Queen Victoria พระราชินีผู้ยิ่งใหญ่
สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ถือเป็นราชินีที่ครองราชย์ยาวนานถึง63พรรษา ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ก่อนจะที่สถิตินี้จะถูกทำลายลงโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่2 เมื่อปีที่แล้ว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1819 ณ พระราชวังเคนซิงตัน พระนางเป็นบุตรของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุคแห่งเคนท์ ซึ่งเสียชีวิตจากโรคนิวมอเนีย ในขณะที่เจ้าหญิงวิคตอเรียมีอายุได้เพียงแปดเดือน หลังจากที่บิดาเสียชีวิต เจ้าหญิงวิคตอเรียได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจากมารดา(วิกตอเรียแห่งแซ็ค-โคบูร์ก-ซาอัลเฟลด์)
ชื่อเจ้าหญิงวิคตอเรียนั้นมีที่มาเนื่องจาก พระเจ้าวิลเลียม ที่4 นั้นไม่ใคร่จะถูกชะตากับน้องชายแท้ๆ ของตนเองเท่าใดนัก ซึ่งน้องชายคนนี้คือพ่อของเจ้าหญิงวิคตอเรีย แต่เนื่องด้วยธรรมเนียมของราชวงศ์ พระองค์ยอมตกลงเป็นพ่ออุปถัมภ์ให้กับเจ้าหญิงวิคตอเรีย แต่ตอนที่ตังชื่อนั้นแทนที่จะตั้งชื่อให้ตามแบบราชวงศ์อังกฤษ กลับเอาชื่อจากจักรพรรดิรัสเซียมาตั้งเป็นชื่อของพระนาง อเล็กซานดรินา วิคตอเรีย ในสมัยที่เจ้าหญิงยังเป็นเด็กอยู่นั้นคนทั่วไปมักเรียกชื่อพระนางว่า ดรินา ซึ่งคงจะกระเดียดออกไปทางรัสเซียชอบกล เจ้าหญิงวิคตอเรียจึงชอบให้ทุกคนเรียกพระนางว่า วิคตอเรีย มากกว่า และกลายเป็นชื่อในวงการที่เราเรียกพระนางมาจนถึงทุกวันนี้
การใช้ชีวิตภายในพระราชวังของพระนาง ถูกจำกัดจำเขี่ยอิสรภาพอยู่มาก กล่าวกันว่าในทุกครั้งที่ต้องเดินออกมาจากห้องนอน จะต้องมีคนจับมือไปจนถึงที่หมาย ห้องนอนจะต้องมีคนคอยเฝ้าอยู่ตลอดเวลา กฎระเบียบที่ว่านี้ จัดตั้งขึ้นโดย เซอร์ จอห์น คอนรอย เรียกว่า ระบบเคนซิงตัน โดยมีแม่ของพระนางให้การสนับสนุน โดย คอนรอยเชื่อว่าเจ้าหญิงวิคตอเรียยังไม่มีความพร้อมในการครองราชสมบัติ จึงอยากให้พระนางมอบภาระหน้าที่ในการดูแลบ้านเมืองให้แก่คอนรอย
เมื่อพระเจ้าวิลเลียม ที่4 สวรรคต เจ้าหญิงวิคตอเรียจึงได้ขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย โดยที่มีอายุเพียงสิบแปดปีเท่านั้นเอง พระนางก็ได้สานต่อในการครองบรรลังก์ในนามราชวงศ์ฮาโนเวอร์ ซึ่งถ้าเราจะบรรยายลักษณะของ พระราชินีพระองค์นี้ จะพบว่าพระนางมีรูปร่างไม่สูงโปร่งเหมือนชาวตะวันตก และรูปร่างโดยรวมของพระนางถือได้ว่าค่อนข้างเป็นคนเจ้าเนื้อ
ในสมัยของพระนางนั้น ถือว่าการเริ่มต้นทางกิจการบ้านเมืองค่อนข้างเป็นไปด้วยดี เนื่องจากพระนางมีคนใกล้ชิดเป็นที่ปรึกษาหลักคือนายกรัฐมนตรี ลอร์ด เมลเบิร์น แต่ต่อมาในสมัยของพระนาง เมื่อมีคนรักก็มักจะมีคนชัง พระนางอยู่ท่ามกลางคนรอบข้างที่มีข่าวไม่ใคร่จะดีนัก
พระนางแต่งงานกับเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็ค-โคบูร์กและโกธา ซึ่งไม่ใคร่จะเป็นที่นิยมท่ามกลางชาวอังกฤษนัก เนื่องมาจากเป็นเจ้าชายจากต่างแดน คนส่วนใหญ่ถือว่าเจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นเพียงคู่ครองของพระราชินีหาใช่บุคคลสำคัญทางการเมืองไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพระราชินีกลับเริ่มเห็นชอบเจ้าชายอัลเบิร์ตมากกว่าที่จะฟังความเห็นจากคนรอบข้างเช่นนายกรัฐมนตรี ทั้งเจ้าชายและพระราชินีมีบุตรและธิดาร่วมกันเก้าพระองค์ โดยบุตรธิดาต่างได้ไปอภิเษกสมรสกับราชวงศ์ต่างๆ ทั่วยุโรป จนพระนางได้รับสมญานามว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" หรือ (Grandmother of Europe)
ถึงแม้ว่าเจ้าชายอัลเบิร์ตจะไม่ได้รับความนิยมจากชาวอังกฤษนัก สิ่งที่เจ้าชายสนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และศิลปะ กลับส่งผลให้ประเทศอังกฤษมีความเจริญมาจนถึงปัจจุบันและไมว่าชื่อเสียงของเจ้าชายจะเป็นอย่างไร พระองค์ถือเป็นม่านหลังฉากอย่างแท้จริงในเรื่องของการบริหารบ้านเมือง
ในยุคของพระนางนั้นถือว่าเป็นช่วงของการปฎิรูปการปกครองบ้านเมืองให้เป็นประชาธิปไตย มีการตั้ง The Reform Act of 1832 ซึ่งถือเป็นการสร้างมาตรฐานในการออกกฎหมายของอังกฤษผ่านสภาสามัญชน และสภาขุนนาง ในยุคนี้ถือเป็นการเปิดฉากระบอบสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
หลังจากการแต่งงานมานานยี่สิบปี เจ้าชายอัลเบิร์ตเสียชีวิตด้วยวัยเพียงสี่สิบสองปีด้วยโรคไทฟอยด์ ทิ้งให้กษัตรีกลายเป็นม่ายจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตพระนางที่มีอายุยืนยาวถึงแปดสิบเอ็ดปี กล่าวกันว่าในทุกๆวันพระนางมักนำเอาเสื้อผ้าของสามีมาดูต่างหน้าเสมอ การจากไปของเจ้าชายทำให้พระนางหัวใจสลายและความนิยมในหมู่ชาวอังกฤษที่มีต่อตัวพระนางก็กลับลดลงไปอีกครั้ง แต่ในบั้นปลายของรัชสมัยของพระนาง พระนางได้ขึ้นเป็นจักรพรรดินีแห่งอินเดียและถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งมีดินแดนภายใต้การปกครองทั่วโลก พระนางกลับมาเป็นที่นิยมของประชาชนอีกครั้งและครั้งนี้ยาวนานตราบจนวาระสุดท้ายของพระนาง Queen Victoria พระราชินีผู้ยิ่งใหญ่
ในยุคของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ถือเป็นยุคที่รุ่งโรจน์ที่สุดของจักรวรรดิอังกฤษ ต่อมากันเรียกว่า "ยุควิคตอเรีย"