เทคนิคการพูดปฏิเสธอย่างมืออาชีพ
การปฏิเสธหรือ Say No เป็นสิ่งที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ และเป็นสิ่งที่คนเราควรทำในหลายๆครั้งด้วยซ้ำเพื่อที่จะสามารถ Focus และประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ดี การปฏิเสธอย่างไร้ชั้นเชิงอาจนำมาซึ่งการผิดใจและความเข้าใจผิด
ทั้งนี้ หลักการก็คือ อย่าตอบกลับเป็นเชิงส่วนตัวหรือบุคคล แต่ควรคิดถึงผลประโยชน์ร่วม และเมื่อคุณจะต้องเจรจากับหัวหน้า หรือคนอื่นในทีมแล้ว การอ้างถึงทีมจะสามารถทำให้คุณมีอำนาจการต่อรองและอำนาจในการปฏิเสธเยอะกว่า
แทนที่จะพูด “นี่ไม่ใช่งานของผม” ให้พูดเช่น “หากคุณเอาผมไปทำงานอื่นคุณจะได้ประโยชน์มากกว่า” หรือ “เกิดปัญหาอะไรกับระบบงาน ณ ตอนนี้ เราสามารถแก้ปัญหากับทีมที่รับผิดชอบอยู่ก่อนได้หรือไม่”
แทนที่จะพูด “ผมทำไม่ได้” ให้พูดเช่น “งานใหญ่นี้เราสามารถทำได้ ถ้าหาก….” หรือ “ผมว่างานนี้น่าสร้างประโยชน์ให้กับทีมนะ ใครอยากร่วมบ้าง”
เมื่อคุณรู้สึกว่าคำขอมันดูงี่เง่า
แทนที่จะพูด “ผมไม่อยากทำเลย” ให้พูดเช่น “ทำไมคุณถึงคิดว่ามันเป็นสิ่งที่น่าทำ” หรือ “ทำไมคุณถึงคิดว่าผมควรจะทำงานนี้”
เมื่อคุณไม่อยากทำงานนั้นๆ
แทนที่จะพูด “ผมขอไม่ทำสิ่งนี้” ให้พูดเช่น “ตอนนี้ผม Focus งาน….อยู่ คุณคิดอย่างไรถ้าจะให้ผมละทิ้งงานสำคัญอันนั้น”
เมื่อคุณรู้สึกไม่อยากตอบรับ
ผมไม่เอา ให้พูดเช่น “ผมขอคิดดูก่อน ถ้าหาก…แล้วผมจะกลับมาหาคุณ” หรือ “ตอนนี้ยังเป็นเวลาที่ไม่เหมาะ” หรือ “ตอนนี้ผมยังมีข้อมูลไม่พอ ขอกลับไปศึกษาดูก่อน”
เตรียมภาษากายให้พร้อม
นอกจากบทพูดกับหลักการที่เราแนะนำแล้ว ภาษากาย เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะความมั่นใจในการสบตาเมื่อเราพูดปฏิเสธ เพราะหากคุณหลบตาหรือทำท่าโลเล เวลาคุณพูดปฏิเสธแล้ว คู่สนทนาคุณจะไม่เชื่อในเหตุผลของคุณหรือมองว่าเหตุผลในการปฏิเสธของคุณไม่หนักแน่นพออีกด้วย และอำนาจการต่อรองคุณเชิงจิตวิทยาคุณจะดูด้อยลง
ที่มา – ohlor