หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

baby development

โพสท์โดย Sayuri

เคียงข้างคุณแม่ตั้งครรภ์ตลอดระยะเวลา 9 เดือน อย่างใกล้ชิด 

ทั้งเรื่องอาการของคนท้อง อาหารสำหรับคนท้อง ข้อห้ามสำหรับคนท้อง รวมไปถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ เพื่อให้คุณแม่ได้ต้อนรับอีกหนึ่งชีวิตที่กำลังจะลืมตาดูโลกได้อย่างสบายใจ

 
 
 
 
 
 
 

1.    โฟเลตในช่วงตั้งครรภ์ 1-90 วัน (0-3 เดือน)

 

 

การตั้งครรภ์ในช่วงนี้ คุณแม่มักมีอาการท้องผูก ควรเสริม โฟเลต ด้วยการทานผักใบเขียว เช่น ผักตระกูลกะหล่ำปลี, บรอคโคลี อะโวคาโด พืชตระกูลถั่วต่างๆ และผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม มะละกอ เพราะโฟเลต นั้น เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดความผิดปกติของท่อระบบประสาท และภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด พร้อมกับดื่มน้ำ และดื่มนมที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้มากขึ้น

 

2.    แคลเซียม และธาตุเหล็กในช่วงตั้งครรภ์ 91 -180 วัน (3 - 6 เดือน)
 


สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ควรเสริมสารอาหาร ด้วยการเน้นแคลเซียม และธาตุเหล็กเป็นหลัก  เพราะธาตุเหล็กนั้นสำคัญมากต่อการแบ่งเซลล์กระดูก การสร้างเม็ดเลือดแดง การพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดียิ่งขึ้น โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และถั่วต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม


3.    แคลเซียม และโปรตีนในช่วงตั้งครรภ์ 181 - 270 วัน (6- 9 เดือน)
 

โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องเน้นการเสริมสารอาหาร อย่างแคลเซียม และโปรตีน เป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ในการสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ คุณแม่จึงควรจะทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงมากขึ้นกว่าเดิม โดยรับประทานวันละ 1,000-1,300 มิลลิกรัม ซึ่งมีส่วนช่วยลดการเกิดตะคริวที่มักเกิดในช่วงตั้งครรภ์ รวมทั้งทาน DHA ที่ได้จากพวกปลาทะเล อาหารเสริม หรือนมที่เสิรม DHA ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเซลล์สมองของลูกน้อยได้ดีอีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดการเกิดตะคริว ที่มักเกิดในช่วงตั้งครรภ์ในระยะนี้อีกด้วย

 

รับมือกับอาการแพ้ท้องในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก อาการแพ้ท้อง เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเป็นแม่ทุกคนต้องเจอ แต่หากเรียนรู้และเตรียมตัวเป็นอย่างดี ก็จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้
 
 

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกนั้น มักจะมีอาการแพ้ท้อง ส่วนใหญ่จะเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน สาเหตุของอาการดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการแพ้ท้องมักจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า หรือช่วงใดก็ได้ของวัน

 

ข้อแนะนำในการรับมือกับอาการแพ้ท้อง

 

• ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อย

แบ่งเป็น 5 -6 มื้อต่อวัน โดยเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

• เลือกทานอาหารที่มีรสอ่อน

หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรือรสจัด ควรเตรียมอาหารว่างเอาไว้สำหรับทานก่อนนอน และตอนตื่นนอน เช่น อัลมอนด์แบบไม่ปอกเปลือก ขนมปังปิ้ง แครกเกอร์รสเค็มมัน บิสกิต เป็นต้น

 

• ในขณะที่ตั้งครรภ์ประสาทการรับกลิ่นของคุณอาจไวขึ้น

ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง หรือมีเครื่องเทศกลิ่นฉุนเป็นส่วนประกอบ

 

• ทานวิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือนมที่มีจุลินทรีย์ดีร่วมกับอาหารหรือหลังอาหาร

จิบน้ำเปล่าทีละน้อยตลอดวัน ควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม หรือน้ำหวานต่างๆ

 

• หากมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

 

 

อาการท้องผูกขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักเป็นบ่อยในช่วงระหว่าง 1-3 เดือน
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์กล้ามเนื้อลำไส้จะคลายตัว จึงทำให้อาหารที่ทานเข้าไปนั้นเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ช้าลง และทารกในครรภ์ยังเพิ่มแรงกดที่ลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวช้ามากขึ้นไปอีก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ลองทำตามวิธีต่างๆ ดังนี้
 
•  ดื่มน้ำ เครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบให้เพียงพอ
ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมทุกวัน เช่น น้ำเปล่า น้ำลูกพรุน ซุปไก่ และทานผัก ผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง เช่น ขึ้นฉ่าย ผลเบอร์รี่ และแตงโม สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
 
•  ทานอาหารซึ่งมีเส้นใยอาหารมาก
เช่น ผลไม้ ผัก และธัญพืชซึ่งไม่ผ่านการขัดสี
 

•  ยืดเส้นยืดสาย ด้วยการออกกำลังกายเบาๆ

ทำตามวิธีที่คุณหมอแนะนำ เช่น การเดินเป็นประจำช้าๆ จะช่วยทำให้อาหารเคลื่อนตัวได้สะดวกยิ่งขึ้น

 

ปรับเปลี่ยนการกินขณะตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทารกในครรภ์ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเอง

ทันทีที่คุณแม่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเองให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อสุขภาพร่างกายของทารกในครรภ์และตัวคุณแม่เอง 

“กินเผื่อสำหรับสองคน”

ขณะตั้งครรภ์คุณแม่และทารกในครรภ์ต้องการพลังงาน และสารอาหารมากขึ้น เราจึงมักจะได้ยินว่าคุณแม่จะต้อง “กินเผื่อสำหรับสองคน” ซึ่งหมายถึงสารอาหาร ไม่ใช่การกินเพิ่มปริมาณเป็นสองเท่า นั่นหมายความว่า คุณแม่ควรจะปรับการกินอาหารเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของร่างกายคุณแม่ เช่น  เพื่อรองรับการขยายตัวของหน้าอก มดลูก การสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น การสะสมไขมัน นอกจากนั้นคุณแม่ยังต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

