(กระทู้แก้ไข, ขออภัย) การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายที่ทรวงอก (Chest Trauma)
ภัยอันตรายของทรวงอก(Chest Trauma หรือ Chest injury) หมายถึงภาวะที่ผนังทรวงอกและอวัยวะที่อยู่
ภายในทรวงอก ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า,กระดูกหน้าอก,กระดูกซี่โครง,ปอด,หัวใจ,หลอดอาหาร, กระบังลม,หลอด
ลม,และหลอดเลือดต่างๆเป็นต้น ซึ่งได้รับบาดเจ็บ จากแรงภายนอกที่มากระทำ ต่อทรวงอก
สาเหตุของภยันตรายของทรวงอก
- ชนิดไม่มีแผลทะลุ เช่น อุบัติเหตุทางจราจร,การตกจากที่สูงแล้วบริเวณทรวงอกถูกระแทกทำ ให้เกิดภยันตรายต่อทรวงอกโดยตรงและไม่มีแผลทะลุเข้าไปในทรวงอก เราเรียกการได้รับบาดเจ็บชนิดนี้ว่าBlunt Chest Trauma หรือ
non Penetrating Injury
- ชนิดมีแผลทะลุ เช่น การถูกยิง,ถูกแทงหรือถูกของมีคมอื่นๆ จนทำ ให้เกิดแผลทะลุเข้าไปในทรวงอกเราเรียกการได้รับบาดเจ็บชนิดนี้ว่า Penetrating Injury พยาธิสภาพของภยันตรายของทรวงอกผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายของทรวงอกจากการกระแทกบริเวณผนังทรวงอก ถ้าความรุนแรงน้อยก็จะได้รับอันตรายแต่เฉพาะผนังทรวงอกเท่านั้นจึงไม่ค่อยมีอันตรายมาก แต่ถ้าแรงกระแทกนั้นมีความรุนแรง ก็จะพบว่าเกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในทรวงอกร่วมด้วย ซึ่งจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของความรุนแรงและปัจจัยร่วมอื่นๆ อีกหลายอย่างสำหรับผูที้่มีบาดแผลทะลุเข้าทรวงอก อาจทะลุลึกถึงกับทำ ลายอวัยวะภายในทรวงอก เช่น ปอด,หัวใจ ทำให้ฉีกขาดได้ ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดและลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำ ให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือไม่ทัน อาจเป็น
อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งภยันตรายของทรวงอกที่สำ คัญและพบบ่อย ก็คือ
- ภาวะอกรวน(Flail Chest) หมายถึงภาวะใดก็ตามที่ผนังทรวงอกถูกกระแทกอย่างรุนแรงจนมีผลทำ ให้มีกระดูกซีโครงหักอย่างน้อยที่สุด 3 ซี่ หรือมากกว่า และแต่ละซี่จะต้องมีการหักมากกว่าหนึ่งตำ แหน่งขึ้นไปและอาจพบร่วมกับการหักของกระดูกหน้าอกซึ่งทำ ให้ส่วนที่หักแยกออกจากผนังทรวงอกจนมีผลทำ ให้มีส่วนลอยเกิดขึ้นที่ผนังทรวงอก เรียกส่วนลอยนี้ว่า Floating Segment ส่วนลอยนี้เองที่จะทำ ให้กลไกของการหายใจผิดปกติ โดยขณะที่หายใจเข้าผนังทรวงอกข้างที่ปกติจะขยายตัวออกแต่ผนังทรวงอกข้างที่ได้รับภยันตรายจะยุบลงและขณะหายใจออกผนังทรวงอกข้างที่ปกติจะยุบลงแต่ผนังทรวงอกที่ได้รับภยันตรายกลับจะโป่งพองขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับข้างเราเรียกการหายใจแบบนี้ว่าParadoxical Respiration ซึ่งภาวะนี้ส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอดได้น้อยลงร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งได้
- ภาวะปอดชํ้า (Lung Contusion) เป็นภาวะที่เมื่อมีแรงมากระทำ ต่อผนังทรวงอก และแรงนั้นเคลื่อนที่
ต่อไปเป็นคลื่น (Wave) ผ่านผนังทรวงอกไปสู่ปอด เมื่อปอดได้รับแรงกระทำ จะทำ ให้เกิดภาวะซอกชํ้าขึ้น โดยในรายที่ผ่านตัดทรวงอกถ้ามองด้วยตาเปล่าจะพบว่าปอดมีลักษณะบอบชํ้า มีสีแดงคล้ายตับปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น นํ้าหนักมากขึ้นและแข็งขึ้นกว่ปกติ ถ้าบีบปอดส่วนที่มีรอยชํ้า จะมีนํ้าปนเลือดไหลออกมา และถ้ามองด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า มีนํ้าและเลือดเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ของปอด ถุงลมบางส่วนจะเต็มไปด้วยนํ้าเลือดแต่บางส่วนก็แฟบ และบางส่วนอาจมีการรวมตัวกันของ นํ้า เลือด และเศษเนื้อเยื่อ ซึ่งจะอุดกั้นถุงลมและแขนงหลอดลม ทำ ให้การระบายอากาศได้น้อยลง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนกาซลดลงด้วย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือผู้ป่วยอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้
- ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด(Pneumothorax) เป็นภาวะที่อาจเกิดจากการฉีกขาดของเนื้อปอดและ/หรือลมผ่านเข้าไปทางบาดแผลทะลุบริเวณทรวงอกซึ่งภาวะนี้พบได้หลายชนิด ได้แก่
3.1.Simple Pneumothorax หรือ Closed Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดโดยไม่มีทางติดต่อกับอากาศภายนอก หรือไม่มีแผลทะลุ
3.2.Open Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด จากการที่มีทางติดต่อกับอากาศภายนอก โดยผ่านทางบาดแผลทะลุที่ทรวงอก
3.3.Tension Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยเป็นลมที่เข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด ขณะหายใจเข้า แต่ขณะหายใจออกลมไม่สามารถออกสู่ภายนอกได้ เนื่องจากมีส่วนของผนังทรวงอกที่ทำ หน้าที่คล้ายลิ้นปิดกั้นลมที่อยู่ภายในช่องเยื่อหุ้มปอด ลมนี้จะเบียดปอดข้างนั้นให้แฟบลงและถ้าลมมีปริมาณมากก็จะเบียดหัวใจและหลอดเลือดขนาดใหญ่ให้ไปทางด้านตรงข้าม ทำ ให้ปอดด้านตรงข้ามนั้นขยายตัวได้ไม่เต็มที่และเกิดภาวะปอดแฟบลงได้
- ภาวะเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด(Hemothorax) เป็นภาวะที่มีเลือดอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเกิดจากการถูกทิ่มแทงจากของมีคมที่ทะลุผ่านเข้าไปทางทรวงอกหรืออาจเกิดจากตัวของกระดูกซี่โครงที่หักอยู่ทิ่มแทงเองก็ได้ ภาวะนี้จะขัดขวางการขยายตัวของปอดและถ้ามีการเสียเลือดมากๆอาจทำ ให้เกิดภาวะซ้อคจากการเสียเลือดได้
- พยาธิสภาพอื่นๆที่อาจเกิดร่วมกับการบาดเจ็บทรวงอก ได้แก่
5.1.หลอดลมแตกทะลุ
5.2.กระบังลมฉีกขาด การฉีกขาดของกระบังลมที่สำ คัญคือ ส่วนยอด(Dome)ของกระบังลม ทำ ให้เกิดช่องว่างให้อวัยวะภายในช่องท้องเคลื่อนย้าย (Herniation) เข้าสู่ช่องอกได้ โดยเฉพาะข้างซ้ายจะดันได้ทั้งปอดและหัวใจ ซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำ หน้าที่ของอวัยวะทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งบางรายอาจถูกมองข้ามไป จนทำ ให้เกิดภาวะ Strangulation หรือมี Acute Obstruction แล้วถึงได้ทราบภายหลัง ซึ่งยากแก่การแก้ไข
5.3.ถุงหุ้มหัวใจ (Pericardium) ฉีกขาด อาจเกิดร่วมกับการฉีกขาดของกระบังลมหรือเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย(Dislocation) ของหัวใจซึ่งทำ ให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
5.4.หลอดอาหารแตกทะลุ (Esophageal Rupture) อาจเกิดการฉีกขาดบางส่วนหรือขาดจากกันทั้งหมดก็ได้ ภาวะนี้อันตรายมากและจำ เป็นต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน
5.5. Traumatic Aortic Aneurysm เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงใหญ่ได้รับบาดเจ็บโป่งพองและอาจแตกได้
5.6.Chylothorax เป็นภาวะที่ thoracic duct ฉีกขาดทำ ให้เกิดการรั่วไหลของไขมันสีขาว(Chyle)เข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต
5.7.ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ(Cardiac Complication) เช่น
-มีเลือดขังอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ(Hemopericardium)
