หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประชาธิปไตยแบบอเมริกา

โพสท์โดย Donald trumps

สำหรับประชาชนอเมริกาแล้ว ทุกๆ 4 ปี วันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน พวกเขารู้ตัวว่าต้องแต่งตัวออกจากบ้านไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพราะนี้คือ “วันเลือกตั้งทั่วไป” (Election Day) จัดขึ้นเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา อาจฟังแล้วนึกภาพตามยากเสียหน่อยสำหรับคนไทย ที่ชินกับการมาถึงของวันเลือกตั้ง และวาระดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เอาแน่เอานอนแทบไม่ได้


ด้วยความที่เป็นประเทศยิ่งใหญ่ ขยับซ้ายขยับขวาทีก็กระเทือนทั้งโลก และที่สำคัญกล่าวกันว่า นี่คือประเทศที่มีกลิ่นของประชาธิปไตยหอมหวนกว่าใครเพื่อน เราจึงไม่ควรละเลยที่จะจับตาดูบรรยากาศแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศอเมริกา แต่ระบบการเลือกตั้งที่ออกจะซับซ้อน ก่อนจับตาจึงควรชัดเจนกับกระบวนการต่างๆ เสียก่อน

 

กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้น หากอธิบายคร่าวๆก็ เริ่มจากการเลือกตั้งขั้นต้น เพื่อสรรหาผู้แทนหรือที่เรียกว่า  ตัวแทนผู้ลงคะแนน (delegates) เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรค (Party National Convention) เพื่อเลือกตัวแทนพรรคในการลงชิงชัยประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ และใน "วันเลือกตั้ง" (Election Day) ประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของตน นั้นคือเลือก คณะผู้เลือกตั้ง (electoral college)  คะแนนจากประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง จะเรียกว่า popular vote แต่การที่จะได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้นขึ้นอยู่กับ คะแนน electoral vote ที่มาจากคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) หรือกล่าวว่า ประชาชนอเมริกาเหลือประธานาธิบดีทางอ้อมนั้นเอง


ยังไม่กระจ่างใช่มั๊ย ? อย่างนั้นฟังเว่อร์ชั่นอธิบายอย่างเจาะลึกครับ


ประเทศอเมริกามีพรรคการเมืองหลักอยู่  2 พรรค นั้นคือ พรรคเดโมแครต (Democrat)  และพรรค รีพับลิกัน (Republican)  ซึ่งทั้งสองพรรคต่างมีนโยบายแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 
 
สัญลักษณ์พรรครีพับลิกัน

ฝั่งรีพับลิกันจะมีนโยบายเป็นอนุรักษ์นิยม หรือ conservative 
 
สัญลักษณ์พรรคเดโมแครต


กลับกันกับทางฝั่งของพรรคเดโมแครต ที่มีนโยบายเป็นเสรีนิยม หรือ liberal


เมื่อถึงคราวเลือกตั้ง แต่ละพรรคก็จะต้องหาตัวแทนพรรคเพื่อลงชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ แต่ตัวแทนพรรคนั้นไม่ใช่ได้มาง่ายๆ ไม่มีการวางทายาททางการเมือง หรือให้ใครเป็นนอมินีใคร กว่าจะมาเป็นตัวแทนพรรคได้นั้น แต่ละคนต้องผ่านด่านสำคัญในการขบเคี่ยวกันเองในพรรคสำหรับการชิงชัยตำแหน่งตัวแทนพรรคนั้นเอง ซึ่งพรรคจะทำการคัดเลือกตัวแทนที่ว่านี้ใน “ที่ประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรค” (Party National Convention) โดยการลงคะแนนจาก ตัวแทนผู้ลงคะแนน (delegates) ซึ่งมาจากแต่ละมลรัฐ ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงจาก delegates กว่าครึ่งถึงจะได้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในนามพรรค


Delegates ผู้มีบทบาทสำคัญ เป็นใครมาจากไหน ?