ในขณะตั้งครรภ์คุณแม่ต้องการวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแร่ธาตุ ที่จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพดี และส่งผลถึงทารกในครรภ์ คุณแม่ควรปรับการกินขณะตั้งครรภ์ "ด้วยการเลือกทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่" อย่างสมดุลทุกวัน

ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกนั้น คุณแม่ยังไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีพลังงานสูงเพื่อเพิ่มแคลอรีให้กับร่างกายมากเท่าไรนัก  แต่ในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ "คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 300 แคลอรี" เพื่อให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม และทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

 อาหารที่เลือกกินขณะตั้งครรภ์ ควรเลือกอาหารที่ มีความสมดุลของสารอาหาร และมีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมตามต้องการก็จะสามารถเลือกกินเพื่อให้ได้พลังงานเพิ่มขึ้นตามที่ต้องการได้ง่าย เช่น กินขนมปังธัญพืช/โฮลวีทกับชีสหนึ่งแผ่น หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ กับแอปเปิลหนึ่งผล เป็นอาหารมื้อว่างก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องกินมากจนเกินไป

 

อาหารบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ใส่ใจโภชนาการขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบรูณ์
 

เน้นผลไม้และผัก...  ทานเนื้อสัตว์ปานกลาง... เลี่ยงน้ำตาลและไขมัน

1. เน้นผลไม้และผัก

ในขณะตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่ต้องการวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดเพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรทานธัญพืช ผลไม้ และผัก อย่างหลากหลาย ในสัดส่วนมากที่สุดในแต่ละมื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณวิตามิน เกลือแร่ และไฟเบอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ และควรทานแบบสดใหม่ เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารอย่างเต็มที่

2. ทานเนื้อสัตว์ปานกลาง

ควรทานเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นอาหารบํารุงครรภ์ในปริมาณปานกลาง เพื่อเพิ่มโปรตีน วิตามินบี และธาตุเหล็ก ควรทานปลาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะในเนื้อปลานั้นอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 หรือ DHA สูง สุดยอดเมนูของคุณแม่ตั้งครรภ์

3. เลี่ยงน้ำตาล และไขมัน

                จำกัดการทานอาหารที่มีไขมัน โซเดียม และน้ำตาลให้น้อยที่สุด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้แต่งกลิ่น เนื้อสัตว์แปรรูปหรือขนมหวาน เพราะหากได้รับในปริมาณมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ แต่หากมีความอยากทานจริงๆ ก็สามารถทานได้เป็นครั้งคราว ในปริมาณที่น้อย        

สิ่งที่สามารถทานได้ไม่จำกัด คือ น้ำดื่มสะอาด เพราะน้ำมีความจำเป็นต่อกระบวนการทำงานต่างๆ ในร่างกายของคุณแม่ และทารกในครรภ์ ปริมาณที่แนะนำคือ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน หากมีความต้องการที่จะดื่มชา หรือน้ำผลไม้ ควรเลือกชนิดที่ไม่มีน้ำตาล หรือเจือจางที่สุด

หากทานอาหารที่มีคุณค่าอย่างหลากหลายและได้สมดุลตามที่แนะนำนั้น ก็เพียงพอแล้วที่จะตอบสนองความต้องการของคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างดี

 
 
 
 
 
น้ำหนักตัวที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสแรก  ร่างกายของคุณแม่จะมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อเตรียมตัวสำหรับบทบาทใหม่ๆ 

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์  เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญ หากมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป อาจส่งผลถึงสุขภาพของคุณแม่ และพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ให้สัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย

ตั้งครรภ์ช่วง 0-3 เดือน (1-90 วัน)

ช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะมีอาการแพ้ท้องบ่อยๆ จึงทำให้น้ำหนักตัวยังเพิ่มขึ้นไม่มาก จะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 0.5 – 2 กิโลกรัม หากคุณแม่คนไหนที่มีอาการแพ้ท้องมากๆ ก็อาจทำให้น้ำหนักตัวลดได้

 
 
 
 
 
 
น้ำหนักตัวที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสสอง  คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่เกณฑ์ที่กำหนด เพื่อสุขภาพ และความปลอดภัยของทารกในครรภ์
 

น้ำหนัก ตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์  เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญ หากมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป อาจส่งผลถึงสุขภาพของคุณแม่ และพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ให้สัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย

ตั้งครรภ์ช่วง 3-6 เดือน (91-180 วัน)

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแพ้ท้องแล้ว แต่บางคนยังมีอาการบ้างเล็กน้อย น้ำหนักตัวของคุณแม่ในช่วงนี้ควรเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1 ถึง 1.5 กิโลกรัม หรือตลอด 90 วันนี้ น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัมเท่านั้น

 

น้ำหนักตัวที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ช่วง ไตรมาสสาม ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกหิวบ่อย อาจทำให้น้ำหนักตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
 

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์  เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญ หากมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป อาจส่งผลถึงสุขภาพของคุณแม่ และการเจริญเติบโต พัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ให้สัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย ดังนี้

ระหว่างคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วง 6-9 เดือน (181 - 270 วัน)

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ตัวโตขึ้น มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น น้ำหนักตัวของคุณแม่จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ควรจะเพิ่มขึ้นเกินเดือนละ 2 กิโลกรัมน้ำหนักตัวรวมในช่วงนี้ควรเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5-6 กิโลกรัม ช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนสุดท้ายนี้ คุณแม่จะรู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติ จึงต้องใส่ใจด้านโภชนาการให้มากเป็นพิเศษ พร้อมกับการควบคุมปริมาณอาหาร ในช่วงนี้คุณแม่สามารถออกกำลังกาย ด้วยการเดินเล่นเบาๆ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว เผาผลาญพลังงานออกไปบ้าง อาจปรึกษาคุณหมอผู้ดูแลครรภ์เรื่องการออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยกับสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์

