สมรภูมินรกแห่งติวโตเบิร์ก
ใน ปี ค.ศ.9 ข้าหลวงโรมันนาม ปับลิอุส ควินติลิอุส วารัส ได้นำทหารสามกองพลเคลื่อนทัพเข้าไปในป่าติวโตเบิร์กของดินแดนเยอรมัน ทว่านั่นกลับกลายเป็นหายนะอันยิ่งใหญ่ของกองทัพอันเกรียงไกรแห่งจักรวรรดิ เมื่อวารัสได้นำทัพเข้าสู่กับดักที่ถูกวางไว้โดยฝีมือของผู้ที่เขาคิดว่า เป็นมิตร
เมื่อสองพันปี อำนาจของจักรวรรดิโรมันได้แผ่เข้าครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ รอบทะเลเมดิเตอร์เนียนทั้ง กรีก กอล ไบรตัน อียิปต์ มาซิโดเนีย ฟินิเชีย อาร์เมเนีย ไอบีเรีย ลูซิตาเนีย นูมิเดีย ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากความสามารถของกองทัพโรมันที่ได้ชื่อว่าเป็น กองทหารที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดของยุคนั้น
ป่าติวโตเบิร์ก
หลังประสบความสำเร็จใน การครอบครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จักรวรรดิโรมันก็ได้วางแผนอำนาจเข้าสู่ภาคเหนือโดยมีเป้าหมายสำคัญคือดินแดน เยอรมัน ทั้งนี้นับแต่ยุคของจูเลียส ซีซ่าร์ ชนเผ่าเยอรมันได้ยกทัพเข้ามารุนรานดินแดนกอลซึ่งอยู่ในอาณัติของโรมันหลาย ครั้ง ซีซาร์ได้สั่งให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำไรน์และบุกเข้าโจมตีชนเผ่าเยอรมันที่ อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำร์จนแตกพ่าย ทำให้ชาวเยอรมันเกิดครั่นคร้ามและไม่กล้ามาคุกคามดินแดนของโรมันอีก
เมื่อโรมกลายเป็น จักรวรรดิโดยสมบูรณ์หลังการขึ้นครองราชย์ของออคตาเวียน หรือ ออกัสตัส ซีซาร์ หลานชายของจูเลียส ซีซาร์ กองทัพโรมันก็เข้ารุกรานดินแดนเยอรมันอีกครั้ง และสามารถกำราบชนเผ่าเยอรมันลงได้หลายเผ่าจนได้มีการก่อตั้งค่ายทหารขึ้นใน แดนดินที่ยึดได้และเรียกดินแดนนี้ว่า เยอรมาเนีย
แม้โรมจะสามารถตั้งเขต ปกครองและทำให้หลายเผ่ายอมเป็นพันธมิตรกึ่งเมืองขึ้นได้ ทว่าก็ยังมีชาวเยอรมันอีกหลายเผ่าที่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ ทำให้โรมไม่สามารถผนวกดินแดนเยอรมันทั้งหมดเข้ากับจักรวรรดิได้อย่างสมบูรณ์
ปับลิอุส ควินติลิอุส วารัสเป็นสมาชิกของตระกูลขุนนางชั้นสูงทั้งยังมีความเกี่ยวพันกับราชตระกูล นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์สูง ฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 6 วารัสได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำมณฑลเยอรมาเนียและผู้บัญชาการ กองทัพโรมันประจำลุ่มน้ำไรน์ โดยชื่อเสียงของวารัสนั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วจักรวรรดิจากการกระทำที่โหด เหี้ยมในการตรึงกางเขนเหล่ากบฏ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นที่หวาดกลัวของปวงชน แต่วารัสก็ได้รับความเคารพอย่างสูงจากสภาขุนนางโรมัน
