สาเหตุแท้จริงของสงครามกลางเมืองในสหรัฐ
แม้ความขัดแย้งในเชิงนโยบายของทั้งสองฝ่ายจะเกิดขึ้นบ้างดังกล่าว หากแต่เหตุการณ์ที่น่าจะเรียกว่า เป็นชนวนที่แท้จริง เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ซื้อดินแดนลุยเซียน่ามาจากฝรั่งเศส ทำให้อาณาเขตของประเทศขยายเข้าไปในฝั่งตะวันตกของทวีป นอกจากนี้อเมริกายังทำสงครามกับสเปนและเม็กซิโกจนได้ชัยชนะและได้รับดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือมาแทนค่าปฏิกรรมสงคราม ซึ่งดินแดนใหม่ทั้งหมดนี้ถูกเรียกรวมๆว่า แดนตะวันตก
การได้ดินแดนตะวันตกมา ก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐมีทาสกับรัฐไม่มีทาสขึ้นใหม่ ทั้งนี้บรรดามลรัฐทางเหนือนั้นไม่ได้ต่อต้านการมีทาส แม้ว่าจะมีเอกชนหรือนักการเมืองบางคนที่ส่งเสริมการเลิกทาสก็ตาม
หากแต่มลรัฐทางเหนือไม่ต้องการให้รัฐใหม่ที่เกิดในดินแดนตะวันตกเป็นรัฐมีทาสเพราะเกรงว่าจะเป็นโอกาสให้บรรดาเจ้าที่ดินทางภาคใต้นำแรงงานทาสเข้าไปยึดครองที่ดินทำไร่ขนาดใหญ่และจะทำให้โอกาสของบรรดาชาวนาอิสระสูญเสียไป
แต่ในขณะเดียวกันบรรดามลรัฐทางใต้ก็เกรงว่า หากรัฐใหม่ในแดนตะวันตกกลายเป็นรัฐไม่มีทาส ฝ่ายของพวกเขาก็น้อยกว่ากลุ่มรัฐมีทาสและส่งผลให้การออกนโยบายเสียเปรียบยิ่งขึ้น จนท้ายที่สุด อาจนำไปสู่การออกนโยบายเลิกทาสทั่วทั้งประเทศ ซึ่งนั่นย่อมกลายเป็นความหายนะของบรรดารัฐทางใต้ที่มีเศรษฐกิจแบบกสิกรรมขนาดใหญ่และพึ่งแรงงานทาสเป็นหลัก
ทั้งนี้ ประเด็นต่อต้านการมีทาสในดินแดนทางตะวันตกได้ถูกพรรคการเมืองนำมาใช้เป็นนโยบายหาเสียงในดินแดนตอนเหนือซึ่งมีประชากรค่อนข้างมากกว่าทางใต้ โดยพรรครีพับลีกัน ที่ก่อตั้งใน ปี ค.ศ. 1854 ได้เสนอชื่อ อับบราฮัม ลิงคอล์น เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีพร้อมชูนโยบายห้ามการมีทาสในแดนตะวันตก ขณะที่พรรคเดโมแครตซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ก็ส่ง สตีเฟ่น ดักลาสเป็นผู้สมัคร และชูนโยบายเดียวกัน
ทว่า นโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกจำนวนมากของทั้งสองพรรคที่มีแนวคิดสนับสนุนการมีทาส โดยเฉพาะพรรคเดโมแครตทีมีสมาชิกจำนวนมากอยู่ทางภาคใต้ จนทำให้ฐานเสียงของพรรคแตกแยกและส่งผลให้พรรครีพับลีกันชนะการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดี อับราฮัม ลิงคอล์น (คนกลางในภาพ)
ซึ่งในระกว่างที่ทางสภาได้แต่งตั้งอับราฮัม ลิงคอล์น ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีนั่นเอง ในเดือน มีนาคม ปี ค.ศ.รัฐฝ่ายใต้ 7 รัฐก็รวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐและประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกา
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของสงครามระหว่างเพื่อนร่วมชาติในที่สุด