ต้นกำเนิดของหมูสะเต๊ะอยู่ที่เอเชียนี่เอง
วันนี้เรามาศึกษา ประวัติความเป็นมาของ หมูสะเต๊ะกันดีกว่า
สะเต๊ะ (อังกฤษ: satay , ฝรั่งเศส: saté) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ)
ภาพสะเต๊ะแบบฝรั่ง
สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน
ภาพสะเต๊ะอินโดนีเซีย Sate ayam
สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
สำหรับร้านเจริญพร ตรงหัวมุมถ.ผดุงด้าว ที่เยาวราช เป็นร้านต้นกำเนิดของ หมูสะเต๊ะเจ้าแรกของประเทศไทยครับ
ภาพหมูสะเต๊ะ@หน้าร.ร.ปริ้นส์ฯ เชียงใหม่
อ้างอิง
1.^ อาหารมุสลิม. กทม. แสงแดด. 2547 หน้า 13
เครดิตจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี