หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

9 วิธีพูดถึง `ความตาย` ให้ธรรมดา

โพสท์โดย ห่ะไรนะ

เมื่อพูดถึง “ความตาย” คนส่วนใหญ่อาจจะยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องอัปมงคล จึงหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงหรือนำมาพูดคุยกัน

ในขณะที่วงสนทนาของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับมีความเห็นว่า “หากใครที่ได้ลองคิด ลองคุยถึงความตาย และมีการวางแผนชีวิตในช่วงวาระสุดท้ายได้ดี ก็มีโอกาสที่คนๆ นั้นจะสามารถจากโลกนี้ไปได้อย่างสงบ”

 

เมื่อทราบดังนี้แล้ว “คุณเอกภพ สิทธิวรรณธนะ” ผู้จัดการโครงการความตายพูดได้ เครือข่ายพุทธิกา จึงให้คำแนะนำถึงวิธีการพูดคุยเรื่องความตายไว้ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. ปรับเปลี่ยนทัศนคติ

วิธีพูดถึงความตายนั้น ก่อนอื่นผู้พูดจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียก่อน อย่าเพิ่งกลัวที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะความเกร็ง ความกลัว จะทำให้คนพูด หรือขณะพูด มีรังสีหรือบรรยากาศแปลกๆ และเครียดจนเกินไป

“ผู้พูดจะต้องรู้สึกว่ากำลังพูดเรื่องธรรมดาของชีวิต ไม่ใช่เรื่องอัปมงคล จะช่วยทำให้บรรยากาศเป็นไปได้ด้วยดี ผ่อนคลายมากขึ้น ในขณะที่ผู้ฟังเองก็อาจจะอยากคุยเรื่องนี้กับเราอยู่แล้วก็ได้ แต่อาจจะเกร็ง และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นพูดยังไงก่อนดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ อาจจะคิดถึงเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว” คุณเอกภพอธิบาย

2. ใช้บรรยากาศ และสถานการณ์แวดล้อม

ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ไปร่วมงานศพ หรืองานรวมญาติ ทำบุญกระดูก เป็นต้น โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์ว่าพอจะเอื้อให้เราพูดคุยถึงเรื่องความตายได้หรือไม่ หรือแม้แต่การไปเยี่ยมญาติมิตรในโรงพยาบาล ถือเป็นบรรยากาศที่พอจะทำให้เราเปิดประเด็นพูดคุยเรื่องนี้ได้ และการพูดเรื่องความตายก็น่าจะง่ายขึ้น

3. ตั้งประเด็นคำถาม

คุณเอกภพอธิบายต่อว่า พอมีจังหวะก็อาศัยจังหวะเหล่านี้ใช้คำถามที่เป็นประเด็นสนทนาเรื่องความตาย เช่น ถ้าเป็นงานศพก็อาจจะถามว่า

“คุณรู้จักคนที่ตายไหม? เขาตายยังไง? การตายของเขาเป็นยังไง? ถ้าเป็นงานศพเราล่ะ จะจัดงานแบบไหน?”

หรือถ้าเป็นงานรวมญาติก็อาจจะพูดถึงบรรพบุรุษสมัยที่มีชีวิตอยู่ว่า

“ท่านดูแลสุขภาพยังไง? ท่านเสียชีวิตอย่างไร? ซึ่งก็มีหลายคำถามที่สามารถพูดคุยเปิดประเด็นพูด คุยกันได้

4. เป็นผู้ฟังที่ดี

ทีนี้พอถามแล้ว เราก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย ซึ่งการตั้งใจฟัง มีสติ ก็เป็นการเปิดโอกาสที่คนที่เราคุยด้วย ได้พูดคุยได้แสดงความคิดเห็นออกมาตามที่เขาได้คิด อย่างเป็นอิสระทำให้การพูดคุยไหลลื่น คุยกันได้มากขึ้น

5. ยอมรับและตั้งสติ

เราอาจจะกลัวว่าคนที่เราพูดด้วยนั้นอาจรู้สึกเป็นกังวล เศร้าเสียใจ หรือร้องไห้ แต่ความกังวลเหล่านี้ที่จะทำให้เราไม่กล้าเปิดใจ เพราะกลัวว่ารับมือกับความรู้สึกสะเทือนใจไม่ได้ ก็ให้ “ตั้งสติ” ว่ามันอาจจะเกิดเหตุแบบนี้ได้ทุกเมื่อให้เตรียมใจรับมือ ยอมรับว่ามันกำลังจะเกิดขึ้น โดยไม่เร่งรัดให้หยุดยั้งอารมณ์เร็วจนเกินไป ไม่ดุด่าว่ากล่าวว่าอย่าร้องไห้ หรือบอกว่ามันไม่ดี

แม้กระทั่งถ้าจะมีจังหวะที่เงียบบ้างก็ไม่เป็นไร ปล่อยให้จังหวะนี้เกิดขึ้นได้ บางทีเราสามารถใช้จังหวะนี้ในการบอกรักหรือว่าจับมือ ให้การสัมผัส ให้ความเชื่อมั่นว่าเราจะอยู่เคียงข้างกัน และดูแลกันไปจนตลอดรอดฝั่ง นี่ก็เป็นวิธีการ รับมือกับอารมณ์เหล่านี้ด้วยเหมือนกัน

