7 สิ่งเรื่องน่ารู้ กับ “อุทยานราชภักดิ์”
7 สิ่งเรื่องน่ารู้ กับ “อุทยานราชภักดิ์”
คลิป งาน แสง สี แสง ......
1. อุทยานราชภักดิ์ หมายถึง อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เทิดพระเกียรติบูรพกษัตริย์แห่งสยาม
โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานชื่อนี้มาให้
2. สถานที่ตั้งบนพื้นที่กองทัพบก ขนาด 222 ไร่ ณ ค่ายสมเด็จพระศรีสุริโยทัย (พระอัยยิกาของสมเด็จพระนเรศวรฯ) ด้วยโลเกชั่นที่เบี่ยงไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากมีการคำนวณเรื่องแสงในยามพระอาทิตย์ขึ้นและตก ด้านหลังติดภูเขา ด้านหน้าเป็นทะเลสวนสนประดิพัทธ์ ซึ่งมีระยะห่างจากถนนเพชรเกษมเข้าไปประมาณ 350 เมตร ด้วยถนนที่ตัดใหม่จำนวน 6 เลน มีขนาดกว้าง 50 เมตร
3. พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม ทั้ง 7 พระองค์ หล่อด้วยทองสำริดนอก (บรอนซ์) มีความสูงของพระองค์ 13.9 แมตร (เทียบเท่าคนยืนต่อกัน 8 คน) ซึ่งประทับอยู่บนฐานแท่งยืนสูง 1.5 เมตร และฐานล่างสูง 8 เมตร รวมเป็น 23.4 เมตร (เมื่อลองนำเลข 2+3+4 = 9 ซึ่งถือเป็นเลขมงคลอันน่ามหัศจรรย์) และมีน้ำหนักถึง 29 ตัน ต่อหนึ่งพระองค์
4. สาเหตุที่เลือกบูรพกษัตริย์ทั้ง 7 พระองค์นี้ เนื่องจากเหตุผลดังนี้
4.1) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช : กษัตริย์ผู้ประดิษฐ์ลายสือไทย
4.2) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : กษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชสยาม จากการเสียกรุงครั้งที่ 1
4.3) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช : กษัตริย์ผู้ทรงใช้หลักการทูต ดำรงรักษาเอกราชแห่งสยาม
4.4) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชสยาม จากการเสียกรุงครั้งที่ 2 และทรงก่อตั้งกรุงธนบุรี
4.5) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช : กษัตริย์ผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
4.6) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : กษัตริย์ผู้เปรียบดั่งเจ้าภาพสถานที่ เนื่องจากพระองค์เสด็จเยือน บ้านหว้ากอ อำเถอหัวหิน เป็นสถานที่สุดท้ายก่อนเสด็จสวรรคต และทรงเป็นกษัตริย์ผู้ริเริ่มพัฒนาการทหารสมัยใหม่
4.7) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : กษัตริย์ผู้ทรงพระกรุณาธิคุณสูงสุดในเรื่องการเลิกทาส การป้องกันการล่าอาณานิคมของต่างชาติ และทรงนำพาความก้าวหน้า ความทันสมัยของชาติตะวันตกเข้ามาพัฒนาประเทศสยาม
5. พิพิธภัณฑ์และห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ มีความสูง 8 เมตร(เทียบเท่าตึกขนาด 2 ชั้น) ซึ่งอยู่บริเวณฐานด้านใต้พระบรมราชานุสรณ์ฯ ทั้ง 7 พระองค์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่จัดแสดงที่มีความกว้าง 199 เมตร ความยาว 299 เมตร รวมพื้นที่ทั้งหมด 59,501 ตารางเมตร (เทียบเท่ากับความกว้าง 2 เท่าของลานพระบรมรูปทรงม้า)
6. มีการมาร์คจุด Center Point ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของสายพระเนตรของทุกพระองค์ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับความนิยมในการยืนไหว้สักการะและถ่ายภาพเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นจุดที่มีมุมสวยที่สุดและสามารถถ่ายภาพได้ครบทุกพระองค์ในเฟรมเดียว
7. เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2558 ขณะอัญเชิญพ่อขุนรามคำแหงฯ ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่น ได้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด
เป็นเวลานาน 30 นาที