นักรบเยอรมันซุ่มดูกองทหารโรมัน
วารัสได้ยกพลข้ามแม่ น้ำไรน์บุกเข้าไปฝั่งทางตะวันออก และสามารถยึดครองดินแดนบางส่วนได้ จากนั้นจึงผนวกดินแดนดังกล่าวเข้ากับมณฑลเยอรมาเนียและจัดตั้งค่ายทหารขึ้น หลายแห่ง ทั้งนี้หลังจากที่มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงแห่งเยอรมาเนีย เขามีผู้ช่วยคนสำคัญคนหนึ่งคือ อามินิอุส หัวหน้านักรบหนุ่ม วัยยี่สิบห้าปีแห่งเผ่าเซรุสชี
อาร์มินิอุสเคยถูกส่ง ไปเป็นตัวประกันที่โรมตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นและมีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรม โรมันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้เคยศึกษาวิชาการทหารของโรมันมาอีกด้วย โดยหลังกลับมาจากกรุงโรม เขาพิสูจน์ตัวเองในฐานะพันธมิตรที่ดีของโรมหลายครั้งและได้รับความไว้วางใจ จากข้าหลวงวารัสเป็นอันมาก และได้ตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษาประจำตัว ทว่าสิ่งหนึ่งที่วารัสยังไม่รู้ก็คือ ที่ปรึกษาของเขาผู้นี้ได้แอบทำสัญญาพันธมิตรอย่างลับๆกับชนเผ่าที่เป็นศัตรู กับโรมและหาโอกาสที่จะปลดแอกเผ่าเซรุสชีจากอำนาจของโรม
ในฤดูร้อนของ ปี ค.ศ. 9 วารัสได้รับรายงานจากอาร์มินิอุสว่าเกิดการกบฏของชนพื้นเมืองทางภาคเหนือ เขาตัดสินปราบกบฏครั้งนี้อย่างรวดเร็วจึงนำทหารโรมันสามกองพลพร้อมกองหนุน ซึ่งมีกำลังพลรวมทั้งสิ้นสองหมื่นเศษเดินทางโดยใช้เส้นทางลัดเพื่อเข้าถึง ที่มั่นของพวกกบฏ โดยผู้ที่นำทางกองทัพของวารัสก็คือ อาร์มินิอุส
ในคืนก่อนการเดินทัพ เซเกสตีสซึ่งเป็นหัวหน้านักรบคนหนึ่งของเผ่าเซรุสชีพยายามเตือนวารัสว่า อาร์มินิอุสไว้ใจไม่ได้ ทว่าข้าหลวงไม่ยอมรับฟัง เนื่องจากเห็นว่า เซเกสตีสกับอาร์มินิอุสนั้นเคยมีความขัดแย้งกันอยู่ จากนั้นวันรุ่งขึ้น วารัสก็เคลื่อนพลเข้าสู่ป่าติวโตเบิร์กซึ่งเป็นเส้นทางที่อาร์มินิอุสบอกว่า จะสามารถเข้าถึงที่มั่นของฝ่ายกบฏได้โดยที่ฝ่ายนั้นไม่ทันตั้งตัว
ทว่าหลังจากกองทัพ โรมันเข้ามาในป่าติวโตเบิร์กแล้ว พวกเขาก็พบว่าเส้นทางในป่ายากลำบากแก่การเดินทัพ เนื่องจากพื้นดินขรุขระอีกทั้งสายฝนที่ตกกระหน่ำมาก่อนหน้านั้น ยิ่งทำให้ทางเดินเต็มไปด้วยหลุมบ่อและโคลนตม นอกจากนี้ยังมีต้นไม้โค่นขวางทางระเกะระกะกีดขวางจนทำให้การเดินทัพเต็มไป ด้วยความทุลักทุเลและล่าช้า