 

อาการข้อเท้าบวมขณะตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักเป็นบ่อยในช่วงระหว่าง 4-6 เดือน

อาการข้อเท้าบวม  เป็นอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่มีการสะสมน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้นสำหรับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดอาการบวมได้   

ซึ่งอาการบวมจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงเย็นๆ  หากวันไหนคุณแม่ยืนหรือเดินมากๆ เรามีเคล็ดลับในการดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการข้อเท้าบวมขณะตั้งครรภ์ มาแนะนำ ดังนี้

•  ดื่มน้ำสะอาดให้บ่อยๆ
ในปริมาณที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน
 
•  นอนยกเท้าสูง

นอนราบ แล้วยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจอเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

•  พยายามสวมรองเท้าที่ใส่สบาย
หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่คับ หรือรัดแน่นจนเกินไป อาจเลือกสวมรองเท้าส้นเตี้ย ที่ยึดเกาะพื้นได้ดี
 
•  หากเกิดอาการบวมมาก ควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
ป้องกันผิวแตกลายขณะตั้งครรภ์ 3 วิธีดูแลตัวเองที่ช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ให้ผิวแตกลาย

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจจะกังวลในเรื่องของผิวแตกลายที่บริเวณท้อง และสะโพก กลัวว่าจะครรภ์จะขยายเร็วจนทำให้เกิดผิวแตกลายเต็มตัว ก่อนอื่นขอให้ทำใจไว้เลยว่ามันอาจจะเกิดขึ้นบ้าง แต่ถ้าดูแลให้ดีก็จะช่วยลดอาการผิวแตกลายให้เกิดน้อยที่สุดค่ะ ด้วยวิธีการดังนี้

1. หมั่นขัดผิว : เลือกครีมขัดผิวสูตรอ่อนโยน ที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ได้ หรือจะใช้โยเกิร์ตลูบไล้เบาๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

2. ทาผิวบ่อยๆ : เลือกครีมทาผิวที่มีคุณสมบัติช่วยลดการแตกลาย เพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง

3. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ : น้ำสะอาด คือ สิ่งที่ดีที่สุดในการเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวได้ดีที่สุด

คุณแม่คนเก่งมีวิธีในการรักษา หรือป้องกันผิวแตกลายขณะตั้งครรภ์อย่างไรกันบ้าง มาแชร์กันหน่อยค่ะ?

 

 

ยินดีต้อนรับสู่ประสบการณ์สุดพิเศษของคุณพ่อคุณแม่ อาหารที่ดีที่สุดของเด็กในช่วงวัยแรกเกิด 0-6 เดือน คือ นมแม่ เพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร และภูมิต้านทานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งเด็กควรได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือนแรกของชีวิต และต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น

 

ทารก 0 - 3 เดือน

ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่คุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการต่างๆ ให้กับเขาได้อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นรากฐานของการเติบโตที่ดีในอนาคต

 

สังเกตอาการเมื่อลูกหิวหรือลูกอิ่ม เรียนรู้พัฒนาการที่สังเกตได้ของเด็กแรกเกิดด้านโภชนาการ สำหรับเด็กวัยแรกเกิด ช่วง 0- 3 เดือน (271-360 วัน)
 

​การกินนมแม่ของลูกน้อยวัยแรกเกิด ในช่วง 0- 3 เดือน (271-360 วัน) ถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในช่วงนี้คุณแม่จะมองเห็นอาการเมื่อลูกหิว หรือลูกอิ่มได้อย่างชัดเจนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระดับความหิว ยิ่งปล่อยให้ลูกหิวมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะยิ่งส่งเสียง เพื่อสื่อสารแสดงความหิวมากขึ้นเท่านั้น

อาการเมื่อลูกหิวที่มักพบ 

ในเด็กวัยแรกเกิด ช่วง 0- 3 เดือน (271-360 วัน)

• เริ่มมีอาการตื่นตัว อาจกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว

• จะขยับปากงับอาหาร โดยการหันศีรษะตาม เมื่อคุณใช้นิ้วที่สะอาดของแตะที่มุมปากของลูกน้อย

• เริ่มดูดนิ้ว หรือดูดริมฝีปากด้วยความหิว

• หากยังไม่มีการตอบสนองต่อสัญญาณความหิวของลูก ก็จะเริ่มงอแง และร้องไห้

อาการเมื่อลูกอิ่มที่มักพบ 

ในเด็กวัยแรกเกิด ช่วง 0- 3 เดือน (271-360 วัน)

• จะไม่สนใจอาหารที่ป้อนอีกต่อไป

• หยุดจะขยับปากงับหัวนมของคุณแม่

• เริ่มผ่อนคลาย สงบลงและมักจะหลับ

 

“นมแม่” อาหารที่ดีที่สุดของเด็กแรกเกิดช่วงวัย 6 เดือนแรก ทารกแรกเกิดจนถึงวัย 6 เดือน นั้นควรกินนมแม่เป็นอาหารหลักอย่างเดียว โดยไม่จำเป็นเสริมอาหารอื่นแม้แต่น้ำ...

นมแม่ ครบถ้วนไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และสารอาหารอื่นๆที่สมดุล และเหมาะสมต่อความต้องการของเด็กแรกเกิด ทั้งในด้านการเติบโตและพัฒนาการ ซึ่งเด็กแรกเกิดจนถึงวัย 6 เดือน  นั้นสามารถกินนมแม่เป็นอาหารหลักอย่างเดียว โดยไม่จำเป็นเสริมอาหารอื่นแม้แต่น้ำ...

