มาทำความรู้จัก “10 นามสกุล”ที่เก่าแก่ของไทย ที่รุ่นหลังๆยังไม่รู้
มาทำความรู้จัก “10 นามสกุล”ที่เก่าแก่ของไทย ที่รุ่นหลังๆยังไม่รู้
เมื่อพูดถึงคนไทยนั้นแล้ว มีหลากหลายครอบครัว หลายนามสุกล หากนับแล้วคงเป็นแสนเป็นพันนามสกุลเลยทีเดียว แต่เมื่อพูดถึงนามสกุลเก่าแก่แล้วคงมีเพียงแค่ไม่กี่นามสกุลที่มีในสมัยก่อน ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่าว่ามีนามสกุล อะไรบ้าง
1. บุนนาค เป็นต้นตระกูลที่เก่าแก่อีกตระกูลหนึ่งของประเทศไทย ตระกูลนี้ต้นกำเนิดมาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่ชื่อ “เฉกอะหมัด” ที่เข้ามารับราชการตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงของกรุงรัตนโกสินทร์ ตระกูลบุนนาค เป็นที่ทรงอิทธิพลสูงสุดของไทย
2. ณ บางช้าง สืบสายมาตั้งแต่เจ้านายในวงศ์พระร่วงแห่งกรุงศรีอยุธยา
3. วัชโรทัย สืบสกุลมาจากพระยาอุทัยธรรมเจ้ากรมภูษามาลา ที่เคยรับราชการเป็นภูษามาลาในสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว
4. สุจริตกุล ต้นตระกูล คือหลวงอาสาสำแดงสืบเชื้อสายมาจากขุนนางในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นสกุล ที่เก่งด้านการค้า
5. ณ ป้อมเพชร เป็นต้นตระกูลที่สืบทอดกันมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสมุทบุรานุรักษ์ได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา " อธิบดีกรมราชทันฑ์คนแรกของประเทศไทย
6. โรจนกุล เป็นต้นตระกูลของเจ้าพระยาพิษณุโลก ที่ได้สืบเชื้อสายมาจากบิดา ที่มีชื่อ พราหมณ์ศิริวัฒนะ ราชปุโรหิตในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 สมัยกรุงศรีอยุธยา
7. อมาตยกุล ตระกูลนี้ทอดมาจากขุนนางเก่าตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาที่รั้งตำแหน่งขุนนาง และเป็นขุนนางสืบต่อกันมาเรื่อยโดยไม่เว้นช่อง นับได้ว่าลูกหลานในตระกูลนี้ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการเกือบทั้งตระกูล
8. ณ นคร ตระกูลนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรย์ เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายสิทธิ์ จนเวลาต่อมาได้รับตำแหน่งขึ้นเป็นปลัดเมืองนครศรีธรรมราช
9. บุรณศิริ ตระกูลนี้สืบเชื้อสายจากพราหมณ์เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย ที่เข้ามารับราชการตั้งแต่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาต้นตระกูล บุรณศิริได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมกรณาธิบดี จนต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯเปลี่ยนราชทินนามเป็น “เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี”
10. ราชตระกูลสายสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีการสืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยาโกษาธิบดีเสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทรและได้ถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ พ.ศ. 2228 ดังนี้ นรินทรางกูร เทพหัสดิน มนตรีกุล อิศรางกูร เจษฎางกูร นรินทรกุล