ความผิดหวังของ ‘ไอน์สไตน์’ ทั้งที่คิดว่าตัวเอง ‘เฉลียวฉลาด-เรียนดี’
ความผิดหวังของ ‘ไอน์สไตน์’ ทั้งที่คิดว่าตัวเอง ‘เฉลียวฉลาด-เรียนดี’
ขณะที่ใกล้สำเร็จการศึกษาที่ Eidgenössische Technische Hochschule หรือ ETH ไอน์สไตล์ คิดว่า เขาเป็นคนที่ฉลาดและเรียนดี เนื่องจากเขามีคะแนนถึง 4.91 จากคะแนนเต็ม 6.00 คะแนน ซึ่งเขาคิดว่าเขาควรที่จะได้งานเป็น ‘อาจารย์ช่วยสอน’ วิชาฟิสิกส์ที่ ETH ภายใต้การดูแลของเวเบอร์ และเขาก็คิดอีกว่า เขาน่าจะได้ใช้ตำแหน่งนี้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเพื่อก้าวกระโดดสู่โลก วิชาการได้ เนื่องจากการเป็นอาจารย์จะสามารถช่วยให้เขาทำวิจัยเองได้ และภายใน 2-3 ปี เขาก็ควรจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
แต่ความฝันของเขาก็สลาย เนื่องจากบัณฑิต 3 ใน 4 คนที่จบการศึกษาในสาขาฟิสิกส์-คณิตศาสตร์ เดือนสิงหาคม ปี 1900 ได้เข้าเป็นอาจารย์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ ETH แต่คนที่ 4 กลับไม่ใช่ไอน์สไตน์ แต่กลายเป็นนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ 2 คนเป็นผู้ช่วยแทน
ไอน์สไตน์ก็ยังคงพยายามต่อไป ซึ่งหนึ่งเดือนหลังจบการศึกษา เขาได้ยื่นใบสมัครตำแหน่งอาจารย์ช่วยสวนที่ ETH ซึ่งยังว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง แต่กลับถูกปฏิเสธ หลังจากนั้นเขาจึงไปยื่นใบสมัครที่วิลเฮล์ม ออสท์วาลด์ เยอรมนี และไฮเก คาเมอร์ลิง ออนเนส ในเนเธอร์แลนด์ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับมาแต่อย่างใด ซึ่งปัจจุบันจดหมายที่เขาเขียนถึงออนเนสถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เมืองไล เดน
เนื่องจากไอน์สไตน์ต้องการจะ หลุดพ้นจากการพึ่งพาพ่อแม่ทางด้านการเงิน และอยากจะทำให้จิตใจของตัวเองสงบ เพื่อที่จะทุ่มเทให้กับฟิสิกส์อย่างเต็มที่ ทำให้เขาคิดว่าเขาอาจจะเข้าสอนที่อื่นแทนที่จะมุ่งมั่นเป็นอาจารย์ผู้ช่วยใน มหาวิทยาลัยอย่างเดียว เขาจึงไปสมัครเข้าสอนในโรงเรียนมัธยม
จากปี 1901 ถึง 1904 เขาค่อยๆ เสริมสร้างความเป็นนักฟิสิกส์ด้วยงานวิจัยเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของแรง ระหว่างโมเลกุลในของเหลว และในโลหะ และการวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของความร้อน และทำให้เรื่องเหล่านี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารฟิสิกส์ที่ได้รับการยอมรับอย่าง สูงสุดในต้นทศวรรษ 1900 แอนนาเลน แด ฟิสิก อย่างต่อเนื่องถึง 5 ตอน
ต่อมาไอน์สไตน์ได้เข้าทำงานใน สำนักงานสิทธิบัตรกรุงเบิร์น ซึ่งงานนี้เป็นงานที่เหมาะกับการบ่มเพาะพลังงานทางฟิสิกส์ของเขา ซึ่งหน้าที่ที่เขาจะต้องทำคือ การชี้ชัดว่า สิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอสิทธิบัตรนั้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่อ้างไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นงานที่น่าชื่นชม และเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เขามีความเฉียบคมยิ่งขึ้น แถมงานนี้ยังทำให้เขามีเวลาว่างครึ่งวันในวันทำงาน และยังมีวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย
การทำงานในกรุงเบิร์น ทำให้เขาโดดเดี่ยวจากนักฟิสิกส์คนอื่นๆ ซึ่งสำหรับนักฟิสิกส์ทั่วไปการโดดเดี่ยวเช่นนี้จะเป็นอันตรายได้ ทุกคนต้องการติดต่อกับคนที่มีการศึกษาคล้ายๆกัน เพื่อไม่ให้งานวิจัยไปในทางที่ไม่เกิดผล แต่สำหรับไอน์สไตน์กลับไม่เป็นอย่างนั้น เขาทำงานได้ดีเมื่ออยู่โดดเดี่ยวมากกว่าได้รับการกระตุ้นจากนักฟิสิกส์