การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าผงเสริมสมุนไพร(Development of fermented fish powder with herbal)
การผลิตปลาร้าผงเสริมสมุนไพร
(Development of fermented fish powder with herbal)
ผศ. ดร. ประเทือง โชคประเสร็ฐ* นางสาวมิ่งขวัญ พรมดาว** นางสาวรัตติยา ขาวลาจันทร์** และนางสาวอัญชลี แก้วมุกดา**
*อาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
**นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ปลาร้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ แล้วเติมข้าวคั่ว หรือข้าวเปลือกเจ้าคั่วที่บดละเอียด หรือเติมรำข้าว หรือรำข้าวคั่ว ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ลงไปพร้อมกันในการหมัก หรืออาจเติมภายหลังการหมักปลากับเกลือก็ได้ เพื่อให้ได้กลิ่นรสตามธรรมชาติของปลาร้า มีทั้งที่เป็นปลาร้าทั้งตัวปลาร้าชิ้น และปลาร้าบด
ปลาร้าผง เครื่องปรุงที่ใช้ได้แก่ กระชาย ตะไคร้ และข่า โดยนำเครื่องปรุงมาหั่นละเอียด จากนั้นนำไปผ่านความร้อนสูง พร้อมกับปลาร้าดิบทั้งตัว จากนั้นนำไป ทำเป็นก้อนหรือป่นต่อไป ปลาร้าผสมเครื่องปรุงนี้ เหมาะสาหรับนำไปทำปลาร้าหลนเพียงแต่นาไปละลายในกะทิเท่านั้น หรือนำไปใส่น้ำยาป่าหรือแจ่ว หรือนำไปประกอบอาหารที่ไม่ต้องการกลิ่นรุนแรงมาก
การบริโภคปลาร้าถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ เนื่องจากผู้บริโภคไม่ชอบกลิ่น และไม่มั่นใจในเรื่องความสะอาดทั้งในขั้นตอนการผลิตและการจัดจำหน่าย เนื่องจากเชื่อว่าทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนั้นไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องความสะอาดมากนัก อย่างไรก็ตามปัจจุบันการจำหน่ายปลาร้าในประเทศมีการพัฒนาในเรื่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความสะอาด ถูกสุขอนามัย และน่ารับประทานมากขึ้น เช่น การใส่ขวดแก้วติดฉลากแยกประเภทปลา หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ปลาร้าสำเร็จรูปบรรจุหีบห่ออย่างสวยงาม เป็นต้นซึ่งทำให้สามารถขนส่งและเก็บรักษาได้สะดวกมากยิ่งขึ้นด้วย ทำให้ผู้บริโภคยอมรับปลาร้ามากขึ้นซึ่งเท่ากับเป็นการขยายฐานลูกค้า โดยสามารถขยายสถานที่วางจำหน่ายเข้าสู่ห้างสรรพสินค้าได้สำเร็จ
ข้อดีของผลิตภัณฑ์
- เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถพกพาไปไ
ด้ทุกสถานที่
- การแปรรูปปลาร้าผงมีกระบวนการผลิตไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนโดยนำปลาร้าที่หมักได้ไป บดละเอียดจากนั้นนำปอบพอให้แห้ง แล้วนำมาปั่นให้ละลายอีกครั้ง เพื่อให้ได้ลักษณะที่เป็นผงละเอียด
- ปลาร้าผงสามารถน้ำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ปลาร้าทรงเครื่อง น้ำพริกปลาร้า แจ่วปลาร้า ขนมจีนแกงป่า แกงวุ้นเส้น แกงเปราะผสมไก่ โดยสามารถใช้ปริมาณปลาร้าผงตามใจชอบได้
- ปลาร้าผงสามารถละลายรวมเป็นเนื้อเดียวกับอาหารที่ประกอบได้
- ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิ เนื่องจากปลาร้าผงจะผ่านกระบวนการให้ความร้อนแล้ว
1.วิธีการผลิต
สิ่งที่ต้องเตรียม
- ปลาร้าอบเหรียญทอง 1 ซอง (ปลาร้าสับ)
- ปลาแห้งป่น
- พริกแห้งป่น ใช้พริกแห้งเมล็ดใหญ่ +พริกเมล็ดกลางอย่างละครึ่งมาบดด้วยเครื่องบดปั่น
- น้ำมะขามเปียก (มะขามเปียก 100 กรัม ต่อน้ำ 90 มล. คั้นน้ำละตวง 120 มล.)