ขณะที่ทหารโรมันกำลัง เคลื่อนทัพผ่านป่าด้วยความยากลำบากนั้น อาร์มินิอุสกับคนของเขาก็บอกกับข้าหลวงวารัสว่า จะไปตามพวกนักรบเซรุสชีมาช่วยทำทางให้พวกโรมันเคลื่อนทัพได้สะดวกขึ้น จากนั้นนักรบหนุ่มและพรรคพวกก็หายเข้าป่าไป ก่อนจะกลับมาอีกครั้ง ทว่าไม่ได้มาเพื่อช่วยแต่มาเพื่อฆ่า
อาร์มินิอุสนำไพร่พลเข้าโจมตีกองทัพของวารัส
เสียงโห่ร้องของนักรบ เยอรมันเผ่าเซรุสชีดังขึ้นรอบทิศ หอกและลูกธนูพุ่งออกมาจากป่าทึบสองข้างทาง สร้างความปั่นป่วนให้กับกองทัพโรมันเป็นอันมาก และท่ามกลางความวุ่นวายนั้นเอง อาร์มินิอุสก็ให้สัญญาณพวกนักรบเยอรมันเข้าโจมตี
การรบเริ่มขึ้นและ ดำเนินไปอย่างดุเดือด แม้พวกโรมันจะมีชุดเกราะและอาวุธที่ดีกว่า ทว่าการโจมตีอย่างไม่คาดฝันทำให้พวกเขาเสียขวัญ จนไม่ทันตั้งขบวนรับศึก ภาพของนักรบชาวป่าร่างสูงใหญ่ผิวขาวซีดในชุดขนสัตว์ถือหอกเล่มใหญ่ท่ามกลาง แสงสลัวในป่าทึบสร้างความหวาดกลัวให้เหล่าทหารโรมันที่ถูกเกณฑ์มาจากดินแดน รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อย่างไรก็ตาม เหล่าทหารโรมันก็พยายามต่อสู้อย่างสุดกำลัง ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันดุเดือดจนถึงวันที่สาม กองทหารโรมันทั้งสามกองพลก็พินาศยับเยิน ข้าหลวงวารัสชิงปลิดชีพตัวเองก่อนที่จะตกเป็นเชลยของชาวป่า ขณะที่ทหารโรมันส่วนใหญ่ถูกสังหารและมีส่วนน้อยที่ตกเป็นเชลย โดยประมาณการว่าจากกำลังพลสองหมื่นนายมีทหารที่หนีรอดไปได้ไม่ถึงพันคน
ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ถือเป็นหายนะครั้งใหญ่ของกองทัพโรมัน ทั้งๆที่กองทัพเยอรมันเผ่าเชรุสซีของอาร์มินิอุสมีกำลังรบไม่เกินหมื่นห้า พันคนเท่านั้น ทว่าพวกเขาใช้ความได้เปรียบจากความชำนาญในภูมิประเทศบวกกับยุทธวิธีซุ่มโจม ตีแบบกองโจรจนสามารถทำลายล้างกองทัพโรมันที่เหนือกว่าทั้งด้านกำลังพลและ อาวุธได้
สำหรับทหารที่ตกเป็น เชลยนั้น พวกเยอรมันได้นำเชลยโรมันที่เป็นนายทหารไปตัดหัวเพื่อสังเวยเทพเจ้าแห่ง สงครามของพวกเขา จากนั้นจึงตรึงศีรษะเหล่านั้นไว้ตามต้นไม้ในป่า ส่วนเชลยที่เป็นพลทหารนั้นถูกจับไปเป็นทาส
อาร์มินิอุสได้ส่งหัว ของวารัสไปให้มาโรโบดูอุส หัวหน้าชาวเยอรมันเผ่ามาโคมันนีซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโรม โดยหวังว่าจะทำให้มาโรโบดูอุสเลิกกลัวโรมันและหันมาร่วมมือกับตนต่อต้านโรม ทว่ามาโรโบดูอุสไม่ยอมร่วมมือกับอาร์มินิอุสและส่งหัวของวารัสไปยังโรมพร้อม แจ้งข่าวทั้งหมด เล่ากันว่า ทันทีที่จักรพรรดิออกัสตัสทรงทราบเรื่อง พระองค์ถึงกับตะโกนก้องว่า ”วารัส เอากองทัพของข้าคืนมา!”
