผสมกับโมโนเมอร์อัตราส่วน 3 : 1
มันก็จะค่อยๆแข็งตัวขึ้น ให้เราจนจังหวะที่มันปั้นได้ ให้เอาออกจากถ้วยผสมมาบีบๆเพื่อไล่ฟองอากาศ
จากนั้นปั้นเป็นแผ่นแล้วกดลงบนตัวโมเดลที่ได้จากการพิมพ์ปาก
หลักการมีว่าขอบเขตต้องเหมือนกับฟันปลอมขอบจริง ความหนาโดยทั่วประมาณ 2 – 2.5 มม.
ต้องแนบสนิทกับเนื้อเยื่อและไม่มีรูพรุน
ผมบอกว่ามันจะค่อยๆแข็งใช่ไหมครับ หลังผสมเสร็จไม่กี่นาทีมันก็จะแข็งตัวจนปั้นต่อไม่ได้
ซึ่งถ้าหากเราทำได้ตามเกณท์ ก็ต้อง....ทำใหม่ครับ (ยกเว้นถ้ามันหนาไปก็กรอออกให้บางลงได้)
แน่นอนว่าผมทำไปเป็น20รอบ หมดเงินกับอะคริลิกพันกว่าบาท
พอมันเซ็ตตัวแล้วก็เอากระดาษทรายมาขัดให้เรียบ
พอได้ฐาน..ต่อไปต้องเป็นฟัน
แต่...เนื่องจากคนไข้ไม่มีฟันซักซี่ เราเลยต้องสร้างอะไรซักอย่างมาเป็นแลนด์มาร์กที่คอยกำหนดว่าเวลาเอาฟันใส่
มันต้องอยู่ประมาณนี้นะ เดี๋ยวจะสูงไป หรือเบี้ยวไป
เราเลยต้องทำ...แท่นกัด (occlusal rim)
วิธีทำคือ เอาขี้แผ่น...ไม่ได้ใช้ขี้ผึ้งที่หล่อเทียนพรรษานะครับ เอามาลนไฟแล้วพับทบให้มันได้เป็นแท่งสี่เหลี่ยมแล้วงอให้โค้งไปตามสันเหงือก
ขนาดนี่ไม่ได้ทำกันตามใจนะครับ มันจะมีหลักอยู่แล้วต้องมีการปรับแต่งตอนให้คนไข้ลองใส่ด้วย
แต่นี่เป็นงานวิชาแลปเค้าเลยกำหนดขนาดมาให้แล้ว
ปกติแล้วฟันบนมันจะยื่นคร่อมฟันหน้าใช่ไหมครับ
ตัวขี้ผึ้งของฟันบนก็เลยต้องมีส่วนที่มันยื่นให้เหมือนกับตอนมีฟันด้วย
พอได้แท่นกัดที่มีขนาดเหมาะสมกับปากคนไข้แล้วก็ถึงช่วง climax
นั่นคือการเรียงฟันนั่นเองครับ
การเรียงฟันนี่สำหรับผมบอกได้เลยว่าเป็นอะไรเลวร้ายสุดในบรรดาแลปทั้งปวงแล้ว
เรามีแท่นกัดที่มันจำลองเสมือนว่ามีฟันแล้วใช่ไหมครับ ต่อไปเราก็จะเอาอุปกรณ์พวกช้าตักขี้ผึ้ง ไปลนไฟให้ร้อนแล้วเอาไปจี้จุดที่จะเรียงฟันให้ขี้ผึ้งมันหลอมเพื่อจะได้เอาฟันไปใส่แทนทีละซี่ๆ
ที่มันยากเพราะ ฟันมันไม่ได้แค่เรียงชิดๆกันให้ขอบมันตรงกันอย่างเวลาเราวาดการ์ตูน
ในแต่ละมิติ ไม่ว่าจะซ้ายขวาหน้าหลังบนล่างมันมีหลักกการของมันอยู่ ซึ่งถ้าเราทำผิดตัวนึงเนี่ย ซี่ตัวข้างเคียงมันก็จะผิด...
แล้วเราก็ต้องแก้มันไปเรื่อยๆ วนไปวนมา
ผมลืมบอกขั้นตอนนึง
คือการ mouting หรือนำโมเดลที่ได้จากการพิมพ์ปากไปติดกับเครื่องจำลองขากรรไกร
เจ้าเครื่องนี้มันทำหน้าที่เหมือนขากรรไกรคนไข้ที่สามารถอ้าหุบ เยื้องซ้ายขวาหน้าหลังได้
เวลาเราทำงานพวกนี้เนี่ยเราต้องไม่ไปทำให้การกัดฟันของคนไข้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่คนไข้จะรู้สึกแปลกๆ แต่ผลเสียมันตามมาแน่ๆ ขอไม่พูดถึงละกัน
ไอเครื่องนี้ ราคา 45000 บาทนะครับ (ราคาตามที่แลปบอกจะปรับผมถ้าผมทำหาย) ฟีโน่คันนึงเลยทีเดียว...