การคัดเลือก ตัวแทนผู้ลงคะแนน หรือ delegate เพื่อที่จะเข้าไปโหวตเสียงเลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้น แต่ละพรรคก็มีกฎเกณฑ์และขั้นตอนคัดเลือกแตกต่างกันไป ตามธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละรัฐ เรียกขั้นตอนนี้ว่าการหยั่งเสียงหรือการเลือกตั้งขั้นต้น ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่ 2 แบบ คือ
 
คอคัส (Caucus) คำว่า “คอคัส” แปลตรงตัวคือ “การประชุม” หมายถึง การประชุมกลุ่มย่อยของผู้สนับสนุนหรือสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมาจาก county ให้ได้ผู้แทนพรรคระดับ county ทำการเลือกตัวแทนไปร่วมประชุมระดับรัฐ จากระดับรัฐก็จะเสนอชื่อผู้แทนพรรค (Delegates)ที่จะเข้าร่วมประชุมใหญ่แห่งชาติ หรือ National Convention ต่อไป  นั้นคือ กว่าจะได้ Delegates ก็เอาเข้าไปหลายขั้นตอนทีเดียว

กระบวนการของวิธีนี้ จะเริ่มด้วยการเรียกประชุมผู้สนับสนุนพรรคระดับท้องถิ่น มีการจัดแบ่งหน่วยเลือกเป็นหน่วยย่อยตามโบสถ์ โรงเรียน โรงยิม และห้องสมุด เพื่อให้ได้รับฟังนโยบายจากผู้สนับสนุนผู้สมัครแต่ละคน


จากนั้นก็ทำการลงคะแนนทั้งนี้ Caucus ของแต่ละพรรคก็แตกต่างกันนั้นคือ

Caucus  ของฝ่าย Republican จะเป็นการลงคะแนนแบบลับ โดยใช้บัตรออกเสียงหย่อนลงให้หีบ คะแนนเสียงที่ออกมาก็จะนำไปทำการจัดสรรผู้แทนที่จะไปร่วมประชุมใหญ่

ส่วน Caucus  ทางฝั่ง  Democrat จะเป็นแบบเปิดเผย นั้นคือ หากผู้ใช้สิทธิ์มีความนิยมชมชอบผู้สมัครรายใดก็จะเข้าไปรวมกลุ่มในพื้นที่ของผู้สมัครรายนั้น จากนั้นก็จะทำการนับคะแนนเสียงของแต่ละคนว่าได้เกินกว่า 15% หรือไม่ หากไม่ถึงจะให้ประชาชนจะมีเวลาสามารถย้ายตัวเองไปยังพื้นที่ของผู้สมัครรายอื่นที่คะแนนถึงแทน


จะเห็นว่า Caucus มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน นั้นก็เพราะว่ามีเจตนารมณ์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นเอง แทนที่จะทำได้เพียง เป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 12 รัฐเท่านั้นที่ยังใช้ระบบนี้อยู่



มาดูอีกวิธี ที่เรียกว่าไพรมารี (Primary)นี่คือระบบการเลือกตั้งขั้นต้นที่นิยมกันมากที่สุด เปิดโอกาสให้สมาชิกของพรรคการเมืองทุกคนได้คัดเลือกผู้แทนพรรคที่เห็นว่าเหมาะสมเข้าร่วมประชุมใหญ่แห่งชาติโดยตรง โดยจัดให้มีการออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งพร้อมกันทั่วรัฐ จะเห็นได้ว่าการได้มาของ Delegates ไม่หลายขั้นหลายตอน เหมือนอย่างวิธี Caucus 

นั้นก็คือ หลักๆแล้วพรรค Democrat จะจัดสรรจำนวน Delegates ที่แต่ละคนได้รับเป็นไปตามสัดส่วนเดียวกับคะแนนเสียงของแต่ละคน และผู้สมัครต้องได้รับคะแนนเสียง 15% ขึ้นไป จึงจะได้รับการจัดสรร Delegates หากได้น้อยกว่า 15% แล้วไซร้ก็จะไม่ได้ Delegates ในมลรัฐนั้นเลย แล้ว Delegates ในสัดส่วนของตนที่โดนตัดไปนั้น ก็จะถูกนำไปกระจายให้แก่ผู้สมัครรายอื่น