-หัวใจถูกบีบอัด(Cardiac Temponade) ภาวะนี้ถึงแม้ว่ามีเลือดออกเพียง 200 มิลลิลิตรขังอยู่ในชอ่ งเยื่อหุม้ หัวใจ ก็อาจทำ ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการถูกบีบอัดของหัวใจได้
5.8.ภาวะแทรกซ้อนภายในช่องท้อง และระบบอื่นๆซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ฯ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและปัญหาทางการพยาบาลที่พบบ่อย
- ขาดประสิทธิภาพในการทำ ทางเดินหายใจให้เปิดโล่งเนื่องจากไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกเองได้หรือมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ
- แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากภาวะอกรวน หรือมีกระดูกซี่โครงหัก
- มีการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากมีเลือดหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซ้อคจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจากสูญเสียเลือดจากการได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอก
- ไม่ได้รับความสุขสบายเนื่องจากการเจ็บปวดที่ทรวงอก
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีความผิดปกติของทางเดินหายใจและ/หรือมีบาดแผลที่ทรวงอก
- อาจได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากความวิตกกังวลไม่เข้าใจพยาธิสภาพของโรค การพยากรณ์โรคและแผนการรักษาของแพทย์
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก (ICD.)
ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอกที่มีอาการค่อนข้างจะรุนแรงการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.) ก็เป็นวิธีการรักษาอีกวิธีหนึ่งซึ่งมักพบควบคู่กันไป เสมอ ..… เพราะฉะนั้นการดูแลที่ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและเป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงสำ คัญอย่างยิ่งความหมาย: การใส่ท่อระบายทรวงอก (ICD) หมายถึงการใส่สายยางเข้าไปในช่องว่างระว่างเหยื่อหุ้มปอดเพื่อระบายเอา ลม นํ้า เลือดหรือหนองที่คั่งค้างอยู่ออก เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ตามปกติ
ข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก (ICD.)
- ผูป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางทรวงอก
- ผูป่วยที่มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
- ผูป่วยอุบัติเหตุที่ได้รับอันตรายที่ทรวงอกและมีภาวะ เลือดและ/หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
วัตถุประสงค์ของการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)
- ช่วยระบายเลือด สารเหลวหรืออากาศ ออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด และช่องเมดิแอสตินัม
- ช่วยให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ทำ ให้การทำ งานของหัวใจและปอดกลับสู่ปกติ ภายหลังการผ่าตัดทรวงอกหรือการบาดเจ็บ
- เพื่อให้ความดันในช่องเยื่อหุ้มปอดคงที่
- เพื่อป้องกันไม่ให้เมดิแอสตินัมเคลื่อนตัวไปหรือถูกกด ซึ่งทำ ให้เกิดอันตรายได้
ชนิดของการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก (ICD.)
- แบบขวดเดียว
- แบบสองขวด
- แบบสามขวด
(ในที่นี้จะเขียนถึงเฉพาะการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก (ICD.)ชนิดแบบขวดเดียวเพราะว่าเป็นที่นิยมใช้ใน-ปัจจุบัน)
ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)แบบขวดเดียวประกอบไปด้วย
- จุก Chestdrain แบบ 2 Tube (สั้น 1 tube ยาว 1 tube)
- ขวด Chestdrain ต้องใช้ขวด 4,000 ml. ที่ทำ ขีดระดับนํ้า 1,000 ml.