   • นมแม่ย่อยง่าย

โปรตีนในนมแม่นั้นสามารถย่อย และดูดซึมได้ง่าย ซึ่งต่างจากนมวัว หรือนมผงทั่วไปๆ เด็กแรกเกิดจึงทานได้โดยไม่เกิดอาการท้องผูก

 

   • นมแม่มีธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กในน้ำนมแม่เป็นธาตุเหล็กที่เด็กแรกเกิดสามารถดูดซึมได้ง่าย

 

   • นมแม่ป้องกันการเกิดภูมิแพ้

สารอาหารในนมแม่ ช่วยป้องกันการแพ้โปรตีนในเด็กแรกเกิด หรือการแพ้ที่เกิดจากอาหารประเภทอื่นๆ

 

   • นมแม่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เพราะในนมแม่มีจุลินทรีย์ที่ดี (โปรไบโอติกส์) เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย หรือที่เรียกว่า Bifidus (คลิกไปที่หน้าบิฟิดัส) ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของเด็กแรกเกิดให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยปกป้องให้ลูกน้อยแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อต่างๆ

 

   • นมแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ

ในนมแม่อุดมไปด้วย ดี เอช เอ, เอ อาร์ เอ และ โอเมก้า 3 6 9 ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองและการมองเห็น นอกจากนี้ ระหว่างให้นมลูก การพูดคุย สบตา และการสัมผัส จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กแรกเกิดได้ดียิ่งขึ้น

 

   • นมแม่ช่วยเสริมสร้างความผูกพัน

เพราะระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูก การโอบกอด และการสัมผัสอย่างแนบชิด จะช่วยกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกได้อย่างลึกซึ้ง

 

พัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด ที่คุณแม่ควรทราบ ขอต้อนรับคุณพ่อคุณแม่สู่ประสบการณ์สุดพิเศษ กับทุกๆพัฒนาการสำคัญของลูกน้อย ตั้งแต่วันแรกที่ลูกน้อยลืมตาดูโลกถึง 6 เดือน
 

พัฒนาการตามวัยของเด็กแรกเกิด จนถึง 1 เดือน

ลูกน้อยจะสามารถสบตา ตอบสนองเสียงพูดของแม่ด้วยการทำเสียงในคอ หรือขยับร่างกายเมื่อได้ยินเสียง เคลื่อนไหวแขนขาทั้ง 2 ข้าง เมื่อนอนคว่ำ สามารถหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งได้

วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการอย่างสมวัย

คุณแม่ควรอุ้มให้หน้าลูกอยู่ในระดับเดียวกันกับหน้าแม่ จะได้มองเห็นหน้ากันและกันได้ถนัด ควรพูดคุยตอบโต้ ยิ้มแย้ม สบตาขณะให้นมลูกบ่อยๆ ควรจับให้เขาได้นอนหงาย เพื่อให้เขาได้เคลื่อนไหวแขนขาด้วยตัวเอง ขึ้นลง งอ เหยียดอย่างอิสระ และใช้นิ้วมือสัมผัสกับฝ่ามือของลูกบ่อยๆ จัดให้เด็กนอนคว่ำ และให้คุณแม่เขย่าของเล่นที่มีเสียงให้ลูกลองหันศีรษะตามเสียง

 

พัฒนาการตามวัยของเด็กแรกเกิด ช่วงอายุ 1 – 2 เดือน

ช่วงนี้ลูกน้อยสามารถยิ้มตอบ ทักทาย แสดงท่าดีใจ เมื่อคุณแม่อุ้มหรือสัมผัส ส่งเสียงฮือฮา สนใจฟัง เริ่มมองหาต้นตอของเสียง มองตามสิ่งเคลื่อนไหว และสามารถชันคอขณะนอนคว่ำได้

วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการอย่างสมวัย

ตอนนี้ลูกสามารถทำเสียงโต้ตอบ ยิ้มแย้ม ควรสบตาลูกบ่อยๆ เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม และสัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน เมื่อลูกอยู่ในท่านอนคว่ำ ลองเขย่าของเล่นที่มีเสียงเหนือศีรษะ เพื่อให้ลูกสนใจเงยหน้ามอง เพื่อฝึกการตั้งคอ

พัฒนาการตามวัยของเด็กแรกเกิด ช่วงอายุ  3 -4 เดือน

เจ้าตัวน้อยเริ่มทักทายคนคุ้นเคยได้แล้ว สามารถหันตามเสียงได้ และส่งเสียงอ้อแอ้เพื่อโต้ตอบ และมองตามจากด้านหนึ่งจนสุดอีกด้านหนึ่งได้ และสามารถยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาคว้าของเล่นที่อยู่ห่างจากตัวได้ วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการอย่างสมวัย

คุณแม่ควรทักทาย และเรียกชื่อลูกเมื่อเจอ พูดคุยโต้ตอบ สัมผัส เล่น หัวเราะกับลูกบ่อยๆ และควรหยุดฟังเพื่อรอจังหวะให้ลูกส่งเสียง อาจเล่นกับเขาด้วยของเล่นที่มีเสียงกรุ๋งกริ๋ง หรือของเล่นสีสันสดใส เพื่อให้ลูกมองตามจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง อาจใช้ของเล่นแตะหลังมือเพื่อกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกจับ ควรเขย่าของเล่นที่มีเสียงเหนือศีรษะขณะที่เขานอนคว่ำ เพื่อเป็นการฝึกการชันคอเขย่าของเล่นหรือแขวนโมบายให้ลูกได้เหยียดแขนไปคว้า

 

ทารก 4 - 6 เดือน
 

พอถึงช่วงนี้ลูกน้อยจสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น เริ่มเรียนรู้ภาษาท่าทาง และเข้าใจสิ่งที่คุณสื่อสารได้บ้างแล้ว คุณควรพูดสื่อสารกับลูกน้อยบ่อยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ทักษะด้านภาษา

 

สังเกตอาการเมื่อลูกหิวหรือลูกอิ่ม เรียนรู้พัฒนาการที่สังเกตได้ของเด็กแรกเกิดด้านโภชนาการ สำหรับเด็กแรกเกิด ช่วง 4-6 เดือน

คุณแม่ได้เรียนรู้สัญญาณเมื่อลูกหิวได้บ้างแล้ว ตอนนี้คุณแม่ และลูกน้อยต่างต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อาจจะต้องปรับพฤติกรรมให้เข้ากันมากขึ้น จากการสังเกต

