เคลียร์กันหน่อยมั้ยครับ...ว่าไทยมีปริมาณพลังงานสำรองแค่ 6 ปี แต่ทำไมรัฐถึงกล้าให้สัมปทานอายุ 20-30 ปี?
นั่นสิครับ รัฐออกมาบอกว่าเหลือแค่ 6 ปีเอง แต่เราก็ยังมีแหล่งพลังงานใช้ได้จนมาถึงปัจจุบันได้ยังไง
แถมรัฐยังกล้าให้สัมปทานแก่ต่างชาติเป็นระยะเวลา 20-30 ปีอีก เรื่องแบบนี้กลิ่นชักไม่ค่อยดีแล้ว ผมว่าเรามันต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลแน่
แบบนี้ต้องเคลียร์ครับ เคลียร์ความสงสัยด้วยการลงมือหาข้อมูลเลยครับ ก็พบบทความต่างๆ มากมาย
แต่มีอยู่อันหนึ่งที่มันน่าสนใจและสามารถตอบคำถามของผมได้อย่างกระจ่างใส เค้าบอกว่า
นอกจากปริมาณสำรองแล้ว สิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้พิจารณาว่าเราจะสามารถผลิตน้ำมันไปได้อีกนานเท่าไร คือ ค่า R/P ratio (Reserves to Production Ratio) และ ค่า RRR (Reserves Replacement Ratio)
1. ค่า R/P ratio (Reserves to Production Ratio) เป็นค่าที่ใช้สำหรับประเมินการอย่างคร่าวๆว่าเมื่อเราผลิตปิโตรเลียมด้วยอัตราการผลิตเท่านี้ต่อปี โดยที่ไม่มีการหาปริมาณสำรองเพิ่มเติม จะมีปิโตรเลียมคงเหลือให้ใช้ต่อไปอย่างน้อยอีกกี่ปี ซึ่งค่านี้ได้มาจากการนำปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) หารด้วยอัตราการผลิตปิโตรเลียมต่อปี (Production) และมีหน่วยที่ได้เป็นหน่วยปี
ดังนั้น ข้อมูล R/P ratio ของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ได้จากการนำปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) หารด้วย อัตราการผลิต ก๊าซธรรมชาติของปี 2555 (ข้อมูลจาก BP Statistical Review of World Energy 2013) มีผลลัพธ์ประมาณ 6.9 ปี ซึ่งหมายความว่าหากผลิตก๊าซธรรมชาติในอัตรานี้ต่อไป ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศไทยจะมีก๊าซธรรมชาติใช้ ไปได้อย่างน้อยประมาณ 7 ปี
และเมื่อสังเกตข้อมูลย้อนหลังไป 5 ปี จะเห็นว่า เรามีค่า R/P Ratio ลดลงมาโดยตลอดจากที่เคยมี 8 ปี ลดเหลือแค่ 7 ปี แสดงว่าเรามีอัตราการค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วช้ากว่าอัตราการผลิต ถ้าเราไม่สามารถค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วได้เพิ่มอีก ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติจะต้องหมดลงใน 7 ปี อย่างแน่นอน
ส่วน R/P Ratio ของน้ำมันดิบในประเทศไทย อยู่ที่ 2.7 ปี และจากข้อมูลย้อนหลังไป 5 ปี พบว่าลดลงจากเดิมที่ค่อนข้างคงที่อยู่ที่ 4 ปี แสดงว่าเรายังมีการค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วในอัตราน้อยกว่าการผลิต และถ้าไม่มีการค้นพบปริมาณสำรองใหม่ๆ เราก็เหลือน้ำมันดิบให้ผลิตเพียงแค่ประมาณ 3 ปี
ล่าสุดการผลิตของก๊าซธรรมชาติของไทยมีความเสี่ยงอย่างมากใน 5 ปีข้างหน้า เพราะกำลังการผลิตมีแนวโน้มหายไป 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต จากความต้องการใช้ในปัจจุบัน 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
เนื่องจากการผลิตก๊าซฯจากเมียนมาและแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) มีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกันรัฐบาลยังไม่มีแนวทางบริหารจัดการสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมของแหล่งก๊าซฯ ขนาดใหญ่ในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุในปี 2565-2566 ส่งผลให้เอกชนไม่ลงทุนสำรวจและขุดเจาะเพิ่มเติม แม้กระทรวงพลังงานจะพยายามแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) มาทดแทนก็ทำได้เพียง 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้
สรุปตามความเข้าใจของผมคือ ประเทศเรามีปริมาณพลังงานสำรองที่เหลือแค่ 6 ปีมันเป็นเรื่องจริง และมันก็จะลดลงเรื่อยๆ ถ้าเราไม่มีการสำรวจและผลิตกันต่อไป ดังนั้นทางออกของประเทศไทยก็คือรัฐจำเป็นเปิดสัมปทาน เพื่อให้มีการสำรวจและผลิตต่อไป ถึงแม้ว่าจะไม่มีหรือหาไม่เจอก็ต้องทำ เพื่อที่จะให้รู้ว่ามันไม่มีแล้วนะ ประเทศจะได้วางแผนการใช้พลังงานต่อไป
ฟังแล้วในหวิวๆ ถ้ามันหมดลงไปจริงๆ จะทำยังไงกันดี ซื้อพลังงานจากต่างประเทศใช้ตลอดไปมันจะดีเหรอครับ?
เครดิต: แฟนเพจน้องปอสามhttps://www.facebook.com/nongposamm/photos/a.1548159858783765.1073741828.1547935488806202/1698968113702938/?type=3