หลักการในการประกอบเป็นชุดขวดสำ หรับการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)ชนิดแบบขวดเดียว) คือท่อ(tube) ยาวควรจุม่ อยู่ในระดับใต้น้ำ ประมาณ 3-5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนเข้าปอด แต่ก็ไม่ควรให้ปลาย ท่อ(tube) จุม่ ลงลึกกวา่ นี้ เพราะว่าจะทำ ให้ความดันในช่องอกสูงขึ้นด้วยการรู้ขั้นตอนการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)ของแพทย์ จะช่วยให้เราเตรียมของใช้และช่วยแพทย์ในการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)ได้ถูกต้อง รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ประหยัดเวลาการทำ งานและใช้เวลาในการรบกวนผู้ป่วยน้อย ทำ ให้ผู้ป่วยมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น
ขั้นตอนต่างๆที่สำ คัญมีดังต่อไปนี้ฯ
- ต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ว่าทำ ไมต้องใช้แผนการรักษาโดยการ ใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)
- ต้องตรวจสอบแผนการรักษาว่าจะใส่ข้างไหน ตรงกับพยาธิสภาพของโรคหรือไม่
- แจง้ ใหผู้ป้ ่วยทราบอธิบายให้ทราบถึงแผนการรักษา ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรปฏิบัติ เหตุผลและความจำ เป็นที่ต้องใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.) พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้ซักถามตามสมควรแก่เวลาและโอกาส
- เตรียมอุปกรณ์ในการทำ หัตถการให้พร้อม ประกอบด้วย
- set สำ หรับใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)
- สายสำ หรับใส่ ICD. (Thoracic catheter) ขนาดต่างๆ ตามแผนการรักษาฯ
- ขวดและจุก(ชุด)สำ หรับใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)
- ถุงมือ Sterile ขนาดและจำ นวนตามความต้องการของแพทย์
- Clamp หุม้ ยาง 2 ตัว ต่อ ICD. 1 ชุด
- ล้อทำ แผลที่มีอุปกรณ์ครบและพร้อมใช้งาน 1 คัน
-โต๊ะหรือ Over bed สำ หรับวาง set สำ หรับใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)
- ไฟตั้ง 1 ชุด
- และอาจมีล้อหรือตะกร้าสำ หรับวางขวด ICD.ตามความจำ เป็น
- นำ อุปกรณ์ทั้งหมดไปที่เตียงผู้ป่วย แจ้งให้ผู้ป่วยทราบอีกครั้ง และจัดท่าที่เหมาะสมเปิด set สำ หรับใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.)โดยใช้หลัก ปราศจากเชื้อ ซึ่งใน Set จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังนี้ฯ
- Arterail clamp โค้งและตรงอย่างละ 2 ตัว
- Koker 1 ตัว
- ด้ามมีด No 3 1 ด้าม
- Forceps มีเขี้ยวและไม่มีเขี้ยวอย่างละ1 ตัว
- กรรไกตัดไหม ตรงใหญ่ 1 ตัว
- เข็มเย็บ (cutting No 10) 1 เล่ม
- ด้ายเย็บ No 2/0 และ No 0 อย่างละ 1 แพค
- Syring 5 ml. 1 กระบอก
- ผ้าสี่เหลี่ยมและผ้าช่องอย่างละ 1 ผืน
- Swab และ Gauze อย่างละ 10 ชิ้น
6 ช่วยแพทย์ขณะทำ หัตถการ ดังนี้ฯ
6.1 จัดทา่ ผูป้ ว่ ย ควรให้ผู้ป่วยนอนหงาย และอยู่ชิดขอบเตียงข้างที่แพทย์จะใส่ท่อระบายทรวงอก
6.2 ใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย /และกั้นม่านถ้ามีญาติผู้ป่วยอื่นอยู่ด้วย
6.3 อาจจำ เป็นต้องผูกยึดผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมสับสน
6.4 ช่วยเปิด Set และเสริฟ อุปกรณ์ต่างๆ ตามลำ ดับ เช่น
* เข็ม ฉีดยา No 18 และ 23 อย่างละ 1 เล่ม
*ใบมีด No 11 1 ใบ
* 2 % Xylocane with out adrenaline 5 ml.