หลังจากเอาชนะกองทัพ โรมันของวารัสได้ อาร์มินิอุสได้ยกทัพเข้าตีกองทหารโรมันในเยอรมาเนียและทำลายป้อมหลายแห่ง จนทำให้กองทัพโรมันหลายส่วนต้องถอนกำลังออกมาจากดินแดนเยอรมัน
แม้เหตุการณ์ที่เกิดใน ติวโตเบิร์กจะถือเป็นความอัปยศของกองทัพโรมันทว่าฝ่ายโรมก็มิได้ทำการโต้ตอบ ในทันทีเนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองภายใน จนกระทั่งจักรพรรดิออกัสตัสสวรรคตและพระนัดดาของพระองค์ ไทเบอริอุสขึ้นครองราชย์
จากนั้นในปี ค.ศ.14 จักรพรรดิไทเบอริอุสได้ทรงมีพระบัญชาให้แม่ทัพเจอรมานิคัสนำไพร่พลห้าหมื่น เคลื่อนทัพสู่แดนเยอรมันและกำราบชนเผ่าพื้นเมืองลงได้หลายเผ่าก่อนจะบุกสู่ ป่าติวโตเบิร์กในปี ค.ศ.16 เพื่อกวาดล้างเผ่าเซรุสชี ทว่าหลังจากยกทัพเข้าสู่แดนมรณะ สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาคือ โครงกระดูกและหัวกะโหลกกลาดเกลื่อนในป่าอันเป็นสมรภูมินรก ทั้งยังมีกะโหลกของนายทหารที่ถูกบูชายัญตรึงไว้ตามต้นไม้ต่าง ๆ ในป่าด้วย
เจอรมานิคัสสั่งให้นำ โครงกระดูกทั้งหมดมาทำพิธีฝังและกล่าวสุนทรพจน์เพื่อปลุกใจเหล่าไพร่พลให้ ห้าวหาญ ทว่าสิ่งที่พวกทหารได้เห็นท่ามกลางบรรยากาศที่มืดครึ้มของป่านั้นดูจะทำลาย ขวัญกำลังใจของพวกเขาลงไปไม่น้อย
ชนเผ่าเซรุสชีใช้ ยุทธวิธีกองโจรดักซุ่มโจมตีกองทัพโรมันหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เจอรมานิคัสสูญเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งภูมิประเทศที่รกทึบของป่าดึกดำบรรพ์แห่งนี้ยังเป็นอุปสรรคกีดขวางการ เคลื่อนกำลังกองทหารโรมันด้วย จนกระทั่งในปีรุ่งขึ้นคือ ค.ศ.17 เจอรมานิคัสก็จำต้องถอนทัพกลับโดยไม่สามารถกำราบข้าศึกได้ จากนั้นอีกสองปีให้หลัง เจอรมานิคัสก็สิ้นชีวิตลงจากการลอบถูกวางยาพิษโดยคู่อริของเขา
ชัยชนะในปี ค.ศ.17 ทำให้อิทธิพลของอาร์มินิอุสเพิ่มมากขึ้น ต่อมาเขาได้ยกทัพไปโจมตีหัวหน้ามาโรโบดูอุสของเผ่ามาโคมันนีจนแตกพ่าย ทำให้มาโรโบดูอุสและชนเผ่าของเขาต้องอพยพหลบหนี อย่างไรก็ตาม ความรุ่งโรจน์ของอาร์มินิอุสก็ถึงจุดจบในปี ค.ศ.21 โดยเขาได้ถูกนักรบของตัวเองลอบสังหารเนื่องจากเกรงว่าเขาจะทรงอำนาจมากเกิน ไป
อาร์มินิอุส
แม้อาร์มินิอุสจะสิ้น ชีวิต ทว่ายามนี้ จักรวรรดิโรมันก็ได้ยกเลิกนโยบายยึดครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไร น์แล้ว เนื่องจากมองว่าดินแดนดังกล่าวไม่คุ้มค่าแก่การยึดครองและทางจักรวรรดิก็ได้ กำหนดขอบเขตมณฑลเยอรมาเนียไว้เพียงแม่น้ำไรน์ โดยดินแดนถัดจากนั้นไป ถูกเรียกว่า บาบาริคัม ทั้งนี้โรมได้จัดกองทหารถึงแปดกองพลประจำแนวแม่น้ำไรน์เพื่อรักษาชายแดนทาง ด้านนี้จากการรุกรานของชนเผ่าพื้นเมืองในบาบาริคัม
ทางด้านดินแดนเยอรมัน นั้น หลังการตายของอาร์มินิอุส เผ่าเซรุสชีก็เสื่อมอำนาจลงและถูกรวมเข้ากับสหพันธ์ชาวแฟรงค์ในภายหลัง ส่วนมาโรโบดูอุสได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งเผ่ามาโคมานีและผูกไมตรีกับโรม เช่นเดียวกับหัวหน้าชาวเยอรมันอีกหลายเผ่า จากนั้นสงครามระหว่างโรมันและเยอรมันก็สงบลง พร้อมๆกับที่ชาวเยอมันเริ่มจัดระบบสังคมแบบศักดินาที่มีนักรบเป็นศูนย์กลาง ขึ้นมา