ส่วนพรรค Republican จะต่างกัน คือ หลายมลรัฐได้ใช้ระบบ Winner take all โดย ผู้ที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งในเขตนั้น จะถือว่าเป็นผู้ชนะ ซึ่งรางวัลของผู้ชนะ ตามระบบ Winner take all นั้นก็คือ จะได้รับ Delegates ของมลรัฐนั้นไปครองทั้งหมด จะไม่มีการแบ่งตามสัดส่วนคะแนนเสียงเหมือนของ Democrat  แต่ก็มีบ้างที่บางมลรัฐจัดแบ่งจำนวน Delegates ไปตามสัดส่วนเดียวกับคะแนนเสียงที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ และทีแตกต่างอีกประการคือ วิธีของ Republican จะไม่มีเกณฑ์ที่ผู้สมัครต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 15%


 
ในแต่ละมลรัฐและในแต่ละพรรค ต่างก็มีกฎกติกาในการจัด Primary และ Caucus แตกต่างกัน จึงแน่นอนว่าจำนวนของผู้แทนพรรค (delegate) ที่คำนวณขึ้นก็ย่อมไม่เท่ากันด้วย


พรรค Democrat มีจำนวน Delegates ทั้งสิ้น 4,409 คน ในจำนวนนี้ประกอบด้วย Delegates จากมลรัฐต่างๆ 3,253 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีพันธะผูกพันว่าจะต้องลงคะแนนสนับสนุนผู้สมัครรายใดรายตามที่ได้ประกาศไว้  และอีกส่วนหนึ่งซึ่งจะมีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มแรกอยู่มากทีเดียว นั้นคือ Superdelegates ซึ่งเป็นผู้นำของพรรค สมาชิกรัฐสภาผู้ว่าการมลรัฐ สมาชิกคณะกรรมการแห่งชาติของพรรค  มีจำนวนเพียง796 คน แต่กลุ่มนี้ไม่มีพันธะสัญญาผูกพันมีอิสระที่จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดก็ได้ ส่วนผู้ที่จะได้เป็นตัวแทนพรรค นั้นก็คือผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงจากDelegates เกินกว่า 2,025 เสียงขึ้นไปในที่ประชุมใหญ่


มาที่พรรค Republican จำนวน Delegates นั้นจะน้อยกว่า Democrat ราวครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว  โดยจะอยู่ที่  2,380 คน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม คล้ายๆ  Democrat  โดยกลุ่มแรกเรียกว่า Pledged Delegates ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ลงคะแนนที่มากการเลือกตั้งหรือคัดเลือกจากมลรัฐต่างๆ จำนวน 1,917 คน เมื่อมาจากการเลือกตั้ง จึงเป็นคนที่มีพันธสัญญาว่าจะต้องเลือกผู้สมัครคนใดเป็นตัวแทนพรรค ต่างจาก Unpledged Delegates อีกจำนวน 463 คน ซึ่งมีอิสระในการเลือกผู้สมัครรายใดก็ได้ เมื่อดูตัวเลขของ Delegates  ทั้งหมดแล้ว ก็กล่าวได้ว่าหากต้องการเป็นตัวแทนพรรคแล้ว ย่อมจะต้องได้รับคะแนนเสียงจาก Delegates ทั้งหมดเกินกว่า 1,191 เสียงขึ้นไป

 
สำหรับสนามประลองศึกแรกของเลือกตั้งขั้นต้นนั้นก็คือ มลรัฐไอโอวา ที่แม้ว่าจำนวน Delegates จะไม่ได้หวือหวาก็ตามที แต่ผู้สมัครต่างก็ให้ความสำคัญนัยว่าเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ที่ย่อมจะส่งผลที่ดีทางจิตวิทยาในการเลือกตั้งครั้งตามมา