* Hibitane ตามที่แพทย์ต้องการ
* Thoracic catheter No ตามที่แพทย์ต้องการ
* ตัดพลาสเตอร์ ขนาด 2 หรือ 3 นี้ว จำ นวน 2 แผ่น (อาจใช้ Fixomull ก็ได้)
* ตัดพลาสเตอร์ ขนาด 1 หรือ 2 นี้ว จำ นวน 2 หรือ 3 แผ่น (ใช้ ยึด Thoraciccatheter ไม่ให้ดึงรั้ง และ
ใช้พันยึดข้อต่อระหว่าง Thoraciccatheter กับสายที่ต่อลงขวด Chest drain )
* ช่วยแพทย์ต่อ Thoraciccatheter เข้ากับ สาย ICD
* ติด พลาสเตอร์ตามความเหมาะสม
* ประเมิน ลักษณะของสารเหลวที่ออกมา ว่าเป็นสีอะไร มากน้อยแค่ไหน
* ดูว่า ICD. ทำ งานดีหรือไม่ (โดยดู Fluctuation เป็นหลัก)
* จัดท่าผู้ป่วยเมื่อทำ หัตถการเสร็จ
* เก็บ ของใช้ ทำ ความสะอาด
* บันทึกลงในบันทึกทางการพยาบาล ถ้าผู้ช่วยทำ หัตถการเป็นพยาบาล หรือแจ้งผล ให้พยาบาลทราบ
เพื่อบันทึกในกรณีที่ผูช้ ว่ ยทำ หัตถการเป็นผู้ช่วยพยาบาลหรือพนักงานช่วยการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อระบายทรวงอก(ICD.)ในผูป้ ่วยที่ใส่ท่อช่วยระบายทรวงอก (ICD.) นั้น พยาบาลมีบทบาทสำ คัญใน การดูแลผู้ป่วยเพื่อให้การระบายมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และสามารถถอดท่อระบายทรวงอกได้เร็วที่สุด โดย
- ดูแลการทำ งานของ chest drain โดยสังเกตการขึ้นลงของระดับนํ้า (fluctuation) ใน tube ที่จุ่มอยู่ใต้นํ้า ถ้าผู้ป่วยหายใจออก ระดับนํ้าใน tube จะตํ่าลง และมีฟองอากาศในนํ้า ถ้าผู้ป่วยหายใจเข้าระดับนํ้าใน tube จะสูงขึ้น ซึ่งจะสัมพันธ์กันอย่างนี้เสมอ
- การทำ milking สายยางซึ่งต่อกับ chest tube ลงสูข่ วด เพื่อช่วยให้สารเหลวต่างๆเช่น exudate ,หนองหรือ blood clot ที่ค้างอยู่ใน tube ไหลออกได้สะดวกซึ่งจะทำ ให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
- การป้องกันอุบัติเหตุ ที่สำ คัญที่สุด คือ ระวังขวดที่ใช้รองรับสารเหลวหรือขวดChestdrain แตกหรือล้มพยาบาลจะต้องเตรียม clamp หุม้ ยางอยา่ งน้อย 2 ตัว ไว้ใกล้ๆผู้ป่วย เพื่อจะใช้ได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น และสามารถใช้ clamp ได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าสู่ปอด
- ตำ แหน่งของขวด drain ควรวางไว้เฉพาะที่ซึ่งจัดไว้ หรือยึดติดพื้นไว้ให้แน่นสายยาง
ที่ต่อระหว่าง chest tube กับขวด Chestdrain จะต้องยาวพอสำ หรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การทำหัตถการต่างๆ และตัวผู้ป่วยเองก็จะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
- ใหผู้ป้ ว่ ยพลิกตัวเปลี่ยนท่าบ่อยๆร่วมกับการหายใจลึกๆ ไอแรงๆ เป็นการเพิ่มความดันในปอด ทำ ให้สารเหลวหรือ exudate ระบายออกได้ดี
- การบันทึกสารเหลวหรือ exudate ต้องบันทึกถึง สี ลักษณะ จำ นวนของสารเหลวหรือexudate ที่ออกทุก 8 ชั่วโมง ในบางรายอาจจะต้องบันทึกทุกชั่วโมงเพื่อสังเกต ภาวะตกเลือด (bleeding)ในช่องอกนอกจากนี้ควรบันทึกสัญญานชีพและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (Oxygen saturation) ร่วมด้วย และถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเช่นมีเลือดออกจาก ICD. ทันที 1,000 ml. หลังใส่ หรือ ออกประมาณ 200-300 ml./ ชั่วโมง ติดต่อกัน 3-4 ชั่วโมงและ/หรือมีอาการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจหอบ เร็ว มีอาการเขียวตามปลายมือปลายเท้า มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว ควรรายงานแพทย์ทันที
- เวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้อง clamp สายยางก่อนทุกครั้ง โดย ใช้ clamp หุม้ ยางอย่างน้อย 2ตัวclamp แบบ สลับกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล ไม่ดึงรั้ง
- ถ้าสายยาง chest drain หลุด ต้องรีบใช้ Vaseline gauze ปิด ทับด้วย gauze และพลาสเตอร์ให้แน่นทันที แล้วรายงานให้แพทย์ทราบ
- ต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำ Breathing exercise และ Skeletal exercise
- การเปลี่ยนขวด chest drain ต้องยึดหลัก Aseptic Technique ก่อนเปลี่ยนขวดต้อง clamp สายยางทุกครั้ง และต้องแน่ใจว่าปลาย tube ที่ต่อจากผู้ป่วยจุ่มอยู่ใต้นํ้า และรอยต่อต่างต้องปิดสนิท โดยการยึดหลักการเป็นระบบปิดอยู่เสมอข้อบ่งชี้ในการถอดท่อระบายทรวงอก( Off ICD.)ในผูป้ ่วยที่ใส่ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.) ไวร้ ะยะหนึ่งแพทย์จะต้องพิจจารณา ถอดท่อ(off) และแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการ off ท่อระบายที่ทรวงอก(ICD.) เมื่อ
- ไม่มี bleeding ออกเพิ่ม ในราย Hemothorax
- มีสารเหลวหรือ exudate น้อยกว่า 50 ซี.ซี. ต่อวัน
- ไม่มีการขึ้นลงของระดับนํ้า (fluctuation) แสดงว่าปอดขยายตัวดี แต่ต้องแยกจาก tube อุดตัน ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการหอบ ไอ หรือแน่นอึดอัดร่วมด้วย
- X-ray chest ผลปรากฏว่าไม่มีเลือด หรือfluid ค้างอยู่และปอดขยายตัวดี
- ไม่มีแผนการรักษาโดยการผ่านตัดโดยใช้ยาสลบในระยะเวลาอันใกล้การเตรียมผู้ป่วยและการช่วยแพทย์เพื่อถอดท่อระบายทรวงอก (ICD.)
ควรเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมโดย
- พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบก่อน เพื่อคลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือ
- ต้องเตรียม gauze ,Tr.Benzoin ,Vaseline gauze ,plaster แผ่นใหญ่ ,forceps ,กรรไกรตัดไหม,alcohol 75%
- การ off tube จัดใหผู้ป้ ว่ ยนั่งตัวตรง แพทย์จะตัดไหมที่สายยางที่ติดกับตัวผู้ป่วยออกก่อน แล้วใช้Vaseline gauze และ gauze ธรรมดา กดโคนสายยางไว้ให้แน่น
- ใหผู้ป่วยหายใจออกแรงๆแล้วกลั้นหายใจไว้ชั่วครู่
- ขณะที่แพทย์ดึงสายยางออก ให้รีบปิดแผลให้แน่นด้วย plaster แผ่นใหญ่รอบผ้าปิดแผลโดยเร็ว (อาจทา Tr.benzoin ไว้ก่อน เพื่อให้ plaster ติดดีขึ้น)
- ถ้า ผูป่วยรู้สึกปวด ให้ยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา
เอกสารอ้างอิง
การบาดเจ็บที่ทรวงอก (ออนไลน์).(2556). สืบค้นจาก http://www.slide.com [20 พ.ย. 2556]
การบาดเจ็บที่ทรวงอก (ออนไลน์).(2556). สืบค้นจาก http://www.wikipidia.org [20 พ.ย.2556]
การบาดเจ็บที่ทรวงอก (ออนไลน์).(2556). สืบค้นจากhttp://www.hammor.com [20 พ.ย.2556]
This entry was posted in สุขภาพ. Bookmark the permalink.