ค้นพบซาก"ใบชา"เก่าแก่ที่สุดในโลก 2,100 ปี ที่หลุมศพจักรพรรดิจีน
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมาระบุว่า นักโบราณคดีจากจีนและอังกฤษ ขุดค้นหลุมศพของจักรพรรดิจีนที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 2,100 ปีก่อนและพบซาก “ใบชา” ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ซากใบชาดังกล่าวถูกเก็บกู้ขึ้นจาก สุสานสองแห่ง แห่งแรกคือที่สุสานฮั่นหยางหลิงในมณฑลซีอาน ทางตะวันตกของประเทศจีนซึ่งเป็นที่ตั้งสุสานของจักรพรรดิหลิว ฉี่ จักรพรรดิองค์ที่ 4 ของราชวงศ์ฮั่นที่มีชีวิตในช่วง 188 ถึง 144 ปีก่อนคริสตกาล และอีกแห่งคือที่สุสานเกอร์เจียม ในทิเบต น่าจะสร้างขึ้นในราวค.ศ.200 โดยทีมวิจัยพบใบอ่อนของพืชที่คาดว่าเป็นใบชาที่มีคุณภาพระดับยอดเยี่ยม ในสุสานทั้งสองแห่ง
ทีมวิจัยระบุในวารสารไซน์ สทิฟิกรีพอร์ตว่า “การศึกษาของทีมพบว่าชาดังกล่าวดื่มโดยจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นตั้งแต่ะ้เมื่อ 2,100 ปีก่อน”และว่าการค้บพบดังกล่าวทำให้ทราบว่ามีการส่งชาจากจีนไปยังเอเชียกลาง และที่ราบสูงทิเบตผ่านทางเส้นทางสายไหม สองถึงสามร้อยปีก่อนหน้าช่วงเวลาที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ก่อนหน้านี้
ขณะที่บันทึกที่มีการอ้างถึงชาที่ เก่าแก่ที่สุดก่อนหน้านี้ย้อนกลับไปราว 59 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่ซากทางกายภาพของใบชาที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดก่อนหน้านี้มีอายุน้อยกว่า ใบชาที่ค้นพบล่าสุดหลายร้อยปีโดยมีอายุอยู่ในช่วงราชวงศ์ซ่ง ราวค.ศ.960-1127
ทีมวิจัยระบุว่า เนื่องจากทิเบตไม่ปลูกชา ดังนั้นการค้นพบดังกล่าวจึงทำให้ได้รู้ว่าเส้นทางสายไหมเส้นทางหนึ่งนั้น ผ่านพื้นที่ทางตะวันตกของทิเบตในช่วงเวลานั้น โดยบันทึกเกี่ยวกับการขนส่งชาผ่านเส้นทางสายไหมที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในช่วง เวลาของราชวงศ์ถัง ราวค.ศ.618-907
“ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าชาเป็น ส่วนหนึ่งของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าฟุ่มเฟือยควบคู่กับสินค้าอย่างผ้า ผ่านทางเส้นทางสายไหมราว 2,000 ปีก่อนและมีการส่งผ่านไปยังทิเบตด้วย” ทีมวิจัยระบุ
ทั้งนี้ซากพืชดังกล่าวย่อยสลายจน ไม่เหลือสภาพเดิมดังนั้นทีมวิจัยจึงใช้วิธีการวิเคราะห์โมเลกุลเพื่อตรวจสอบ ว่าซากดังกล่าวคืออะไรก่อนจะพบว่าเป็นใบชาที่มาจากต้นคาเมเลีย