เจ้า articulatorนี่มีอยู่4ระดับตามความสามารถในการเลียนแบบขากรรไกร
รุ่นในรูปนี่อยู่ที่ ระดับ 3 ถ้าระดับสี่คือปรับได้ทุกอย่างเหมือนขากกรไกรคนเป๊ะ ตัวนึงนี่ราคาเป็นล้านเลยครับ
อย่างฟันตัดซี่กลางบนเนี่ย ด้านสันตัดจะอยู่พอดีกับขอบของแท่นกัดบน ตรงคอฟันจะเอียงออกไปทางด้านไกลกลางเล็กน้อย คอฟันจะต้องกดเข้าไปหน่อยนึงให้ผิวฟันขด้านริมฝีปากขนาดกับขอบแท่นกัด
ส่วนซี่ถัดมา ฟันตัดซี่ข้าง คอฟันมันจะเอียงไปทางด้านไกลกลางมากกว่าซี่กลางแล้วก็ยุบเค้าไปด้านในมากกว่า ด้านสันตัดจะอยู่สูงกว่าซี่กลางประมาณ 0.5 มม.
ขอยกตัวอย่างประมาณนี้พอนะครับ ไม่งั้นอ่านกันจนมึนแน่
พอฟันเรียงฟันเสร็จเรียบร้อยขั้นต่อไปคือแต่งเหงือก
ก็ใช้ขี้ผึ้งตัวเดียวกันกับที่ทำแท่นกัดนี่แหละครับ แต่งให้ได้รูปร่างของสันเหงือกที่ถูกต้อง
กว่าจะเสร็จขั้นตอนนี้นะครับ..ผมลองคำนวณเวลาดูแล้ว...คิดว่าใช้ไปซัก 40 ชม.ได้ (ฝีมือแลปผมไม่ค่อยดีเท่ไหร่เลยทำนานหน่อย)
บ่องตงว่าเป็นอะไรที่เหนื่อยสุดๆ
จากรูปก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเท่าไหร่นะครับ
ขั้นต่อไปก็สำคัญอีกเช่นกัน
คือการแกะโมเดลออกจากarticulatorไปใส่ในเบ้าหล่อ เพื่อที่จะอัดอะคริลิก
โดยอะคริลิกเหล่านี้จะมาแทนที่ขี้ผึ้งและแผ่นฐานชั่วคราว
ใช้อะคริลิกคนละตัวกับที่ใช้มาก่อนหน้านี้นะครับ ขั้นตอนนี้จะใช้แบบ บ่มตัวด้วยความร้อน (heat cure)
วิธีทำผมขอไม่เน้นนะครับ มันอธิบายยากหน่อย (ขี้เกียจก็บอกมาเถอะ...)
แบบว่าให้ปลาสเตอร์มันมาคลุมเจ้าฟันปลอมที่เราทำโดยแล้วต้มไล่ขี้ผึ้งออก กูจะได้เบ้ากลวงๆที่มีโค้งเว้าตามฟันปลอมของเรา
จากนั้นให้เราเอาอะคลีริกใส่เข้าไปแล้วก็อัดให้แน่น
สุดท้ายก็ส่งให้เจ้าหน้าที่แลปเค้าให้ไปบ่มในน้ำร้อนประมาณคืนนึง
แฮ่
หน้าตาของภาชนะที่ใช้หล่อ
และเครื่องอัดไฮดรอริกที่ใช้กดฝาภาชนะหล่อให้แน่นตอนมีอะคริลิกอยู่ด้านในให้มันแน่นฟิตเต็มที่
ผ่านไปคืนนึง
เราก็จะมาดูเจ้าหม้อทองเหลืองที่มีฟันปลอมของเรากัน จัดการแงะเอาฟันปลอมออกมา ตัดแต่งขอบอะคริลิกส่วนเกินซักหน่อย
วัสดุพวกอะคริลิกมันตะมีการขยายตัวเวลาที่มันทำปฏิกิริยา เพราะฉะนั้นมันก็จะทำให้มิติของฟันที่เราเรียงแปลี่ยนไปด้วยตอนใส่กลับarticulator (อ่าวเวร...ตรูเรียงมาตั้งนาน)
มันเลยมีขั้นตอนที่เรียกว่า selective grinding คือการกรอแต่งฟันในบางจุดให้ฟันปลอมของเราสบกันได้สนิทแล้วใช้งานได้
การกรอก็ไม่ใช่กรอกันมั่วๆ มีหลังการที่ชวนงงโผล่มาให้เราทำตามเสมอแหละ
เมื่อกรอจนฟันมันสบสนิทแล้ว ขั้นสุดท้ายก็คือขัดแต่งให้เรียบและมันวาว
การขัดก็จะมีหัวกรอที่ใช้สำหรับขัดอะครีริกนี่แหละครับ แล้วใช้กระดาษทราย ผงpumice(หินภูเขาไฟ) แล้วก็ไขวัวในการช่วยขัด
ขั้นตอนของงานแลปคร่าวๆก็ประมานนี้แหละครับ
แต่กับคนไข้จริงเราต้องลองไปใส่ดูแล้วก็คอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาอีก
สุดท้ายผมก็ขอจบกระทู้เพียงเท่านี้นะครับ (ไปทำแลปอื่นต่อละ)
ข้อมูลอาจไม่ละเอียดเท่าไหร่
หวังว่าจะพอมีเป็นประโยชน์แก่คนที่สนใจมาเรียนคณะนี้และผู้สนใจบ้างนะครับ
สวัสดีครับ
เครดิตจากสมาชิกพันทิพ
Kor Korkusung