Super Tuesday

 
การเลือกตั้งขั้นต้นอันเป็นวันที่จับตา นั่นก็คือ Super Tuesday หรือสุดยอดวันอังคาร เป็นวันที่มีการหยั่งเสียงเลือกตั้งขั้นต้นทั้งแบบ Primaries และ Caucuses พร้อมกันทั่วประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในหลายมลรัฐ นับว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมานานตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งในการเลือกตั้งแต่ละปีก็จะจำนวนรัฐที่เกิด Super Tuesday แตกต่างกันไป

การเลือกตั้งขั้นต้นนั้น นับว่าเป็นช่วงแห่งเทศกาลหาเสียงแข่งขันกันเองภายในพรรคของเหล่าผู้สมัคร เพื่อช่วงชิงเสียงข้างมากของ Delegates ที่เข้มข้นไม่แพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเลยทีเดียว


debate วัฒนธรรมการเมืองของอเมริกัน


เมื่อแต่ละพรรคได้เลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการรณรงค์หาเสียงพร้อมแสดงวิสันทัศน์ และที่เราคุ้นกันดีก็คือการ โต้วาทีหรือดีเบต  (debate)  ตามความหมาย นั้นคือ การถกเถียงอย่างมีระเบียบและอย่างเป็นทางการ โดยมีสาระและเหตุผลประกอบการโต้เถียงดังกล่าว อันนี้จะต่างกับการโต้เถียงแบบไร้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่เราเรียกว่าการทะเลาะ หรือผลัดกันด่า ซึ่งอันนี้ก็ไม่ทราบว่าเป็นวัฒนธรรมการเมืองของชาติไหนกัน

 
การ ดีเบต (debate) สำหรับนักการเมืองของอเมริกานั้น เป็นเหมือนยาสามัญประจำทำเนียบขาวเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นสนามเล็กสนามใหญ่ หากรักจะเล่นการเมืองแบบอเมริกันแล้วย่อมหนีการวัดกึ๋นบนเวทีดีเบต (debate) ไม่พ้น เพื่อประชาชนได้ฟังผู้สมัครแต่ละคน นำเสนอนโยบาย แสดงความสามารถ ไพวพริบ ตอบข้อซักถาม พร้อมๆกันบนเวทีเดียวกัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบแล้วเลือกผู้สมัครที่โดนใจนั้นเอง นี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการเมืองอเมริกัน เพราะผู้สมัครแต่ละคนไม่สามารถปฏิเสธการขึ้นเวทีดีเบตกับคู่แข่งได้ จึงต้องกล้าที่จะพูด มีความคิดที่พร้อมจะนำเสนอ ยินดีต่อการถูกซักถาม และบ่อยครั้งที่เดียวคะแนนความนิยมก็สามารถพลิกพันได้ทันที หากสามารถสิ้นสุดการดีเบต (debate)  ด้วยผลงานประทับใจผู้ฟัง

 

การ “ดีเบต (debate)” ระหว่างผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐ เริ่มขึ้นครั้งแรกสมัย จอห์น เอฟ เคนเนดี แห่ง Democrat และ ริชาร์ด นิกสัน แห่ง Republican ในปี 1960 มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุและสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นครั้งที่ได้รับความนิยมสูงสุด และจบลงด้วยผู้ชนะที่ทำได้ดีกว่าคือ เคนเนดีนั้นเอง และการดีเบต (debate) ที่สำคัญอีกคราวหนึ่งคือ การแข่งขันชิงตำแหน่ง ระหว่างจิมมี คาร์เตอร์ แห่ง Democrat และเจอรัลด์ ฟอร์ด แห่ง Republican ในการเลือกตั้งปี 1976 ข้อตกลงดีเบตคราวนั้นกลายเป็นฐานสำหรับดีเบตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ มา จนถึงปัจจุบัน


