[วิจารณ์] Hormones วัยว้าวุ่น 3 : EP10 – เพราะแตกต่างถึงได้กลัว ผู้ใหญ่ควรอ่านมากๆ
“HIV” เป็นชื่อไวรัสที่สร้างความสับสนอย่างมากให้กับคนทั่วไป เพราะเรามักจะเหมารวมไปว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือผู้ที่เป็นโรคเอดส์ แต่ในความจริงนั้นทั้ง 2 อย่างนี้นั้นต่างกัน “HIV” คือเชื้อ “AIDS” คือภาวะความคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากเชื้อ HIV อีกที
พูดง่ายๆ คือระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป ซึ่งฮอร์โมนตอนที่ 10 นี้ กำลังจะพาเรามาสู่ประเด็นที่หลายๆ คนอาจจะคาดไม่ถึงว่ามันจะมาอยู่ซีรีย์วัยรุ่นได้ ประเด็นที่หลายๆ คนอยากแก้ความเข้าใจผิดในสังคมแต่ทำไม่ได้ ประเด็นที่ผมเชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในสังคมอีกครั้ง ประเด็นที่หนักหน่วงอย่าง “ผู้ติดเชื้อ HIV”
สกายหรือ “พละ” เป็นตัวละครหน้าใหม่ที่เข้ามาบทบาทในฐานะผู้ชายสายยิ้มอ่อน ดูใสซื่อ ดูไม่ทันคน ทำให้มีแม่ยก (?) ตามกริ๊ดมากมาย ซึ่งบทบาทก็ปูมาให้เราเห็นว่าส่วนหนึ่งก็มาจากการที่พละถูกเลี้ยงดูโดยยาย ที่เข้มงวด ซึ่งเราจะเห็นบ่อยๆ ว่าพละมักจะขาดเรียนบ่อยๆ โดยข้ออ้างที่ว่า “พายายไปหาหมอ”
ซึ่งถ้าดูแบบนี้ก็สมเหตุสมผลดี แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเราได้ดูวิดีโอแนะนำตัวของพละ เราจะรู้ว่าตัวละครตัวนี้มีความลับซ่อนอยู่อีก คือพละต้องกินยาทุกวัน และห่างกันครั้งละ 12 ชั่วโมง ซึ่งก็ทำให้มีชาวเน็ตเริ่มสงสัยตั้งแต่ต้นเรื่องแล้วว่า หรือจริงๆ จะเป็นพละที่ป่วยเองไม่ใช่ยาย ?
เนื้อเรื่องก็เปิดมาให้เห็นเลยว่าพละใช้วิตแตก ต่างจากคนปกติ กล่าวคือพละไม่สามรถกินข้าวร่วมกับยายได้ และยิ่งกว่านั้นคือพละต้องกินยาอีกด้วย “กินข้าวด้วยกันได้ไหม” และ “ไม่กินยาได้ไหม” คือสิ่งพละถามยาย ซึ่งจริงๆยายอาจจะโดนถามแบบนี้มาไม่รู้กี่ครั้งแล้วก็ได้ แต่พละก็ยังอยากถาม เผื่อว่าซักวันผลลัพธ์มันอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง
ซึ่งเหตุการณ์ก็ต่อเนื่องมาให้เราไม่ต้องคอยกันนาน เมื่อเราพบแล้วว่าคนที่หาหมอจริงๆ คือพละไม่ใช่ยาย พร้อมกับการของคำว่า “ยาต้านไวรัส” ที่ต้องกินให้ตรงเวลา เพราะไม่งั้น เชื้ออาจจะมีการ “ดื้อยา” เกิดขึ้น สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV มันเป็นปัญหา เพราะชุดของยานั้นมีจำกัดถ้าเราทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา อาจจะหายาตัวใหม่มารักษาไม่ได้อีกเลย
ซึ่งอีก 2 สิ่งที่เราได้รับจากบทสนทนานี้ก็คือ ผู้ติดเชื้อสามารถออกกำลังกาย และใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป และอีกอย่างที่สำคัญคือ พละได้รับเชื้อตั้งแต่เกิด แต่ก็ยังมีอีกอย่างที่กวนใจพละอยู่ คือเค้าจะสามารถมีครอบครัวตามปกติได้มั๊ย ? ซึ่งหมอก็ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่ามีได้แน่นอนถ้าได้รับคำปรึกษาและทำอย่างถูก ต้อง
ซึ่งหลังจากเราทราบอาการป่วยของพละก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมยายถึงเข้มงวดกับ Dead line “หนึ่งทุ่ม” มาตลอด เพราะมันหมายถึงชีวิตของพละเลยนั่นเอง และยายก็บอกพละอีกด้วยว่าให้ดูแลตัวเองให้ดี ยายรู้ว่าคนอื่นจะคิดยังไงถ้าได้รู้ความจริง
เพราะเราไม่เหมือนคนอื่น
ยังไม่ทันได้พักพละก็ถูกส้มส้มจูบและขอเป็นแฟน (เอร้ยยย ~~) พร้อมกับเสียงนาฬิกาที่ดังขึ้น เพื่อบอกถึงเวลากินยาแล้ว (ซินเดอเรลล่าถูกตามกลับปราสาทละยูววว์) พละเองด้วยความที่ไม่อยากหลอกส้มส้ม จึงเลือกที่จะบอกความจริงว่าตนเป็นผู้ติดเชื้อ ซึ่งนั้นก็ทำให้ส้มส้มสับสน ถึงปากจะบอกว่าไม่รังเกียจ แต่ปฏิกริยาหลังจากพละโดนตัวก็แสดงออกชัดเจน พละจึงเลือกที่จะขอกลับบ้านเอง
เพราะเจ็บปวดกับท่าทีของส้มส้ม พละจึงเลือกที่จะไม่กลับบ้าน และมันได้นำไปสู่เหตุการณ์ต่อเนื่องบานปลายเมื่อพละทะเลาะกับยายอย่างใหญ่โต เพราะยายโมโหที่พละไม่ยอมรับโทรศัพท์และกลับบ้านตรงเวลาอย่างเคย “มันไม่ง่ายนะที่ยายจะเลี้ยงพละมาได้โตขนาดนี้ พละจะมาทำตัวแบบเด็กคนอื่นไม่ได้”
ซึ่งสิ่งที่ยายมองว่าเป็นสิ่งที่มาทำให้พละเปลี่ยนไปปก็คือส้มส้ม ยายจึงบอกความจริงไปว่ายายพึ่งบอกให้ส้ส้มเลิกยุ่งกับพละ ซึ่งนั่นก็ทำให้ระเบิดในตัวพละถูกจุด “ยายคิดว่ายายจะทำอะไรกับชีวิตผมก็ได้หรอ ? ถ้ามีผมแล้วมันลำบากมากก็ไม่ต้องมีผม !”