6. ส่งสัญญาณเตือน

บางทีเราก็จำเป็นต้องพูดเรื่องเหล่านี้ เพราะอาจจะต้องบอกข่าวร้าย หรือต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ ดังนั้นก่อนจะพูด ต้องส่งคำเตือนก่อนว่าเราจะพูดเรื่องสำคัญ เช่น นัดหมายว่าจะคุยเรื่องสำคัญ บอกด้วยน้ำเสียงที่จริงจังแตกต่าง ออกไปว่าจะคุยเรื่องความเป็นความตาย หรือเรื่องที่จริงจังในชีวิต และนัดหมายเวลา สถานที่ ส่งสัญญาณให้คนที่เราอยากจะคุยด้วยให้เขาทำใจเอาไว้

7. ใช้เกมเดาใจ

ผู้พูดสามารถชวนคุยโดยการเล่นเกมเดาใจ โดยการตั้งคำถามว่า ถ้าเกิดสถานการณ์แบบนี้ คุณจะทำอย่างไรกับฉัน เช่น ถ้าวันหนึ่งพบว่าฉันนอนยิ้ม หลับตาและหยุดหายใจไปแล้ว ตัวยังอุ่นอยู่ ให้ลองเดาใจว่าฉันอยากให้เธอ พาไปโรงพยาบาลไหม หรืออาศัยจังหวะให้ฉันหลับตายไปเลยตอนนั้น จากนั้นก็ลองให้อีกฝ่ายเดาใจว่าเขาคิดว่าเราต้องการแบบไหน ก็เน้นย้ำหรือผลัดกันถาม ก็จะเป็นการบอกความต้องการว่าในสถานการณ์วิกฤติต่างๆ แต่ละคนต้องการอะไร ถึงแม้จะเดาผิด เดาถูกก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้คุยกัน ทำความเข้าใจกัน

8. เขียน Living Will

หนังสือแสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาในช่วงระยะท้ายของชีวิต ซึ่งสามารถใช้แบบฟอร์มของ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ก็ได้ หรือเขียนเองตามแนวคำถามก็ได้

9. ใช้สื่อหรือเครื่องมืออื่นๆ

อาจจะเป็นการดูหนังที่มีประเด็นเกี่ยวข้องเหล่านี้ หรือว่าอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตายซึ่งปัจจุบันมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมากมาย

คุณเอกภพทิ้งท้ายว่า สำหรับข้อปฏิบัติเหล่านี้สามารถนำไปใช้กับญาติมิตรพี่น้อง มิตรสหายทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี หรือผู้ที่อาจมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย และแม้แต่ผู้ป่วยหนัก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาและสภาพจิตใจ ของคนที่เราจะชวนคุยดูว่าเป็นยังไงและอ่อนไหวแค่ไหน

เมื่อทุกคนสามารถพูดคุยและยอมรับได้ว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เมื่อเจอวิกฤติ เช่น ข่าวร้ายหรืออาจจะต้องเลือกวิธีการรักษา คนเหล่านั้นจะตั้งสติได้เร็ว รวมไปถึงมีวิธีการรักษา วิธีการปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีสติ และนำมาสู่การตัดสินใจที่มั่นคง เหมาะกับผู้ป่วย ไม่ตื่นตระหนกตกใจ และรับมือสถานการณ์ได้ดีขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูล   www.thaihealth.or.th

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ห่ะไรนะ's profile


โพสท์โดย: ห่ะไรนะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดวาร์ป "นางฟ้าลอตเตอรี่"! สวยจนโซเชียลสงสัย อาชีพจริงหรือแค่คอนเทนต์?เพจดังแฉหัวหน้าแก๊งค์ “น้ำไม่อาบ” ไม่ทน ออกแถลงการณ์ลั่นปิดท้าย “ผมด่ากลับ แล้วรับให้ได้จำได้ไหม? "พุฒ เดชอุดม" จากยูทูบเบอร์เสียงเพี้ยน สู่สาวสวยสุดlซ็กซี่
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เปิดวาร์ป "นางฟ้าลอตเตอรี่"! สวยจนโซเชียลสงสัย อาชีพจริงหรือแค่คอนเทนต์?Kawaguchi Ayaka นักแสดง A.V วัย 25 ปี จะ "แต่งงาน" ในเดือนธันวาคมนี้ที่ฮ่องกง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เครื่องกำจัดไรฝุ่น: สิ่งสำคัญที่ควรรู้เพื่อสุขภาพและความสะอาดในบ้านใครเป็นคนคิด ทำไมเมืองไทยถึงสะดวกสบายขนาดนี้ ฝรั่งอึ้ง ไทยแลนด์ครบจบในที่เดียวเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับคดีแพ่งที่พัวพันกับคดีอาญานักท่องเที่ยวเผ่นจากลาว มั่นใจไทยปลอดภัยกว่า พ่อแม่ยิ้มอุ่นใจ
ตั้งกระทู้ใหม่