เจ้าภาพในการจัดการจัดการดีเบต (debate) เรียกว่า คณะกรรมการว่าด้วยการดีเบตของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี(Commission on Presidential Debate - CPD) จัดตั้งขึ้นในปี 1987 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Republican และ Democrat คอยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทีมหาเสียงกับตัวแทนของทั้งสองพรรค ทำการตกลงในเรื่องของได้แก่ จำนวนครั้ง สถานที่ รูปแบบและกฎกติกาที่ใช้ในการดีเบตแต่ละครั้ง โดยปกติแล้วการดีเบต (debate ) จะมีอยู่ 3 ครั้งด้วยกัน โดย 2 แบบแรกจะมีผู้ดำเนินรายการเป็นผู้ถามคำถาม จะเป็นเรื่องของนโยบายภายในประเทศ และเรื่องนโยบายระหว่างประเทศ  ส่วนอีกครั้งหนึ่งจะใช้ รูปแบบการประชุมประชาคม (town-hall meeting) ซึ่งในครั้งนี้ผู้ฟังเป็นคนถามคำถาม

 
ทางบ้านเรา เพราอะไรไม่ทราบ วัฒธรรมการโต้วาทีเช่นนี้จึงไม่ปรากฏให้เห็นได้ง่ายๆนัก จะพอมีบ้างก็เห็นจะเมื่อครั้งเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ แต่ระดับชาตินั้น เห็นเพียงฝ่ายหนึ่งเชิญชวนอีกฝ่ายอยู่บ้าง แต่ผลตอบรับก็มักส่งเพียงตัวแทนหัวหน้าพรรค ไม่ก็ไม่มาเสียเลย น่าเสียดายเพราะมองดูแล้วแต่ละท่านเรื่องฝีปากและความสามารถก็น่าจะเป็นมวยคู่เอกได้ไม่ยาก


“วันเลือกตั้งทั่วไป” (Election Day)

 

เมื่อถึง “วันเลือกตั้งทั่วไป” (Election Day) ซึ่งกำหนดให้เป็นวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนในปีที่มีการเลือกตั้ง  ขั้นตอนนี้เองที่หลายคนสงสัย ซึ่งอยากให้เข้าใจเสียก่อนว่า ประชาชนนั้นไมได้ลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมผ่าน คณะผู้เลือกตั้ง (electoral college)แท้จริงแล้วก็คือการเลือก electoral college นั่นเอง จากนั้น electoral college จึงจะไปทำหน้าที่ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีต่อไป


แล้วคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) คือใคร? นี้มีที่มาอย่างไร?


ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ ได้กำหนดให้มี electoral college ทั่วประเทศ 538 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนจากทั้ง 50 มลรัฐ สัดส่วนของ electoral collegeแต่ละรัฐ จะไม่เท่ากัน จะต้องคำนวณจากจำนวนวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้น ในส่วนจำนวนวุฒสมาชิกปกติแต่ละรัฐก็จะมี 2 คน แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะคำนวณตามสัดส่วนของประชากรในรัฐ  กล่าวง่ายๆคือ รัฐไหนมีประชากรมากก็จะมี electoral college มากนั้นเอง แต่ทั้งนี้รัฐธรรมนูญกำหนดห้ามสมาชิกสภาคองเกรสและลูกจ้างของรัฐบาลกลาง มาเป็นคณะผู้เลือกตั้ง นั้นก็เพราะต้องการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลาง


สำหรับผู้ที่จะมาเป็น electoral college ได้นั้น จะมาจากการที่พรรคการเมืองเสนอ "บัญชีรายชื่อ" โดยมีจำนวนเท่ากับที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้แต่ละรัฐมีได้ ซึ่งปกติก็เลือกจากผู้ที่จงรักภักดีและมีความสำคัญต่อพรรคเป็น electoral college และผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อ จะต้องเป็นผู้ที่แสดงตัวเองชัดเจนว่าจะเลือกประธานาธิบดีของพรรคที่เสนอชื่อตัวเองนั้น จากนั้นประชาชนผู้มีสิทธิ์ก็จะไปทำการเลือก คณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ซึ่งเรียกกันว่าคะแนน popular vote
 

คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ในแต่ละรัฐที่ประชาชนเลือกมานี่เอง คือผู้ที่จะบอกว่าสุดท้ายแล้วใครจะเป็นประธานาธิบดี ซึ่งคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งนี้เองที่เรียกกันว่า Electora vote โดยรัฐธรรมนูญกำหนดว่าผู้จะได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องได้คะแนนจาก electoral college ตั้งแต่ 270 ขึ้นไป และการคิดคะแนนแบบ"ผู้ชนะเหมาหมด" (winner takes all)นี่เอง ทำให้ผู้สมัครคนใดที่ชนะในรัฐนั้น ด้วยการได้คะแนน popular vote มากกว่า ก็จะได้ electoral college ของรัฐนั้นไปครองทั้งหมด เรียกได้ว่า หากใครสามารถชนะในรัฐใหญ่ๆ ที่มีจำนวน electoral college มากที่สุด 11 รัฐแรกไปได้ คะแนนก็ลอยลำสู่เก้าอี้ประธานาธิบดีเลยทีเดียว 


จึงไม่แปลกที่บางครั้งผู้ที่ชนะด้วยคะแนน popular vote จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งในขั้นตอน Electora vote ซึ่งตัวอย่างในอดีตก็มีให้เห็น เช่น


การเลือกตั้งเมื่อปี 2000 ที่ อัล กอร์ ของ Democrat ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสันติภาพ สามารถชนะคะแนน popular vote มากกว่านาย จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ถึง 5 แสนคะแนน แต่กลับพ่ายแพ้ด้วยคะแนน Electora vote ไปแบบหวุดหวิด

 
หรือย้อนขึ้นเมื่อปี 2431ครั้งที่ เบนจามิน แฮริสัน จาก Republican ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี ถึงแม้จะแพ้  popular vote  ให้แก่ กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์


บทสรุปว่าการจะตัดสินว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี จึงสำคัญอยู่ที่ คะแนน electoral vote ไม่ใช่ คะแนน popular vote นั้นเอง


แต่ในกรณีที่ผู้สมัครต่างก็ได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง(Electoral College) 269 เสียงเท่ากัน ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 12 ให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานาธิบดีสหรัฐ และให้วุฒิสภาเลือกรองประธานาธิบดี ซึ่งตามกติกา แล้ว หากผู้สมัครจากพรรคใด ได้เสียงสนับสนุนจากสส.เกินกว่า 25 รัฐ หรือกึ่งหนึ่งจากทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์นี้ ได้ถูกบันทึกไว้เมื่อปี 2343 ในสมัยของ โธมัส เจฟเฟอร์สัน และ แอรอน เบอร์ สองผู้สมัครผู้ได้คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งเท่ากันอย่างพอดีไม่มีล้ำเส้น

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา


ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States หรือ POTUS)

เป็นตำแหน่งประมุขในการปกครองของสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของทุกสาขาของรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐ มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ในประวัติศาสตร์ ประธานาธิบผู้ดำรงตำแหน่งครบสองสมัย มีเพียง 3 ท่านเท่านั้น ได้แก่  ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ โรนัลด์ เรแกน และบิล คลินตัน  และในเร็ววันนี้โลกกำลังจะได้จารึกชื่อ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เมื่อท่านดำรงตำแหน่งสมัยที่สองได้ครบวาระที่จะถึงนี้


สำหรับคุณสมบัติหลักๆของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้นั้น ประการแรกกำหนดไว้ว่าต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป อีกทั้งต้องเป็นผู้ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด แม้จะเป็นผู้อพยพที่ภายหลังมาได้สัญชาติอเมริกันอย่างเช่น ผู้ว่าฯอาร์โนลด์ชวาชเนกเกอร์ ก็ไม่ได้ ต้องมีถิ่นพำนักถาวรอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องไม่เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย


การรับตำแหน่ง

ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ประธานาธิบดีคนใหม่ก็จะเข้าพิธีสาบานตัวและเริ่มทำงานในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป แทนที่ประธานาธิบดีคนเก่าซึ่งจะหมดสมัยหลังเที่ยงวันของวันที่ 20 มกราคมนั้น และภายหลัง หากประธานาธิบดีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งไปแล้วมีเหตุให้ต้องออกจากตำแหน่ง จะด้วยถูกกล่าวโทษ หรือถึงแก่กรรมก็ตามแต่ จะไม่มีการเลือกตั้งใหม่แต่อย่างใด เพราะผู้ที่จะมาสืบทอดสำแหน่งได้ถูกวางตัวไว้แล้ว เริ่มจากรองประธานาธิบดี เรื่อยไปตั้งแต่ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ประธานวุฒิสภา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการมหาดไทย ตามลำดับ


เมื่อกล่าวถึง ประธานาธิบดีของสหรัฐ หลายคนย่อมนึกถึง 3 สิ่งที่เราคุ้นเคยกัน อย่างแรกนั้นก็คือ ทำเนียบขาว (White House) อันเป็นสำนักงานรวมทั้งเป็นที่พำนักของประธานาธิบดี ตั้งอยู่ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ถัดมาเป็นสุดยอดพาหนะสุดหูหรา ในนาม แอร์ฟอร์ซวัน และสุดท้ายที่ไม่อาจลืม สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา (First Lady of the United States) สตรีผู้อยู่เคียงข้างความสำเร็จของท่านประธานาธิบดี

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Donald trumps's profile


โพสท์โดย: Donald trumps
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: BARAK OBAMA, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, ซาอิ, Ball Thanawat
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อินฟลูฝรั่ง โจมตีสวนสัตว์เขาเขียว เลี้ยง ‘หมูเด้ง’ หวังยอดวิว ทัวร์ถล่มยับสพฐ. เปิดคะแนน ‘ครูเบญ’ สอบไม่ผ่าน ได้คะแนนไม่ถึง 60%รวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ คัดมาแล้วขำเน้นๆ แลพร้อมรับมือกับพายุถ้าจะมาวันนี้เด้อครับเด้อผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ ยกเลิกงาน แมงปอ-พู่กัน ตอบชัด เข้าใจช่วงกอบโกยประสบการณ์สุดแปลกใจหายแว่บๆ...นึกว่า "ขิต" ไปแล้ว...กับน้องฮิปโปแคระที่สวนสัตว์เลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.3" งวดวันที่ 1 ตุลาคม 2567ตำรวจบุกรวบ หนุ่มฉีดขยายอวัยวะเwศ ฝังมุก ทำจ้าวโลกเน่าใช้งานไม่ได้สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ในระหว่างการขุดสุสาน5 ประโยชน์น้ำส้มสายชู พระเอกในครัวสาระพัดประโยชน์คดีพลิก หนุ่มไม่ผ่านโปร “ใส่เสื้อส้ม-พูดอีสาน” หวังปั่นกระแส โยงการเมืองอบจ.เชียงรายอนุมัติงบประมาณ 49 ล้านเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม‘ประวิตร’ โวบริหารมา 9 ปี ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีแล้ง เล็งรีเทิร์นรัฐบาลหน้า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สพฐ. เปิดคะแนน ‘ครูเบญ’ สอบไม่ผ่าน ได้คะแนนไม่ถึง 60%รีวิวหนังดัง JOKER โจ๊กเกอร์5 ประโยชน์น้ำส้มสายชู พระเอกในครัวสาระพัดประโยชน์น้ำท่วม ผักแพง ผักชีพุ่ง กก.ละ 250 บาท
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
5 ประโยชน์น้ำส้มสายชู พระเอกในครัวสาระพัดประโยชน์[สุนัข 7สไตล์] นิสัยแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด!![5 สิ่งของจำเป็น] เมื่อพาสุนัขไปขับรถท่องเที่ยวfavorite: ที่ชื่นชอบ ที่โปรดปราน
ตั้งกระทู้ใหม่