เพราะเกิดมาไม่เหมือนคนอื่น จึงต้องแบกรับแผลที่ไม่มีใครมองเห็น สิ่งที่พละคิดมาตลอดชีวิตอาจจะเป็น “ทำไมต้องเป็นเรา” เรา ทำผิดอะไรทำไมต้องเกิดมาผิดปกติ ถึงจะเข้าใจว่าเราเกิดมาแบบนี้ ทำอะไรไม่ได้แล้ว แต่ความน้อยเนื้อต่ำใจที่สะสมมาทั้งชีวิตก็ต้องมีวันที่จะระเบิดออก
“เราผิดอะไร ทำไมเราถึงไม่เหมือนคนอื่น”
เพราะแตกต่างถึงได้กลัว
เพราะเกิดมาไม่เหมือนคนอื่น จึงต้องแบกรับความกลัว เอาไว้กับตัวเอง ถ้าเราบอกไปแล้วคนรอบข้างเปลี่ยนไปล่ะ ? แต่ถ้าเราไปบอกแล้วเค้ามารู้ทีหลัง เค้าจะหาว่าเราหลอกเค้าหรือเปล่า ? การที่พละบอกส้มส้มก็เหมือนเป็นการทำลายกำแพงตัวเองเพื่อจะยอมเสี่ยงดวง ครั้งใหญ่เพื่อดูว่า คนที่เราชอบเค้าจะยอมรับสิ่งที่เราเป็นได้หรือไม่ แต่ผลตอบแทนก็คุ้มค่าเมื่อสิ่งที่ได้รับกลับมาไม่ใช่แค่คนรัก แต่เป็นการมีคนที่เข้าใจ มีคนมายืนเป็นเพื่อนในโลกฝั่งนี้ที่ไม่มีใครอยู่ข้างๆ เค้าเลย
“ขอแค่มีใครที่เข้าใจ เราก็พร้อมที่จะลุกขึ้นยืนอีกครั้งหนึ่ง”
ขอบคุณทีมงานฮอร์โมน
ก่อนที่จะบ่นต่อ คงต้องบอกว่า ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ #hormonesscripteam มากๆ ที่จุดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะประเด็นเรื่องผู้ติดเชื้อ HIV ในสังคมไทยยังมีความคาดเคลี่อนอยู่มาก (ดั่งเช่นที่ส้มส้มบอกว่า ไม่เห็นเหมือนที่เรียนมาเลยเนอะ ?)
ซึ่งจริงๆก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะในสมัยก่อนเชื้อ HIV นั้นน่ากลัวมาก ไม่มียารักษาและรอจุดจบอย่างเดียว อีกทั้งยังมีการติดผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งทำให้ไม่แปลกใจที่ยายจะเป็นห่วงพละอย่างมาก เพราะยายคงได้เห็นความน่ากลัวด้วยตาตัวเองผ่านชีวิตลูกสาวไปแล้ว อย่างไรก็ตามปัจจุบันตัวยาสำหรับต้านเชื้อ HIV มีการพัฒนาไปมาก ถ้าได้รับยาอย่างสม่ำเสมอก็มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตไปจนแก่เฒ่า
รวมทั้งการต่อของเชื้อก็มีอยู่ไม่กี่ช่องทาง และโอกาสติดก็ไม่สูงมาก ถ้าปฏิบัติตนอย่างระมัดระวังเสียหน่อยก็สามารถใช้วิตร่วมกันกับผู้ป่วยได้ อย่างปกติ เช่นยายกับพละ และพละกับเพื่อนๆ ซึ่งโดยปกติในละครไทยเราจะเห็นผู้ป่วย HIV และ AIDS ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นโรคที่น่ากลัว นอนรอตัวเปื่อยตายในโรงพยาบาล ซึ่งเราก็เข้าใจสารที่จะส่งเหมือนกัน
เพราะสมัยแรกๆ เรารู้กันอยู่ว่า HIV ส่วนมากส่งผ่านในการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการทำละครให้คนกลัวก็เป็นทางออกที่ทำให้คนหันมาป้องกันระหว่างมีเพศ สัมพันธ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ติดเชื้อไม่ได้มาจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างเดียว การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยใหญ่เช่นกัน ดังนั้น การที่เราจะปฎิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความรังเกียจโดยปราศจากความเข้าใจต่อ โรคอย่างถูกต้อง ก็ดูจะทำร้ายเหล่าคนที่ไม่ได้มีความผิดมากไปเสียหน่อย ก็ได้แต่หวังว่าเรื่องนี้จะช่วยแก้ไขความเข้าใจต่อสังคมได้บ้าง