- เกลือป่น
- น้ำตาลทราย
- สมุนไพร ประกอบด้วยหัวหอมแดงซอย ตะไคร้ซอย กระชายซอย ข่าซอย ใบมะกรูดซอยกระเทียมกลีบซอย
ปริมาณส่วนผสมสำหรับการทำปลาร้าเสริมสมุนไพร
ส่วนผสม |
ปริมาณ (g) |
ปลาร้าอบเหรียญทอง |
370 |
ปลาแห้ง |
30 |
น้ำมะขามเปียก |
120 |
น้ำตาลทราย |
40 |
เกลือป่น |
10 |
พริกแห้ง (ใช้พริกแห้งเมล็ดใหญ่ + พริกเมล็ดกลางอย่างละครึ่ง) |
20 |
หัวหอมแดงซอย |
40 |
กระเทียมกลีบซอย |
40 |
ตะไคร้ซอย |
40 |
กระชายซอย |
40 |
ข่าซอย |
20 |
ใบมะกรูดซอย |
10 |
น้ำหนักรวม |
780 |
อุปกรณ์ที่ใช้
ถาดกว้างๆ, รังถึง, มีด, เขียง, ทัพพี, เครื่องชั่ง, เครื่องบดปั่นอาหาร, เครื่องบดหยาบ (grinder), ถุงพลาสติกแบบสูญญากาศ
วิธีการผลิตปลาร้าผงเสริมสมุนไพร
- ปลาร้าอบเหรียญทอง ไปนึ่งเพื่อให้สุก โดยเกลี่ยบนถาดให้หนาประมาณ 2 นิ้วหรือให้กระจายตัวทั่วถาด นึ่งเป็นเวลา 40 นาที ด้วยรังถึง
- เตรียมวัตถุดิบได้แก่ ปลาร้า (300 กรัม) หัวหอมแดงซอย (50 กรัม) ตะไคร้ซอย (50 กรัม) กระชายซอย (50 กรัม) ข่าซอย (30 กรัม) ใบมะกรูดซอย (20 กรัม) กระเทียมกลีบซอย (50 กรัม) และ น้ำมะขามเปียก (120 กรัม) ใส่ภาชนะหรือถาดกว้างๆ
- นำวัตถุดิบไปตากแดดอ่อนตากนาน 4 ชั่วโมง ถ้าแดดแรงตาก 3 ชั่วโมง
ถ้าหากต้องการใช้ตู้อบให้ใช้ที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง
- นำวัตถุดิบ หัวหอมแดงซอย ตะไคร้ซอย กระชายซอย ข่าซอย ใบมะกรูดซอย กระเทียมกลีบซอย ที่ผ่านการตากแดดครบ 4 ชั่วโมงแล้ว มาคลุกเคล้าให้เข้ากันกับปลาร้า น้ำมะขามเปียก น้ำตาลทราย เกลือป่น พริกป่น ปลาแห้งป่น แล้วนำไปบดด้วย เครื่องบดหยาบ (grinder) 7 รอบ
- นำส่วนผสมที่บดเสร็จแล้ววางให้กระจายตัวทั่วถาดโดยมีถุงพลาสติกรอง
- แล้วนำไปตากแดด (ประมาณ 3 วัน) หรืออบแห้ง (ประมาณ 2 วัน) ควรกลับด้านอยู่ตลอดเมื่อตากแดดหรือนำไปเข้าตู้อบจนแห้งสนิทแล้ว
- จากนั้นนำมาบดด้วยการโคลกด้วยครกหินจนละเอียดตามที่ต้องการเก็บบรรจุใส่ภาชนะที่เหมาะสม ชั่งน้ำหนัก
- ติดฉลาก ระบุ ส่วนผสมวัน เวลา ที่ผลิต ให้ละเอียด
การนำไปใช้ประโยชน์
การปรุง น้ำยาป่า
วิธีการทำ
ปรุงแกงพื้นเมือง (แกงฟัก)
- เตรียมวัตถุดิบ ดังนี้
เนื้อไก่ หั่นฟักเป็นชิ้นตามต้องการ ปลาร้าผง พริกผง ใบมะกรูด ตระไคร้ ผงปรุงรส ต้นหอม
- ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดพอประมาณ ใส่ปลาร้าผงตามปริมาณที่กำหนด (ปลาร้าผง 30 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร)
- ใส่พริกพร้อมเครื่องปรุงที่เตรียมไว้
- ใส่เนื้อไก่ ต้มให้สุกพอประมาณ
- พอเนื้อไก่เริ่มสุกแล้ว ใส่ฟักตามลงไป