อาการเมื่อลูกหิว

ในเด็กวัยแรกเกิด ช่วง 4-6 เดือน ( 360 - 450 วัน)

• มักมีการดูดมือก่อนที่จะเริ่มหงุดหงิด ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการปลอบใจตัวเองของลูก

• จะดูดนมเมื่อป้อนนมทันที แต่จะหยุดหากมีสิ่งดึงดูดความสนใจเข้ามา และจะค้นหาเต้านมอีกครั้งเพื่อดูดนมต่อ

• การร้องไห้จะเป็นวิธีการขั้นสุดท้ายที่เด็กวัยแรกเกิดใช้ เพื่อแสดงให้คุณรู้ว่าลูกหมดความอดทนแล้ว และต้องการให้คุณป้อนทันที

อาการเมื่อลูกอิ่ม

ในเด็กวัยแรกเกิด ช่วง 4-6 เดือน ( 360 - 450 วัน)

• อ้าปากออกจากเต้านม และเบือนหน้าไปทางอื่น

• ไม่แสดงการสนใจต่อไปเมื่อคุณยื่นเต้านมให้ทาน

• ตอนนี้ลูกทานนมแม่ได้เก่งขึ้นแล้ว และสามารถดูดนมจนอิ่มได้ภายใน 5-10 นาที

• จะรู้สึกสงบ และสบายใจหลังจากกินอิ่มแล้ว

 

พัฒนาการทารกวัย 5-6 เดือน ทารกช่วงวัยนี้จะเริ่มพลิกคว่ำ พลิกหงาย และสามารถยันตัวขึ้นเองได้
 

พัฒนาการตามวัยของเด็กแรกเกิด ช่วงอายุ 5 – 6 เดือน

สามารถแสดงอารมณ์และท่าทาง เช่น ดีใจ ขัดใจ เริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้ สามารถหันตามเสียงที่เรียกชื่อ ส่งเสียงสูงๆต่ำๆ คว้าของมือเดียว และสลับมือถือของได้ เริ่มพลิกคว่ำ พลิกหงาย สามารถยันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำโดยเหยียดแขนตรงทั้งสองข้างได้ และคืบได้แล้ว

วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการอย่างสมวัย

ยิ้มแย้ม ขณะพูดคุยโต้ตอบ เรียกชื่อลูกในทิศทางต่างๆ เพื่อฝึกให้ลูกตอบสนองต่อเสียง พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับลูก เช่น อาบน้ำ หม่ำๆ จัดบ้านให้ปลอดภัย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะให้ลูกหัดพลิกคว่ำ พลิกหงาย และคืบได้อย่างอิสระ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้เสียงเรียกหรือของเล่นสีสดใส เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ลูกพลิกตัวหรือคืบได้เร็วขึ้น และลองให้ลูกได้ถือของเล่นเพื่อฝึกนิ้วมือ

 

วัยเริ่มอาหารเสริม
 

วัยเริ่มอาหารเสริม 7 -12 เดือนนั้น  เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์มาก เพราะลูกน้อยจะมีพัฒนาการที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่วงเวลาที่ควรเริ่มให้เขาทานอาหารเสริมที่มีโภชนาการครบถ้วน 5 หมู่ การเริ่มประสบการณ์ทานอาหารที่ดีในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้ลูกพัฒนาความชอบอาหารที่มีประโยชน์เมื่อเขาโตขึ้น

 

สังเกตอาการเมื่อลูกหิวหรือลูกอิ่ม สำหรับเด็กวัยนั่งได้ ช่วง 6-7เดือน
 

ลูกเริ่มรู้เวลาอาหารแล้ว สำหรับเด็กวัยนั่งได้ ช่วงประมาณ 6-7เดือน (450-510 วัน) นอกจากการอาหารหลักอย่าง “นมแม่” แล้ว คุณแม่อาจต้องเพิ่มเมนูอาหารเด็ก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของลูก โดยในแต่ละมื้อนั้น ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอเหมาะกับทารก เช่น ข้าวบด ผักต้มบดละเอียด กล้วยน้ำว้าสุก ไข่แดงสุด หรือตับบด เป็นต้น ในช่วงเวลานี้เด็กวัยนั่งได้ จะตื่นเต้นที่จะได้เห็นอาหารใหม่ๆ จะทำให้ทานอาหารแต่ละมื้อมีความสนุก และเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับทั้งคุณและลูกรัก

 

อาการเมื่อลูกหิว

ในเด็กวัยนั่งได้ ช่วง 6-7เดือน (450-510 วัน)

• ลูกจะยังคงแสดงอาการหงุดหงิด หรือร้องไห้เมื่อหิวนม หรืออยากกินอาหารที่ต้องการ

• เริ่มเอื้อมมือเข้ามาเพื่อจับช้อนที่มีอาหารอยู่ พร้อมอ้าปากกว้าง และเอนตัวเข้าหาจาน หรือช้อน

•  หากลูกยังไม่อิ่ม เขาอาจใช้สายตามองมาที่คุณ เพื่อแสดงภาษากายว่า “หนูยังไม่อิ่ม”

 

อาการเมื่อลูกอิ่ม

ในเด็กวัยนั่งได้ ช่วง 6-7เดือน (450-510 วัน)

ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะแสดงอาการให้รู้เมื่อเขาอิ่มอย่างชัดเจน คุณแม่ควรสังเกตลูกให้ดี อย่าฝืนให้ลูกทานอาหารเกินปริมาณที่ลูกต้องการ ควรเชื่อภาษากายของลูก หากเขาแสดงออกว่าอิ่มแล้วจริงๆ

• หากเป็นการดูดนมจากขวดหรือนมแม่ ลูกจะเบือนหน้าหนีออกจากเต้านมหรือขวดนม

• เบนตัวหนีออกจากอาหาร และอาจจะผลักช้อนออกจากตัว

• เม้มปากปิดสนิท และไม่ยอมให้คุณป้อนต่อ

• อาจคายอาหาร ซึ่งปกติชอบกินออกมา

• ผลักจานอาหาร หรืออาหารที่อยู่ตรงหน้า

• เคี้ยวช้าลง เปลี่ยนความสนใจไปที่สิ่งอื่น

• หลับขณะที่กินอาหารอยู่

 

