ถ้าออกข้อสอบให้ดีไม่ได้ ก็อย่ามาออกเลยจะดีซะว่า
"อยากเห็นสังคม
ให้ความเป็นธรรมกับเสียงของเด็ก
ซึ่งเขาเหล่านั้นคือเยาวชนของชาติ
.
เรื่องมีอยู่ว่า เด็กที่สอบ 9 วิชาสามัญ ได้มาปรึกษาว่า ข้อสอบเคมีบางข้อไม่มีคำตอบ จะทำอย่างไรดี
.
ครูจึงแนะนำเด็กไปว่า การเฉลยข้อสอบ จะมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนเฉลยอยู่แล้ว คงไม่มีปัญหาอะไร
ให้รอดูตอนไปตรวจกระดาษ
.
แต่พอเด็กไปตรวจกระดาษคำตอบ ไม่มีข้อใดเลยที่เฉลยว่า ไม่มีคำตอบ
เด็กจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 60-70 คน) ได้ทำเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แต่กลับได้รับคำตอบว่า
.
ทุกข้อได้ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า ไม่มีการเฉลยที่ผิดพลาด
.
การตอบเช่นนี้ทำให้เด็กรู้สึกผิดหวังมาก เพราะทุกคะแนนมีผลต่อการสอบได้ หรือไม่ได้คณะที่ของนักเรียนต้องการเรียน
.
ครูจึงขอเป็นคนกลาง เรียกร้องความยุติธรรมให้เด็กทุกคน แม้นพวกเขาเป็นเด็กพวกเขา ก็ต้องอยู่ในสังคมที่ผู้ใหญ่ ต้องให้ความเป็นธรรมต่อพวกเขา
.
นี่คือตัวอย่าง 1 ใน 3 ข้อ ที่เด็กทำเรื่องไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.
โจทย์. ถ้านำครึ่งเซลล์ของสังกะสี
ต่อกับครึ่งเซลล์ของไฮโดรเจน
ปรากฎว่ามีแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้น
และครึ่งเซลล์สังกะสีจะจ่ายอิเล็กตรอน
ดังนี้ Zn ---- Zn2+ + 2e. ข้อใดถูกต้อง
.
เฉลย. ตัวเลขที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์
เท่ากับศักย์ไฟฟ้าของสังกะสี
.
เด็กๆ ข้องใจว่าทำไมจึงเฉลยเช่นนั้น
ในเมื่อเซลล์ที่กำหนดให้มา
เป็นเซลล์กัลวานิกซึ่งเป็นเซลล์ที่เกิดขึ้นได้เอง
ค่าE0 ของเซลล์ต้องมีค่าเป็นบวกเสมอ
.
แต่โจทย์กำหนดให้สังกะสีจ่ายอิเล็กตรอน
ให้ครึ่งเซลล์ไฮโดรเจน (E0=0.00V)
ได้แสดงว่า ครึ่งเซลล์ของสังกะสี
ต้องมีค่าตำ่กว่า 0.00 V
หรือต้องมีค่าติดลบนั่นเอง
.
ถ้าครึ่งเซลล์ ของสังกะสี
มีค่าเท่ากับตัวเลขที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์
ดังที่เฉลยจริง ( 0.76V) สังกะสีต้อง
เกิดปฎิกิริยารีดักชันคือรับอิเล็กตรอน
จากครึ่งเซลล์ไฮโดรเจนได้ซึ่งขัดแย้งจากที่โจทย์กำหนดให้
.
ข้อมูลเหล่านี้เด็กได้พยายามทำจดหมายชี้แจงไปและไปพบด้วยตัวเองมาแล้ว โดยเอาหนังสือแบบเรียนสสวท. ที่ใช้ประกอบการเรียนที่โรงเรียนไปแสดงยืนยัน แต่ไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น ต่อตัวอย่างที่เด็กนำไปชี้แจง"
อ.อุ๊ อุไรวรรณ ศิวะกุล
.. "ถ้าออกข้อสอบให้ดีไม่ได้ ก็อย่ามาออกเลยจะดีซะว่า"
อ.อรรณพ กล่าวในคอร์ส Entrance
>> แชร์ << ไปบอกคนออกข้อสอบรู้ด้วยนะหนู
ว่าอย่าทำแบบนี้กับหนูๆทุกคน
ออกข้อสอบให้มีมาตราฐานหน่อย
Credit : Uraiwan Sivakul