 

เตรียมอาหารเสริมสำหรับเด็กวัยนั่งได้ช่วง 6 เดือนขึ้นไป เด็กช่วง 6 เดือนขึ้นไป เป็นวัยที่เหมาะกับการเริ่มทานอาหารเสริม นอกเหนือจากนมแม่ จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยได้รับสารอาหารอย่างพอเหมาะ เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตมากขึ้น
 
 

เมื่อลูกน้อยของคุณแม่ก้าวเข้าสู่วัยนั่งได้ช่วง  6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกให้ลูกได้ทานอาหารเสริมควบคู่ไปกับนมแม่ เพราะการหัดให้ลูกน้อยได้กินอาหารเสริมนั้น จะเป็นการสอนให้ลูกรู้จักอาหารที่มีหน้าตา รสชาติและเนื้อสัมผัสใหม่ๆ  ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการการเคี้ยว การกลืนของลูกแล้วยังทำให้ลูกยอมรับอาหารชนิดใหม่ซึ่งมีสารอาหารที่มีประโยชน์ในมื้อต่อๆไปได้ง่ายขึ้น

คุณแม่อย่าลืมว่ากระเพาะอาหารของลูกน้อยยังมีขนาดเล็กอยู่มาก ฉะนั้นอาหารเสริมทุกคำที่จะป้อนให้กับเขา ครบถ้วนด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย อาหารเสริมที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนั่งได้ช่วง  6 เดือนขึ้นไป ควรประกอบด้วย ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เมื่อลูกได้ทานอาหารเสริมเหล่านี้ เขาจะได้รับวิตามิน บี สังกะสี แคลเซียม เหล็ก และวิตามิน อี ล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของเด็กวัยนั่งได้

การฝึกป้อนอาหารเสริมอาจต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน กว่าที่ลูกจะคุ้นเคยกับการกินอาหารจากช้อนได้  นั่นคือสามารถตวัดลิ้น และกลืนอาหารได้อย่างคล่องแคล่วเมื่อคุณแม่แตะช้อนเล็กๆไว้ที่ริมฝีปากของลูก และเริ่มหันศีรษะไปทางซ้ายและขวาตามช้อนที่ป้อนได้แล้ว เพราะสามารถควบคุมร่างกายส่วนบนของตัวเองได้

การฝึกป้อนอาหารเสริมให้เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไปถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนและพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโต ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีการปรับตัวจากการกินอาหารเหลวเป็นอาหารกึ่งเหลว และอาหารแบบผู้ใหญ่ เพราะมีพัฒนาการการเคี้ยว การกลืน และระบบทางเดินอาหาร ที่พร้อมจะรับอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว

 

เสริมธาตุเหล็กกับอาหารมื้อแรกของเด็กวัยนั่งได้ การให้ลูกหัดเริ่มอาหารมื้อแรก ไม่ได้เป็นการทดแทนนมแม่ แต่เป็นการเสริมสารอาหารเพิ่มเติมนอกเหนือจากนมแม่
 
 

"เด็กวัยนั่งได้ ช่วง 6 เดือนขึ้นไป ยังคงต้องให้นมแม่ยังเป็นอาหารหลัก" 

แต่การเริ่มต้นทานอาหารมื้อแรก หรืออาหารแข็งนั้น เป็นขั้นตอนใหม่ที่น่าตื่นเต้นสำหรับพัฒนาการด้านการกินของลูก นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของคุณแม่ แต่เนื่องจากกระเพาะของลูกยังมีขนาดเล็กอยู่ เด็กวัยนั่งได้จะเริ่มลิ้มรสชาติของอาหาร ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะเป็นเพียงคำเล็กๆ ของลูก แต่ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเขาในขั้นต่อไป

เด็กวัยนั่งได้ในช่วง 6 เดือนขึ้นไป หากให้ทานแต่นมแม่อย่างเดียวนั้น อาจได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอเพราะธาตุเหล็กตามธรรมชาติซึ่งสะสมไว้เมื่อตอนทารกเกิดมาจะเริ่มใช้หมดไป

"ซึ่งธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมอง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง"

อีกทั้งยังช่วยนำออกซิเจนไปทั่วร่างกายได้ดี ในระยะนี้คุณแม่ต้องเสริมอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กให้กับเขา อาทิ

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูที่ไม่ติดมัน เนื้อปลาที่ไขมันสูง ตับหมู
  • ผักใบเขียว เช่น ผักโขม บรอคโคลี ถั่วเขียว ถั่วลันเตา กีวี่ คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี
  • ธัญพืช และถั่วต่างๆ

และควรหัดให้เด็กวัยนั่งได้ ทานผัก และผลไม้ครั้งละหนึ่งชนิด เช่น มันฝรั่ง กล้วยน้ำว้า มะละกอสุกฟักทอง หลังจากนั้น จึงค่อยเริ่มผสมอาหาร เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางสารอาหาร จะช่วยให้ลูกยอมรับอาหารมากขึ้น

 

พัฒนาการของวัยนั่งได้ 6 เดือนขึ้นไป ช่วงเวลาแห่งการเติบโตของลูกน้อยวัยนั่งได้ช่างรวดเร็ว และมหัศจรรย์ พัฒนาการที่เด่นชัดตอนนี้คือ เขาสามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องพิงอะไรแล้ว
 

พัฒนาการตามวัยของวัยนั่งได้

เด็กวัยนั่งได้จะเริ่มกลัวคนแปลกหน้า และรู้สึกผูกพันธ์กับคนที่เลี้ยงดูเป็นประจำ เริ่มชูมือเพื่อเรียกร้องให้อุ้ม อาจทำเสียงพยางค์เดียว เช่น จ๊ะ ป๊ะ หม่ำ และสามารถหันหาเสียงเรียกได้ถูกต้อง และนั่งทรงตัวได้เองโดยไม่ต้องใช้มือยัน

วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการอย่างสมวัย

ขณะพบปะผู้อื่น หรือคนแปลกหน้า คุณแม่ควรอุ้มลูกน้อยวัยนั่งได้ไว้ให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ และให้เวลาลูกทำความคุ้นเคยเสียก่อน เพื่อให้เขาเริ่มชิน เพื่อพัฒนาการด้านภาษาของเขา ควรพูดถึงสิ่งที่ลูกให้ความสนใจ เช่น หม่ำๆ อ้ำๆ แล้วควรเรียกชื่อลูกทุกครั้ง และในเวลาว่างควรอ่านหนังสือออกเสียง พร้อมชี้ภาพประกอบให้เขาได้เริ่มจดจำ

ช่วยฝึกพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวให้กับลูก  ด้วยการอุ้มเขาในท่านั่ง พร้อมถือของเล่นหรือผ้าที่มีสีสดใสให้อยู่ระดับสายตา ปล่อยของเล่นตกลงบ้าง เลื่อนไปทางซ้าย ขวาบ้าง เพื่อกระตุ้นให้ลูกมองตาม ให้ลูกได้หยิบของเล่นขนาดพอดีมือ สามารถหยิบจับได้ถนัด แล้วปล่อยให้ลูกนั่งเล่น  โดยพ่อแม่ต้องดูแลอยู่ใกล้ๆ ก็จะช่วยฝึกให้นั่งได้มั่นคงขึ้น

 

วัยคลาน

ลูกน้อยของคุณแม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วพัฒนาการที่เห็นได้ชัด เขาจะหัดคลาน หัดเกาะยืน รวมถึงชอบที่จะเคลื่อนไหว และสำรวจสิ่งต่างๆมากขึ้น ช่วงนี้คุณแม่ต้องดูแลเขาไม่ให้คลาดสายตา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ เปิดโอกาสให้เขามีส่วนร่วมกับกิจกรรมในครอบครัวบ้าง

 

สังเกตอาการเมื่อลูกหิวหรือลูกอิ่ม สำหรับเด็กวัยคลาน 8 เดือนขึ้นไป
 

สำหรับเด็กวัยคลาน คุณแม่ควรสังเกตอาการเมื่อลูกหิว หรือลูกอิ่ม ให้มากขึ้น ช่วงวัยนี้กระเพาะของเขายังเล็กอยู่  อาจจะทานได้น้อย แต่กินบ่อยกว่าที่คุณคิด คุณแม่ควรเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพื่อเสริมระหว่างการให้นมแม่สำหรับเด็กวัยคลาน คุณแม่ควรสังเกตอาการเมื่อลูกหิว หรือลูกอิ่ม ให้มากขึ้น ช่วงวัยนี้กระเพาะของเขายังเล็กอยู่  อาจจะทานได้น้อย แต่กินบ่อยกว่าที่คุณคิด คุณแม่ควรเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพื่อเสริมระหว่างการให้นมแม่

 

อาการเมื่อลูกหิว

ในเด็กวัยคลาน 8 เดือนขึ้นไป (520 -640 วัน)

• เริ่มเตะขา และเคาะถาดใส่อาหาร เพื่อเป็นการบอกว่า "แม่จ๋า เอาอาหารมาเร็วๆ หน่อย"

• อมนิ้ว และแสดงอาการหงุดหงิด เพื่อเป็นการบอกว่า “กำลังหิวอยู่”

• จ้องมองขณะที่คุณกำลังเตรียมอาหาร หรือเวลาเข้าครัว และแสดงความตื่นเต้นเมื่อคุณให้ดูอาหาร

* เอื้อมมือจับอาหาร เพื่อเป็นการบอกว่า "ได้เวลากินแล้ว"

• พุ่งความสนใจมาที่คุณขณะที่กินอาหาร และรอคอยคำต่อไปอย่างตั้งใจ

 

อาการเมื่อลูกอิ่ม

ในเด็กวัยคลาน 8 เดือนขึ้นไป (520 -640 วัน)

• เบือนหน้าหนี หรือถอยห่างออกจากช้อน

• ปิดปากสนิท หรือส่ายหน้า เพื่อเป็นการบอกว่า “อิ่มแล้ว”

• ผลักจานใส่อาหารออกจากตัว และพยายามปัดช้อนออกจากมือของคุณ

• ไม่แสดงความสนใจที่จะกินอีกต่อไป และมองไปทางอื่น

 

อาหารทานเล่นสำหรับเด็กวัยหัดเดิน คุณแม่ควรเตรียมอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้เขาได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

เด็กวัยหัดเดิน อายุประมาณ 8 เดือนขึ้นไป เขาจะเริ่มใช้ทั้งมือ และทุกนิ้วหยิบจับอาหารชิ้นเล็กๆ แล้วนำเข้าปาก คุณควรปล่อยให้ลูกได้มีอิสระในการเคลื่อนไหวของนิ้ว เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก การประสานงานระหว่างตา และมือได้อย่างเต็มที่

ดังนั้น คุณแม่ควรเตรียมเมนูอาหารทานเล่น ที่มีสารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อเขา ดังนี้

  • ผักที่ปรุงสุกจนนิ่ม เช่น มันฝรั่ง ฟักทอง บรอคโคลี กะหล่ำดอก เป็นต้น
  • ผลไม้ที่นิ่มแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดพอดีคำ เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก กีวี เป็นต้น
  • อาหารทานเล่นที่มีเนื้อสัมผัสซึ่งสามารถละลายได้อย่างรวดเร็วในปาก เช่น ขนมปังที่ทำจากธัญพืช หรือโยเกิร์ต เป็นต้น
  • เลือกอาหารทานเล่นที่สามารถหยิบจับได้ง่าย เช่น มักกะโรนี

การให้เขาได้ฝึกหยิบจับอาหารทานเล่นเข้าปากด้วยตัวเองอย่างอิสระ ทำให้ลูกมีความคุ้นเคยกับรสชาติ และลักษณะของอาหารต่างๆที่หลากหลาย ส่งผลให้เขาสามารถยอมรับอาหารชนิดใหม่ๆ ซึ่งมีสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ง่ายขึ้นในครั้งต่อไป อีกทั้งเป็นการฝึกการเรียนรู้การบด และการเคี้ยว พื้นฐานที่ดีที่ช่วยให้ลูกสามารถทานอาหารได้ด้วยตัวเอง

 

พัฒนาการเด็กวัยคลาน 8 เดือนขึ้นไป ที่คุณแม่ควรทราบ เมื่อลูกน้อยก้าวเข้าสู่วัยคลาน 8 เดือนขึ้นไป (520 -640 วัน) เขาจะสนุกสนานกับการคลานไปรอบๆ เริ่มหยิบอาหารเข้าปากได้เอง
 
 

พัฒนาการตามวัยของวัยคลาน 8 เดือนขึ้นไป

ตอนนี้ลูกน้อยวัยนั่งได้ จะเริ่มเล่นจ๊ะเอ๋ ปรบมือ มองหาของที่ซ่อนอยู่ หยิบอาหารเข้าปากกินเอง และสามารถใช้ท่าทางหรือบอกความต้องการได้แล้ว เขายังสามารถเข้าใจในภาษา เข้าใจสีหน้า ท่าทางบางอย่างได้ และเริ่มส่งเสียงได้หลายพยางค์ เช่น หม่ำๆ จ๊ะจ๋า มีพัฒนาการของกล้ามเนื้อด้วยการใช้นิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือหยิบของ มองหาของ ใช้กำลังแขนเกาะยืนและเหนี่ยวตัว เพื่อลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้บ้างแล้ว

วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการอย่างสมวัย

คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นจ๊ะเอ๋ ร้องเพลง ทำท่าต่าง และปรบมือเล่นกับลูกบ่อยๆ ช่วงนี้ปล่อยให้ให้ลูกใช้นิ้วหยิบอาหารชิ้นเล็กๆที่อ่อนนุ่มเข้าปากเอง เช่น ข้าวสุก ฟักทองต้ม เตรียมอาหารทานเล่นชิ้นเล็กๆ ให้ลูกหัดกินเอง แต่ไม่ควรเป็นถั่ว หรือของที่จะทำให้สำลักได้ง่าย

ควรเริ่มสอนให้ลูกแสดงท่าทาง เช่น ชี้นิ้วเมื่ออยากได้สิ่งของ ควรพูดคุย โต้ตอบกับลูกด้วยน้ำเสียงและท่าทางที่นุ่มนวล เพราะเขาสามารถเริ่มจดจำได้แล้ว จัดพื้นที่ภายในบ้านให้ลูกได้คลานอย่างเต็มที่ และเกาะยืนอย่างปลอดภัย คุณสามารถกระตุ้นให้ลูกหัดยืน โดยวางของเล่นที่ลูกชอบบนเก้าอี้ เพื่อให้ลูกเหนี่ยวเก้าอี้ลุกขึ้นหยิบของได้เอง

ที่มา: https://www.mommybear.net
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Sayuri's profile


โพสท์โดย: Sayuri
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: นางเบิร์ด, ginger bread, Sayuri
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ในระหว่างการขุดสุสานตลาดนัดหาคู่ในจีนคึกคัก..ขนาดสาวต่างชาติยังมาร่วมแจมอินฟลูฝรั่ง โจมตีสวนสัตว์เขาเขียว เลี้ยง ‘หมูเด้ง’ หวังยอดวิว ทัวร์ถล่มยับประสบการณ์สุดแปลกใจหายแว่บๆ...นึกว่า "ขิต" ไปแล้ว...กับน้องฮิปโปแคระที่สวนสัตว์คดีพลิก หนุ่มไม่ผ่านโปร “ใส่เสื้อส้ม-พูดอีสาน” หวังปั่นกระแส โยงการเมือง‘ประวิตร’ โวบริหารมา 9 ปี ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีแล้ง เล็งรีเทิร์นรัฐบาลหน้าพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร ผู้นำพระบรมสารีริกธาตุสู่ดินแดนนครศรีธรรมราชรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ คัดมาแล้วขำเน้นๆ แลพร้อมรับมือกับพายุถ้าจะมาวันนี้เด้อครับเด้ออ.เจษฎ์ ชี้แจง กรณีเด็กญี่ปุ่นวิจัยน้ำดื่มไทย พบ 'น้ำสิงห์' มีค่า TDS สูงสุดในบรรดายี่ห้ออื่นวันนี้ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย “ซูลิก” อ่อนกำลังเป็นดีเปรสชั่นนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวญี่ปุ่นทิ้งขยะเกลื่อน คนญี่ปุ่นไม่ทน บอก “เก็บไปทิ้งซะ!” 😅จับแล้ว 'ยอด' หมอลำซิ่ง นกต่อลวงฆ่ๅ พ่อลูกนายฮ้อย หวังล้างหนี้ ศwยัดกระบะขนวัว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
จับแล้ว 'ยอด' หมอลำซิ่ง นกต่อลวงฆ่ๅ พ่อลูกนายฮ้อย หวังล้างหนี้ ศwยัดกระบะขนวัว‘ประวิตร’ โวบริหารมา 9 ปี ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีแล้ง เล็งรีเทิร์นรัฐบาลหน้าสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ในระหว่างการขุดสุสานประสบการณ์สุดแปลกใจหายแว่บๆ...นึกว่า "ขิต" ไปแล้ว...กับน้องฮิปโปแคระที่สวนสัตว์วันนี้ฝนฟ้าคะนองทั่วไทย “ซูลิก” อ่อนกำลังเป็นดีเปรสชั่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ร้อนในเอ๋ย.. จงหายไป! กับ [6] วิธีดูแลตัวเองง่ายๆ ใครก็ทำได้! [5 งานเสริมรายได้ดี] สร้างรายได้ในยามว่าง!สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ในระหว่างการขุดสุสานแถบสีบนถุงเท้าลม: มากกว่าการเพิ่มสีสัน แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดความเร็วลม
ตั้งกระทู้ใหม่